WWW Web site Web browser Web Hosting URL FTP Anchor DNS Home page Hyperlink

 WWW

         WWW (ดับบลิวดับบลิวดับบลิว) ย่อมาจาก World Wide Web อ่านว่า เวิลด์ไวด์เว็บ หมายถึง สถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงาน มีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆ ในเรื่องนั้นต่อ ซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน หรือจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลก ดู internet, HTML, ประกอบ
         เวิลด์ไวด์เว็บ เป็น บริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสม ที่ประกอบไปด้วย ข้อความ ภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพยนตร์ เสียง  ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่ดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้ามา ใช้บริการกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ เวิลด์ไวด์เว็บยัง เป็นเครื่องมือช่วยให้เรา สามารถ ค้นหารายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลา รวมทั้งเรายังสามารถ เผยแพร่เอกสารที่เราจัดทำ ไปให้ผู้คนทั่วโลกโดยผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ ได้เช่นกัน โดยเสียค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การตีพิมพ์บนกระดาษ หรือบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้ สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่วโลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว
เวิลด์ไวด์เว็บ คืออะไร
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือมัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก
New website for the Consultative Council of European Prosecutors (CCPE) -  www.coe.int/ccpe - Newsroom

จุดกำเนิดเวิลด์ไวด์เว็บ
          เวิลด์ไวด์เว็บเริ่มใช้เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2534 โดย ทิม เบอร์เนอรส์-ลี (Tim Berners-Lee) ซึ่งทำงานบนระบบ NeXTSTEP โดยภายหลังเวิลด์ไวด์เว็บได้เปลี่ยนชื่อเป็น Nexus เพื่อป้องกันการสับสนกับ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เวิลด์ไวด์เว็บ เครือข่ายที่ ทิม เบอร์เนอรส์-ลี คิดค้นเป็นผลงานพลิกประวัติศาสตร์โลกอินเตอร์เน็ตที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบัน โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากการที่เซอร์ทิม ได้พยายามหาทางแชร์ข้อมูลจาก Hypertext ผ่านลิงค์เพื่อให้เพื่อนร่วมงานของเขาที่องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้แบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้หลาย ๆ เครื่องพร้อมกัน เจ้านายของ ทิม เบอร์เนอรส์-ลี ให้เวลาเขาในการพัฒนาแผนผังลำดับงานแบบง่าย ๆ ให้เป็นต้นแบบการทำงาน การเขียนภาษา HTML แอปพลิเคชัน HTTP และ WorldWideWeb.app ที่กลายมาเป็นเว็บเบราว์เซอร์ ต่อมาภายในปี 2534 เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็พร้อมเปิดใช้งานสู่บุคคลภายนอก
ประโยชน์ของเวิลด์ไวด์เว็บ
          World Wide Web หรือ เว็บ ได้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดสาธารณะให้คนทั่วไปได้ใช้งานกันทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์เท่านั้น มันทำหน้าที่เชื่อมต่อโลกทั้งใบในแบบที่ไม่เคยทำได้ในอดีต และช่วยให้ผู้คนได้รับข้อมูล แบ่งปันข่าวสาร และสื่อสารถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น มันยังมีส่วนช่วยให้ผู้คนได้แบ่งปันผลงานและความคิดผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ผ่านบล็อกและการแชร์วิดีโอต่าง ๆ การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่าง ๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด
World Wide Web ทำงานยังไง
          การทำงานของ WWW จะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับบริการอื่น ๆ ของอินเทอร์เน็ต คือ อยู่ในรูปแบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ (Client – server) โดยมีโปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ (Web-client) ทำหน้าที่เป็นผู้ร้องขอบริการ และมีโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ก็คือโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web browser) นั่นเองสำหรับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะถูกติดตั้งไว้ในเครื่องของผู้ให้บริการเว็บไซต์ การติดต่อระหว่างโปรแกรมเว็บบราวเซอร์กับโปรแกรมเว็บบราวเซอร์จะกระทำผ่านโปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol)
ปัญหาเวิลด์ไวด์เว็บ
          Tim Berners-Lee กล่าวถึงปัญหาที่กำลังคุกคามระบบเว็บโดยรวม มีทั้งการลดทอนและบ่อนทำลายเว็บ เช่น การแฮกโจมตีออนไลน์โดยรัฐ, กิจกรรมผิดกฎหมาย และการกลั่นแกล้งกันทางออนไลน์ การออกแบบระบบที่เน้นการทำรายได้และมีโฆษณาเป็นศูนย์กลาง ที่เอื้อให้เกิดเนื้อหาแบบ คลิกเบต (Clickbait) และการแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ และผลกระทบด้านลบที่ไม่ได้จงใจ เช่น การแสดงความเห็นที่ไม่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม เขายังมองว่ามนุษย์เองสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ และต้องพยายามแก้กันต่อไป เพื่อให้เว็บดีขึ้นมากกว่าเดิม ด้วยการตรวจสอบทั้งหน่วยงานรัฐและบรรษัทขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการปกป้องเว็บที่ดี และหนทางหนึ่งที่ดีคือการลงคะแนนเสียงให้กับนักการเมืองที่เป็นตัวแทน ซึ่งจะปกป้องระบบเว็บที่เปิดและมีอิสระ

กลับสู่ด้านบน