การบัญชีตั๋วเงิน
โรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์"
299  ถ. กาญจนวณิชย์ ต.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา 90120 โทร. 074-411070  โทรสาร 074-411366

Home
Up
นายอำเภอขรรค์ชัย กัมพลานนท์
ประวัติโรงเรียน
บุคลากรของโรงเรียน
รางวัลนายอำเภอขรรค์ชัย
การจัดการเรียนการสอน
งานจริยธรรม
เก็บเอามาบอกลอกเอามาเล่า
บุคคล:หน่วยงานที่สนับสนุนโรงเรียน
ข่าวขรรค์ชัย
สมุดเยี่ยม
กระดานข่าว
ชมภาพกิจกรรม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
เว็บไซต์ผลงานนักเรียน


อาจารย์ผู้สอน : นายนิโรจน์ ขาวมาก ปวส. (บัญชี), บธ.บ. (การจัดการทั่วไป), ศษ.บ. (บริหารการศึกษา)

หลักสูตร : ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545 ของ กระทรวงศึกษาธิการ

2201-2101 การบัญชีตั๋วเงิน     (3 หน่วยกิต /5 ชั่วโมง/สัปดาห์)
จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ และกระบวนการปฏิบัติงานบัญชี เกี่ยวกับตั๋วเงิน
2. มีทักษะปฏิบัติงานบัญชีเบื้องต้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เกี่ยวกับตั๋วเงิน
3. มีกิจนิสัย ความมีวินัย ความเป็นระเบียบ ละเอียดรอบคอบ ความอดทนรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
     และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
 คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมายและปะเภทของตั๋วเงิน คำนวณวันครบกำหนดใช้เงินและดอกเบี้ย การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน สมุดทะเบียนเกี่ยวกับตั๋วเงิน การปรับปรุงบัญชีและการปิดบัญชีเกี่ยวกับดอกเบี้ยตั๋วเงินในวันสิ้นงวดบัญชี การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการสลักหลังโอนตั๋วเงิน การขายลดตั๋วเงิน และตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ ความหมายและประเภทของเช็ค การติดต่อกับธนาคารและรายการ
เกี่ยวกับเช็ค การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคาร ระบบเงินสดย่อย และการทำงบพิสูจน์
ยอดเงินฝากธนาคาร

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนบอกความหมายของตั๋วเงินและชนิดของตั๋วเงินได้ถูกต้อง
2. นักเรียนบอกสาระสำคัญของตั๋วแลกเงินได้ถูกต้อง
3. นักเรียนบอกสาระสำคัญของตั๋วสัญญาใช้เงินได้ถูกต้อง
4. นักเรียนคำนวณวันครบกำหนดอายุของตั๋วเงินได้ถูกต้อง
5. นักเรียนคำนวณดอกเบี้ยของตั๋วเงินเมื่อครบกำหนดอายุได้ถูกต้อง
6. นักเรียนบันทึกบัญชีกรณีมีตั๋วเงินเข้ามาเกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
7. นักเรียนบันทึกการปรับปรุงและปิดบัญชีเกี่ยวกับดอกเบี้ยของตั๋วเงินได้ถูกต้อง
8. นักเรียนบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการนำตั๋วเงินไปขายลดกับธนาคารได้ถูกต้อง
9. นักเรียนบันทึกบัญชีกรณีตั๋วเงินรับขาดความเชื่อถือได้ถูกต้อง
10. นักเรียนจัดทำและบันทึกในสมุดทะเบียนตั๋วเงินรับและตั๋วเงินจ่ายได้ถูกต้อง
11. นักเรียนบอกความหมายของเช็คและชนิดของเช็คได้ถูกต้อง
12. นักเรียนบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับเช็คและการจ่ายเช็คได้ถูกต้อง
13. นักเรียนบันทึกรายการในสมุดเงินสดย่อยได้ถูกต้อง
14. นักเรียนจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ได้ถูกต้อง

โครงการสอนวิชา 2201-2101 การบัญชีตั๋วเงิน

ที่

รายการสอน

จำนวนคาบ

1

ลักษณะสำคัญของตั๋วเงิน

4

2

ตั๋วแลกเงิน

3

3

ตั๋วสัญญาใช้เงิน

3

4

เช็ค

3

5

ตั๋วเงินในทางบัญชี

2

6

การนับวันถึงกำหนดใช้เงิน

4

7

การคำนวณดอกเบี้ยตั๋วเงิน

3

8

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินรับ : กรณีเก็บตั๋วเงินไว้จนครบกำหนด

5

9

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินรับ : กรณีนำตั๋วเงินไปขายลดที่ธนาคาร
1. กรณีตั๋วเงินมีดอกเบี้ย
2. กรณีตั๋วเงินไม่มีดอกเบี้ย

6

10

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินรับ : กรณีสลักหลักโอนชำระหนี้
1. กรณีตั๋วเงินมีดอกเบี้ย
2. กรณีตั๋วเงินไม่มีดอกเบี้ย

6

11

การบันทึกบัญชีเมื่อตั๋วเงินรับถึงกำหนดและได้รับเงินตามตั๋วเรียบร้อย

4

12

การบันทึกบัญชีเมื่อตั๋วเงินรับถึงกำหนดแต่ตั๋วขาดความเชื่อถือ
1. กรณีตั๋วเงินรับอยู่ในมือขาดความเชื่อถือ
2. กรณีตั๋วเงินรับขายลดขาดความเชื่อถือ
3. กรณีตั๋วเงินรับโอนสลักหลังให้เจ้าหนี้แล้วขาดความเชื่อถือ

8

13

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินจ่าย

4

14

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินจ่าย : กรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ

5

15

การบันทึกรายการปรับปรุงดอกเบี้ยในวันสิ้นงวดบัญชี

4

16

การแสดงรายการตั๋วเงินรับ ตั๋วเงินจ่ายในงบดุล

3

17

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคาร

4

18

ระบบเงินสดย่อย และการทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร

8

 

รวม

79

ความรู้เกี่ยวกับ การบัญชีตั๋วเงินและเช็ค

  • ในการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ย่อมจะมีลูกหนี้และเจ้าหนี้ เกิดขึ้น
  • ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมต้องการหลักฐานที่แน่ชัดในการเป็นหนี้
  • ตั๋วเงินเป็นหนังสือตราสารที่ระบุจำนวนหนี้ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้อย่างแน่ชัด พร้อมกำหนดวันที่ชำระเงินตามตั๋ว ฝ่ายเจ้าหนี้สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นเป็นการชำระหนี้ได้ และสามารถนำไปขายให้แก่ธนาคารได้ถ้าต้องการเงินสดก่อนที่ตั๋วจะถึงกำหนดชำระเงิน
  • สาระสำคัญของตั๋วเงิน
    1. ตั๋วเงินต้องทำเป็นหนังสือ
    2. ต้องระบุจำนวนเงิน
    3. ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิดตามข้อความในตั๋วนั้น
    4. มีผู้ทรงตั๋วคือผู้รับเงินหรือผู้รับโอน
    5. โอนส่งมอบตั๋วเงินให้แก่กันได้
    6. เหตุที่ผู้โอนสิทธิบกพร่องในตั๋วเงินย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของผู้รับโอนโดยสุจริต
  • ตั๋วเงินตามกฎหมายแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
    1. ตั๋วแลกเงิน
    2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน
    3. เช็ค

(ปพพ. มาตรา ๘๙๘ อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้มี สามประเภท ๆ หนึ่ง คือตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่ง คือตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่ง คือเช็ค)

  • ตั๋วเงินตามกฎหมาย แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
    1. ตั๋วแลกเงิน
    2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน
    3. เช็ค
  • ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange)

มาตรา ๙๐๘ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือหนังสือตราสารซี่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

มาตรา ๙๐๙ อันตั๋วแลกเงินนั้น ต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้ คือ

(๑) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

(๒) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน

(๓) ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่าย

(๔) วันถึงกำหนดใช้เงิน

(๕) สถานที่ใช้เงิน

(๖) ชื่อ หรือ ยี่ห้อ ผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

(๗) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน

(๘) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

มาตรา ๙๑๓ อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้น ท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ

(๑) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ

(๒) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ

(๓) เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น หรือ

(๔) เมื่อสิ้นระยะเวลากำหนดไว้ นับแต่ได้เห็น

  • ตั๋วเงินในทางบัญชี แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
    1. ตั๋วเงินรับ
    2. ตั๋วเงินจ่าย
  • ตั๋วเงินรับ หมายถึง ตั๋วเงินปลพตั๋วสัญญาใช้เงินที่กิจการมีสิทธิเป็นผู่รับเงิน่ตามตั๋วเมื่อกำหนดชำระเงิน ตั๋วเงินรับนี้ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ
  • ตั๋วเงินจ่าย หมายถึง ตั๋วแลกเงินที่กิจการเป็นผู้รองรับ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่กิจการเป็นผู้ออก กิจการมีภาระผูกพันเป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋ว เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน ตั๋วเงินจ่ายนี้ถือเป็นหนี้สินอย่างหนึ่งของกิจการ
การนับวันถึงกำหนดใช้เงิน
กำหนดระยะเวลาเป็นปี
วันถึงกำหนดคือ วันที่เดียวกัน เดือนเดียวกันของปีถัดไป 
เช่น ตั๋วเงินลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2534 กำหนดเวลา 1 ปี วันถึงกำหนดคือ 11 กุมภาพันธ์ 2535
กำหนดระยะเวลาเป็นเดือน วันถึงกำหนดคือ วันที่เดียวกัน โดยนับระยะเวลาไปจนคราบจำนวนเดือนที่กำหนด เว้นแต่เดือนที่ตั๋วถึงกำหนดไม่มีวันที่นั้น

      เช่น ตั๋วเงินลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2534 กำหนดเวลา 4 เดือน

      วันถึงกำหนด คือ 11 มิถุนายน 2534

กำหนดระยะเวลาเป็นวัน วันถึงกำหนดนับจากวันถัดจากวันที่ออกตั๋วจนถึงวันครบกำหนด

เช่น ตั๋วเงินลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2534 กำหนดเวลา 90 วัน คำนวณวันถึงกำหนดดังนี้:-

เดือน กุมภาพันธ์ (28-11)     17   วัน
มีนาคม                                31   วัน
เมษายน                               30   วัน
พฤษภาคม                           12    วัน
                รวม                         90    วัน
วันถึงกำหนดคือวันที่ 12 พฤษภาคม 2534

การคำนวณดอกเบี้ยตั๋วเงิน

ถ้าตั๋วเงินระบุดอกเบี้ยไว้ การชำระเงินตามตั๋วเมื่อถึงกำหนดจะเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วบวกด้วยดอกเบี้ยตามตั๋ว
สูตรในการคำนวณดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย = เงินต้น x ระยะเวลา x อัตราดอกเบี้ย

เช่น ตั๋วเงิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี 
ถ้าตั๋วมีระยะเวลา 1 ปี
ดอกเบี้ย =  50,000 x 15 /100  x 1         =  7,500  บาท

                           ถ้าตั๋วมีระยะเวลา 3 เดือน
                           ดอกเบี้ย = 50,000 x 15 /100  x  3/12   = 1,875   บาท

                    ถ้าตั๋วมีระยะเวลา 60 วัน
                    ดอกเบี้ย =  50,000 x 15/100 x 60/365  = 1}232.87  บาท

ถ้าตั๋วเงินของกิจการเป็นตั๋วเงินรับ ดอกเบี้ยนี้ถือเป็นรายได้ เรียกว่า รายได้ค่าดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยรับ

ถ้าตั๋วเงินของกิจการเป็นตั๋วเงินจ่าย ดอกเบี้ยนี้ถือเป็นค่าใช้จ่าย เรียกว่า ดอกเบี้ยจ่าย

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินรับ
    • เมื่อรับชำระหนี้เป็นตั๋วเงิน

เดบิต ตั๋วเงินรับ (จำนวนเงินในตั๋ว)

                เครดิต ลูกหนี้

ถ้ารายการเกี่ยวกับตั๋วเงินมีไม่มากนัก สมุดรายการขั้นต้น คือ สมุดรายวันทั่วไป แต่ถ้ามีรายการเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินเป็นประจำและมีจำนวนมาก 
ควรบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะ คือ สมุดตั่วเงินรับ เมื่อสิ้นเดือนก็รวมยอดในสมุดตั๋วเงินรับแล้วผ่านรายการไปบัญชีประเภทต่อไป ซึ่งทำให้สะดวกและควบคุมได้ง่าย

ตั๋วเงินรับ กิจการมีสิทธิที่จะจัดการกับตั๋วได้ 3 กรณี คือ

1. เก็บตั๋วเงินรับจนครบกำหนด

      เดบิต เงินสด (จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ย)

                    เครดิต ตั๋วเงินรับ (จำนวนเงินในตั๋ว)

                    เครดิต ดอกเบี้ยรับ (ถ้ามี)

2. นำตั๋วเงินไปขายลดที่ธนาคาร

      ถ้ากิจการต้องการใช้เงินก่อนตั๋วเงินครบกำหนด ก็สามารถนำตั๋วเงินรับที่มีอยู่ในมือไปขายลดที่ธนาคาร โดยธนาคารจะคิดส่วนลดจากวันที่นำตั๋วไปขายลดจนถึงวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋ว ในการขายลดตั๋วเงิน กิจการยังคงมีความรับผิดชอบต่อธนาคารอยู่ หากตั๋วครบกำหนดแล้วธนาคารไปเก็บเงินตามตั๋วไม่ได้ กิจการต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่ธนาคารแทนลูกหนี้ พร้อมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    • ตั๋วเงินรับไม่มีดอกเบี้ย

เดบิต เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร (เงินที่ได้รับ)
เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย (ส่วนลดในการขายตั๋ว)

                 เครดิต ตั๋วเงินรับขายลด (จำนวนเงินในตั๋ว)

ขั้นตอนในการคำนวณ

                                        คำนวณมูลค่าของตั๋ว ณ วันครบกำหนด ซึ่งก็คือจำนวนเงินในตั๋ว

    คำนวณส่วนลดในการขายตั๋วที่ธนาคารคิด 

    = มูลค่าตั๋ว ณ วันครบกำหนด x อัตราส่วนลด x ระยะเวลานับตั้งแต่วันถัดจากวันขายลดจนถึงวันครบกำหนด

    จำนวนเงินที่ได้รับ = มูลค่าตั๋ว ณ วันครบกำหนด – ส่วนลดในการขายตั๋ว

      • ตั๋วเงินรับมีดอกเบี้ย
        1. กรณีดอกเบี้ยในตั๋วมากกว่าส่วนลดในการขายตั๋ว
        2. เดบิต เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร (จำนวนเงินที่ได้รับ)

          เครดิต ตั๋วเงินรับขายลด ( จำนวนเงินในตั๋ว )

          เครดิต ดอกเบี้ยรับ

          ( ดอกเบี้ยในตั๋ว – ส่วนลดในการขายตั๋ว )

          ขั้นตอนในการคำนวณ

          1. คำนวณดอกเบี้ยในตั๋ว = จำนวนเงินในตั๋ว x อัตราดอกเบี้ย x ระยะเวลาในตั๋ว

          2. มูลค่าตั๋ว ณ วันครบกำหนด = จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ยในตั๋ว

          3. คำนวณส่วนลดในการขายตั๋ว = มูลค่าตั๋ว ณ วันครบกำหนดขายลดจนถึงวันครบกำหนด

          4. จำนวนเงินที่ได้รับ = มูลค่าตั๋ว ณ วันครบกำหนด – ส่วนลดในการขายตั๋ว

      • กรณีส่วนลดในการขายตั๋วมากกว่าดอกเบี้ยในตั๋ว

เดบิต เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร (จำนวนเงินที่ได้รับ)

เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย (ส่วนลดในการขายตั๋ว – ดอกเบี้ยในตั๋ว)

เครดิต ตั๋วเงินรับขายลด (จำนวนเงินในตั๋ว)

3. สลักหลังโอนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้

ตั๋วเงินเป็นเอกสารที่สามารถโอนเปลี่ยนมือกันได้โดยการสลักหลัง ผู้สลักหลังจะเขียนข้อความว่า ให้จ่ายเงินแก่ใคร แล้วลงลายมือชื่อของผู้สลักหลัง แต่ความรับผิดชอบในตั๋วเงินฉบับนั้นจะยังคงอยู่ ถ้าในวันครบกำหนดชำระเงิน ผู้ถือตั๋วไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วได้ ผู้สลักหลังโอนตั๋วต้องรับผิดชดใช้ำนวนเงินในตั๋วพร้อมดอกเบี้ยในตั๋ว และค่าใช้จ่ายในการทำคำคัดค้าน

ในการโอนสลักหลังตั๋วเงินนี้ ผู้โอนและผู้รับโอนต้องตกลงกันก่อนว่า จะกำหนดมูลค่าของตั๋วเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้:-

  1. ตั๋วเงินรับไม่มีดอกเบี้ย สามารถกำหนดมูลค่าที่โอนได้หลายวิธีดังนี้:-
  2. มูลค่าของตั๋วที่โอนเท่ากับจำนวนเงินในตั๋ว
    เดบิต เจ้าหนี้ (จำนวนเงินในตั๋ว)
               เครดิต ตั๋วเงินรับ (จำนวนเงินในตั๋ว)

       1. เก็บตั่วเงินรับจนครบกำหนด และได้รับชำระเงินตามตั๋วโดยเรียบร้อย

    เดบิต เงินสดหรือธนาคาร (จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ยในตั๋ว)

        เครดิต ตั๋วเงินรับ (จำนวนเงินในตั๋ว)

                        เครดิต ดอกเบี้ยรับ

    2. นำตั๋วเงินไปขายลดที่ธนาคาร

    เดบิต ตั๋วเงินรับขายลด (จำนวนเงินในตั๋ว)

        เครดิต ตั๋วเงินรับ (จำนวนเงินในตั๋ว)

    3. สลักหลังโอนชำระให้เจ้าหนี้

      ไม่ต้องบันทึกบัญชี

    ตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ

      เมื่อตั๋วครบกำหนดชำระเงิน ผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน ตั๋วเงินฉบับนั้นเป็นตั๋วเงินขาดความ

      เชื่อถือ ผู้ถือตั๋วหรือผู้รับเงินตามตั๋วมีสิทธิเรียกเก็บเงิน่จากผู้โอนสลักหลัง ผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายเงิน

      โดยทำความคัดค้านเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้โอนตั๋ว ผู้สั่งจ่าย จนถึงผู้จ่ายเงิน โดยผู้รับเงินมีสิทธิ

      ร้องจำนวนเงินดังนี้:-

      1.จำนวนเงินในตั๋ว พร้อมดอกเบี้ยในตั๋ว

      2.ดอกเบี้ยคิดตั้งแต่วันผิดนัดชำระหนี้จนถึงวันชำระเงิน

      3.ค่าใช้จ่ายในการคัดค้าน

      ตั๋วเงินรับขาดความเชื่อถือ แบ่งพิจารณาได้ดังนี้:-

    ตั๋วเงินรับอยู่ในมือขาดความเชื่อถือ การบันทึกบันทึกมีดังนี้:-

    วันครบกำหนดตั๋วขาดความเชื่อถือ จะยกเลิกตั๋วเงินรับฉบับนั้น

พร้อมตั้งลูกหนี้คนเดิมกลับมาเป็นลูกหนี้คนใหม่

             เดบิต ลูกหนี้ (จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ยในตั๋ว)

                           เครดิต ตั๋วเงินรับ (จำนวนเงินในตั๋ว)

                           เครดิต ดอกเบี้ยรับ (ถ้ามี)

จ่ายค่าใช้จ่ายในการคัดค้าน ค่าใช้จ่ายนี้สามารถเรียกเงินคืนได้จากผู้จ่ายเงิน จึงไม่เป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ

            เดบิต ลูกหนี้ (ค่าคัดค้านที่จ่ายไป)

                           เครดิต เงินสด

รับชำระเงินสำหรับตั๋วขาดความเชื่อถือ

เดบิต เงินสด (จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ย + ค่าคัดค้าน + ดอกเบี้ยตั่วพ้นกำหนด)

เครดิต ลูกหนี้ (จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ยตั๋ว + ค่าคัดค้าน)

เครดิต ดอกเบี้ยรับ (ดอกเบี้ยตั๋วพ้นกำหนด)

ตั๋วเงินรับขายบลดขาดความเชื่อถือ ตั๋วเงินรับซึ่งกิจการได้รับจากลูกหนี้ กิจการได้นำตั๋วเงินรับไปขายลดให้ธนาคาร ในวันถึงกำหนดชำระเงิน ธนาคารเรียกเก็บเงินตามตั๋วไม่ได้ ธนาคารใช้สิทธิไล่เบี้ยกับกิจการสำหรับเงินในตั๋วพร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการทำคำคัดค้าน กิจการก็จำเป็นต้องชำระหนี้แก่ธนาคารแทนผู้จ่ายเงิน จากนั้นกิจการจะใช้สิทธิไลเบี้ยกับผู้จ่ายเงินในจำนวนเงินที่จ่ายให่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยตั่วพ้นกำหนดด้วย

        1. วันครบกำหนดตั๋วขาดความเชื่อถือ จะทำการยกเลิกตั๋วเงินรับฉบับนั้นพร้อมทั้งจ่ายเงินให้ธนาคาร
        2. ยกเลิกตั๋วเงินรับขายลด

          เดบิต ตั๋วเงินรับขายลด (จำนวนเงินในตั๋ว)

          เครดิต ตั๋วเงินรับ

          จ่ายให้ธนาคาร จะตั้งลูกหนี้เดิมกลับมาเป็นลูกหนี้ใหม่

          เดบิต ลูกหนี้ (จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ยในตั๋ว + ค่าคัดด้าน)

          เครดิต เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร

       รับเงินจากผู้จ่ายเงินสำหรับตั๋วขาดความเชื่อถือ

     เดบิต เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร (จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ยในตั๋ว +ค่า คัดค้าน +ดอกเบี้ยตั๋วพ้นกำหนด )

                       เครดิต ลูกหนี้ (จำนวนเงินในตั๋ว + ดอกเบี้ยในตั๋ว + ค่าคัดค้าน)

                       เครดิต ดอกเบี้ยรับ (ดอกเบี้ยตั๋วพ้นกำหนด)

 

ใบงานการบัญชีตั๋วเงิน

 

 

 


       ผู้จัดทำและดูแลเว็บไซต์    nirote_kh@ hotmail.com 

Hosted by www.Geocities.ws

1