หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I จิตตสังเขปI บวชกาย-บวชใจ I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I โมกขุบายวิธี I เรื่องของความเกิด-ดับ

 

พิธีรักษาอุโบสถศีล

เมื่อไหว้พระทำวัตรเช้าจบแล้ว ผู้นำพึงนั่งคุกเข่าประนมมือ

กล่าวคำประกาศองค์อุโบสถ ทั้งคำบาลีและคำไทย ดังต่อไปนี้ว่า

อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส (ถ้าเป็นวันพระ ๑๕ ค่ำ ว่า ปัณณะระสีทิวะโส ๑๔ ค่ำว่า
จาตุททะสีวะโส) เอวะรูโป โข โภนโต ทิวะโส พุทเธนะ ภะคะวะตา ปัญญัติตัสสะ ธัมมัสสะวะนัสสะ เจวะตะทัตถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสะถัสสะ จะ กาโล โหติ หันทะ มะยัง โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา ปูชะนัตถายะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง อัฏฐังคสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง อุปะวะสิสสามาติ กาละปะริจเฉทัง กัตวา ตัง ตัง เวระมะณิง อารัมมะณัง กะริตวา อะวิกขิตตะจิตตา หุตวา สักกัจจัง อุโปสะถัง สะมาทิเยยยามะ อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง อัมหากัง ชีวิตัง มา นิรัตถะกัง โหตุ

คำแปล
ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถ อันพร้อมไปด้วยองค์แปดประการ ให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน ณ บัดนี้ ด้วยวันนี้เป็น วันอัฏฐะมีดิถีที่แปด (ถ้าวันพระ ๑๕ ค่ำว่า วันหัณณะระสีดิถีที่สิบห้า (ถ้า ๑๔ ค่ำว่า วันจาตุททะสีดิถีที่สิบสี่) แห่งปักษ์มาถึงแล้ว ก็แหละวันเช่นนี้ เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ แต่งตั้งไว้ให้ประชุมกันฟังธรรม และเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของอุบาสก-อุบาสิกา ทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่ได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ พึงกำหนดกาลว่าจะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนี้ แล้วพึงทำความเว้นโทษนั้น ๆ เป็นอารมณ์ คือ

*เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
*เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้ ๑
*เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๑
*เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น ๑
* เว้นจากดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
* เว้นจากบริโภคอาหาร ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลารุ่งอรุณขึ้นมาใหม่ ๑
* เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่าง ๆ แต่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น และทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิวทำกายให้วิจิตรงดงามต่าง ๆ อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ๑
* เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอนใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดที่วิจิตรด้วยเงินและทองต่าง ๆ ๑ อย่าได้มีจิตฟุ้งซ่านส่งไปที่อื่น

พึงสมาทานเอาองค์อุโบสถทั้งแปดประการโดยเคารพ เพื่อจะบูชาสมเด็จพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้านั้น ด้วยธรรมานุธรรมะปฏิบัติ อนึ่ง ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอดมาถึงวันอุโบสถเช่นนี้ จงอย่าได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย

 

คำอาราธนาอุโบสถศีล
ครั้นผู้นำประกาศอุโบสถเสร็จ และพระผู้ให้ศีลหรือพระผู้เทศน์ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์แล้ว พึงกล่าวคำอาราธนาอุโบสถศีลพร้อมกันว่า

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง
ยาจามะ ฯ (ว่า ๓ หน ทุติยัมปิ ตะติยัมปิ ฯลฯ)
(คอยตั้งใจว่าตามพระ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ (ว่า ๓ ครั้ง)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,

เมื่อพระสงฆ์ว่า สะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง หรือว่า ติสะระณะคะมะ
นัง นิกฐิตัง ดังนี้ พึงกล่าวคำรับพร้อมกันว่า อามะ ภันเต

ตั้งใจสมาทานสิกขาบทว่า

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
๖. วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะ วิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะรัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิฯ

ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถ อันพร้อมไปด้วยองค์แปดประการนี้ เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อว่าจะรักษาไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เวลานี้
ต่อไปพระท่านว่า อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะสีละวะเสนะ (ตุมเหหิอุปาสะกะอุปาสิกา ภูเตหิ) สาธุกัง อักขัณฑัง กัตวา อัปปะมาเทนะ รักขิ ตัพพานิ ฯ พึงรับต่อว่า อามะภันเต ฯ
พระสงฆ์ว่าต่อ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

พึงกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง ต่อนี้ให้นั่งพับเพียบ ประนมมือฟังธรรม เมื่อจบแล้ว พึงให้สาธุการและสวดประกาศตนพร้อมกัน ดังนี้

สาธุ สาธุ สาธุ

อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
อุปาสะกัตตัง (หญิงว่า อุปาสิกัตตัง) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา
เอตัง เม สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง สะระระมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย
ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง
ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคี อัสสัง (หญิงว่า ภาคินิสสัง)
อะนาคะเต ฯ

<< Prev : Page 12

อ่านต่อหน้า Next : Page 14>>

 
หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I จิตตสังเขปI บวชกาย-บวชใจ I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I โมกขุบายวิธี I เรื่องของความเกิด-ดับ

Non Copyright 2002. Buddhamamaka Home Page. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

Hosted by www.Geocities.ws

1