เวลา:->

                          การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ

           ข้อ ๑๑ การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการตำรวจ ในจังหวัดที่เรียกคนเป็นทหารให้กระทำ
รวมกับการตรวจเลือกคนเป็นทหาร

           ข้อ๑๒ บุคคลที่จะให้เข้ารับราชการกองประจำการนั้น ต้องตรวจร่างกายเสียก่อน การตรวจนั้นให้ปฏิบัติดังนี้
                  (๑) ตรวจทหารกองเกินในคราวเรียกมาตรวจเลือก เข้ารับราชการกองประจำการซึ่งอยู่ใน
หน้าที่คณะกรรมการตรวจเลือกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๑๖)
                  (๒) ตรวจคนที่ร้องขอเข้ากองประจำการนอกเวลา รวมคนตรวจเลือกประจำปี ให้แพทย์ในหน่วย
ที่จะรับคนเป็นผู้ตรวจ
                  (๓) ตรวจทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงขัดขืน ซึ่งจะต้องส่งเข้ากองประจำการในปีนั้น ตามมาตรา ๓๓ ให้แพทย์ในหน่วยที่จะรับคนเป็นผู้ตรวจ

            ข้อ ๑๓ บุคคลที่ไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก ตามมาตรา ๒๗ นั้น ให้คณะกรรมการ
ตรวจเลือกปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
                   (๑) สำหรับบุคคลที่ไม่มาตามมาตรา ๒๗ (๑) (๒) (๓) และ (๔) นั้น ให้บันทึกไว้ในบัญชีช่องหมายเหตุ
แล้วแต่กรณี
                   (๒) สำหรับบุคคลที่มาไม่ได้ตามมาตรา ๒๗ (๕) นั้น ให้จำหน่ายบัญชีว่าขาดไว้ก่อน แล้วมอบให้นายอำเภอ
จัดการสอบสวนตามทางการ
                   (๓) สำหรับบุคคล ที่ปรากฏว่าไปเข้าตรวจเลือกที่อำเภออื่น ตามมาตรา ๓๒ นั้น ให้บันทึกไว้ในบัญชีช่อง
หมายเหตุ
                   (๔) สำหรับบุคคลที่ป่วยไม่สามารถมาได้นั้น ให้สอบสวนปากคำผู้แทนไว้ให้ชัดแจ้ง และให้บันทึกไว้ใน
บัญชีช่องหมายเหตุว่าเป็นคนจำพวกที่ ๓ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๑๖) ไปพลางก่อน แล้วมอบให้นายอำเภอจัดการ
สอบสวนตามทางการ เมื่อสอบสวนได้ความจริงจึงให้ปฏิบัติเช่นคนจำพวกที่ ๓ แต่ไม่นับครั้งให้

           ข้อ ๑๔ พระภิกษุที่ถูกเข้ากองประจำการ ถ้ารูปใดขอผ่อนผัน ยังไม่ลาสิกขาในวันตรวจเลือก ให้คณะกรรมการ
ตรวจเลือกผ่อนผันให้ไปลาสิกขาได้ไม่เกิน ๑๐ วัน นับจากวันตรวจเลือกวันสุดท้ายของจังหวัดนั้น โดยให้นายอำเภอ
เป็นผู้ออกหมายนัดเช่นบุคคลตามมาตรา๓๔ ส่วนผู้ที่ต้องส่งเข้ากองประจำการในวันตรวจเลือกให้สัสดีจังหวัด ทำบัญชีรายชื่อ
ตาม (แบบ สด. ๑๘) ท้ายบันทึกนี้พร้อมกับตัวคนมอบให้ฝ่ายทหารหรือตำรวจรับไปทันที กับให้ชี้แจงไว้ในท้ายบัญชี
ให้ทราบด้วยว่า ยังมีพระภิกษุที่ผ่อนผันให้ไปลาสิกขาอีกกี่รูป เมื่อลาสิกขามาขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้ว ให้สัสดีจังหวัด
ส่งบัญชีรายชื่อและมอบตัวให้ฝ่ายรับคน

            ข้อ ๑๕ ถ้าผู้ที่ต้องเข้ากองประจำการประสงค์จะยื่นคำร้องต่อ คณะกรรมการชั้นสูงตามมาตรา ๓๑ ก็ให้ยื่นตรงต่อคณะกรรมการชั้นสูงทีเดียวไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเมื่อคณะกรรมการชั้นสูงได้รับคำร้องดังกล่าว
แล้วหรือรายงานกรรมการตรวจเลือก ให้พร้อมกันพิจารณาและตัดสิน แต่ถ้าเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยโรคหรือความพิการ
ต้องให้แพทย์แผนปัจจุบันชั้น ๑ ไม่น้อยกว่าสามนายที่มิใช่เป็นกรรมการตรวจเลือก ซึ่งได้ตรวจผู้นั้นมาแล้ว
ตรวจก่อนเสนอความเห็น


                           การปลดและจำหน่าย

            ข้อ ๑๖ การปลดทหาร ตำรวจออกจากกองประจำการ และการปลดบุคคลซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารที่ได้ขึ้น
ทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน ให้ปฏิบัติดังนี้
                   (๑) ทหารบก ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่จังหวัดใด ให้ผู้บังคับหน่วยทหารส่งรายชื่อผู้ที่จะครบกำหนดปลดเป็น
ทหารกองหนุนต่อผู้บังคับการจังหวัดทหารบก ที่หน่วยทหารนั้นอยู่ในเขตพื้นที่ เพื่อยื่นหางว่าวนำปลดต่อสัสดีจังหวัดที่เป็น
ภูมิลำเนาทหาร
                   (๒) ทหารเรือ ให้ผู้บังคับหน่วยทหารส่งรายชื่อผู้ที่จะครบกำหนดปลดเป็นทหารกองหนุน
ต่อกรมกำลังพลทหารเรือหรือหน่วยที่ผู้บัญชาการทหารเรือมอบหมายให้เป็นหน้าที่แล้วให้หน่วยที่ได้รับรายชื่อนี้ยื่นหางว่าว
นำปลดต่อแผนกสัสดีจังหวัดตามภูมิลำเนาทหาร และส่งรายชื่อต่อผู้บังคับการจังหวัดทหารบกที่จังหวัดภูมิลำเนาทหารอยู่
ในเขตพื้นที่ในโอกาสเดียวกันด้วย
                   (๓) ทหารอากาศ ให้ผู้บังคับหน่วยทหารส่งรายชื่อผู้ที่จะครบกำหนดปลดเป็นทหารกองหนุนต่อกรมกำลังพล
ทหารอากาศหรือหน่วยที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ มอบหมายให้ เป็นหน้าที่ แล้วให้หน่วยที่ได้รับรายชื่อนี้ยื่นหางว่าวนำปลดต่อ
แผนกสัสดีจังหวัดตามภูมิลำเนาทหารและส่งรายชื่อต่อผู้บังคับการจังหวัดทหารบกที่จังหวัดภูมิลำเนาทหาร อยู่ในเขตพื้นที่ในโอกาสเดียวกัน
                   (๔) ตำรวจ ซึ่งรับราชการประจำอยู่ในท้องที่จังหวัดใดให้ผู้กำกับการตำรวจจังหวัดนั้น เว้นแต่กรุงเทพมหานคร
ให้ผู้บังคับการกองกำลังพลกรมตำรวจ ส่งรายชื่อผู้ที่จะครบกำหนดปลดเป็นกองหนุนต่อผู้บังคับการจังหวัดทหารบกที่จังหวัด
ภูมิลำเนาทหารอยู่ในเขตพื้นที่ เพื่อขอทราบสังกัดเมื่อเป็นกองหนุน แล้วจึงยื่นหางว่าวนำปลดต่อสัสดีจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาทหาร
การยื่นหางว่าวนำปลด ให้ผู้ยื่นส่งถึงสัสดีจังหวัดก่อนวันครบกำหนด ปลดเป็นทหารกองหนุนไม่น้อยกว่าหกสิบวัน
เว้นแต่ในกรณีที่ปลดเป็นทหารกองหนุน ประเภทที่ ๒ หรือปลดเป็นพ้นราชการทหารประเภทที่ ๑ให้ยื่นหางว่าวนำปลด
ภายในสามสิบวันหางว่าวนำปลดให้ใช้ตาม(แบบสด.๗)ท้ายบันทึกนี้(๕) การปลดผู้ซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมาย
ให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนโดยมิต้องเข้ารับราชการในกองประจำการนั้น ให้กรมการรักษาดินแดน
หรือหน่วยซึ่งผู้บัญชาการทหารบกมอบหมายให้เป็นหน้าที่ ส่งบัญชีรายชื่อขอนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการและนำปลดต่อ
แผนกสัสดีจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาทหารบัญชีรายชื่อขอนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการและนำปลด
ให้ใช้ตาม (แบบ สด. ๔๒) ท้ายบันทึกนี้

           ข้อ ๑๗ การปลดทหารหรือตำรวจกองประจำการเป็นกองหนุนชั้นที่ ๑ให้ถือวันเข้ารับราชการก่อนขึ้น
ทะเบียนกองประจำการหรือตามวันที่ได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ แล้วแต่กรณี แล้วนับตั้งแต่เดือนที่เข้ารับราชการเป็นต้นไป
เป็นรายเดือนจนครบกำหนด จึงให้นำปลดในวันที่ ๑ ของเดือนถัดไป เช่นผู้ที่ต้องเข้ารับราชการมีกำหนดยี่สิบสี่เดือน และขึ้น
ทะเบียนกองประจำการในเดือนเมษายน ๒๔๙๗ จะเป็นวันที่เท่าใดก็ตาม ต้องปลดในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๙๙ ส่วนผู้ที่มีกำหนดให้รับราชการประจำการน้อยกว่าที่กล่าวนี้ ก็ให้นับวันรับราชการสำหรับการปลดโดยอนุโลมทำนองที่กล่าวแล้ว

            ข้อ ๑๘ การคำนวณวันรับราชการกองประจำการนั้น ให้นับวันป่วย วันลา ตามข้อบังคับทหารว่าด้วยการลา วันถูกควบคุมหรือต้องโทษเข้ารวมด้วย ส่วนผู้ที่รับราชการ ยังไม่ครบกำหนดเพราะเหตุอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ต้องให้รับราชการ
จนครบกำหนดแล้วจึงปลดในวันที่ ๑ ของเดือนถัดไป

            ข้อ ๑๙ ผู้ที่ครบกำหนดปลดในระหว่างที่ถูกควบคุมหรือต้องโทษอยู่ให้นำปลดทีเดียวไม่ต้องรอจนพ้นโทษ
ต่อเมื่อพ้นโทษแล้วจึงปล่อยตัวไป

            ข้อ ๒๐ การปลดทหารหรือตำรวจกองประจำการ สัสดีจังหวัดต้องถือหลักฐานวันรับราชการตามหางว่าวนำปลด
ประกอบกับวันรับราชการตามทะเบียนกองประจำการทหารที่อยู่ในกองประจำการ ถ้าปรากฏว่าพิการทุพพลภาพหรือมีโรค
ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องให้แพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑ เป็นกรรมการ
อย่างน้อยสามนาย ในจำนวนนี้ต้องเป็นแพทย์ในหน่วยทหารอย่างน้อยหนึ่งนายจัดการตรวจ ถ้าเป็นจริงให้ออกใบสำคัญตาม
(แบบ สด. ๖) ท้ายบันทึกนี้ และนำปลดเป็นพ้นราชการทหารแต่การปลดตำรวจในกรณีดังกล่าวในวรรคก่อน ถ้าแห่งใดมีแพทย์
แผนปัจจุบันชั้น ๑ ที่จะจัดการตรวจไม่ครบตามจำนวน ให้จัดแพทย์ชั้นที่ต่ำกว่าสมทบให้ครบจำนวน แต่ต้องให้มีแพทย์
แผนปัจจุบันชั้น ๑ เป็นกรรมการในจำนวนนั้นอย่างน้อยหนึ่งนายการปลดผู้ซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหาร สัสดีจังหวัดต้องถือหลักฐาน
ตามบัญชีรายชื่อขอนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการและนำปลด ประกอบกับทะเบียนกองประจำการ และสำเนาหนังสือสำคัญ
ประจำตัวแสดงวิทยะฐานะ

            ข้อ ๒๑ การปลดทหารกองประจำการตามมาตรา ๔๐ นั้น ถ้าอายุยังไม่ครบสามสิบปีบริบูรณ์ ให้ปลดเป็น
กองหนุนชั้นที่ ๑ ประเภทที่ ๒จนกว่าอายุจะครบสามสิบปีบริบูรณ์ถ้าอายุครบสามสิบปีบริบูรณ์แล้วให้ปลดเป็นกองหนุนชั้นที่เหมาะกับ
อายุเช่นเดียวกับการปลดทหารกองเกิน

            ข้อ ๒๒ การปลดทหารกองหนุนให้กระทำด้วยวิธีต่อไปนี้
                    (๑) ประเภทที่ ๑ ปลดเป็นกองหนุนในเดือนใด ให้นับครบกำหนดปลดชั้นต่อไปในวันที่ ๑ ของเดือน
ที่ครบกำหนดปลดนั้นไม่ต้องคิดรายวัน
                    (๒) ประเภทที่ ๒ แม้จะลงบัญชีทหารกองเกินหรือทหารกองหนุน ในวันเดือนปีใดก็ตาม ถ้าอายุครบกำหนด
ในปีใดให้ปลดในวันที่ ๑ ของปีที่อายุครบ ไม่ต้องคิดรายวันรับราชการเช่นบุคคลอายุยี่สิบแปดปีบริบูรณ์ลงบัญชีทหารกองเกิน
เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๗ คิดครบกำหนดเป็นกองหนุนชั้นที่ ๒ วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๙
                    (๓) ในการเรียกระดมพล การเรียกเข้าฝึกวิชาทหาร หรือในการทดลองความพรั่งพร้อมคราวใด ถ้าปรากฏว่า
ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคตามกฎกระทรวง ซึ่งจะต้องปลดเป็นพ้นราชการทหารตาม
มาตรา ๔๑ ให้ออกใบสำคัญ (แบบ สด. ๖) แต่ให้แพทย์ที่ตรวจร่างกาย ๑ นายทหารผู้อำนวยการ ๑ และนายทหารสัญญาบัตร
ซึ่งแทนหน่วยทหารในการนั้น ๑ เป็นผู้ลงชื่อในใบสำคัญ

            ข้อ ๒๓ ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญ คือ
                    (๑) หนังสือสำคัญซึ่งออกให้ตามมาตรา ๙ นั้น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัดออกตาม
(แบบ สด. ๘) ท้ายบันทึกนี้ และลงชื่อประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญ
                    (๒) ใบสำคัญซึ่งออกให้ตามมาตรา ๔๐ นั้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัดออกตาม
(แบบ สด. ๙) ท้ายบันทึกนี้ แต่ต้องแก้ตำแหน่งนายอำเภอ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และเติมตำแหน่งสัสดีจังหวัดลงด้วย แล้วลงชื่อประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญ
                    (๓) ในกรณีที่ปลดพ้นราชการทหารตามมาตรา ๔๑ นั้น จะต้องพิจารณาว่าการปลดนั้น
ปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ ๑ หรือที่ ๒ ถ้าเป็นการปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ ๑ ให้ออกหนังสือสำคัญตาม (๑)
ถ้าปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ ๒ ให้ออกใบสำคัญตาม (๒)
                    (๔) ใบสำคัญซึ่งออกให้ตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ นั้นให้ออกตาม (แบบ สด. ๙) และให้นายอำเภอลงชื่อประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญและให้สัสดีอำเภอลงชื่อรับรองว่าเป็นการถูกต้องในหลังใบสำคัญนั้นด้วย
                    (๕) หนังสือสำคัญสำหรับการปลดตำรวจในจังหวัดที่เรียกคนเข้ารับราชการแต่เฉพาะตำรวจนั้นให้ออก
ตาม (แบบ สด. ๘) และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อ และประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญ กับให้ผู้กำกับหรือ
ผู้บังคับกองตำรวจลงชื่อในหนังสือสำคัญนี้ด้วย

            ข้อ ๒๔ การออกหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญในหน้าที่สัสดีจังหวัดให้จัดการดังนี้
                   (๑) หนังสือสำคัญซึ่งออกให้ตามมาตรา ๙ หรือใบสำคัญซึ่งออกให้ตามมาตรา ๔๐ นั้น ให้ส่งไปยังเจ้าหน้าที่
ผู้ขอปลดเพื่อส่งแก่หน่วยต้นสังกัดจัดการมอบให้ตัวรับไป
                   (๒) ถ้าทหารกองหนุนที่ได้รับหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญตามข้อ ๒๓ (๑) หรือ (๒) ไปแล้ว มีเหตุต้องปลดพ้น
ราชการทหารก็ให้เรียกหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญนั้น มาลงวันปลดพ้นราชการทหารในด้านหลังหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญ
แล้วผู้ว่าราชการจังหวัด และสัสดีจังหวัด ลงชื่อและประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญ ส่วนวันปลดที่ได้ลงไว้เดิม
ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดนั้นให้ขีดฆ่าและลงชื่อสัสดีจังหวัดกำกับไว้
                   (๓) ทหารกองเกินที่นายอำเภอออกใบสำคัญให้ไว้ ถ้าต้องปลดพ้นราชการทหารตามมาตรา ๔๑ ให้ออก
ใบสำคัญให้ใหม่ตามข้อ ๒๓ (๓) และให้เรียกใบสำคัญเดิมมาทำลายเสีย

           ข้อ ๒๕ นายอำเภอท้องที่ได้รับหลักฐานการขอเปลี่ยนชื่อตัวก็ดี ชื่อสกุลก็ดี หรือทั้งชื่อตัวชื่อสกุลก็ดี
ตามมาตรา ๑๒ วรรคท้าย เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้แก้ใบสำคัญเฉพาะที่อำเภอออกให้โดยขีดฆ่าคำเดิมด้วยหมึกดำ แล้วเขียนคำที่ขอแก้ลงใต้หรือต่อคำที่ขีดฆ่า แล้วประทับตราประจำตำแหน่งนายอำเภอตรงที่ขีดฆ่าแล้วแก้บัญชี (แบบ สด. ๑)
ที่อำเภอและบอกให้จังหวัดแก้บัญชี (แบบ สด. ๒๗) ไว้ให้ตรงกันส่วนหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญที่จังหวัดออกให้
ต้องส่งสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อให้จังหวัดแก้ไข โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับวรรคแรกแต่ประทับตราประจำตำแหน่งสัสดีจังหวัด
ตรงที่ขีดฆ่า ถ้าที่ใดยังไม่มีตราประจำตำแหน่งสัสดีจังหวัดก็ให้ประทับตราประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแทนหนังสือสำคัญ
หรือใบสำคัญที่ผิดชื่อหรือคำต่าง ๆ ซึ่งต้องแก้ไข ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับวรรคแรก

            ข้อ ๒๖ ถ้าผู้ที่ได้รับหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญตาม ข้อ ๒๓ นั้น ต้องจำหน่ายด้วยประการใด ๆซึ่งจะไม่ต้องถือ
อีกต่อไปแล้ว ให้จัดการเรียกหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญนั้น มาทำลายเสีย ถ้าเรียกไม่ได้ให้สอบสวนว่าเรียกไม่ได้เพราะเหตุใด ถ้ามีต้นขั้วต้องบันทึกไว้ในต้นขั้วให้ทราบเรื่องตามหลักฐานในหนังสือหรือบัญชีฉบับใด พ.ศ. ใดด้วย
            ข้อ ๒๗ ทหารหรือตำรวจกองประจำการ ทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุน ตายให้จัดการจำหน่ายทะเบียน
กองประจำการและบัญชีการจำหน่ายตายนี้ ถ้าเป็นทหารเรือหรือตำรวจกองประจำการ ให้หน่วยต้นสังกัดแจ้งต่อสัสดีจังหวัด
ตามภูมิลำเนาทหารของผู้ตาย แล้วให้จังหวัดนั้นแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของผู้ตาย
เพื่อจำหน่ายทะเบียนบัญชีตามระเบียบ ถ้าเป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนในจังหวัดที่เรียกคนเข้ารับราชการทหาร
ให้นายอำเภอท้องที่ที่ทหารนั้นตายแจ้งต่อจังหวัดตามภูมิลำเนาทหารของผู้ตาย ถ้าเป็นจังหวัดที่มิได้เรียกคนเข้ารับราชการทหาร
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งต่อสัสดีที่ทำการแทนด้วยทั้งนี้ ให้แจ้งต่อกันภายในสามสิบวัน


                                              หน้า   1   2   3   กลับหน้าแรก

Hosted by www.Geocities.ws

1