หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I

 

เรื่องของความเกิด-ดับ

โดย

ระนิโรธ

รังสีคัมภีรปัญญาจารย์


วัดหินหมากเป้ง, อ.ศรีเชียงใหม่,

จ.หนองคาย

 

ต้นตอที่ทำให้เกิดทุกข์และดับทุกข์

ในโลกนี้นอกจากรูปกับนาม คือกายกับใจแล้วจะมีอะไรอีก สุขและทุกข์ก็ดี
นอกจากทุกข์กายและทุกข์ ใจแล้วจะมีอะไรและที่ไหนอีก
เมื่อของทั้งสองอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว หากไม่ตั้งอยู่บนกายและบนใจนี้แล้ว
ก็ไม่ ทราบว่ามันจะตั้งอยู่ได้อย่างไรและที่ไหน

จิตก็เหมือนกันถ้าบุคคลจะทำการใด ๆ เพื่อให้พ้นไปจากทุกข์ ถ้าไม่ทำให้พ้นไปจากกายจากใจนี้แล้วก็จะเพื่อประโยชน์อันใด แต่ทุกข์ก็มีอิทธิพลเหนือคำสอนของครูบา อาจารย์และใคร ๆ ทั้งหมด ทุกข์นั้นแหละเป็นเครื่องหล่อหลอมคนให้เป็นคน ให้มีความขยัยหมั่นเพียรให้พึ่ง ตนเองได้ ให้เป็นครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอนคนอื่นอย่างดีที่สุด


ทุกข์เป็นมัคคุเทศก์นำทางให้คนตั้งตัวได้ทุกข์ เป็นเครื่องดึงดูดให้คนสร้างความดีความงามมีทำทานรักษาศีลเป็นต้น ทุกข์เป็นเครื่องวัดความสุขเสมือนปรอทเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิ ผู้มีความสุขมากสุขน้อยต้องเอาทุกข์เข้าไปวัดเทียบ ผู้เกลียดทุกข์ไม่ชอบทุกข์ก็คือผู้ที่ไม่มีปรอท ผู้ชอบทุกข์รักทุกข์ก็คือผู้มีมปรอดแต่ไม่ได้ทำการวัด ผู้เจริญฌามและนิวรณ์ห้าได้ก็ต้องใช้ปรอทนี้เป็นเครื่องวัด กายกับใจนี้เป็นพื้นฐานของโลก (คือทุกข์) ผู้มีปัญญาทั้งหลายหยิบยกเอาทุกข์อันนี้ขึ้นมาพิจารณา จนทราบเรื่องของทุกข์พร้อมด้วยมูลเหตุให้เกิดทุกข์แล้วปล่อยวาง ทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ด้วยอุบายปัญญาอันชอบ จนบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ก็ล้วนแล้วแต่มาตั้งต้นดำเนินไปจากกายกับใจ (คือทุกข์) นี้ทั้งนั้น

-------------------------------------------------------------

จะเห็นกายกับใจแบ่งภาคกันได้
ต่อเมื่อจิตเข้าถึงฌาน-สมาธิ แล้ว


จิตเป็นของหาตัวตนมิได้ ต่อเมื่อประสมโรงกันเข้ากับกายแล้ว จึงจะแสดงอาการออกมาให้ปรากฎแก่ สายตาของของคนอื่นได้ จิตเป็นสภาว-ธรรมอันหนึ่ง ซึ่งใคร ๆ ชี้ไม่ออกบอกไม่ถูก แต่ตัวของมันรู้ตัวมันเอง ถ้ามันส่งส่ายออกมาตามประสาทต่าง ๆ เช่นส่งออกมาตามจักษุประสาท เป็นต้น เรียกว่าจิต ถ้ามันไปรับเอาแสงสะท้อนของรูปที่มากระทบจักษุประสาทนั้น เรียกว่าวิญญาณ ถ้ามันไปยึดเอา รูปนั้นเข้ามาไว้ เรียกว่าอารมณ์ ถ้าเกิดพอใจ ดีใจ เสียใจ อะไรขึ้นมา เรียกว่าเวทนา ถ้าเกิดความอยากให้ มันเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดไป หรือไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นอีก เรียกว่าตัณหา ชื่อของจิตนี้มีมากเรียกตาม อาการลักษณะของมันที่มันแสดงออกมา ที่สมมุติเรียกชื่อมานี้ เป็นแต่เพียงเล็กน้อยตามความเข้าใจของ ผู้เขียนเท่านั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายอาจเรียกได้มากและสมมุติได้มากกว่านี้ หรืออาจเรียกชื่อผิดแผกออกไป จากนี้ก็ได้ ที่แสดงมานี้พอให้เข้าใจถึงเรื่องที่ว่า จิต-วิญญาณ-อารมณ์-เวทนา ยังก่อนยังไม่จัดเข้าเป็น กิเลสพอเข้าเขตตัณหาแล้วนั้นแล จิตตอนนั้นจึงจะมืดมนเศร้าหมอง ที่เรียกว่า กิเลส ตัณหา ก็ต้องเกิดตาม สายรูปธรรม มีรูป-เสียง เป็นต้น ฉะนั้นเพียงแต่ลำพัง จิต-วิญญาณ-อารมณ์- เวทนา จึงยังไม่เกิดกิเลส พอถึง ขั้นตัณหาจึงเกิดกิเลส ที่ท่านแสดงถึงเรื่องกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดก็จัดตามสายนี้เอง เรื่องทั้งหมดที่ อธิบายมานี้ ถ้าหากจิตยังไม่เข้าถึง ฌานสมาธิ ระงับอารมณ์ภายนอกให้ขาดออกจากจิตเสียก่อนแล้ว ถึงแม้ ชื่อและนามของกิเลสเราจะจำได้แม่นยำสักปานใดก็ตาม จะไม่มีวันรู้หน้าตาตัวจริงของกิเลสเลย เพราะกิเลส เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งเหมือนกัน เมื่อจิตที่อบรมดีแล้วแบ่งภาคออกมาจากรูปธรรมได้ นั่นแลจิตจึงจะ สามารถรู้ตัวกิเลสได้ถูกต้อง กิเลสของจิตเมื่อผู้มาเข้าใจโดยนัยนี้แล้ว สามารถชำระให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ส่วนกายเป็นรูปธาตุ จะชำระอย่างไรๆภายในใจก็ยังสกปรกอยู่เช่นเดิม ดีหน่อยเมื่อชำระใจให้สะอาดดีแล้ว อาการกิริยาของกายมันจะเรียบร้อยขึ้น
กายกับใจเมื่อประสมโรงกันเข้าแล้วย่อมสามารถกระทำกรรมใดๆได้ทุกอย่างไม่เลือก แล้วแต่จิตจะ บัญชา แต่ผลกรรมหรือผลงานที่เรียกว่าวิบาก ที่ทั้งสองร่วมกันกระทำนั้น เมื่อยังอยู่ร่วมกันก็ร่วมกันรับร่วม กันเสวยต่อไป เมื่อรูปแตกกายดับเขาหนีไปตั้งทัพอยู่เฉพาะเขา คือเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ตามสภาพของมันแล้ว คราวนี้จิตเป็นผู้รับเคราะห์กรรมแต่คนเดียว เหมือนลูกไม้มีทุเรียนเป็นต้น เมื่อแก่สุกงอมแล้วหลุดหล่นลง จากต้นโดยมิได้บอกกล่าวลาต้นเลย ได้เมล็ดได้เนื้อสุกหอมหวานแล้วก็ไป เมื่อเมล็ดยังไม่ลีบไม่เน่าเขาไปสร้าง ต้นสร้างผลงอกงามขึ้นอีก จิตก็เช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อกายแตกดับไม่รับรู้อะไรแล้ว จิตเป็นผู้รับภาระผล กรรมแต่ผู้เดียว ผลกรรมนี่แหละที่จะนำจิตให้ไปก่อเกิดในภพนั้นๆต่อไป สมดังพุทธภาษิตว่า กัมมัสสกา จิตสร้างกรรมอันใดไว้ กัมมทายาทา จิตผู้สร้างกรรมนั้นแลจักได้รับผลของกรรมนั้นต่อไป กัมมโยนิ กรรมเป็นผู้ให้กำเนิด กัมมพันธุ กรรมเป็นต้นตระกูลของความเกิด กัมมปฏิสรณา กรรมเป็นที่พึ่งของจิต หรือจิตอาศัยกรรมเป็นที่ดำเนินก็ว่า


-----------------------------------------------


จิตที่จะไปเกิดในกามภูมิ

รูปกับนามหรือกายกับจิตนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของกามกิเลส ถ้าจิตยังกอปรด้วยกามกิเลสอยู่แล้ว จำต้องมา เกาะเกี่ยวเกิดในกามภูมินี้อีกต่อไป กามภูมิเป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งหลาย ผู้ที่จะไปเกิดในสุคติกามาพจรทั้ง ๖ เป็นต้น ก็ต้องมาสร้างสมเสบียงเอาจากนี้ ผู้จะไปสู่อบายภูมิมีสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้น ก็ต้องมาสร้างสมเอาบาปกรรม ณ ที่นี้ทั้งนั้น แม้ผู้ที่ท่านจะถึงมรรคผลนิพพาน ก็ต้องมาสร้างบารมีเอา ณ ที่นี้ทั้งนั้นเหมือนกัน

กามภูมิเป็นสถานที่น่าอภิรมย์ชื่นใจของผู้ยังไม่อิ่มไม่พอในกามทั้งหลายจึงได้นามเรียกว่า กามคุณห้า
ได้แก่ รูป-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะทั้งห้านี้อำนวยคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ยังต้องการและปรารถนาอยู่นั้นเองแต่ผู้มี ปัญญาพิจารณาเห็นโทษของกามคุณทั้งห้าแล้ว รู้สึกอิ่มพอและเบื่อหน่ายสละถอนเสีย ดังได้อธิบายมาแล้วใน กามาทีนพฯ
จิตที่พอใจรักใคร่ติดมั่นอยู่ในกามภูมิ ย่อมยินดีพอใจอยู่กับอารมณ์ทั้งห้ามีรูปเป็นต้น แม้จะประกอบ กรรมใดๆ ก็ย่อมหวังผลเพื่ออารมณ์ทั้งห้านี้ทั้งนั้น เมื่อกายกับใจยังร่วมกันสร้างกรรมที่เป็นกามาพจรกุศลอยู่

ผลที่ได้รับก็ร่วมกันเสวยต่อไป เมื่อกายทรงอยู่ตลอดกาลอายุขัยดับไปแล้ว ผลกรรมนั้นยังไม่สิ้นจิตก็รับภาระ ต่อไป กรรมจะเป็นมัคคุเทศก์นำจิตให้ไปเกิดในคติที่เป็นกามภูมิต่อไป จึงสมกับพุทธภาษิตที่ว่า กัมมังสัตเต วิภชติ ความว่ากรรมที่สัตว์ทั้งหลายทำไว้แล้วนั้นแล จะเป็นผู้จำแนกสัตว์ให้เป็นไปตามอำนาจของมัน คนเราจะตกแต่งเอาตามชอบใจไม่ได้ ผู้มาพิจารณาเห็นโดยนัยนี้แล้ว จึงควรสร้างแต่กรรมดีอันจะนำตนให้ไปเกิดในภูมิอันสุขที่ตนปรารถนา ก่อนจะถึงโอกาศนั้น


---------------------------------


อ่านต่อหน้า ๒>>>>>

หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I

Non Copyright 2002. Buddhamamaka Home Page. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

 

Hosted by www.Geocities.ws

1