สเปกตรัม

 

         สเปกตรัม  หมายถึง  อนุกรมของแถบสีหรือ หรือเส้นที่ได้จากการผ่านพลังงานรังสีเข้าไปในสเปกโตรสโคป ซึ่งทำให้พลังงานรังสีแยกออกเป็นแถบหรือเป็นเส้นที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ เรียงลำดับกันไป

 

          สเปกโตรสโคป (Spectroscope) หรือสเปกโตรมิเตอร์ (Spectrometer) หมายถึง  เครื่องมือที่ใช้แยกสีตามความถี่  หรือเครื่องมือที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับสเปกตรัม

 

          สเปกตรัม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ

          ก. สเปกตรัมแบบต่อเนื่อง (Continuous  spectrum)  เป็นสเปกตรัมที่ประกอบด้วยแถบสีที่มีความถี่ต่อเนื่องกันไปอย่างกลมกลืนกัน  เช่น  สเปกตรัมของแสงอาทิตย์

 

          ข. สเปกตรัมไม่ต่อเนื่อง  (Discontinuous  spectrum)  หรือเรียกเส้นสเปกตรัม  ลักษณะของสเปกตรัมจะเป็นเส้นหรือแถบสีเล็ก ๆ ที่ไม่เกิดต่อเนื่องกันไป  แต่มีการเว้นช่วงของความถี่ที่เส้นสเปกตรัมเกิด  เช่น  สเปกตรัมธาตุไฮโดรเจน  ธาตุฮีเลียม  เป็นต้น

 

   - สเปกตรัมที่ไม่ต่อเนื่องจะมีบทบาทที่สำคัญในการศึกษาโครงสร้างอะตอม  เนื่องจากอะตอมของธาตุต่าง ๆจะมีเส้นสเปกตรัมเฉพาะตัวคล้ายกับลายนิ้วมือของคนแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน

   - สเปกตรัมของธาตุ  ถ้าพลังงานรังสีเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอะตอมจะเรียกว่า   “อะตอมมิกสเปกตรัม (Atomic  spectrm) ” 


การศึกษาเกี่ยวกับสเปกตรัม

          สมัยนิวตัน โดยใช้ปริซึมแยกแสงอาทิตย์ออกเป็นแถบสีรวม 7 สี ซึ่งภายหลังเคอร์ชอฟ (Gustav Krchhoff) ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์สเปกโตรสโคปขึ้น ใช้ในการแยกสเปกตรัมของแสงขาว และต่อมาบุนเสน (Robert Bunsen) ได้นำความรู้เกี่ยวกับสเปกตรัมไปวิเคราะห์แร่ชนิดต่าง ๆ ซึ่งทำให้ทราบว่าแร่นั้นมีธาตุอะไรเป็นองค์ประกอบ


            เมื่อให้แสงขาวส่องผ่านปริซึม  แสงขาวจะแยกออกเป็นแถบสีต่าง ๆ ต่อเนื่องกัน  7  สี  เหมือนสีรุ้ง คือ  สีม่วง  คราม  น้ำเงิน  เขียว  เหลือง  ส้ม  และแดง  เรียกแถบสีต่อเนื่องกันทั้ง  7  สีนี้ว่า  “ สเปกตรัมของแสงสีขาว ”  การที่แสงขาวสามารถแยกออกเป็นสเปกตรัมสีต่าง ๆ กันก็เนื่องจากแสงขาวประกอบด้วยสีต่าง ๆ ทั้ง  7  สี  ซึ่งมีความยาวคลื่นต่าง ๆ จะทำให้เกิดการหักเหตามขนาดของมุมต่าง ๆ แสงที่มีความยาวคลื่นไม่เท่ากันจะเกิดการหักเหในปริซึมได้ไม่เท่ากัน  ซึ่งทำให้เกิดการแยกออกเป็นแถบแสงสีต่าง ๆ และต่อเนื่องกันเป็นแถบสเปกตรัม

                   แถบสีของสเปกตรัมของแสงขาว

สีของสเปกตรัม

ความยาวคลื่น (nm)

ม่วง

คราม

น้ำเงิน

เขียว

เหลือง

ส้ม

แดง

380  -   420

420  -  460

460  -  490

490  -  580

580  -  590

590  -  650

650  -  700


ความสัมพันธ์ของพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กับความถี่และความยา่วคลื่น

      Max  Planck  นักวิทยาศาสตร์  ชาวเยอรมัน  ได้พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งและพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีส่วนสัมพันธ์กับความถี่และ

ความยาวของคลื่นโดยสรุปเป็นกฎว่า

          “  พลังงานของคลื่นแม่เหล็กแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่นนั้น ”

          เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้

 

                       

                         E          =      hν

 

                   เมื่อ         =  พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (หน่วยเป็น จูล )

                             h    =  ค่าคงที่ของพลังค์ ( Plank , constant)   =  6.625  x  10-34  Js

                             ν    ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (Hz  หรือ  s-1)

                   เรียกสมการดังกล่าวนี้ว่า กฎของพลังค์

          ในการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นโดยทั่ว ๆ ไปมักจะวัด เป็นความคลื่น  ซึ่งความยาวคลื่นมีส่วนสัมพันธ์กับความถี่ของคลื่นดังนี้

 

                         C          =     λν

                         ν          =      

                            

          เมื่อ c  คือความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสูญญากาศ หรือความเร็วแสงในสูญญากาศ นั่นเอง

                c  =   2.99 x  108  ms-1  หรือ  โดยประมาณ  c  =    3.0 x  108  ms-1

          จากความสัมพันธ์ของความยาวคลื่นของความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ทำให้สามารถเขียนกฎของพลังค์  เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับความยาว และความถี่ของคลื่น ได้ดังนี้

                  

                       E          =      hν   =      hc/λ

                                                                 
 


พลังงาน ความถี่และความยาวคลื่นของแสงขาว

สีของสเปกตรัม

ความยาวคลื่น (nm)

ความถี่คลื่น (Hz)

พลังงาน  (J)

ม่วง

คราม

น้ำเงิน

เขียว

เหลือง

ส้ม

แดง

380  -   420

420  -  460

460  -  490

490  -  580

580  -  590

590  -  650

650  -  700

7.89 x 1014 - 7.14 x 1014

7.14 x 1014 - 6.52 x 1014

6.52 x 1014 - 6.12 x 1014

6.12 x 1014 - 5.17 x 1014

5.17 x 1014 - 5.08 x 1014

5.08 x 1014 - 4.62 x 1014

4.62 x 1014 - 4.29 x 1014

5.23 x 10-19 - 4.73 x 10-19

4.73 x 10-19 - 4.32 x 10-19

4.32 x 10-19 - 4.06 x 10-19

4.06 x 10-19 - 3.43 x 10-19

3.43 x 10-19 - 3.37 x 10-19

3.37 x 10-19 - 3.06 x 10-19

3.06 x 10-19 - 2.84 x 10-19

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1