การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม
โรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์"
299  ถ. กาญจนวณิชย์ ต.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา 90120 โทร. 074-411070  โทรสาร 074-411366

Home
Up
นายอำเภอขรรค์ชัย กัมพลานนท์
ประวัติโรงเรียน
บุคลากรของโรงเรียน
รางวัลนายอำเภอขรรค์ชัย
การจัดการเรียนการสอน
งานจริยธรรม
เก็บเอามาบอกลอกเอามาเล่า
บุคคล:หน่วยงานที่สนับสนุนโรงเรียน
ข่าวขรรค์ชัย
สมุดเยี่ยม
กระดานข่าว
ชมภาพกิจกรรม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
เว็บไซต์ผลงานนักเรียน


ชื่ออาจารย์ผู้สอน : นายนิโรจน์ ขาวมาก ปวส. (บัญชี), บธ.บ. (การจัดการทั่วไป), ศษ.บ. (บริหารการศึกษา)

วิชา  22012107 การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม (หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2538)
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาลักษณะของกิจการอุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับกิจการซื้อสินค้ามาจำหน่าย องค์ประกอบของต้นทุนการผลิต การรับจ่ายวัสดุ การทำทะเบียนค่าแรงงาน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ค่าใช้จ่ายในการผลิต การบันทึกรายการที่เกี่ยวกับการผลิต บัญชีต้นทุนการผลิต การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ผลิตสำเร็จ การทำดาษทำการ รายการปรับปรุงและปิดบัญชี งบต้นทุนการผลิตและงบการเงิน
เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของต้นทุนผลิตสินค้าของกิจการอุตสาหกรรม สามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีต้นทุนการผลิตสินค้า และงบการเงินของกิจการอุตสาหกรรมได้

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนบอกลักษณะของกิจการอุตสาหกรรมได้ถูกต้อง
2. นักเรียนบอกข้อแตกต่างระหว่างกิจการอุตสาหกรรมและกิจการซื้อสินค้ามาจำหน่ายได้
3. นักเรียนบอกชื่อวัตถุดิบที่เป็นส่วนสำคัญในการผลิตสินค้าชนิดต่าง ๆ ได้
4. นักเรียนบอกองค์ประกอบของต้นทุนการผลิตได้ถูกต้อง
5. นักเรียนคำนวณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้ถูกต้อง
6. นักเรียนจำแนกรายการที่เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิต (โสหุ้ยการผลิต) ได้ถูกต้อง
7. นักเรียนคำนวณต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปได้ถูกต้อง
8. นักเรียนจัดทำงบทดลองของกิจการอุตสาหกรรมได้ถูกต้อง
9. นักเรียนบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปได้ถูกต้อง
10. นักเรียนบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปได้ถูกต้อง
11. นักเรียนจัดทำกระดาษทำการ 10 ช่อง ได้ถูกต้อง
12. นักเรียนจัดทำงบต้นทุนผลิต งบกำไรขาดทุน และงบดุลได้ถูกต้อง

โครงการสอน วิชา 22012107 การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม

ที่

รายการสอน

สื่อ (ใช้ในห้องเรียน)

1

ลักษณะของกิจการอุตสาหกรรม

1. แผ่นใส (ประกอบการบรรยาย)

 

ลักษณะของการประกอบการ

2. วิดิทัศน์ เรื่อง ผลิตภัณฑ์นม

 

Input Process Output ของธุรกิจอุตสาหกรรม

เรื่อง ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม

 

กระบวนการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค/สินค้าอุตสาหกรรม

เรื่อง การผลิตสับปะรดกระป๋อง

 

การปฏิบัติงานบัญชี

3. ใบความรู้

 

ความแตกต่างของธุรกิจอุตสาหกรรมกับธุรกิจพาณิชยกรรม

4. ใบงาน

2

หลักการบันทึกบัญชี

1. แผ่นใส (ประกอบการบรรยาย)

 

 

2. วิดิทัศน์ เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

3. แบบฟอร์มบัญชี

 

 

4. ใบงาน

3

ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป

1. แผ่นใส (ประกอบการบรรยาย)

 

 

2. ใบความรู้

 

 

3. ใบงาน

4

งบทดลองและรายการปรับปรุงบัญชี

1. แผ่นใส (ประกอบการบรรยาย)

 

 

2. แบบฟอร์มงบทดลอง

 

 

3. แบบฟอร์มบัญชี

 

 

4. ใบงาน

5

กระดาษทำการ 10 ช่อง

1. แผ่นใส (ประกอบการบรรยาย)

 

 

2. แบบฟอร์มกระดาษทำการ 10 ช่อง

 

 

3. ใบความรู้

 

 

4. ใบงาน

6

งบการเงินของกิจการอุตสาหกรรม

1. แผ่นใส (ประกอบการบรรยาย)

 

 

2. ใบงาน

7

รายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปและบัญชีแยกประเภท

1. แผ่นใส (ประกอบการบรรยาย)

 

 

2. แบบฟอร์มบัญชี

 

 

3. ใบงาน

 

ความรู้เกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม

  • กิจการอุตสาหกรรม คือกิจการที่ตั้งขึ้นเพื่อผลิตสินค้าจำหน่าย

  • การผลิต หมายถึง การแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ โดยการใช้แรงงาน และเครื่องมือเครื่องจักร

  • การแปรสภาพ อาจมีหลายกระบวนการ หรือหลายขั้นตอน เช่น การหมัก การดอง การตัด การเชื่อม การหุง การต้ม การกลั่น การอบ ฯลฯ

  • ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าสำเร็จรูป หมายถึง สิ่งของที่ผลิตครบตามขั้นตอนหรือกระบวนการแล้ว พร้อมที่จะนำออกจำหน่าย

  • ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าสำเร็จรูป ประกอบขึ้นจากสิ่ง 3 สิ่ง ซึ่งมักจะเรียกว่า ต้นทุนผลิต ได้แก่
    1. วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials)
    2. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor)
    3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Manufacturing overhead)

  • วัตถุดิบ (Raw Materials) สิ่งของที่ใช้ในการผลิตสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 
    1) วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials) 
    2) วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Materials)

  • วัตถุดิบทางตรง (Dirrect Materials) หมายถึง ของที่ซื้อมาหรือได้มาเพื่อใช้เป็นส่วนผสมหรือส่วนประกอบอันสำคัญในการผลิตสินค้า เช่น

ทราย

เป็นวัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิต

แก้ว

เม็ดพลาสติก

”

ถุงพลาสติก

ไม้แปรรูป

”

เฟอร์นิเจอร์

ซุง

”

ไม้แปรรูป

  • วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Materials) หมายถึง สิ่งของที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าแต่จำนวนที่ใช้มีจำนวนน้อยจนไม่ปรากฏเป็นส่วนสำคัญในสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว

  • ค่าแรงงาน (Labor) หมายถึง ค่าแรงงานของคนที่ทำหน้าที่ในกระบวนการผลิตสินค้า แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 
    1) ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor) 
    2) ค่าแรงงานทางอ้อม (Indirect Labor)
  • ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor) หมายถึง ค่าแรงงานของคนที่ทำหน้าที่แปรสภาพวัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าสำเร็จรูป
  • ค่าแรงงานทางอ้อม (Indirect Labor) หมายถึง ค่าแรงงานของคนงานที่มิได้เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง
  • ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Manufacturing overhead) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการผลิต ที่นอกเหนือจาก วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials) และ ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor)

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อวัตถุดิบ

รายการ

แบบ Periodic Inventory

แบบ Perpetual Inventory

ซื้อวัตถุดิบเป็นเงินสด 10,000 บาท และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %

Dr. ซื้อวัตถุดิบ           10,000
Dr. ภาษีซื้อ                     700
            Cr. เงินสด              10,700

Dr. วัตถุดิบ      10,000
Dr. ภาษีซื้อ          700
         Cr. เงินสด            10,700

ซื้อวัตถุดิบเป็นเงินเชื่อ 10,000 บาท และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %

Dr. ซื้อวัตถุดิบ           10,000
Dr. ภาษีซื้อ                     700
            Cr. เจ้าหนี้             10,700

Dr. วัตถุดิบ     10,000
Dr. ภาษีซื้อ         700
         Cr. เจ้าหนี้         10,700

จ่ายค่าขนส่งในการนำวัตถุดิบมายังโรงงาน
เป็นเงินสด 100 บาท

Dr. ค่าขนส่งเข้า            100
            Cr. เงินสด                   100

Dr. วัตถุดิบ         100
         Cr. เงินสด              100

ส่งคืนวัตถุดิบให้เจ้าหนี้ 1,000 บาท

Dr. เจ้าหนี้                 1,070
          Cr. ส่งคืนวัตถุดิบ          1,000
          Cr. ภาษีซื้อ                        70

Dr. เจ้าหนี้       1,070
          Cr. วัตถุดิบ         1,000
          Cr. ภาษีซื้อ             70

ได้ส่วนลดจากการชำระหนี้ค่าซื้อวัตถุดิบ 1,800 บาท

Dr. เจ้าหนี้                1,800
          Cr. ส่วนลดรับ              1,800

Dr. เจ้าหนี้       1,800
           Cr. วัตถุดิบ         1,800

การคำนวณหาวัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิต

วัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิต หมายถึง วัตถุดิบทางตรงที่ถูกใช้ไปจริงในการผลิต สามารถคำนวณหาได้โดยสูตรต่อไปนี้

วัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิต = วัตถุดิบคงเหลือต้นงวด + ซื้อวัตถุดิบสุทธิ - วัตถุดิบคงเหลือปลายงวด

ซื้อวัตถุดิบสุทธิ = ซื้อวัตถุดิบระหว่างงวด + ค่าขนส่งเข้า - ส่งคืนวัตถุดิบ - ส่วนลดรับตัวอย่าง


การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานทางตรง

รายการ

การบันทึกบัญชี

จ่ายค่าแรงงานให้คนงานที่ผลิตสินค้า เป็นเงิน 10,000 บาท (โดยไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย และเงินสะสม)

Dr. ค่าแรงงานทางตรง         10,000
           Cr. เงินสด                             10,000

จ่ายค่าแรงงานให้คนงานที่ผลิตสินค้า เป็นเงิน 20,000 บาท โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10 % และเงินสะสมอีก 200 บาท

Dr. ค่าแรงงานทางตรง         20,000
           Cr. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย        2,000
           Cr. เงินสะสม                               200
           Cr. เงินสด                              17,800

บันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการผลิต (ค่าโสหุ้ย)
 ตัวอย่างบรรดาค่าใช้จ่าย ที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิต ได้แก่ 
1) ค่าแรงงานทางอ้อม                          2) เงินเดือนผู้ควบคุมงาน
3) วัสดุโรงงานใช้ไป                            4) ค่าไฟฟ้าโรงงาน 
5) ค่าซ่อมแซมโรงงานและเครื่องจักร     6) ค่าเสื่อมราคาโรงงานและเครื่องจักร 
7) ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน                   8) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดโรงงาน 
9) ค่าสิทธิบัตร

รายการ

การบันทึกบัญชี

จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยโรงงานเป็นเช็ค 2,500 บาท

Dr. ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน    2,500          
           Cr. ธนาคาร                   2,500

 

 


       ผู้จัดทำและดูแลเว็บไซต์    nirote_kh@ hotmail.com 

Hosted by www.Geocities.ws

1