ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
หน้าแรก       ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต         การส่งมอบข้อมูลจากโปรเซสถึงโปรเซส        แบบตัวอย่างไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์        การกำหนดตำแหน่งที่อยู่        โพรโทคอล UDP,TCP และ SCTP        ชั้นสื่อสารแอปฟลิเคชั่น
ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชัน (Application Layer)
                                                                                           
       ที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึงโพรโทคอลบนชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กและโพรโทคอลบนชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตมา แล้ว สิ่งเหล่านี้ถือเป็นกระบวนการทำงานภายในเพื่อลำเลียงข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยผู้ใช้ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องแต่ประการใด สำหรับส่วนที่ใช้ติต่อกับผู้ใช้จริง ๆ นั้น ก็คือชั้นสื่อสารแอปพลิเคชัน ที่ผู้ใช้สามารถติดต่อ หรืออินเตอร์เฟซกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นรูปแบบการสื่อสารเชิงลอจิคัล มิใช่ ฟิลิคัล โดยชั้นสื่อสารแอปพลิเคชันได้มีการจัดเตรียมโพรโทคอลต่าง ๆ ไว้มากมายเพื่อสนับสนุนงานบริการแก่ผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงเฉพาะโพรโทคอลที่สำคัญอย่างคร่าวๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)
        เป็นโพรโทคอลที่ทำหน้าที่กำหนดหรือจัดสรรหมายเลขไอพีไห้แก่โฮสต์บนเครือข่ายแบบไดนามิก ซึ่งการเชื่อมต่อใช้งานจะได้หมายเลขไอพีแบบไม่คงที่ (หมายเลขไอพีที่เชื่อมต่อใช้งานในแต่ละครั้งอาจแตกต่างกัน) อย่างไรก็ตาม กรณีคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ ที่กำหนดหมายเลขไอพีแบบคงที่ (Fixed IP) แล้วมีการโยกย้ายไปใช้งาน บนเครือข่ายอื่น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงค่าเหล่านี้ใหม่ สำหรับหลักการทำงานของ DHCP จะเป็นแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยหากเครื่องไคลเอนต์มีการร้องขอหมายเลขไอพีมายัง DHCP เซิร์ฟเวอร์ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ก็จะจัดส่งหมายเลขไอพีไปให้ ซึ่งเป็นการแจกจ่ายหมายเลขไอพีแบบอัตโนมัตินั่นเอง
              
              
DNS (Domain Name System)
        ระบบการตั้งซื่อที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า DNS ซึ่งการใช้ระบบชื่อโดเมนนี้เอง ทำให้เราจดจำชื่อเว็บไซต์ ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น สำหรับหน้าที่ของ DNS ก็คือ จะแปลงชื่อโดเมนเหล่านี้มาเป็นหมายเลขไอพี ที่สำคัญชื่อโดเมนจะมีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นที่คั่นด้วยจุด อันประกอบด้วยชื่อคอมพิวเตอร์ ชื่อเครือข่าย ชื่อซับโดเมน และชื่อโดมน (รูปที่ 1.15) ทั้งนี้โดเมนระดับสูงสุดจะเรียกว่า โดเมนราก (Root Domain) ส่วนโดเมนลูกที่อยู่ถัดจากโดเมนรากจะเรียกว่า โดเมนระดับบน (Top-Level Domain) และโดเมนลูกที่อยู่ถัดจากโดเมนระดับบนจะเรียกว่า โดเมนระดับรอง (Second Level Domain) อย่างไรก็ดี การตั้งชื่อโดเมนและซับโดเมนจะมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน และเป็นไปตามประเภทขององค์กรตามแต่ละประเทศ ตามรายละเอียดที่แสดงไว้ดังรูปที่ 11.16 - 11.17
              
              
TELNET (Telecommunication Network)
       เป็นโพรโทคอลที่ใช้สำหรับการล็อกอินเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายแบบระยะไกล (Remote Login) ตัวอย่างเช่น กรณีผู้ใช้มีบัญชียู่บนเซิร์ฟเวอร์ แต่ขณะนั้นอยู่ต่างสถานที่พี่ห่างไกล ก็สามารถใช้บริการ TELNET เพื่อล็อกอินเข้าเครือข่ายแบบระยะไกลได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังศูนย์ สำหรับเครื่องลูกข่ายที่ล็อกอินแบบระยะไกลนี้ เปรียบเสมือนเป็นเทอร์มินัลตัวหนึ่งที่เชื่อมโยงเข้ากับเซิร์ฟเวอร์โดยตรง เหมือนราวกับการเชื่อมต่อใช้งานอยู่หน้าเครื่องดังกล่าว
FTP(File Transfer Protocol)
       เป็นโพรโทคอลที่นำมาใช้กับงานบริการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างโฮสต์ ด้วยการสร้างคอนเน็กชันระหว่าง เครื่องไคลเอนต์กับเซิร์ฟวอร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องไคลเอนต์ได้ร้องขอบริการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
       เป็นโพรโทคอลสนับสนุนระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) บนอินเทอร์เน็ต เช่น การติดต่อสื่อสาร ด้วยการส่งข้อความระหว่างเครื่องผ่านอีเมลแอดเดรส
POP (Post Office Protocol)
       เป็นโพรโทคอลที่อนุญาตให้เครื่องไคลเอนต์ติดต่อกับเมลเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้าถึงกล่องจดหมายของตนเอง ครั้นเมื่อติดต่อหรือล็อกอินได้แล้ว ก็จะสามารถดำเนินรายการต่าง ๆ ในกล่องจดหมายของตนได้ เช่น การดาวน์โหลดอีเมลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาเก็บไว้ในเครื่องของตน เป็นต้น
SNMP (Simple Network Management Protocol)
       ชุดโพรโทคอล TCP/IP จะมีบริการงานจัดการเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตที่ถูกจัดเตรียมไว้แล้วในกลุ่มงานปฏิบัติการพื้นฐานเพื่อเฝ้าระวังและบำรุงรักษาเครือข่าย ด้วยการมุ่งเน้นความสะดวกในการบริหารระบบจากศูนย์กลาง โพรโทคอล SNMP จะใช้ระบบตัวแทน (Agents) ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งอาจเป็นสวิตช์หรือเร้าเตอร์ที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่น ๆ บนเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ครั้นเมื่อระบบมีการส่งคำสั่งไปยังตัวแทน และตัวแทนของ SNMP ได้ตอบรับกลับมา ก็จะสามารถควบคุมอุปกรณ์บนเครือข่ายได้ทั้งหมด นอกจากนี้ ตัวแทนแต่ละตัวจะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเองที่เรียกว่า MIB (Management Information Base) เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้ดูแลระบบ
              
              
HTTP (HyperText Transfer Protocol)
       เป็นข้อกำหนดที่ใช้สำหรับเรียกดูเอกสารจากเวิลด์ไวด์เว็บ โดยจะเป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรม เบราเซอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์
              
              
URL (Uniform Resource Locator)
       URL ถูกนำมาใช้ระบุตำแหน่งเอกสารหรือเว็บเพจบนเวิลด์ไวด์เว็บ คล้ายๆ กับการอ้างอิงตำแหน่งที่ใช้จัดเก็บไฟล์เอกสาร ยกตัวอย่างเช่น
       http://www.megacorp.com/content / features/082602. html
       จะพบว่าคำนำหน้ามีการระบุคำว่า "http" (Hypertext Transport Protocol) ซึ่งเป็นวิธีการโต้ตอบกับอินเทอร์เน็ต แต่ไม่จำเป็นต้องระบุลงไปก็ได้ เนื่องจากเว็บเบราเซอร์รับทราบถึงโพรโทคอลนี้ด้วยการใช้เป็นค่าปกติอยู่แล้ว ทำให้สามารถเขียนให้สั้นลงเป็น
       www. megacorp .com /content / features/082602. htm 1
       ลำดับถัดไปก็คือ "www.megacorp.com" คือชื่อโดเมน ส่วน "content/features" ก็คือเส้นทาง (Path) หรือ ไดเร็กทอรีบนโดเมนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้จัดเก็บเว็บเพจเหล่านั้น และสุดท้าย "082602.htm/" ก็คือไฟล์เอกสาร HTML นั่นเอง
       จึงสรุปได้ว่า ส่วนประกอบใน URL ล้วนมีความหมายในตัว ด้วยการระบุโพรโทคอลที่ใช้ (http) แล้วตามด้วยชื่อโดเมน ตำแหน่งของพาธ และท้ายสุดก็คือชื่อไฟล์เอกสาร ซึ่งเป็นไปดังรูปที่ 11.21
              
              
WWW (World Wide Web)
       เป็นระบบไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ที่ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเข้าถึงเว็บเพจ ซึ่งสามารถบรรจุได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง คลิปวิดีโอ และรวมถึงไฮเปอร์ลิงก์ที่ใช้ลำหรับคลิกอ้างอิงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ เว็บเพจที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต จะทำให้ผู้คนทั่วไปบนโลกใบนี้สามารถเข้ามาเยี่ยมชมเว็บดังกล่าวได้ ซึ่งก็คือ World Wide Web นั่นเอง
HTML (HyperText Markup Language)
       เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่ใช้กำหนดคอนเท็นต์และรูปแบบของเอกสารเว็บด้วยรหัสแท็ก (Tag) โค้ดดังกล่าวสามารถนำมาใช้เพื่ออธิบาย จัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ของเว็บเพจให้แสดงออกมาอย่างไรทางจอภาพ สำหรับการสั่งรันภาษา HTML นั้น จะต้องปิดใช้งานผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ เช่น IE, Firefox และ Chrome ฯลฯ ซึ่งโปรแกรมเบราเซอร์จะแปลโค้ดหรือรหัสแท็กเหล่านี้ให้แสดงผลออกมาทางจอภาพ โดยสามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ รูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ ภาพกราฟฟิก คลิปวิดิโอ และไฮเปอร์ลิงก์