ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
หน้าแรก       ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต         การส่งมอบข้อมูลจากโปรเซสถึงโปรเซส        แบบตัวอย่างไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์        การกำหนดตำแหน่งที่อยู่        โพรโทคอล UDP,TCP และ SCTP        ชั้นสื่อสารแอปฟลิเคชั่น
การกำหนดตำแหน่งที่อยู่ (Addressing)
                                                                                           
       ชุดโพรโทคอ TCP/P บนชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต ได้กำหนดการเชื่อมต่อให้กับแต่ละโปรเซสผ่านจุดเชื่อมต่อที่เรียกว่า "พอร์ต (Port) " โดยพอร์ตก็คือหมายเลขกำกับช่องสื่อสารที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อเพื่อการส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรม ดังนั้น พอร์ตจึงเปรียบเสมือนแอดเดรสบนโพรโทคอลระดับแอปพลิเคชันนั่นเอง ทั้งนี้การอินเตอร์เฟซระหว่างโปรชสกับพอร์ตจะดำเนินการโดยระบบปฏิบัติการบนฝั่งโฮสต์
       ไอพีเป็นโพรโทคอลในรูปแบบ Host-to-Hostซึ่งหมายถึงการส่งมอบแพ็กเก็ตจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในขณะที่ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจะเป็นโพรโทคอลแบบ Port to-Port ที่ทำงานอยู่บนโพรโทคอลไอพี โดยจะส่งแพ็กเก็ตจากพอร์ตต้นทางให้กับไอพีเพื่อขอใช้บริการโพรโทคอลไอพีในการลำเลียงข้อมูล และจากการบริการของไอพีนี้เอง ก็จะส่งมอบข้อมูลไปยังพอร์ตปลายทางได้อย่างถูกต้อง ดังรูปที่.2
       
              
       เมื่อพิจารณาจากรูปที่.2 แล้ว จะพบว่า เครื่องไคลเอนต์ได้ติดต่อกับเชิร์ฟเวอร์เพื่อขอใช้บริการ Telnet พอร์ตหมายเลข 23 ซึ่งปกติการติดต่อระหว่างกันจะใช้หมายเลขไอพี ครั้งเมื่อมีการรวมหมายเลขไอพีกับหมายเลข พอร์ตเข้าด้วยกัน ก็จะเรียกว่า "ช็อกเก็ต (Socket)"
       พอร์ตแต่ละหมายเลขจะถูกกำหนดด้วยแอดเดรสที่เป็นเลขจำนวนเต็มขนาด 16 บิต และด้วยขนาดของจำนวนบิตดังกล่าว จึงถือว่ามีพียงพอต่อการใช้งาน กล่าวคือ สามารถสนับสนุนพอร์ตได้มากถึง 65,536 พอร์ตด้วยกัน (0 -65,53) อย่างไรก็ตาม ช่วงของหมายเลขพอร์ตเหล่านี้จะถูกจัดสรรขึ้นโดย ICANN (lnternet Corporation for Assigned Names and Numbers) ซึ่งมีการแบ่งหมายเลรพอร์ตออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
       1.Well Known Ports คือพอร์ตที่อยู่ในช่วงหมายเลข 0 - 1.023 ถูกกำหนดและควบคุมโดย ICANN ซึ่งสงวนไว้เพื่องานบริการมาตราฐานของโฮสต์บนฝั่งเชิร์ฟเวอร์ โดยกลุ่มที่สามารถใช้งานพอร์ต Well- known นี้ได้ ก็มีเพียงระบบปฏิบัติการ โปรเชสของระบบ หรือชอฟต์แวร์ที่ได้รับสิทธิพิเศษเท่านั้น
       2. Registered Ports คือพอร์ตที่อยู่ในช่วงหมายเลข 1,024 - 49,151 ซึ่งมิได้ถูกกำหนดหรือควบคุม โดย ICANN แต่สมารถนำไปจดทะเบียนกับ ICANN ได้ เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน
       3. Dynamic Ports คือพอร์ตที่อยู่ในช่วงหมายเลข 49:152 -65,535 ซึ่งมิได้ถูกควบคุมและไม่ได้รับการจดทะเบียน สามารถนำไปใช้งานชั่วคราวหรือนำไปใช้เป็นหมายเลขพอร์ตส่วนตัว (Private Port)
       
              
       อย่างไรก็ตาม กรณีเครื่องไคลเอนต์ที่มีการร้องขอเพื่อติดต่อกับเครื่องบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์นั้น เมื่อต้องการใช้หมายเลขพอร์ต ตัวซอฟต์แวร์ TCP จะกำหนดหมายเลขพอร์ตที่ยังว่างอยู่ให้ ซึ่งจะต้องเป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกับพอร์ตเดิมที่มีการใช้งนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ในขณะนั้น ส่วนการมัลติเพล็กข์บนชั้นสื่อสารนี้จะใช้แนวคิดที่เรียกว่าช็อกเก็ต ซึ่งเป็นตัวสำหรับแยกแยะโปรเซสระหว่างฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทางที่มีการติดต่อสื่อสารกัน จึงทำให้เราสามาถปิดเซสชั่นได้หลายเซสชั่นพร้อมกันได้ ทั้งนี้ช็อกก็ตจะประกอบด้วย 3 สิ่งด้วยกันคือ
       1. หมายเลขไอพี
       2.โพรโทคอลทรานสปอร์ต
       3. หมายเลขพอร์ต
              
              
                      เมื่อพิจารณาจากรูปที่.5 แล้ว จะพบว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ A ใช้ช็อกเก็ต [ 10.1.1.1, TCP, 80] (ปกติเว็บเซิร์ฟเวอร์จะใช้ Well- Known Port 80) และเมื่อเครื่องไคลเอนต์ B ได้เปิดโปรแกรมเบราเซอร์เพื่อติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยเครื่อง B มีการติดต่อผ่านช็อกก็ต [101.1.2, TCP, 1030] ซึ่งพอร์ตหมายเลข 1030 บนเครื่องไคลเอนต์ B นั้น จะต้องเป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกันบนเครื่องของ B เอง แต่ทำไมจึงต้องใช้หมายเลขพอร์ต1030 ก็เพราะว่า ตามปกติแล้ว โฮสต์จะกำหนดหมายเลขพอร์ตเริ่มตันที่ 1024 เป็นตันไป เนื่องจากหมายเลขพอร์ตที่อยู่ต่ำกว่า 1024 จะถูกสงวนไว้สำหรับ Wel- Known แอปพลิเคชันของตัวเซิร์ฟเวอร์เอง
       และจากรูปนี้เอง ทั้งเครื่อง B และ A มีการรันแอปพลิเคชันอยู่ 3 โปรแกรม และในขณะเดียวกัน ช็อกเก็ตทั้งสามก็จะถูกเปิดการเชื่อมต่อ และจากจุดเชื่อมต่อของแต่ละช็อกเก็ต ทำให้สามารถรันแอปพลิเคชันของตนได้จึงเป็นที่มาของการรันโปรแกรมได้หลายๆ โปรเซสนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เครื่องไคลเอนต์หลายๆเครื่อง สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์บนพอร์ต Well-Know หมายเลขเดียวกันได้ เช่น มีเครื่องไคลเอนต์จำนวน 5 เครื่อง ขอบริการพอร์ตหมายเลข 23 บนฝั่งเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้บริการโปรแกรม Telet เป็นต้น และด้วยการมัลติเพล็กซ์บนพื้นฐานของช็อกเก็ตนี้เอง จึงทำให้เกิดความมั่นใจว่าโปรเชสข้อมูลที่สื่อสารกันระหว่างฝั่งต้นทางและปลายทาง สามารถจับคู่ตรงกันได้อย่างถูกต้อง