ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
หน้าแรก       ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต         การส่งมอบข้อมูลจากโปรเซสถึงโปรเซส        แบบตัวอย่างไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์        การกำหนดตำแหน่งที่อยู่        โพรโทคอล UDP,TCP และ SCTP        ชั้นสื่อสารแอปฟลิเคชั่น
ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต
                                                                                           
        ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจะรับผิดชอบการส่งมอบข้อมูลจากโปรเซสถึงโปรเซส (Process-to-Process) โดยโปรเซสในที่นี้หมายถึงโปรแกรมประยุกต์ที่รันอยู่บนโฮสต์ แต่ด้วยชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กจะรับหน้าที่เพียงการ ส่งมอบข้อมูลแบบ Source-to-Destination โดยไม่รับรู้ถึงความสัมพันธ์ของแต่ละแพ็กเก็ต จะปฏิบัติเพียงว่าแต่ละ แพ็กเก็ตนั้นอิสระต่อกัน แม้ว่าชิ้นส่วนของแต่ละแพ็กเก็ตจะถูกแบ่งส่วนมาจากเมสเสจเดียวกันก็ตาม เมื่อเป็น เช่นนี้ ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจึงถูกมอบหมายให้ดูแลและสร้างความมั่นใจในข่าวสารทั้งหมดที่ส่งมายังปลายทาง ว่าจะยังคงอยู่ในลำดับที่ถูกต้อง รวมถึงการตรวจสอบทั้งในเรื่องของการควบคุมข้อผิดพลาด และการควบคุม การไหลของข้อมูลที่ส่งจากต้นทางไปยังปลายทาง
        ด้วยระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ล้วนสนับสนุนงานแบบมัลติทาสกิ้ง ดังนั้น การใช้งานของผู้ใช้ โดยทั่วไปแล้ว จึงมักสั่งงานให้คอมพิวเตอร์รันหลายโปรแกรมพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว การส่งมอบข้อมูลจาก Source-to-Destination ที่เป็นการส่งมอบข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งนั้น ยังถือว่า ไม่เพียงพอ เพราะจะต้องส่งมอบข้อมูลจากโปรเซสหนึ่งๆ ไปยังโปรเซสปลายทางได้อย่างถูกต้องด้วย ดังนั้น ชั้น สื่อสารทรานสปอร์ตจึงมีการผนวกเฮดเดอร์เพิ่มเข้าไปตามชนิดของแอดเดรสที่เรียกว่า "Service-Point Address"        
       โพรโทคอลบนชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจะมีทั้งแบบคอนเน็กชันเลส (Connectionless) และคอนเน็กชัน โอเรียนเต็ด (Connection-Oriented) ให้เลือกใช้ สำหรับโพรโทคอลแบบคอนเน็กชันเลสนั้นจะปฏิบัติกับแต่ละ เซกเมนต์เสมือนกับแพ็กเก็ตที่อิสระต่อกัน จากนั้นก็จะส่งมอบไปยังชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตของฝั่งปลายทาง ใน ขณะที่โพรโทคอลแบบคอนเน็กชันโอเรียนเต็ดจะต้องสถาปนาการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางกับปลายทางก่อนการ ส่งมอบแพ็กเก็ตเสมอ โดยหลังจากส่งผ่านข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การเชื่อมต่อดังกล่าวจึงยุติลง
       ตามปกติแล้ว ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจะแบ่งหน่วยข้อมูล ณ ฝั่งส่งออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า เซกเมนต์ (Segments) สำหรับ UDP ซึ่งเป็นโพรโทคอลแบบคอนเน็กชันเลสนั้น จะปฏิบัติกับแต่ละเซกเมนต์เหล่านั้นแบบ อิสระ ในขณะที่ TCP และ SCTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลแบบคอนเน็กชันโอเรียนเต็ด จะมีการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างเซกเมนต์ด้วยหมายเลขลำดับ รับ
       ในทำนองเดียวกันกับชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจะรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการไหล ของข้อมูลและการควบคุมข้อผิดพลาดด้วย แต่การควบคุมการไหลของข้อมูลและการควบคุมข้อผิดพลาดบนชั้น สื่อสารทรานสปอร์ตจะเกี่ยวข้องกับการส่งมอบข้อมูลในลักษณะ End-to-End มากกว่าที่จะส่งผ่านภายในลิงก์ เดียวกัน ทั้งนี้ โพรโทคอลที่จะกล่าวถึงก็คือ UDP ซึ่งเป็นโพรโทคอลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมการไหล ของข้อมูลและการควบคุมข้อผิดพลาด ในขณะที่โพรโทคอลอีก 2 ตัวคือ TCP และ STCP จะใช้โพรโทคอล แบบเลื่อนหน้าต่างในการควบคุมการไหลของข้อมูล และมีระบบการควบคุมข้อผิดพลาดในข้อมูลด้วย และด้วย สาเหตุนี้เอง โพรโทคอล UDP จึงเป็นโพรโทคอลที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ