ใบความรู้ : บัญชีเบื้องต้น 1
โรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์"
299  ถ. กาญจนวณิชย์ ต.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา 90120 โทร. 074-411070  โทรสาร 074-411366

Home
Up
นายอำเภอขรรค์ชัย กัมพลานนท์
ประวัติโรงเรียน
บุคลากรของโรงเรียน
รางวัลนายอำเภอขรรค์ชัย
การจัดการเรียนการสอน
E_Learning
งานจริยธรรม
เก็บเอามาบอกลอกเอามาเล่า
บุคคล:หน่วยงานที่สนับสนุนโรงเรียน
ข่าวขรรค์ชัย
สมุดเยี่ยม
กระดานข่าว
ชมภาพกิจกรรม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
เว็บไซต์ผลงานนักเรียน

 

ใบความรู้ วิชา 2200 - 1003 บัญชีเบื้องต้น 1
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี

เรื่อง ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี

ความหมายของ "การบัญชี" และ "การทำบัญชี"
การบัญชี (Accounting)
หมายถึง งานศิลปะของการนำรายงานและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล 
และวิเคราะห์ ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์

คำว่า การบัญชี (Book-keeping) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมาย เช่น 

"การบัญชี คือ การจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงิน และสิ่งที่มีค่าเป็นเงิน
ไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้"

การทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึง งานประจำที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก
และรวบรวมข้อมูลประจำวันเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินได้ 
การทำบัญชีเป็นงานย่อยส่วนหนึ่งของการบัญชี
บุคคลผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชี เรียกว่า นักบัญชี (Accountant) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่บันทึกและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเงินประจำวัน เรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper)


 ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี

1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงาน
ที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และ
ทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็น
ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าไว้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ

เรื่อง รูปแบบกิจการของธุรกิจ 

รูปแบบของกิจการ (Forms of Organization) 
การจัดทำงบการเงินในแต่ละธุรกิจจะมีรายการค้าที่แตกต่างกันออกไปบ้าง โดยต้องศึกษาว่ากิจการค้านั้นตั้งขึ้นในลักษณะใดและประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างไร
กิจการหากแบ่งตามลักษณะของการดำเนินงานเพื่อประกอบการ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 
1. กิจการให้บริการ เรียกว่า ธุรกิจบริการ (Service business) เป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน บริษัทขนส่ง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
2. กิจการจำหน่ายสินค้า (ซื้อมาขายไป) เรียกว่า ธุรกิจพาณิชยกรรม (Merchandising business) เป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ทำการผลิตเอง เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
3. กิจการอุตสาหกรรม เรียกว่า ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing business) เป็นธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าเองโดยการซื้อวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไปจำหน่าย เช่น บริษัทผลิตยา บริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น 

รูปแบบกิจการของธุรกิจแบ่งตามลักษณะของการจัดตั้งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship) 
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) 
3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company) 

1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship) 
เป็นธุรกิจขนาดเล็กใช้เงินทุนไม่มากมีเจ้าของเพียงคนเดียวเป็นผู้นำเงินมาลงทุนและทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานเอง เช่น ร้านค้าปลีก อู่ซ่อมรถ และกิจการบริการวิชาชีพต่างๆ เป็นต้น ผู้เป็นเจ้าของกิจการเป็นผู้มีสิทธิ์ในสินทรัพย์ และเมื่อมีกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นก็จะเป็นผู้รับส่วนของกำไรหรือขาดทุนทั้งหมดนั้นแต่เพียงผู้เดียว ตลอดจนรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวนเช่นเดียวกัน ในทางกฎหมายกิจการเจ้าของคนเดียวไม่ถือเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของกิจการแต่ในทางบัญชีถือเป็นหน่วยอิสระหน่วยหนึ่งและแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของ ข้อดีของธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของกิจการเจ้าของคนเดียวนี้คือ การจัดตั้งและการบริหารงานง่าย รวดเร็ว เนื่องจากการตัดสินใจขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ส่วนข้อเสียคือ การขยายกิจการทำได้ยาก เพราะมีเจ้าของเพียงคนเดียว การกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จึงขึ้นอยู่กับฐานะและชื่อเสียงของเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว รูปแบบของกิจการชนิดนี้มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา และเสียภาษีในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

2. กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership) 
เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงร่วมลงทุนซึ่งทุนที่จะนำมาลงทุนนั้นอาจเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือแรงงานก็ได้ 
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรระหว่างกัน 
มีการกำหนดเงื่อนไขในการบริหารงานและการแบ่งผลกำไรไว้อย่างชัดเจน 
ผู้ลงทุนในห้างหุ้นส่วน เรียกว่า "ผู้เป็นหุ้นส่วน" 
กิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางมักจัดตั้งขึ้นในรูปของห้างหุ้นส่วน 
ข้อดีของธุรกิจที่ตั้งขึ้นในรูปแบบกิจการห้างหุ้นส่วนคือ 
การตัดสินใจในการบริหารงานเป็นไปอย่างรอบคอบเนื่องจากมีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมในการตัดสินใจ 
การขยายกิจการทำได้ง่ายกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว 
ส่วนข้อเสียคือ 
อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ เนื่องจากต้องรอความเห็นชอบจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ๆ ก่อน 
ห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ (ปพพ.) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ 
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด 
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือหุ้นส่วนสามัญ 
ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน หมายความว่าถ้าห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลายและสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ไม่พอนำมาชำระหนี้ เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามารถฟ้องร้องหุ้นส่วนแต่ละคนให้นำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ได้ 
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ 
ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 
ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีฐานะเป็นคณะบุคคลมิใช่นิติบุคคลมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียวและเสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ 
2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนนั้น 
2.2 หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
หุ้นส่วนพวกนี้เท่านั้นที่จะเป็นผู้บริหารห้างหุ้นส่วนในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วน 

ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคลและมีหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบใน
หนี้สินไม่จำกัดจำนวนอย่างน้อย 1 คน เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company) 
 เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 7 คน 
 ผู้เริ่มก่อการตอนจดทะเบียนบริคณฑ์สนธิต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น 
 ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทจำนวนทุนและจำนวนหุ้นจดทะเบียน และแบ่งทุนออกเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน 
 บริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคลคือ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของคือผู้ถือหุ้น (Stockholders or Shareholders) 
 ผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น 
 บริษัทจะให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของราคาหุ้นที่ขาย 
 ผู้ถือหุ้น 1 หุ้นมีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น 1 เสียง ถ้ามีหุ้นเป็นจำนวนมากจะมีสิทธ์ออกเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่นั้น 
 ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่มีสิทธิ์เข้ามาจัดการงานของบริษัท เว้นแต่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการเพราะการจัดการบริษัทเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทเท่านั้น
 ผู้ถือหุ้นได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividends) 
 หุ้นของบริษัทจำกัดอาจเปลี่ยนมือกันได้โดยการจำหน่ายหรือโอนหุ้นให้ผู้อื่น โดยไม่ต้องเลิกบริษัท เนื่องจากผู้ถือหุ้น (เจ้าของ) ทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทจำกัด
 จำนวน คุณสมบัติส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจึงไม่เป็นสาระสำคัญ 
 บริษัทที่จดทะเบียนแล้วจะใช้คำนำหน้าว่า "บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด" 
ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ จะใช้คำว่า "บริษัท….….จำกัด" หรือไม่ก็ได้ 
บริษัทจำกัดมี 2 ประเภท คือ 
1. บริษัทเอกชนจำกัด (Private Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ตามมาตรา 1096 มีผู้เริ่มก่อการไม่ต่ำกว่า 7 คน
2. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 15 คน และต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อย 5 % ของทุนจดทะเบียนแต่ละคนถือหุ้นไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จดทะเบียน และตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป/ต้องมีคำนำหน้าชื่อว่า"บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด (มหาชน)"

ประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีคือ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2542 ทางสมาคมได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีใหม่ และยกเลิกมาตรฐานการบัญชีเดิมในหลายฉบับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนามาตรฐานการบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
แนวคิดพื้นฐานของการบัญชีจะเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการศึกษาแนวทิศทางการบัญชี จะช่วยให้เข้าใจถึงหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งโยงไปถึงหลักเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน และจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินมีความเข้าใจ และเชื่อถือในข้อมูลทางการบัญชีมากขึ้นด้วย ซึ่งสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้กำหนดไว้ในแม่บทการบัญชี ซึ่งเป็นมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ที่ใช้แทนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 เรื่องข้อสมมติขั้นมูลฐานทางการบัญชี ดังนี้

ข้อสมมติทางการบัญชี
1 เกณฑ์คงค้าง 
ภายใต้เกณฑ์คงค้าง รายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้ เมื่อเกิดขึ้น ไม่ใช่เมื่อมีการรับ หรือจ่ายเงินสด ซึ่งหมายถึง การบันทึกรายการทางการบัญชีจะบันทึกและแสดงในงบการเงินตามงวดเวลาที่รายการนั้นๆ เกินขึ้นจริง โดยไม่คำนึงว่ามีการรับเงินสด หรือจ่ายเงินสดขณะเกิดรายการนั้นหรือไม่ 
2 การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง 
โดยทั่วไปงบการเงินจะจัดทำขึ้นภายใต้ข้อสมมติว่ากิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ซึ่งหมายถึง กิจการที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ย่อมมีวัตถุประสงค์จะดำเนินงานต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่มีกำหนดเวลา ว่าจะเลิกกิจการเมื่อไร หรือนานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามแผนงาน และข้อผูกพันต่างๆ ที่ได้ผูกพันไว้จนกว่าจะเสร็จ 
ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณะเชิงคุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพหลักของงบการเงินมี 4 ประการได้แก่ ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเชื่อถือได้ และการเปรียบเทียบกันไป 
2.1 ความเข้าใจได้ 
หมายถึง งบการเงินนั้นจะต้องสามารถเข้าใจได้ทันที่ที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูล ทั้งนี้อยู่ภายใต้ข้อสมมติที่ว่าผู้ใช้งบการเงินนั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องของธุรกิจพอควร 
2.2 ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ 
ข้อมูลที่ปรากฎในงบการเงินจะต้องเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้งบการเงิน นั่นคือ สามารถทำให้ผู้ใช้งบการเงินประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งยืนยัน หรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้ 
2.3 ความเชื่อถือได้ 
ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินจะต้องปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ และความลำเอียง นั่นคือ จะต้องแสดงรายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีอย่างเที่ยงธรรม ตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรจะแสดง ตามเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ เช่น กิจการอาจจะโอนรถยนต์ให้กับบุคคลอื่น โดยมีหลักฐานยืนยันการโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย แต่ในสัญญายังระบุให้กิจการสามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ดังกล่าวในอนาคตนั่นต่อไป กรณีเช่นนี้ การที่กิจการจะรายงานว่ามีการขายรถยนต์ จึงไม่สามารถถือได้ว่าเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการที่เกิดขึ้น 
ผู้จัดทำงบการเงินจะต้องใช้ความระมัดระวังในการรายงานเหตุการณ์ทางการเงิน เมื่อประสบกับความไม่แน่นอน อันหลีกเลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์บางอย่าง เช่น ความสามารถในการเก็บหนี้, การประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ความไม่แน่นอนของหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากสัญญารับประกัน, คดีฟ้องร้อง โดยจะต้องใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการรายได้ ความไม่แน่นอน เพื่องบการเงินแสดงจำนวนที่สูงหรือต่ำจนเกินไป นอกจากนี้ ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ต้องครบถ้วน ภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญ และต้อทุนในการจัดทำ 
เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ซึ่งถ้าหากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีโอกาสรับทราบแล้วอาจจะตัดสินผิดไปในกรณีที่รับทราบ ในทางปฏิบัติความมีนัยสำคัญของรายการมักจะกำหนดโดยคิดเทียบเป็นร้อยละของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือกำไรสุทธิ แล้วแต่กรณี 
2.4 การเปรียบเทียบกันได้ 
ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกัน เพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการนั้น และต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างกิจการเพื่อประเมินฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน โดยผู้ใช้งบการเงินต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย 
อย่างไรก็ตาม แม้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 จะถูกยกเลิกแล้ว แต่ในเนื้อหาบางส่วนโดยเฉพาะข้อสมมติขั้นมูลฐาน ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ศึกษาวิชาการบัญชีต้องทำความเข้าใจ 
ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี คือ ข้อกำหนดทางการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันโดยไม่มีการพิสูจน์ โดยปกติมักกำหนดขึ้นจากการประมวลจากหลักและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ กัน ในบางครั้งข้อกำหนดดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่มีเหตุผล ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีเป็นหลักเกณฑ์ที่สำตัญในการจัดทำงบการเงิน หากผู้ใช้งบการเงินไม่เข้าใจถึงข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี ก็ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมนักบัญชีจึงเสนอข้อมูลในลักษณะเช่นนั้น โดยปกตินักบัญชีที่จัดทำงบการเงินจะไม่กล่าวถึงข้อสมมติดังกล่าวซ้ำอีก ทั้งนี้ เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่าข้อสมมติขั้นมูลฐานนั้น ได้รับการยอมรับและใช้กันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากในการจัดทำงบการเงินไม่ได้ใช้ข้อสมมติดังกล่าว ก็จำเป็นต้องเปิดเผยให้ทราบพร้อมด้วยเหตุผล เท่าที่ผ่านมาข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี ถูกกำหนดขึ้นโดยประมวลมาจากหลักและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ กัน จนข้อสมมตินั้น ๆ ได้ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป คณะกรรมการของสมาคมวิชาชีพการบัญชีและนักวิชาการต่าง ๆ ได้พยายามจัดทำข้อสมมติขั้นมูลฐานดังกล่าว ซึ่งปรากฏว่าทำกันได้หลายแบบ แต่ละแบบจะมีจำนวนข้อสมมติซึ่งเป็นแนวความคิดขั้นมูลฐาน (Concepts) ข้อสมมติขั้นมูลฐาน (Assumption) และหลักการบัญชี (Principles) ต่าง ๆ กัน ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 ซึ่งกำหนดให้เริ่มถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับงวดหรือปีสิ้นสุด วันที่ 1 กันยายน 2522 เป็นต้นไป สรุปได้ดังนี้ 
หลักการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี (The Monetary Unit Assumption) การบัญชีให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทางการบัญชีอาจเป็นพรรณาโวหารก็ได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวจะให้ความหมายไม่ชัดเจนเท่า
ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เนื่องจาก หน่วยเงินตราใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน และทำหน้าที่เป็นหน่วยวัดราคา ดังนั้นนักบัญชีจึงใช้หน่วยเงินตราในการวัดผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ 
หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ (The Entity Concept) ข้อมูลทางการบัญชีเป็นข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานหนึ่ง ๆ ซึ่งแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการและกิจการอื่น หน่วยงานในที่นี้ได้แก่หน่วยธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นในรูปของบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน บุคคลคนเดียวหรือในรูปอื่น ดังนั้นจึงต้องระบุหน่วยของกิจการไว้ในงบการเงินนั้น ๆ 
ความเป็นหน่วยงานตามข้อสมมติของการบัญชีอาจไม่เหมือนกับความหมายของความเป็นหน่วยงานตามกฎหมาย เช่น บริษัทต่าง ๆ ในเครือเป็นกิจการแยกกันตามกฎหมาย แต่ในการทำงบการเงินรวมนักบัญชีถือว่าบริษัทต่าง ๆ ในเครือนั้นเป็นหน่วยธุรกิจเดียวกัน 
หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม (The Objectivity Principle) เนื่องจากงบการเงินทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งอยู่ในสถานะต่าง ๆ กัน นักบัญชีผู้ทำงบการเงินอยู่อีกสถานะหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจงบการเงินของกิจการได้ถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด การบันทึกรายการบัญชีและการทำงบการเงิน จึงต้องจัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักฐานและข้อเท็จจริงอันเที่ยงธรรมที่บุคคลต่าง ๆ ยอมรับและเชื่อถือได้ หลักฐานดังกล่าวจะต้องปราศจากความลำเอียงหรือไม่มีอคติต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ โดยพยายามหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนบุคคลให้มากที่สุด 
หลักรอบเวลา (The Time Period Assumption) กระบวนการการบัญชีการเงินให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกิจการสำหรับรอบเวลาหรือรอบบัญชีที่ระบุไว้ ส่วนผู้ใช้งบการเงินทำการประเมินผลและตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการตามวาระและเวลาต่าง ๆ กันตลอดอายุของกิจการ ดังนั้น จึงต้องแบ่งการทำงานของกิจการออกเป็นรอบเวลาสั้น ๆ เพื่อจัดทำข้อมูลไว้เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ โดยปกติรอบเวลาดังกล่าวมักจะกำหนดไว้เท่ากันเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบและมีระบุไว้ชัดในงบการเงิน 
หลักการดำเนินงานสืบเนื่อง (The Going Concern Assumption) กิจการที่จัดตั้งขึ้นย่อมมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอยู่โดยไม่มีกำหนด กล่าวคือ หากไม่มีเหตุชี้เป็นอย่างอื่นแล้ว กิจการที่ตั้งขึ้นย่อมจะดำเนินงานต่อเนื่องกันไปอย่างน้อยก็นานพอที่จะดำเนินงานตามแผนและข้อผูกพันที่ได้ทำไว้จนสำเร็จ นักบัญชีจึงมีข้อสมมติขั้นมูลฐานว่ากิจการไม่ตั้งใจที่จะเลิกดำเนินงาน หรือไม่จำเป็นต้องเลิกดำเนินงาน หรือต้องลดปริมาณการดำเนินงานลงอย่างมาก หากมีเหตุอื่นใดชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ในภายหน้าจะไม่เป็นไปตามข้อสมมติดังกล่าว ก็จะต้องใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้สำหรับเหตุการณ์นั้น ๆ โดยเฉพาะแทน 
หลักราคาทุน (The Cost Principle) หลักราคาทุนเกี่ยวโยงกับหลักความดำรงอยู่ของกิจการ ตามหลักราคาทุนการบันทึกสินทรัพย์และหนี้สินถือเกณฑ์ราคาทุนเดิม ซึ่งหมายถึงราคาอันเกิดจากการแลกเปลี่ยน ราคาทุนเป็นราคาที่เหมาะสมกว่าราคาอื่น ๆ เพราะราคาทุนเป็นราคาที่แน่นอนและสามารถคำนวณได้อย่างตรงไปตรงมาไม่ขึ้นอยู่กับความเห็นของแต่ละคนซึ่งอาจแตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตามการใช้ราคาทุนเป็นเกณฑ์ก็มีข้อเสียหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในกรณีที่มีการใช้ราคาอื่นที่มิใช่ราคาทุน ควรเปิดเผยให้ทราบด้วย 
หลักการเกิดขึ้นของรายได้ (The Revenue Realization Principle) หลักการเกิดขึ้นของรายได้เป็นหลักเกี่ยวกับการบันทึกรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าว่าควรจะถือว่ารายได้เกิดขึ้นเมื่อใด และในจำนวนเงินเท่าใด 
โดยทั่วไป นักบัญชีจะลงบันทึกว่ารายได้ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อมีเงื่อนไข 2 อย่างต่อไปนี้ 
(1) กระบวนการก่อให้เกิดรายได้ได้สำเร็จแล้ว และ 
(2) การแลกเปลี่ยนได้เกิดขึ้นแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รายได้เกิดขึ้นในงวด ซึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว สำหรับจำนวนเงินที่บันทึกเป็นรายได้นั้นก็คือจำนวนที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีนักบัญชีถือว่ารายได้เกิดขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์อื่นที่แตกต่างไปจากข้างต้น 
หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้ (The Matching Principle) หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของบัญชีคือการจับคู่ผลความสำเร็จ (ตามที่วัดด้วยรายได้) กับความพยายาม (ตามที่วัดด้วยค่าใช้จ่าย) หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เป็นแนวทางสำหรับตัดสินว่า รายการใดบ้างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ๆ วิธีการคือ จะมีการบันทึกรายได้ตามหลักการเกิดขึ้นของรายได้ก่อน ถัดจากนั้นจึงเอาค่าใช้จ่ายไปจับคู่กับรายได้ 
เมื่อพิจารณาหลักการเกิดขึ้นของรายได้คู่กันไปกับหลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เราจะได้หลักที่นิยมเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า หลักเงินค้าง (Accrual Basis) ในปัจจุบันนี้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้บัญญัติศัพท์บัญชีคำนี้แล้วโดยเรียกว่า "เกณฑ์คงค้าง" 
หลักเงินค้าง หรือ เกณฑ์คงค้าง (The Accrual Principle) ในการคำนวณกำไรและขาดทุนสำหรับงวด นักบัญชีต้องคำนึงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายนั้น และแยกส่วนที่ไม่เป็นของงวดนั้นออก ตามวิธีการบัญชีที่ถือเกณฑ์เงินสด จำนวนเงินที่จ่ายไปทั้งหมดสำหรับงวดอาจถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แต่ตามหลักเงินค้างหรือเกณฑ์คงค้าง รายได้ถือว่าเกิดขึ้นเมื่อเข้าเกณฑ์ 2 ประการดังกล่าวแล้ว และใช้หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับงวด แม้จะยังไม่มีการรับเงินและจ่ายเงินก็ตาม 
หลักโดยประมาณ (The Approximation Assumption) การคำนวณกำไรและขาดทุนต้องอาศัยการปันส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายเข้ารอบบัญชีต่าง ๆ เข้ากิจกรรมต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนและเป็นส่วนเข้ากิจกรรมที่มีลักษณะร่วมกัน การคำนวณจึงจำเป็นต้องทำโดยวิธีการประมาณการ 
การที่การดำเนินงานของกิจการมีลักษณะต่อเนื่องกันมีความสลับซับซ้อนมีความไม่แน่นอนและมีลักษณะร่วมสัมพันธ์กัน ทำให้นักบัญชีไม่อาจคำนวณกำไร และขาดทุนได้ถูกต้องแน่นอนจึงต้องใช้วิธีประมาณการและใช้ดุลยพินิจประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
หลักความสม่ำเสมอ (The Consistency Principle) การใช้งบการเงินสำหรับระยะเวลาหนึ่ง บางครั้งอาจเพียงพอในการช่วยตัดสินใจ แต่งบการเงินสำหรับระยะเวลาหลาย ๆ ช่วงติดต่อกันไปย่อมจะมีความหมายและให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้ดีกว่าการเปรียบเทียบงบการเงินสำหรับระยะเวลาที่แตกต่าง ย่อมจะเกิดผลและมีประโยชน์ต่อเมื่องบการเงินนั้น ๆ ได้จัดทำขึ้นโดยอาศัยมาตรฐานการบัญชีเดียวกัน 
ฉะนั้นการปฏิบัติทางบัญชีของกิจการหนึ่ง ๆ จึงต้องยึดหลักความสม่ำเสมอ กล่าวคือ เมื่อเลือกใช้การปฏิบัติบัญชีวิธีใดแล้วจะต้องใช้วิธีนั้นโดยตลอด แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความว่าจะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติบัญชีไม่ได้เลย เพราะเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมในธุรกิจย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา 
หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ (The Full Disclosure Principle) นักบัญชีมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลการเงินที่สำคัญทั้งหมดต่อผู้ใช้งบการเงิน ในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่า การเปิดเผยอย่างเพียงพอควรมีลักษณะอย่างไร โดยทั่วไปนักบัญชีจะตัดสินโดยถือว่า ถ้าไม่เปิดเผยแล้วจะเป็นเหตุให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิด
หรือไม่ ความเห็นจึงอาจแตกต่างกันได้มาก ว่ารายการใดบ้างที่ควรเปิดเผย ดังนั้น หลักเกณฑ์ที่ควรนำมาใช้คือ "เมื่อสงสัยให้เปิดเผย" 
การเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอหมายความรวมถึง รูปแบบการจัดรายการและข้อมูลในงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน คำศัพท์ที่ใช้ การแยกประเภทรายการ เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณ ฯลฯ ทั้งหมดนี้เน้นถึงลักษณะและชนิดของการเปิดเผยต่าง ๆ ที่จำเป็นที่ทำให้งบการเงินให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ 
นอกจากข้อสมมติขึ้นมูลฐานของการบัญชี 12 ข้อข้างต้นแล้ว ยังมี ข้อควรคำนึงในการใช้มาตรฐานการบัญชี (Exceptions to Accounting Principles) เพิ่มเติมเพื่อยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติทางการบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ดังนี้ 
หลักความระมัดระวัง (Conservatism) ในการดำเนินกิจการ ความไม่แน่นอนมักเกิดขึ้นเสมอ การทำงบการเงินจึงต้องใช้ความระมัดระวังรับรู้เรื่องความไม่แน่นอนนี้ไว้ด้วย 
หลักความระมัดระวัง หมายถึงว่าในกรณีที่อาจเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีได้มากกว่าหนึ่งวิธี นักบัญชีควรเลือกวิธีที่จะแสดงสินทรัพย์และกำไรในเชิงที่ต่ำกว่าไว้ก่อน หลักโดยย่อคือ "ไม่คาดการณว่าจะได้กำไร แต่จะรับรู้การขาดทุนไว้อย่างเต็มที่ ในกรณีที่สงสัยให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายทันที" อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่าหลักความระมัดระวังจะเป็นเหตุผลสนับสนุนให้กิจการตั้งสำรองลับได้ 
หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance Over Form) นักบัญชีให้ความสนใจในเนื้อหาทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์ แม้รูปแบบทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์นั้นอาจจะแตกต่างจากรูปแบบทางกฎหมายก็ตาม โดยปกติเนื้อหาทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมักจะสอดคล้องกับรูปแบบทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามในบางครั้งเนื้อหากับรูปแบบทางกฎหมายอาจแตกต่างกัน นักบัญชีจึงควรเสนอในงบการเงิน ซึ่งรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามเนื้อหาและตามความเป็นจริงทางการเงินไม่ใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจการทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์นั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 
หลักการมีนัยสำคัญ (Materiallity) งบการเงินควรเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญพอที่จะกระทบต่อการตัดสินใจ
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจโดยถูกต้องถึงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญหมายถึงเหตุการณ์ ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับทราบแล้วอาจต้องตัดสินใจผิดไปจากกรณีที่ได้รับทราบ ดังนั้น เมื่อนักบัญชีได้สังเกตเห็นเหตุการณ์ใดซึ่งมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว นักบัญชีต้องรายงานเหตุการณ์นั้นด้วยความระมัดระวัง 
หลักการปฏิบัติเฉพาะธุรกิจบางประเภท (Industry Practice) หมายความถึง การยอมให้ใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับธุรกิจบางประเภท เช่น สถาบันการเงิน เป็นต้น แตกต่างไปจากวิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับธุรกิจทั่วไปได้ เนื่องจากการเน้นถึงความสำคัญของข้อมูลอาจจะให้ตามลำดับไม่เหมือนกัน

สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน
ในทางเศรษฐกิจ จะมีสิ่ง 3 ประการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไปและกิจการ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำบัญชี คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน 
สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินที่บุคคล หรือกิจการเป็นเจ้าของ ซึ่งรวมทั้งสิ่งที่มีตัวตน เช่น เงินสด สินค้า เครื่องจักร อาคาร ที่ดิน และสิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน ค่านิยม สัญญาเช่า เป็นต้น
ชื่อของสินทรัพย์แต่ละประเภท จะระบุเป็นชื่อรวม คือรวมเอาสินทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาไว้เป็นประเภทเดียวกัน เช่น 
เงินสด (Cash) หมายรวมถึง เหรียญสตางค์ ธนบัตร เงินฝากธนาคาร เช็คที่ได้รับ จากบุคคลอื่น ธนาณัติที่ได้รับจากบุคคลอื่น ดร๊าฟท์ เป็นต้น
เครื่องตกแต่ง (Furniture) หมายถึง ชุดรับแขก โต๊ะประชุม โต๊ะทำงาน เก้าอี้ ภาพฝาผนัง นาฬิกา ฯลฯ
อุปกรณ์สำนักงาน (Office equipment) หมายถึง เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคำนวณเลข 
เครื่องบันทึกเงินสด เครื่องอัดสำเนา ตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น
วัสดุสำนักงาน (Office supplies) หมายถึง วัสดุสิ้นเปลืองไปตามสภาพการใช้งาน โดยทั่วไปอายุใช้งานมักจะไม่เกิน 1 ปี หรือเป็นของใช้สอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ในสำนักงาน เช่น น้ำยาลบคำผิด น้ำยาลบกระดาษไข กระดาษอัดสำเนา ลวดเย็บกระดาษ เป็นต้น
วัสดุสำนักงาน (Office supplies) หมายถึง วัสดุสิ้นเปลืองไปตามสภาพการใช้งาน โดยทั่วไปอายุใช้งานมักจะไม่เกิน 1 ปี หรือเป็นของใช้สอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ในสำนักงาน เช่น น้ำยาลบคำผิด น้ำยาลบกระดาษไข กระดาษอัดสำเนา ลวดเย็บกระดาษ เป็นต้น
สินค้าคงเหลือ (Inventories) หมายถึง วัตถุดับ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งกิจการมีไว้เพื่อดำเนินงานตามปกติ
ลูกหนี้ (Accounts receivable) คือจำนวนเงินที่ลูกค้าเป็นหนี้กิจการ ซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้า/บริการเป็นเงินเชื่อ
ตั๋วเงินรับ (Notes receivable) คือ ตราสารหรือหนังสือสัญญาที่ลูกค้าหรือบุคคลอื่น ๆ เขียนรับรองว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กิจการตามเวลาที่กำหนด กิจการอาจจะได้มา ในกรณีขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ ขายสินทรัพย์อื่น ๆ หรือการให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid expense) คือ จำนวนเงินที่กิจการได้จ่ายไปเป็นค่าบริการเป็นการล่วงหน้าแต่ยังไม่ได้รับประโยชน์ เช่น ค่าเช่าล่วงหน้า เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 นางสาวหนึ่งฤทัย ได้สำรวจพบว่า ตนเองมีทรัพย์สินส่วนตัว ดังนี้
เงินสด 2,950 บาท
รถจักยานยนต์ 36,000 บาท
นาฬิกา 750 บาท
วิทยุเทปคาสเซ็ท 2,500 บาท
รวม 42,200 บาท 
ทรัพย์สิน ดังกล่าวนี้ในทางบัญชี เรียกว่า "สินทรัพย์" (Assets)
จากตัวอย่างที่ 1 ทำให้ทราบว่า นางสาวหนึ่งฤทัย มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 42,200 บาท


ตัวอย่างที่ 2 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2535 ร้านสะเดาพาณิชย์ มีสินทรัพย์ต่าง ๆ ดังนี้ 
เงินสด                           64,200  บาท
ลูกหนี้                              7,000  บาท
เครื่องตกแต่งร้าน           26,500  บาท
อุปกรณ์สำนักงาน            58,900  บาท
รถยนต์                         400,000  บาท
                           รวม   556,600  บาท
จากตัวอย่างที่ 2 ร้านสะเดาพาณิชย์มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 556,600 บาท

ทุน (Proprietorship หรือ Owner's equity) หมายถึง ส่วนของสินทรัพย์ที่เป็นของเจ้าของ 
หรือจะเรียกว่า สินทรัพย์สุทธิ ก็ได้
จากตัวอย่างที่ 1 นางสาวหนึ่งฤทัย ย่อมมีกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในสินทรัพย์ ทั้งสิ้น 42,200 บาท 
กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ดังกล่าวนี้ในทางบัญชี เรียกว่า "ทุน" 
สินทรัพย์ของนางสาวหนึ่งฤทัย 42,200 บาท แ ทุน ของนางสาวหนึ่งฤทัย 42,200 บาท
จากตัวอย่างที่ 2 ร้านสะเดาพาณิชย์ มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน 556,600 บาท 
หรืออาจกล่าวได้ว่า ร้านสะเดาพาณิชย์ มีทุน 556,600 บาท
สินทรัพย์ของร้านสะเดาพาณิชย์ 556,600 บาท  ทุนของร้านสะเดาพาณิชย์ 556,600 บาท

หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง จำนวนเงินที่บุคคลหรือกิจการเป็นหนี้บุคคล 
หรือกิจการอื่นซึ่งจะต้องชำระหนี้ในภายหน้า หนี้สินอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีต่อไปนี้
เจ้าหนี้การค้า (Trade account payable) เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการมา เป็นเงินเชื่อ
เจ้าหนี้เงินกู้ (Loan account payable) เกิดจากการกู้ยืมเงิน
ตั๋วเงินจ่าย (Note payable) เกิดจากการออกตราสารสัญญาว่าจะใช้เงินตามที่ระบุไว้ในตั๋วเงินนั้น
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued expense) เกิดจากการไม่ได้ชำระค่าใช้จ่ายตามกำหนด เช่น ค่าโฆษณาค้างจ่าย 
ค่าเช่าค้างจ่าย เป็นต้น 
บุคคลหรือกิจการที่จะได้รับการชำระหนี้ เรียกว่า "เจ้าหนี้"
บุคคลหรือกิจการที่จะต้องชำระหนี้ เรียกว่า "ลูกหนี้"

จากตัวอย่างที่ 1 สมมุติว่า นางสาวหนึ่งฤทัย ยังผ่อนรถจักรยานยนต์ไม่หมด 
ขณะนี้ยังค้างชำระอยู่อีก 10,000 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้ สินทรัพย์ทั้งสิ้นของนางสาวหนึ่งฤทัย 
ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง จำนวน 10,000 บาท ยังเป็นของเจ้าหนี้ 
ส่วนที่สอง จำนวน 32,200 บาท เป็นของนางสาวหนึ่งฤทัย

สินทรัพย์ 42,200 บาท         เจ้าหนี้  10,000   บาท 
                                           ทุน       32,200   บาท

เรื่อง สมการบัญชี และการจัดทำงบดุล (อย่างง่าย)

เนื่องจากรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของส่วนของเจ้าของ 
นั่นคือ เมื่อนำรายได้หักค่าใช้จ่าย ถ้าได้กำไรจะทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่ม 
ถ้าขาดทุนจะทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง 
ดังนั้น ถ้าหากนำความสัมพันธ์ของทั้ง งบดุลและงบกำไรขาดทุนมาเขียนในรูปของสมการบัญชีจะเป็นดังนี้

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ + (รายได้ - ค่าใช้จ่าย)

ทุกครั้งที่ธุรกิจมีรายการเกี่ยวกับจำนวนเงินเกิดขึ้น จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมการบัญชีอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ถ้าสินทรัพย์เพิ่มหนี้สินและ/หรือทุน จะต้องเพิ่มตาม ในทางกลับกัน ถ้าสินทรัพย์ลด หนี้สินและ/หรือทุน จะต้องลดตามด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลจะมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปตามแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สมการบัญชีทั้ง 2 ด้านจะมียอดเท่ากันเสมอ

ตัวอย่าง ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างของรายการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมการบัญชี

รายการที่ 1 นาย ก นำเงินสดมาลงทุนเปิดร้านปาดังพาณิชย์ จำนวนเงิน 20,000 บาท สมการบัญชีจะเป็นดังนี้

สินทรัพย์

=

หนี้สิน

+

ส่วนของเจ้าของ

เงินสด

=

-

+

ทุน-นาย ก.

20,000

=

-

+

10,000

รายการนี้มีผลทำให้สินทรัพย์ประเภทเงินสดของกิจการเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันทุนของกิจการก็เพิ่ม

รายการที่ 2 กิจการซื้อเครื่องใช้สำนักงานเป็นเงินสด 8,000 บาท สมการบัญชีจะเป็นดังนี้

สินทรัพย์

=

หนี้สิน

+

ส่วนของเจ้าของ

เงินสด

เครื่องใช้สำนักงาน

=

 

+

 

(8,000)

8,000

=

 

+

 
รายการนี้มีผลทำให้สินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง 8,000 บาทในขณะที่กิจการก็มีสินทรัพย์ประเภท
เครื่องใช้สำนักงานเพิ่มขึ้น 8,000 บาท

รายการที่ 3 กิจการซื้อวัสดุสำนักงาน ราคา 1,000 บาท จากร้านสะเดาการค้าเป็นเงินเชื่อ

สมการบัญชีจะเป็นดังนี้

สินทรัพย์

=

หนี้สิน

+

ส่วนของเจ้าของ

วัสดุสำนักงาน

=

เจ้าหนี้

+

 

1,000

=

1,000

+

 
รายการนี้มีผลทำให้กิจการมีสินทรัพย์ประเภทวัสดุสำนักงานเพิ่มขึ้น 1,000 บาท ขณะเดียวกันก็เป็นการก่อหนี้สินต่อบุคคลภายนอกจึงทำให้ หนี้สินประเภทเจ้าหนี้เพิ่มขึ้น 1,000 บาท

รายการที่ 4 จ่ายชำระหนี้ให้ร้านสะเดาการค้า 600 บาท สมการบัญชีจะเป็นดังนี้

สินทรัพย์

=

หนี้สิน

+

ส่วนของเจ้าของ

เงินสด

=

เจ้าหนี้

+

 

(600)

=

(600)

+

 
รายการนี้มีผลทำให้กิจการมีสินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง 600 บาท ขณะเดียวกัน เงินสดที่ลดเนื่องจากไปชำระเจ้าหนี้ 
จึงมีผลทำให้หนี้สินประเภทเจ้าหนี้ลดลง 600 บาท

รายการที่ 5 ในระหว่างเดือนกิจการได้รับเงินสด 6,600 บาท จากการให้บริการลูกค้า สมการบัญชีจะเป็นดังนี้

สินทรัพย์

=

หนี้สิน

+

ส่วนของเจ้าของ

เงินสด

=

 

+

ทุน – นาย ก

6,600

=

 

+

6,600

รายการนี้มีผลทำให้กิจการมีสินทรัพย์ประเภทเงินสดเพิ่มขึ้น 6,600 บาท 
ขณะเดียวกัน เงินสดที่ได้รับมานี้เป็นส่วนที่มาจากการให้บริการซึ่งถือเป็นรายได้ของกิจการ 
อันมีผลทำให้ทุนของเจ้าของเพิ่มขึ้น 6,600 บาท

รายการที่ 6 ในระหว่างเดือนกิจการได้จ่ายเงินสดเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ 
เงินเดือน 2,000 บาท ค่าน้ำ ค่าไฟ 400 บาท ค่าเช่า 200 บาท ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 100 บาท สมการบัญชีจะเป็นดังนี้

สินทรัพย์

=

หนี้สิน

+

ส่วนของเจ้าของ

เงินสด

=

 

+

ทุน – นาย ก

(2,700)

=

 

+

(2,700)

รายการนี้มีผลทำให้สินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลงทั้งสิ้น 2,700 บาท 
ขณะเดียวกันเงินสดที่จ่ายไปนี้เป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายย่อมมีผลทำให้ส่วนของเจ้าของ คือ ทุนลดลง 2,700 บาท

วิธีการและขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบบัญชี

เขียนส่วนตัวของงบดุลกลางหน้ากระดาษ ซึ่งประกอบด้วย รายการ 3 บรรทัด คือ

    • บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ
    • บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า "งบดุล"
    • บรรทัดที่ 3 เขียนวันที่ที่จัดทำงบดุล

แบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 2 ด้าน ๆ ละ เท่า ๆ กัน

    1. นำบัญชีในหมวดสินทรัพย์มาใส่ไว้ด้านซ้ายมือ
    2. นำบัญชีในหมวดหนี้สินและส่วนของเจ้าของมาใส่ไว้ด้านขวามือ
    3. รวมยอดจำนวนเงินของทั้ง 2 ด้าน ซึ่งจะได้ผลรวมเท่ากัน

 

 


       ผู้จัดทำและดูแลเว็บไซต์    nirote_kh@ hotmail.com 

Hosted by www.Geocities.ws

1