Telecommunication Engineering     วิศวกรรมโทรคมนาคม
: หน้าแรก : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย : ติดต่อ @Fbบอล : ติดต่อ @Fbอัง : กระดานพูดคุย Online (XAT)
เนื้อหา (IP Address)
          ⇓ ด้านล่าง ⇓
ความหมาย (IP Address)
IPv4 (IPv4 Addressing)
การแทนค่าไอพีแอดเดรสแบบเลขฐานสองและฐานสิบ
การจัดสรรไอพีแอดเดรสแบบใช้คลาส
การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnetting)
ลำดับชั้น 3 ระดับ (Three Levels of Hierarchy)
ซับเน็ตมาสก์
(Subnet Mask)

@เครดิตโค๊ดใช้ตกแต่ง webpage

การกำหนดตำแหน่งที่อยู่ใน IPv4 (IPv4 Addressing)

                   TCP/IP จะกำหนดที่อยู่ด้วยไอพีแอดเดรส โดยไอพีแอดเดรส คือ ชุดตัวเลขฐานสองขนาด 32 บิตที่ใช้กำหนดที่อยู่ของโฮสต์ โดยแต่ละ 32 บิตของไอพีแอดเดรสจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ NetID และ HostID ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการหาเส้นทาง

• แอดเดรสในส่วนของ NetID จะชี้ระบุเครือข่าย (Physical Network) ที่คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อ

• แอดเดรสในส่วนของ HostID จะชี้ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่าย

                  ไอพีแอดเดรสจะประกอบด้วย 4 ไบต์ หรือ 4 ออคเทต (32 บิต) โดยในชุดของหมายเลขไอพี จะมีฟิลด์ 3 ฟิลด์ คือ - ประเภทของคลาส (Class) - ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครือข่าย (Network Address) - ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครื่อง (Host Address)



รูบแบบ IP addrees แต่ละ class


                   โดยเมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ

                   ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
                   จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมด เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ

IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้
คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ

แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)

โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่

ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)

ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน

จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว

แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว