กฎหมายเกี่ยวกับตั๋วเงินและเช็ค
โรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์"
299  ถ. กาญจนวณิชย์ ต.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา 90120 โทร. 074-411070  โทรสาร 074-411366

Home
Up
นายอำเภอขรรค์ชัย กัมพลานนท์
ประวัติโรงเรียน
บุคลากรของโรงเรียน
รางวัลนายอำเภอขรรค์ชัย
การจัดการเรียนการสอน
E_Learning
งานจริยธรรม
เก็บเอามาบอกลอกเอามาเล่า
บุคคล:หน่วยงานที่สนับสนุนโรงเรียน
ข่าวขรรค์ชัย
สมุดเยี่ยม
กระดานข่าว
ชมภาพกิจกรรม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
เว็บไซต์ผลงานนักเรียน

     

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับตั๋วเงิน
ศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๙๘ ถึง มาตรา ๙๐๗ 
ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange )
ศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๐๘ ถึง มาตรา ๙๘๑ 

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Notes)
ศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘๒ ถึง มาตรา ๙๘๖ 
ช็ค (Cheques)
ศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘๗ ถึง มาตรา ๑๐๐๐

ลักษณะ ๒๑
ตั๋วเงิน

หมวด ๑
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา ๘๙๘ อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้มี สามประเภท ๆ หนึ่ง คือตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่ง คือตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่ง คือเช็ค 

มาตรา ๘๙๙ ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่

มาตรา ๙00 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น
ถ้าลงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่นแกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ ถึงแม้จะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่

มาตรา ๙๐๑ ถ้าบุคคลคนใดลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน และมิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นย่อมเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น

มาตรา ๙๐๒ ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อของบุคคลหลายคนมีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้ ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน

มาตรา ๙๐๓ ในการใช้เงินตามตั๋วเงิน ท่านมิให้ให้วันผ่อน

มาตรา ๙๐๔ อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา ๙๐๕ ภายในบังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย ถึงแม้ว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่า เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้นเป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเหมือนว่ามิได้มีเลย
ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นหาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริต หรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย

มาตรา ๙๐๖ คำว่าคู่สัญญาคนก่อน ๆ นั้น รวมทั้งผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเงินและผู้สลักหลังคนก่อน ๆ ด้วย

มาตรา ๙๐๗ เมื่อใดไม่มีที่ในตั๋วเงินซึ่งจะสลักหลังได้ต่อไปไซร้ ท่านอนุญาตให้เอากระดาษแผ่นหนึ่งผนึกต่อเข้ากับตั๋วเงินเรียกว่าใบประจำต่อ นับเป็นส่วนหนึ่งแห่งตั๋วเงินนั้น
การสลักหลังในใบประจำต่อครั้งแรกต้องเขียนคาบบนตั๋วเงินเดิมบ้างบนใบประจำต่อบ้าง


หมวด 2
ตั๋วแลกเงิน

ส่วนที่ 1
การออกและสลักตั๋วแลกเงิน

มาตรา ๙๐๘ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือหนังสือตราสารซี่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

มาตรา ๙๐๙ อันตั๋วแลกเงินนั้น ต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้ คือ 
(๑) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
(๒) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
(๓) ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่าย
(๔) วันถึงกำหนดใช้เงิน
(๕) สถานที่ใช้เงิน
(๖) ชื่อ หรือ ยี่ห้อ ผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ 
(๗) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
(๘) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

มาตรา ๙๑๐ ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่านระบุบังคับไว้ในมาตราก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน เว้นแต่ในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
ตั๋วแลกเงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น
ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน
ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย
ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฏหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้

มาตรา ๙๑๑ ผู้สั่งจ่ายจะเขียนข้อความไว้ว่า จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นให้คิดดอกเบี้ยด้วยก็ได้ และในกรณีเช่นนั้น ถ้ามิได้กล่าวไว้ว่าเป็นอย่างอื่น ท่านว่าดอกเบี้ยย่อมคิดแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน

มาตรา ๙๑๒ อันตั๋วแลกเงินนั้นจะสั่งให้ใช้เงินตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายก็ได้
อนึ่งจะสั่งจ่ายเอาจากผู้สั่งจ่ายเอง หรือสั่งเพื่อบุคคลภายนอกก็ได้

มาตรา ๙๑๓ อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้น ท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
(๒) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
(๓) เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น หรือ
(๔) เมื่อสิ้นระยะเวลากำหนดไว้ นับแต่ได้เห็น

มาตรา ๙๑๔ บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นำยื่นโดยชอแล้วจะมีผู้รับรองและตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก้ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลัง ซึ่งถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น ถ้าหากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

มาตรา ๙๑๕ ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดี จะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้ คือ
(๑) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดชอบของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน
(๒) ข้อกำหนดยอมลดละให้แก่ผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหน้าที่ทั้งหลายอันผู้ทรงจะพึงต้องมีแก่ตนบางอย่างหรือทั้งหมด 

มาตรา ๙๑๖ บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงิน หาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

มาตรา ๙๑๗ อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้จะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักและส่งมอบ
เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า เปลี่ยนมือไม่ได้ ดั่งนี้ก็ได้ หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ
อนึ่งตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋วนั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่ายหรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายอื่นใดแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีกได้

มาตรา ๙๑๘ ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน

มาตรา ๙๑๙ คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง
การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจำต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า สลักหลังลอย

มาตรา ๙๒๐ อันการสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วแลกเงิน
ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดั่งกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้ คือ
(๑) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเองหรือชื่อบุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง
(๒) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้แก่บุคคลอื่นผูหนึ่งผู้ใด
(๓) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา ๙๒๑ การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา ๙๒๒ การสลักหลังนั้นต้องให้เป็นข้อความอันปราศจากเงื่อนไข ถ้าและวางเงื่อนไขบังคับลงไว้อย่างใด ท่านให้ถือเสมือนว่าข้อเงื่อนไขนั้นมิได้ลงเขียนไว้เลย
อนึ่งการสลักหลังโอนแต่บางส่วน ท่านว่าเป็นโมฆะ

มาตรา ๙๒๓ ผู้สลักหลังคนใดระบุข้อความห้ามสลักหลังสืบไปลงไว้แล้ว ผู้สลักหลังคนนั้นย่อมไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลอันเขาสลักหลังตั๋วแลกเงินั้นให้ไปในภายหลัง

มาตรา ๙๒๔ ถ้าตั๋วแลกเงินสลักหลังต่อเมื่อสิ้นเวลาเพื่อคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงินนั้นแล้วไซร้ ท่านว่าผู้รับสลักหลังย่อมได้ไปซึ่งสิทธิแห่งการรับรองตามแต่มีต่อผู้จ่าย กับสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้ซึ่งสลักหลังเงินนั้นภายหลังที่สิ้นเวลาเช่นนั้น
แต่ถ้าตั๋วเงินนั้นได้มีคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงินมาแต่ก่อนสลักหลังแล้วไซร้ ท่านว่าผู้รับสลักหลังย่อมไดไปแต่เพียงสิทธิของผู้ซึ่งสลักหลังให้แก่ตนอันมีต่อผู้รับรองต่อผู้สั่งจ่าย และต่อบรรดาผ้ที่สลักหลังตั๋วเงินนั้นมาก่อนย้อนขึ้นไปจนถึงเวลาคัดค้านเท่านั้น

มาตรา ๙๒๕ เมื่อใดความที่สลักหลังมีข้อกำหนดว่า "ราคาอยู่ที่เรียกเก็บ" ก็ดี "เพื่อเรียกเก็บ" ก็ดี "ในฐานจัดการแทน" ก็ดี หรือความสำนวนอื่นใดอันเป็นปริยายว่าตัวแทนไซร้ ท่านว่าผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นก็ย่อมได้ทั้งสิ้น แต่ว่าจะสลักหลังได้เพียงในฐานเป็นตัวแทน
ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดอาจจะต่อสู้ผู้ทรงได้แต่เพียงด้วยข้อต่อสู้อันจะพึงใช้ได้ต่อผู้สลักหลังเท่านั้น

มาตรา ๙๒๖ เมื่อใดความที่สลักหลังมีข้อกำหนดว่า "ราคาเป็นประกัน" ก็ดี "ราคาเป็นจำนำ" ก็ดี หรือข้อกำหนดอย่างอื่นใดอันเป็นปริยายว่าจำนำไซร้ ท่านว่าผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นก็ย่อมได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าผู้ทรงสลักหลังตั๋วนั้น ท่านว่าการสลักหลังย่อมใช้ได้เพียงในฐานเป็นคำสลักหลังของตัวแทน
คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิด หาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สลักหลังนั้นได้ไม่ เว้นแต่การสลักหลังจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

ส่วนที่ 2
การรับรอง

มาตรา ๙๒๗ อันตั๋วแลกเงินนั้นจะนำไปยื่นแก่ผู้จ่าย ณ ที่อยู่ของผู้จ่ายเพื่อให้รับรองเมื่อไร ๆ ก็ได้จนกว่าจะถึงเวลากำหนดใช้เงิน และผู้ทรงจะเป็นผู้นำไปยื่นก็ได้
ในตั๋วแลกเงินนั้น ผู้สั่งจ่ายจะลงข้อกำหนดไว้ว่าให้นำยื่นเพื่อรับรองโดยกำหนดเวลาจำกัดไว้ให้ยื่น หรือไม่กำหนดเวลาก็ได้
ผู้สั่งจ่ายจะห้ามการนำตั๋วแลกเงินยื่นเพื่อรับรองก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นตั๋วเงินอันได้ออกสั่งให้ใช้เงินเฉพาะ ณ สถานที่อื่นใดอันมิใช่ภูมิลำเนาของผู้จ่าย หรือได้ออกสั่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งนับแต่ได้เห็น
อนึ่งผู้สั่งจ่ายจะลงข้อกำหนดไว้ว่ายังมิให้นำตั๋วยื่นเพื่อให้รับรองก่อนถึงกำหนดวันใดวันหนึ่งก็ได้
ผู้สลักหลังทุกคนจะลงข้อกำหนดไว้ว่า ให้นำตั๋วเงินยื่นเพื่อรับรอง โดยกำหนดเวลาจำกัดไว้ให้ยื่น หรือไม่กำหนดเวลาก็ได้ เว้นแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ห้าม

มาตรา ๙๒๘ ผู้ทรงตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลากำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่ได้เห็นนั้น ต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้รับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน หรือภายในเวลาช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่าย
จะได้ระบุไว้

มาตรา ๙๒๙ ภายในบังคับบทบัญญัติมาตรา ๙๒๗ ผู้ทรงตั๋วแลกเงินมีสิทธิที่จะยื่นตั๋วเงินแก่ผู้จ่ายได้ในทันใดเพื่อให้รับรอง ถ้าและเขาไม่รับรองภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงไซร้ ผู้ทรงก็มีสิทธิที่จะคัดค้าน

มาตรา ๙๓๐ ในการยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองนั้น ผู้ทรงไม่จำต้องปล่อยตั๋วนั้นให้ไว้ในมือผู้จ่าย
อนึ่งผู้จ่ายจะเรียกให้ยื่นตั๋วแลกเงินแก่ตนอีกเป็นครั้งที่สองในวันรุ่งขึ้นแต่วันที่ยื่นครั้งแรกนั้นก็ได้ ท่านห้ามมิให้คู่กณีที่มีส่วนได้เสียยกเอาการที่มิได้อนุวรรตน์ตามคำเรียกอันนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เว้นแต่การเรียกนั้นได้ระบุไว้ในคำคัดค้าน

มาตรา ๙๓๑ การรับรองนั้นพึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินเป็นถ้อยคำสำนวนว่า "รับรองแล้ว" หรือความอย่างอื่นทำนองเช่นเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย อนึ่งแต่เพียงลายมือชื่อของผู้จ่ายลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้ว

มาตรา ๙๓๒ ตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ก็ดี หรือตั๋วเงินฉบับใดสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่ได้เห็น แต่หากคำรับรองตั๋วนั้นมิได้ลงวันไว้ก็ดี ตั๋วแลกเงินเช่นว่ามานี้ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋วหรือวันรับรองลงตามที่แท้จริงก็ได้แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้น
อนึ่งท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริต แต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิด และในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตั๋วเงินจะเสียไปเพราะเหตุนั้นก็หาไม่ ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้ และพึงใช้เงินกันเสมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง

มาตรา ๙๓๓ ถ้าการรับรองมิได้ลงวัน ท่านให้ถือเอาวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาอันกำหนดไว้เพื่อรับรองนั้นเป็นวันรับรอง

มาตรา ๙๓๔ ถ้าผู้จ่ายเขียนคำรับรองลงในตั๋วแลกเงินแล้ว แต่หากกลับขีดฆ่าเสียก่อนตั๋วแลกเงินนั้นหลีกพ้นไปจากมือตนไซร้ ท่านให้ถือเป็นอันว่าได้บอกปัดไม่รับรอง แต่ถ้าผู้จ่ายได้แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ทรง หรือคู่สัญญาฝ่ายอื่นซึ่งได้ลงนามในตั๋วเงินว่าตนรับรองตั๋วเงินนั้นก่อนแล้ว จึ่งมาขีดฆ่าคำรับรองต่อภายหลังไซร้ ท่านว่าผู้จ่ายก็คงต้องผูกพันอยู่ตามเนื้อความที่ตนได้เขียนรับรองนั้นเอง

มาตรา ๙๓๕ อันการรับรองนั้นย่อมมีได้สองสถาน คือ รับรองตลอดไป หรือรับรองเบี่ยงบ่าย
การรับรองตลอดไป คือยอมตกลงโดยไม่แก้แย้งคำสั่งของผู้สั่งจ่ายแต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย
ส่วนการรับรองเบี่ยงบ่ายนั้น กล่าวเป็นเนื้อความทำผลแห่งตั๋วเงินให้แผกไปจากที่เขียนสั่งไว้ กล่าวโดยเฉพาะก็คือว่า ถ้าคำรับรองมีเงื่อนไขก็ดี หรือรับรองแต่เพียงบางส่วนก็ดี ท่านว่าเป็นรับรองเบี่ยงบ่าย

มาตรา ๙๓๖ คำรับรองเบี่ยงบ่ายนั้น ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะบอกปัดเสียก็ได้ และถ้าไม่ได้คำรับรองอันไม่เบี่ยงบ่าย จะถือเอาว่าตั๋วเงินนั้นเป็นอันขาดความเชื่อถือรับรองก็ได้ ถ้าผู้ทรงรับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่าย และผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังมิได้ให้อำนาจแก่ผู้ทรงโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้รับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่ายเช่นนั้นก็ดี หรือไม่ยินยอมด้วยภายหลังก็ดี ท่านว่าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังนั้น ๆ ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามตั๋วเงินนั้น แต่บทบัญญัติทั้นี้ท่านมิให้ใช้ไปถึงการรับรองแต่บางส่วนซึ่งได้บอกกล่าวก่อนแล้วโดยชอบ
ถ้าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วเงินรับคำบอกกล่าวการรับรองเบี่ยงบ่ายแล้วไม่โต้แย้งให้ยังผู้ทรงภายในเวลาอันสมควร ท่านให้ถือว่าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังนั้นเป็นอันได้ยินยอมด้วยกับการนั้นแล้ว

มาตรา ๙๓๗ ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองของตน
 

ส่วนที่ ๓
อาวัล
มาตรา ๙๓๘ ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียก "อาวัล" อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

มาตรา ๙๓๙ อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ
ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น และลงรายมือชื่อผู้รับอาวัล
อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นรายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย
ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

มาตรา ๙๔๐ ผู้รับอาวัลต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน
แม้ถึงว่าความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้นจะตกเป็นใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์ 
เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งได้ประกันไว้กับบุคคลทั้งหลายผู้รับผิดชอบแทนตัวผู้นั้น

ส่วนที่ ๔
การใช้เงิน

มาตรา ๙๔๑ อันตั๋วแลกเงินนั้น ย่อมจะพึงใช้เงินในวันถึงกำหนดและถึงกำหนดวันใด ผู้ทรงต้องนำตั๋วเงินไปใช้เงินในวันนั้น

มาตรา ๙๔๒ อันจะบังคับให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินรับเงินใช้ก่อนตั๋วเงินถึงกำหนดนั้น ท่านว่าหาอาจจะทำไม่ได้
อนึ่งผู้จ่ายคนใดใช้เงินไปแต่ก่อนเวลาตั๋วเงินถึงกำหนด ท่านว่าย่อมทำเช่นนั้นด้วยเสี่ยงเคราะห์ของตน

มาตรา ๙๔๓ อันการถึงกำหนดแห่งตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันใดอันหนี่งนับแต่วันได้เห็นนั้น ท่านให้กำหนดนับแต่วันรับรองหรือวันคัดค้าน
ถ้าไม่มีคำคัดค้าน และคำรับรองมิได้ลงวัน ท่านให้ถือว่าผู้รับรองได้ให้คำรับรองนั้นในวันท้ายแห่งกำหนดเวลาซึ่งจำกัดไว้ตามกฎหมาย หรือตามสัญญาเพื่อการยื่นตั๋วนั้น

มาตรา ๙๔๔ อันตั๋วแลกเงินซึ่งให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นนั้น ท่านว่าย่อมจะพึงใช้เงินในวันเมื่อยื่นตั๋ว ทั้งนี้ต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลา ซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนี่งภายหลังได้เห็นนั้น

มาตรา ๙๔๕ การใช้เงินจะเรียกเอาได้ต่อเมื่อได้เว้นตั๋วแลกเงินให้ผู้ใช้เงินจะให้ผู้ทรงลงลายมือชื่อรับเงินในตั๋วเงินนั้นก็ได้

มาตรา ๙๔๖ อันตัวแลกเงินนั้น ถ้าเขาจะใช้เงินให้แต่เพียงบางส่วน ท่านว่าผู้ทรงจะบอกปัดเสียไม่ยอมรับเอาก็ได้ ถ้าและรับเอาเงินที่เขาใช้แต่เพียงบางส่วน ผู้ทรงต้องบันทึกข้อความนั้นลงไว้ในตั๋วเงิน และส่งมอบใบรับให้แก่ผู้ใช้เงิน

มาตรา๙๔๗ ถ้าตั๋วแลกเงินมิได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนดไซร้ ท่านว่าผู้รับรองจะเปลื้งตนให้พ้นจากความรับผิดโดยวางจำนวนเงินที่ค้างชำระตามตั๋วนั้นไว้ก็ได้

มาตรา ๙๔๘ ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่ายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อน ๆ ซึ่งมิได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้น

มาตรา ๙๔๙ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๙ บุคคลผู้ใช้เงินในเวลากำหนดย่อมเป็นอันเหตุพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เหฃ้นจริงว่าได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง

ส่วนที่ ๕
การสอดเข้าแก้หน้า

มาตรา ๙๕๐ ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะระบุบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดไว้ก็ได้ว่าเป็นผู้รับรอง หรือใช้เงินยามประสงค์ ณ สถานที่ใช้เงิน
ภายในเงื่อนบังคับดั่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดจะรับรองหรือใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในฐานเป็นผู้สอดเข้าแก้หน้าบุคคลใดผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วนั้นก็ได้
ผู้สอดเข้าแก้หน้านั้นจะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้แม้จะเป็นผู้จ่ายหรือบุคคลซึ่ง่ต้องรับผิดชอบโดยตั๋วเงินนั้นผยู่แล้วก็ได้ ห้ามแต่ผู้รับรองเท่านั้น
ผู้สอดเข้าแก้หน้าจำต้องให้คำบอกกล่าวโดยไม่ชักช้า เพื่อให้คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนเข้าแก้หน้าทราบการที่ตนเข้าแก้หน้า
(๑) การรับรองเพื่อแก้หน้า

มาตรา ๙๕๑ การรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้า ย่อมมีได้ในบรรดากรณีซึ่งผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยได้ก่อนถึงกำหนดตามตั๋วเงินอันเป็นตั๋วสามารถจะรับรองได้
การรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้านั้น ผู้ทรงจะบอกปัดเสียก็ได้แม้ถึงว่าบุคคลผู้ซึ่งบ่งไว้ว่าจะเป็นผู้รับรอง หรือใช้เงินยามประสงค์นั้นจะเป็นผู้เสนอเข้ารับรองก็บอกปัดได้
ถ้าผู้ทรงยอมให้เขารับรองแล้วผู้ทางย่อมเสียสิทธิไล่เบี้ยก่อนถึงกำหนดเอาแก่คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดต่อตน

มาตรา ๙๕๒ อันการรับรองด้วยการสอดเข้าแก้หน้านั้น ย่อมทำด้วยเขียนระบุความลงบนตั๋วแลกเงิน และลงลายมือชื่อของผู้สอดเข้าแก้หน้าเป็นสำคัญ อนึ่งต้องระบุลงไว้ว่าการรับรองนั้นทำให้เพื่อผู้ใด ถ้ามิได้ระบุไว้เช่นนั้นท่านให้ถือว่าทำให้เพื่อผู้สั่งจ่าย
มาตรา ๙๕๓ ผู้รับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้าย่อมต้องรับผิดต่อผู้ทรงตั๋วเงินนั้น และรับผิดต่อผู้สลักหลังทั้งหลายภายหลังคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนเข้าแก้หน้าอย่างเดียวกันกับที่คู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องรับผิดอยู่เอง
(๒) การใช้เงินเพื่อแก้หน้า

มาตรา ๙๕๔ อันการใช้เงินเพื่อแก้หน้าย่อมมีได้ในบรรดากรณีซึ่งผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยเมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดหรือก่อนถึงกำหนด
การใช้เงินนั้น ท่านว่าอย่างช้าที่สุดต้องทำในวันรุ่งขึ้น แต่วันท้ายแห่งกำหนดเวลาซึ่งจำกัดอนุญาตไว้ให้ทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงิน

มาตรา ๙๕๕ ถ้าตั๋วแลกเงินได้รับรองแก้หน้าแล้วก็ดี หรือได้มีตัวบุคคลระบุว่าเป็นผู้จะใช้เงินยามประสงค์แล้วก็ดี ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วเงินนั้นต่อบุคคลนั้น ๆ ณ สถานที่ใช้เงิน และถ้าจำเป็นก็ต้องจัดการทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงินอย่างช้าที่สุดในวันรุ่งขึ้นแต่วันท้ายแห่งกำหนดเวลาอันจำกัดไว้เพื่อทำคำคัดค้าน
ถ้าไม่คัดค้านภายในกำหนดเวลานั้น ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายที่ได้ระบุตัวผู้ใช้เงินยามประสงค์ หรือคู่สัญญาฝ่ายซึ่งได้มีผู้รับรองตั๋วเงินให้แล้วนั้น กับทั้งบรรดาผู้สลักหลังในภายหลังย่อมเป็นอัหลุดพ้นจากความรับผิด

มาตรา ๙๕๖ การใช้เงินเพื่อแก้หน้านั้น ใช้เพื่อคู่สัญญาฝ่ายใดต้องใช้จงเต็มจำนวนอันคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องใช้ เว้นแต่ค่าชักส่วนลดดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖๘ (๔)ผู้ทรงคนใดบอกปัดไม่ยอมรับเงินอันเขาใช้ให้  ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นย่อมเสียสิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งพอที่จะได้หลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินนั้น

มาตรา ๙๕๗ การใช้เงินเพื่อแก้หน้าต้องทำให้เป็นหลักฐานด้วยใบรับเขียนลงในตั๋วแลกเงิน ระบุความว่าได้ใช้เงินเพื่อบุคคลผู้ใด ถ้ามิได้ระบุตัวไว้ดั่งนั้น ท่านให้ถือว่าการใช้เงินนั้นได้ทำไปเพื่อผู้สั่งจ่าย
ตั๋วแลกเงินกับทั้งคำคัดค้านหากว่าได้ทำคำคัดค้าน ต้องส่งให้แก่บุคคลผู้ใช้เงินเพื่อแก้หน้า

มาตรา ๙๕๘ บุคคลผู้ใช้เงินเพื่อแก้หน้าย่อมรับช่วงสิทธิทั้วปวงของผู้ทรงอันมีต่อคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนได้ใช้เงินแทนไป และต่อคู่สัญญาทั้งหลายผู้ต้องรับผิดต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้น แต่หาอาจจะสลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นอีกต่อไปไม่ได้
อนึ่งบรรดาผู้ซึ่งสลักหลังภายหลังคู่สัญญาฝ่ายซึ่งเขาได้ใช้เงินไปแทนนั้นย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด
ในกรณีแข่งกันเข้าใช้เงินเพื่อแก้หน้า ท่านว่าการใช้เงินรายใดจะให้ผลปลดหนี้มากรายที่สุด พึงนิยมเอารายนั้นเป็นดียิ่ง
ถ้าไม่ดำเนินตามวิธีดั่งกล่าวนี้ ท่านว่าผู้ใช้เงินทั้งที่รู้เช่นนั้นย่อมเสียสิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลทั้งหลายซึ่งพอที่จะได้หลุดพ้นจากความรับผิด

ส่วนที่ ๖
สิทธิ์ไล่เบี้ยเพราะเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน

มาตรา ๙๕๙ ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิ์ไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิด
ตามตั๋วเงินนั้นก็ได้ คือ
ก) ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน
ข) ไล่เบี้ยได้แม้ทั้งตั๋วเงินยังไม่ถึงกำหนดในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้คือ
(๑) ถ้าเขาบอกปัดไม่รับรองตั๋วเงิน
(๒) ถ้าผู้จ่ายหากจะได้รับรองหรือไม่ก็ตาม ตกเป็นคนล้มละลาย หรือได้งดเว้นการใช้หนี้นั้นจะพิจารณาเป็น
ไร้ผลหลักฐานก็ตาม หรือถ้าผู้จ่ายถูกยึดทรัพย์และการยึดทรัพย์นั้น
(๓) ถ้าผู้สั่งจ่ายตั๋วเงินชนิดไม่จำกัดเป็นต้องให้ผู้ใดรับรองนั้นตกเป็นคนล้มละลาย

มาตรา ๙๖๐ การที่ตั๋วแลกเงินขาดรับรองหรือขาดใช้เงินนั้น ต้องทำให้เป็นหลักฐานตามแบบระเบียบด้วย
เอกสารคำคัดค้านการไม่ใช้เงินต้องทำในวันซึ่งจะพึงใช้เงินตามตั๋วนั้น หรือวันใดวันหนึ่งภายในสามวันต่อแต่นั้นไป
คำคัดค้านการไม่รับรองต้องทำภายในจำกัดเวลาซึ่งกำหนดไว้เพื่อการยื่นตั๋วเงินให้เขารับรอง หรือภายในสาม
วันต่อแต่นั้นไป
เมื่อมีคำคัดค้านการไม่รับรองขึ้นแล้วก็เป็นอันไม่ต้องยื่นเพื่อให้ใช้เงินและไม่ต้องทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงิน
ในกรณีทั้งหลายซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา ๙๕๙ ข) (๒) นั้น ท่านว่าผู้ทรงยังหาอาจจะใช้สิทธิไล้เบี้ยได้ไม่ จนกว่าจะได้ยื่นตั๋วเงินให้ผู้จ่ายใช้เงินและได้ทำคำคัดค้านขึ้นแล้ว
ในกรณีทั้งหลายดั่งกล่าวไว้ในมาตรา ๙๕๙ ข) (๓) นั้น ท่านว่าถ้าเอาคำพิพากษาซึ่งสั่งจ่ายเป็นคนล้มละลายออกแสดง ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้ทรงสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยได้

มาตรา ๙๖๑ คำคัดค้านนั้นให้นายอำเภอ หรือผู้ทำการแทนนายอำเภอ หรือทนายความผู้ได้รับอนุญาตเพื่อการนี้เป็นผู้ทำ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ อันว่าด้วยการออกใบอนุญาตและการทำคำคัดค้าน รวมทั้งกำหนดอัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น

มาตรา ๙๖๒ ในคำคัดค้านนั้นออกจากชื่อ ตำแหน่งและลายมือชื่อของผู้ทำ ต้องมีสำเนาตั๋วแลกเงินกับรายการ
สลักหลังทั้งหมดตรงถ้อยคำกับระบุความดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) ชื่อ หรือยี่ห้อของบุคคลผู้คัดค้านและผู้ถูกคัดค้าน
(๒) มูล หรือเหตุที่ต้องทำคำคัดค้านตั๋วเงิน การทวงถามและคำตอบถ้ามี หรือข้อที่ว่าหาตัวผู้จ่ายหรือผู้รับรองไม่พบ
(๓) ถ้ามีการรับรอง หรือใช้เงินเพื่อแก้หน้า ให้สลักลักษณะแห่งการเข้าแก้หน้าทั้งชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับรองหรือผู้ใช้เงินเพื่อแก้หน้าและชื่อบุคคลซึ่งเขาเข้าแก้หน้านั้นด้วย
(๔) สถานที่และวันทำคำคัดค้าน
ให้ผู้ทำคำคัดค้านส่งมอบคำคัดค้านแกผู้รับรองขอให้ทำ และให้ผู้ทำคำคัดค้านรีบส่งคำบอกกล่าวการคัดค้านนั้นไปยังผู้ถูกคัดค้าน ถ้าทราบภูมิลำเนาก็ให้ส่งโดยจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ หรือส่งมอบไว้ ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ได้ ถ้าไม่ทราบภูมิลำเนาก็ให้ปิดสำเนาคำคัดค้านไว้ยังที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่ว่าการอำเภอประท้องที่อันผู้ถูกคัดค้านมีถิ่นที่อยู่ครั้งหลังสุด

มาตรา ๙๖๓ ผู้ทรงต้องให้คำบอกกล่าวการที่เขาไม่รับรองตั๋วแลกเงินหรือไม่ใช้เงินนั้นไปยังผู้สลักหลักถัดตนขึ้นไปกับผู้สั่งจ่ายด้วยภายใน
เวลาสี่วันต่อจากวันคัดค้าน หรือต่อจากยื่นตั๋วในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า "ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน"
ผู้สลักหลังทุก ๆ คนต้องให้คำบอกกล่าวไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไปภายในสองวัน ให้ทราบคำบอกกล่าวอันตนได้รับ จดแจ้งให้ทราบชื่อและสำนักของผู้ที่ได้ให้คำบอกกล่าวมาก่อน ๆ นั้นด้วย ทำเช่นนี้ติดต่อกันไปโดยลำดับจนกระทั่งถึงผู้สั่งจ่าย อนึ่งจำกัดเวลาซึ่งกล่าวมานั้น ท่านนับแต่เมื่อคนหนึ่ง ๆ ได้รับคำบอกกล่าวแต่คนก่อน
ถ้าผู้สลักหลังคนหนึ่งคนใดมิมิได้ระบุสำนักของตนไว้ก็ดี หรือได้ระบุแต่อ่านไม่ได้ความก็ดี ท่านว่าสุดแต่คำบอกกล่าวได้ส่งไปยังผู้สลักหลังคนก่อนก็เป็นอันพอแล้ว
บุคคลผู้จะต้องให้คำบอกกล่าว จะทำคำบอกกล่าวเป็นรูปอย่างใดก็ได้ทั้งสิ้น แม้เพียงแต่ด้วยส่งตั๋วแลกเงินคืนก็ใช้ได้ อนึ่งต้องพิสูจน์ได้ว่าได้ส่งคำบอกกล่าวภายในเวลาที่กำหนด
ถ้าส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือจดทะเบียนไปรษณีย์ หากว่าหนังสือนั้นได้ส่งไปรษณีย์ภายในเวลากำหนด
ดั่งกล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้ถือว่าคำบอกกล่าวเป็นอันได้ส่งภายในจำกัดเวลาบังคับแล้ว
บุคคลซึ่งมิได้ให้คำบอกกล่าวภายในจำกัดเวลาดั่งกล่าวได้ว่ามานั้นเสียสิทธิไล่เบี้ยไม่ แต่จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ ดันเกิดแต่ความประมาทเลินเล่อของตน แต่ท่านมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าจำนวนในตั๋วแลกเงิน

มาตรา ๙๖๔ ด้วยข้อกำหนดเขียนลงไว้ว่า "ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน" ก็ดี "ไม่มีคัดค้าน" ก็ดี หรือสำนวนอื่นใดทำนองนั้นก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะยอมปลดเปลื้องผู้ทรงจากกการทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงินก็ได้เพื่อตนจะได้รับสิทธิไล่เบี้ย 
ข้อกำหนดอันนี้ ย่อมไม่ปลดผู้ทรงให้พ้นจากหน้าที่นำตั๋วเงินยื่นภายในเวลากำหนด หรือจากหน้าที่ให้คำบอกกล่าวตั๋วเงินขาดความเชื่อถือแก่ผู้สลักหลังคนก่อนหรือผู้สั้งจ่าย อนึ่งหน้าที่นำสืบว่าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกำหนดเวลาจำกัดนั้น ย่อมตกอยู่แก่บุคคลผู้แสวงจะใช้ความข้อนั้นเป็นข้อต่อสู้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน
ข้อกำหนดอันนี้ ถ้าผู้สั่งจ่ายเขียนลงไปแล้ว ย่อมเป็นผลตลอดถึงคู่สัญญาทั้งปวงบรรดาที่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้น

เช็ค

มาตรา ๙๘๗ อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน

มาตรา ๙๘๘ อันเช็คนั้น ต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้ คือ

(๑) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค

(๒) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

(๓) ชื่อ หรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร

(๔) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

(๕) สถานที่ใช้เงิน

(๖) วันและสถานที่ออกเช็ค

(๗) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

มาตรา ๙๘๙ บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด ๒ อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา ๙๑๐, ๙๑๔ ถึง ๙๒๓ ๙๒๕, ๙๒๖, ๙๓๘ ถึง ๙๔๐, ๙๔๕, ๙๔๖, ๙๕๙, ๙๖๗, ๙๗๑

ถ้าเป็นเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติดังต่อไปนี้มาใช้บังคับด้วย คือบทมาตรา ๙๒๔, ๙๖๐ ถึง ๙๖๔, ๙๗๓ ถึง ๙๗๗, ๙๘๐

มาตรา ๙๙๐ ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายสามเดือนถ้ามิฉะนั้นท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วยเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น

อนึ่งผู้ทรงเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดไปแล้วนั้น ท่านให้รับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายคนนั้นอันมีต่อธนาคาร

มาตรา ๙๙๑ ธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่กรณีดังกล่าวต่อไปนี้ คือ

(๑) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

(๒) เช็คนั้นยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(๓) ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

มาตรา ๙๙๒  หน้าที่และอำนาจของธนาคารซึ่งจะใช้เงินตามเช็คอันเบิกแก่ตนนั้นท่านว่าเป็นอันสุดสิ้น

ไปเมื่อกรณีเป็นดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(๑) มีคำบอกห้ามการใช้เงิน

(๒) รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย

(๓) รู้ว่าศาลได้มีคำสั่งรักษาทรัพย์ชั่วคราว หรือคำสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลาย หรือได้มี

ประกาศโฆษณาคำสั่งเช่นนั้น

มาตรา ๙๙๓ ถ้าธนาคารเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคำว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือ

คำใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกัน ท่านว่าธนาคารต้องผูกพันในฐานเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันจะต้องใช้เงินแก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น

ถ้าผู้ทรงเช็คเป็นผู้จัดการให้ธนาคารลงข้อความรับรองดังว่านั้นท่านว่าผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง

ทั้งปวงเป็นอันหลุดพ้นจากการรับผิดตามเช็คนั้น

ถ้าธนาคารลงข้อความรับรองดังนั้นโดยคำขดร้องของผู้สั่งจ่าย ท่านว่าผู้สั่งจ่ายและปวงผู้สลักหลังก็หาหลุดพ้นไปไม่

มาตรา ๙๙๔ ถ้าในเช็คมีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้า กับมีหรือไม่มีคำว่า “และบริษัท”

หรือคำย่ออย่างใด ๆ แห่งข้อความนี้อยู่ในระหว่างเส้นทั้งสองนั้นไซร้ เช็คนั้นชื่อเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้แต่เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น

ในระหว่างเส้นทั้งสองนั้นกรอกชื่อธนาคารอันหนึ่งอันใดลงไว้โดยเฉพาะ เช็คเช่นนั้นชื่อว่า เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารอันนั้น

มาตรา ๙๙๕ (๑) เช็คไม่มีขีดคร่อม ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนใดคนหนึ่งจะขีดคร่อมเสียก็ได้ และจะทำเป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้

(๒) เช็คขีดคร่อมทั่วไป ผู้ทรงจะทำให้เป็นขีดคร่อมเฉพาะเสียก็ได้

(๓) เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี ผู้ทรงจะเดิมคำลงว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ก็ได้

(๔) เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารใด ธนาคารนั้นจะซ้ำขีดคร่อมเฉพาะให้ไปแก่ธนาคารอื่น

เพื่อเรียกเก็บเงินก็ได้

(๕) เช็คไม่มีขีดคร่อมก็ดี เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดีส่งไปยังธนาคารใดเพื่อให้เรียกเก็บเงิน ธนาคารนั้นจะลงขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนเองก็ได้

มาตรา ๙๙๖ การขีดคร่อมเช็คตามที่อนุญาตไว้ในมาตราก่อนนั้นท่านว่าเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่ง

ของเช็ค ใครจะลบล้างย่อมไม่เป็นการชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา ๙๙๗ เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารกว่าธนาคารหนึ่งขึ้นไป เมื่อนำเบิกเอาแก่ธนาคารใด ท่านให้ธนาคารนั้นบอกปัดเสียอย่าใช้เงินให้เว้นแต่ที่ขีดคร่อมให้แก่ธนาคารในฐานเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงิน

ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คเบิกขืนใช้เงินไปตามเช็คที่ขีดคร่อมอย่างว่ามานั้นก็ดี ใช้เงินตามเช็คอันเขาขีดคร่อมทั่วไปเป็นประการอื่นนอกจากใช้ให้แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่งก็ดี ใช้เงินตามเช็คอันเขาขีดคร่อมเฉพาะเป็นประการอื่นนอกจากใช้ให้แก่ธนาคารซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้โดยเฉพาะ หรือแก่ธนาคารเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นก็ดี ท่านว่าธนาคารซึ่งใช้เงินไปดังกล่าวนี้ จะต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น ในการที่เขาต้องเสียหายอย่างใด ๆ เพราะการที่ตนใช้เงินไปตามเช็คดังนั้น

แต่หากเช็คใดเขานำยื่นเพื่อให้ใช้เงิน และเมื่อยื่นไม่ปรากฏว่าเป็นเช็คขีดคร่อมก็ดี หรือไม่ปรากฏว่าเป็นรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่นนอกจากที่อนุญาตไว้โดยกฎหมายก็ดี เช็คเช่นนี้ถ้าธนาคารใดใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อท่านว่าธนาคารนั้นไม่ต้องมีหน้าที่รับใช้เงินอย่างใด ๆ
มาตรา ๙๙๘ ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คขีดคร่อมเบิกเงิน ใช้เงินไปตามเช็คนั้นโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ กล่าวคือว่าถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ใช้เงินให้แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่ง ถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะก็ใช้ให้แก่ธนาคารซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้โดยเฉพาะ หรือใช้ให้แก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นไซร้ ท่านว่าธนาคารซึ่งใช้เงินไปตามเช็คนั้นฝ่ายหนึ่ง กับถ้าเช็คตกไปถึงมือผู้รับเงินแล้ว ผู้สั่งจ่ายอีกฝ่ายหนึ่งต่างมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน และเข้าอยู่ในฐานอันเดียวกันเสมือนดั่งว่าเช็คนั้นได้ใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแล้ว

มาตรา ๙๙๙ บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคำว่า “ ห้ามเปลี่ยนมือ “ ท่านว่าบุคคลนั้นไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าและไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา

มาตรา ๑๐๐๐ ธนาคารใดได้รับเงินไว้เพื่อผู้เคยค้าของตนโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ อันเป็นเงินเขาใช้ให้ตามเช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนก็ดี หากปรากฏว่าผู้เคยค้านั้นไม่มีสิทธิหรือมีสิทธิเพียงอย่างบกพร่องในเช็คนั้นไซร้ ท่านว่าเพียงแต่เหตุที่ได้รับเงินไว้หาทำให้ธนาคารนั้นต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นแต่อย่างหนึ่งอย่างใดไม่


       ผู้จัดทำและดูแลเว็บไซต์    nirote_kh@ hotmail.com 

Hosted by www.Geocities.ws

1