WWW Web site Web browser Web Hosting URL FTP Anchor DNS Home page Hyperlink

Home page

          โฮมเพจ (Homepage) คือหน้าแรกของเว็บไซต์ เปรียบเหมือนประตูบานแรกหรือทางเข้าของเว็บ เวลาที่มีคนมาเยี่ยมชมเว็บของเรา ในหน้าโฮมเพจอาจรวมเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจ อาจมีรูปภาพสวย ๆ หรืออาจจะโชว์สินค้าที่เราขาย ส่วนประกอบของโฮมเพจอาจแตกต่างกันไปตามประเภทและจุดประสงค์ของเว็บไซต์
องค์ประกอบหน้าโฮมเพจ (Homepage)
          1. ชื่อแบรนด์ ชื่อเว็บ หรือข้อมูลที่บอกให้ผู้เข้าชมเว็บรู้ว่าคุณคือใคร
          เมื่อคนคลิกเข้ามาที่หน้า Homepage ของเรา สิ่งที่พวกเขาต้องการรู้ก็คือ “เราคือใคร” ไม่ว่าจะเป็นชื่อร้าน ชื่อบริษัท หรือ Biography สั้น ๆ ที่อธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่า เราเป็นใคร มีตัวตนอย่างไรบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ธุรกิจ ร้านขายของออนไลน์ เว็บหน่วยงานหรือบริษัท สิ่งที่เราต้องมีก็คือการแสดงตัวตนให้คนที่เข้ามาชมเว็บรับรู้
logo
ตัวอย่างข้อมูลแสดงตัวตนที่ควรมี

  • ชื่อบริษัท แบรนด์ หน่วยงาน องค์กร หรือชื่อร้าน
  • ประวัติย่อหรือ Biography สั้น ๆ
  • โลโก้

          2. เราทำอะไร เราขายอะไร เราเสนออะไรให้พวกเขาได้?

          หลังจากที่ผู้เข้าชมรู้แล้วว่าเราคือใคร สิ่งต่อไปที่พวกเขาจะมองหาก็คือ “เราทำอะไร” และเรามีสิ่งที่พวกเขาต้องการหรือสิ่งที่ตอบโจทย์พวกเขาได้หรือไม่ เช่น หากเราทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น ลูกค้าที่เข้ามาอาจกำลังมองหาเสื้อยืดน่ารัก ๆ สักตัว หากเรามีรูปภาพสินค้าที่พวกเขาต้องการ ก็มั่นใจได้เลยว่าลูกค้ารายนี้ต้องหาทางคลิกไปสั่งซื้อหรืออย่างน้อยก็คลิกเข้าไปเยี่ยมชมสินค้าชิ้นนั้นแน่ ๆ

            หากเราทำเว็บไซต์บริษัทรับเหมาก่อสร้าง การนำเสนอวิสัยทัศน์ พันธกิจ และตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาเพื่อให้ผู้เข้าชมรับรู้ว่าเราทำอะไร มีผลงานที่น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน จะตามไปดูตัวอย่างงานของเราได้ที่ไหนบ้าง ก็จะทำให้พวกเขามีความเชื่อถือในการบริการของเรามากขึ้น หรือถ้าเราทำเว็บไซต์วาไรตี้ทั่วไปรวมบทความน่าอ่าน ก็ควรทำให้หน้า Homepage แสดงบทความเด่นหรือบทความล่าสุดของแต่ละหมวดหมู่ เพื่อให้คนที่เข้ามาอ่านมองหาเรื่องราวที่พวกเขาสนใจต่อไปได้

          3. มีเมนูช่วยนำทางให้กลุ่มเป้าหมายพบสิ่งที่พวกเขาต้องการ
เพราะหน้า Homepage อาจมีเนื้อหาเยอะและยาว รวมถึงมีองค์ประกอบหลายส่วนเข้ามารวมอยู่ด้วยกัน เพราะฉะนั้นอย่าลืมสร้างเมนูที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อเป็นตัวช่วยนำทางให้ผู้ที่เข้ามาได้รู้ว่าพวกเขาจะเข้าไปชมส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ที่ไหน อย่างไร
เมนูนำทาง
          เช่น หากเราทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ อย่าลืมทำเมนูให้ลูกค้ารู้ว่าทางไปหน้าร้านค้าอยู่ทางไหน หรือถ้าลูกค้าอยากไปอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับเราเพิ่มเติม พวกเขาสามารถเข้าสู่หน้า About us หรือ ติดต่อเรา ได้ตรงไหน เป็นต้น
          4. มี Call to Action (CTA) เพื่อบอกว่าลูกค้าควรทำอะไรต่อ
Call to Action หรือ CTA เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เลยในหน้า Homepage เราอาจทำเรื่องราวที่ชวนติดตามและเกริ่นนำสั้น ๆ จากนั้นเพิ่มปุ่ม อ่านต่อ ลงไปเพื่อเชิญชวนให้พวกเขาคลิกไปอ่านบทความชิ้นนั้นต่อ หรือใครอยากขายสินค้า ก็นำแค็ตตาล็อกสินค้าชิ้นที่ต้องการมาวางที่หน้าโฮมเพจของเรา และเพิ่มปุ่ม สั่งซื้อ หรือ หยิบลงตะกร้า ลงไป โดยไม่ต้องรอให้ลูกค้าเข้าไปหน้าร้านค้าเลยก็สามารถทำได้
 call to action cta
          พูดให้เข้าใจง่ายก็คือการเพิ่มปุ่ม Call to Action บนหน้าโฮมเพจจะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าหรือคนที่เข้ามาชมเว็บทำสิ่งที่เราต้องการให้พวกเขาทำต่อไปบนเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ประโยชน์ของการสร้างหน้า Homepage ให้สวยงามและมีองค์ประกอบที่จำเป็นครบถ้วน
          1. ช่วยเพิ่มความน่าติดตามและเพิ่มโอกาสในการขาย หน้าโฮมเพจที่สวยงามเป็นเหมือนตัวช่วยเพิ่มความน่าสนใจ ทำให้คนที่เข้าเว็บกวาดตาดูรายละเอียดในหน้าโฮมเพจได้ครบมากขึ้นแทนที่จะเข้ามาและกดปิดไปเลย ซึ่งการที่พวกเขากวาดตาดูสิ่งต่าง ๆ บนโฮมเพจนี่เองจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำให้พวกเขาเจอสิ่งที่สนใจ หากเราขายสินค้าหรือบริการก็ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น
          2. ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวหรือกิจกรรมที่เราต้องการ เพราะ Homepage คือหน้าแรกของเว็บไซต์ เราจึงสามารถนำข่าวหรือกิจกรรมที่ต้องการประชาสัมพันธ์มาใส่ลงไป ให้คนที่คลิกเข้าเว็บของเราได้เข้ามาอ่านเป็นอันดับแรก ๆ
          3. ช่วยเพิ่มกิจกรรมที่ผู้เข้าชมเว็บจะทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บของเรา หากเรามีหน้า Homepage ที่ดึงดูด มีรายละเอียดที่ดี และมี Call to Action ที่เหมาะสม ก็จะเป็นตัวช่วยเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับเว็บไซต์ของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นการคลิกไปอ่านบทความ คลิกไปดูสินค้า คลิกดูคลิปวิดีโอ หรือคลิกส่งข้อความหาเรา
สรุป
          การทำความเข้าใจความหมายว่า Homepage คืออะไรก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยหากเราเริ่มมองจากภาพรวมที่ใหญ่ที่สุดก่อน และเมื่อเข้าใจแล้วว่า Homepage คืออะไร ก็อย่าลืมกลับไปสำหรับหน้า “Home” ของเราเองว่า ได้จัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างเหมาะสมหรือยัง เพราะ Homepage มีประโยชน์กว่าที่คิด

กลับสู่ด้านบน