Telecommunication Engineering     วิศวกรรมโทรคมนาคม
: หน้าแรก : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย : ติดต่อ @Fbบอล : ติดต่อ @Fbอัง : กระดานพูดคุย Online (XAT)
เนื้อหา (IP Address)
          ⇓ ด้านล่าง ⇓
ความหมาย (IP Address)
IPv4 (IPv4 Addressing)
การแทนค่าไอพีแอดเดรสแบบเลขฐานสองและฐานสิบ
การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส
การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnetting)
ลำดับชั้น 3 ระดับ (Three Levels of Hierarchy)
ซับเน็ตมาสก์
(Subnet Mask)

@เครดิตโค๊ดใช้ตกแต่ง webpage

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnetting)

                   จะพบว่าเมื่อได้รับไอพีแอดเดรสมาแล้ว เครือข่ายจะมีเพียง 1 ฟิสิคัลเน็ตเวิร์กเท่านั้น จะไม่สามารถแบ่งกลุ่มเป็นเครือข่ายย่อยๆ ได้ ซึ่งจัดเป็นเครือข่ายที่หายากมากสำหรับการรองรับจำนวนโฮสต์มากกว่า 60,000 โฮสต์ เช่น ในกรณีที่หน่วยงานหนึ่งได้ไอพีแอดเดรสคลาส B และทำให้ไม่สามารถจัดกลุ่มโฮสต์เข้าด้วยกัน เนื่องจากโฮสต์ทุกโฮสต์อยู่ระดับเดียวกัน

                   แนวทางในการแก้ปัญหา คือ จำเป็นต้องแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยหรือ การทำซับเน็ต ด้วยการแบ่งส่วนของเครือข่ายให้มีขนาดเล็กลง เช่น ต้องการที่จะแบ่งเครือข่ายของมหาวิทยาลัยออกเป็นเครือข่ายย่อยตามคณะต่างๆ


                  พื้นฐานการแบ่ง subnet
ในข้อกำหนดการทำ address ของระบบเน็ตเวิร์กแบบ Class A, Class B, และ Class C ด้วยการเปลี่ยนบิตข้อมูล 0 ให้เป็น 1 ซึ่งนั่นเป็นวิธีการที่ดีมาก แต่มีข้อเสียตรงที่ จะสามารถกำหนดเน็ตเวิร์กได้เพียงเน็ตเวิร์กเดียวเท่านั้น และจะเกิดอะไรขึ้นหากต้องการแบ่งเน็ตเวิร์กนั้นออกเป็น 6 เน็ตเวิร์กย่อย นั่นคือต้องทำอะไรบางอย่าง ซึ่งนี่เองที่เรียกว่า การแบ่ง subnet เนื่องจากวิธีนี้เป็นการที่ทำให้สามารถแบ่งเน็ตเวิร์กใหญ่ๆ หนึ่งเน็ตเวิร์กออกเป็นเน็ตเวิร์กย่อยหลายๆเน็ตเวิร์กได้

                   มีหลากหลายเหตุผลที่สนับสนุนการแบ่ง subnet ได้แก่
             -ลดปริมาณเน็ตเวิร์กทราฟฟิก โดยปกติแล้วเราจะต้องการปริมาณความหนาแน่นของการจราจรต่ำในทุกๆด้าน ซึ่งระบบเน็ตเวิร์กก็ไม่แตกต่างกัน นั่นคือ หากไม่มีอุปกรณ์ router ที่เชื่อถือได้ ปริมาณแพกเกตจะถูกแบ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจนเกือบเต็มแบนด์วิดธ์ แต่ถ้ามีอุปกรณ์ router ที่เหมาะสม ปริมาณทราฟฟิกส่วนมากจะอยู่บนโลคอลเน็ตเวิร์ก จะมีเฉพาะแพกเกตที่จะส่งออกปลายทางที่อยู่บนเน็ตเวิร์กอื่นเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลผ่านออกไปทาง router ได้ เนื่องจาก routerจะสร้างบรอดคาสท์โดเมน ซึ่งบรอดคาสท์โดเมนที่สร้างยิ่งมีมาก ในขณะที่จำนวน client ต่างๆน้อย ในแต่ละบรอดคาสท์โดเมน ปริมาณทราฟฟิกในแต่ละเน็ตเวิร์กเซกเมนต์จะลดลง

             -เพิ่มประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ก เป็นสิ่งที่ได้จากการลดปริมาณเน็ตเวิร์กทราฟฟิก

             -ทำให้จัดการเน็ตเวิร์กง่ายขึ้น เนื่องจากสามารถระบุและจำแนกปัญหาระบบเครือข่ายในกลุ่มเน็ตเวิร์กที่เชื่อมต่อขนาดเล็กได้ง่ายกว่ากลุ่มเน็ตเวิร์กรวมขนาดใหญ่

             -มีสะดวกในการจัดการเครือข่ายระยะไกล (ทางภูมิศาสตร์) เนื่องจากการเชื่อมต่อ WAN มีการทำงานค่อนข้างช้า และมีราคาแพงกว่าการเชื่อมต่อด้วยระบบ LAN เครือข่ายขนาดใหญ่เครือข่ายเดียวแต่มีการกระจายตัวกว้างจะมีโอกาสเกิดปัญหาในทุกๆจุดเชื่อมต่อ ดังนั้นจะเห็นว่าการติดต่อระหว่างเครือข่ายขนาดเล็กหลายๆเครือข่ายจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพดีกว่า