บัญชีเบื้องต้น 2
โรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์"
299  ถ. กาญจนวณิชย์ ต.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา 90120 โทร. 074-411070  โทรสาร 074-411366

Home
Up
นายอำเภอขรรค์ชัย กัมพลานนท์
ประวัติโรงเรียน
บุคลากรของโรงเรียน
รางวัลนายอำเภอขรรค์ชัย
การจัดการเรียนการสอน
งานจริยธรรม
เก็บเอามาบอกลอกเอามาเล่า
บุคคล:หน่วยงานที่สนับสนุนโรงเรียน
ข่าวขรรค์ชัย
สมุดเยี่ยม
กระดานข่าว
ชมภาพกิจกรรม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
เว็บไซต์ผลงานนักเรียน

 

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545
วิชาชีพพื้นฐาน   สาขาพณิชยการ 
2200-1004 บัญชีเบื้องต้น 2

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการและขั้นตอนการจัดทำบัญชีสำหรับกิจการของเจ้าของ 
คนเดียวประเภทธุรกิจซื้อขาย
2. มีทักษะปฏิบัติงานบัญชีเบื้องต้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว 
ประเภทธุรกิจซื้อขายสินค้า
3. มีกิจนิสัย ความมีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ มีวินัยตรงต่อเวลา และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี


คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมายของสินค้า จดบันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้าในสมุดจดรายการขั้นต้น 
การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท รายการปรับปรุงเมื่อสิ้นงวดบัญชี การปิดบัญชี กระดาษทำการ 8 ช่อง 
งบกำไรขาดทุนและงบดุล และสรุปวงจรบัญชี

สาขางานการบัญชี

สาระที่ 1 การประยุกต์ใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สุขศึกษาและพลศึกษา

มาตรฐานที่ 1 สื่อสารโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ

มาตรฐานที่ 2 พัฒนาตนเองและสังคมตามหลักศาสนา สิทธิหน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

มาตรฐานที่ 3 พัฒนาตนเองและงานอาชีพ โดยใช้หลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

สาระที่ 3 งานบัญชีของกิจการประเภทธุรกิจซื้อขายสินค้า

มาตรฐานที่ 1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและกระบวนการปฏิบัติงานบัญชีของกิจการประเภทธุรกิจซื้อขาย
สินค้า

มาตรฐานที่ 2 มีทักษะ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานบัญชีของกิจการประเภทธุรกิจซื้อขายสินค้า

มาตรฐานที่ 3 มีคุณลักษณะนิสัยที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตในสังคมและการประกอบอาชีพ

ตารางการวิเคราห์สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้

ที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

สาระที่ 1

สาระที่ 3

ม. 1

ม. 2

ม. 3

ม. 1

ม. 2

ม. 3

1

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

/

/

/

/

/

/

2

การบันทึกรายการค้าในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น และผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท

/

/

/

/

/

/

3

การปรับปรุงเมื่อสิ้นงวดบัญชี

/

/

/

/

/

/

4

การปิดบัญชี และการจัดทำงบการเงิน

/

/

/

/

/

/

ตารางการวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้และจำนวนคาบเพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้

หน่วยที่

แผน ฯ ที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ // เรื่อง

จำนวนคาบ

1

 

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

16

 

1
2
3
4
5

สินค้าและเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้า
ค่าขนส่งสินค้าและเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าขนส่งสินค้า
การบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับต้นทุนขาย : วิธีการบันทึกสินค้าเมื่อสิ้นงวด
การบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับต้นทุนขาย : วิธีการบันทึกสินค้าแบบต่อเนื่อง
การบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับการขายสินค้า

2
2
4
4
4

2

 

การบันทึกรายการค้าในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น

36

 

6
7
8
9
10
11
12
13
14

การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป
การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันซื้อ
การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันส่งคืนและจำนวนที่ได้ลด
การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันขาย
การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันรับคืนและจำนวนที่ยอมลดให้
การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันรับเงิน
การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันจ่ายเงิน
การผ่านรายการค้าจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้นไปบัญชีแยกประเภท
การจัดทำงบทดลอง

4
4
4
4
4
4
4
4
4

3

 

การปรับปรุงเมื่อสิ้นงวดบัญชี

20

 

15
16
17
18
19
20
21
22
23
24

วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงบัญชี
การปรับปรุงและบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
การปรับปรุงและบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
การปรับปรุงและบันทึกบัญชีรายได้รับล่วงหน้า
การปรับปรุงและบันทึกบัญชีรายได้ค้างรับ
หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ
บันทึกรายการเกี่ยวกับบัญชีการตั้งหนี้สงสัยจะสูญ
การปรับปรุงและบันทึกบัญชีค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร
การปรับปรุงและบันทึกบัญชีวัสดุสิ้นเปลือง
การบันทึกรายการแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี

2
2
2
2
2
2
2
2
2
2

4

 

การปิดบัญชี และการจัดทำงบการเงิน

36

 

25
26
27
28
29
30
31
32
33
34

ความหมายและการคำนวณสินค้าคงเหลือ
กระดาษทำการ 8 ช่อง
การบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
การผ่านรายการปิดบัญชีจากสมุดรายวันทั่วไปไปบัญชีแยกประเภท
การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี
การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน
การจัดทำงบดุลแบบบัญชี
การจัดทำงบดุลแบบรายงาน
การบันทึกรายการกลับบัญชี
วงจรบัญชีกิจการเจ้าของคนเดียวประเภทธุรกิจซื้อขาย

8
8
6
2
2
2
2
2
2
2

รวม

108

สอบวัดผลระหว่างภาค

6

สอบวัดผลปลายภาค

6

รวมทั้งสิ้น

120

 ตารางการกำหนดอัตราส่วนคะแนน

ระหว่างภาคเรียน : ปลายภาคเรียน = 70 : 30
ความรู้ความเข้าใจ (K) : ทักษะกระบวนการ (P) : คุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A) = 40 : 15 : 15

หน่วยที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

ระหว่างภาค

ปลายภาค

รวม

K

P

A

1

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

10

3

2

5

20

2

การบันทึกรายการค้าในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น
และผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท

10

5

5

10

30

3

การปรับปรุงเมื่อสิ้นงวดบัญชี

10

2

3

10

25

4

การปิดบัญชี และการจัดทำงบการเงิน

10

5

5

5

25

 

รวม

40

15

15

30

100

เอกสารประกอบการเรียนรู้

รายวิชา 2200 - 1004 บัญชีเบื้องต้น 2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

เรื่อง สินค้าและเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้า

  • สินค้า (Goods) คือ สินทรัพย์หรือสิ่งของที่กิจการมีไว้จำหน่ายเพื่อหากำไร ในการจัดหาสินค้ามาเพื่อจำหน่าย กิจการอาจจะซื้อมาเป็นเงินสด หรือเป็นเงินเชื่อ

  • ในการซื้อขายสินค้ามักมีการต่อรองราคาระหว่างกัน จึงเกิดส่วนลดขึ้น เรียกว่า ส่วนลดการค้า (Trade Discount) ส่วนลดการค้า คือ ผลต่างจากราคาที่ติดประกาศกับราคาที่ซื้อขายจริงหลังจากการต่อรองแล้ว

  • เงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้า (Term of Payment)

ในการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ผู้ขายจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้ค่าสินค้า เช่น ภายใน 30 วัน หรือภายใน 60 วันนับจากวันที่ขาย แต่เพื่อเป็นการเร่งรัดให้ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าเร็วกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ขายจะมีส่วนลดให้แก่ผู้ซื้อที่นำเงินมาชำระก่อนกำหนดก็ได้

ตัวอย่างเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้า
n/40 หมายความว่า ผู้ซื้อต้องชำระค่าสินค้าตามราคาในใบกำกับภาษี/ใบกำกับสินค้า ภายใน 40 วัน
นับจากวันที่ที่ปรากฏในใบกำกับภาษี/ใบกำกับสินค้า

2/10, n/40 หมายความว่า ผู้ซื้อต้องชำระค่าสินค้าภายใน 40 วัน แต่ถ้าชำระหนี้ก่อนกำหนดภายใน10 วัน นับจากวันที่ที่ปรากฏในใบกำกับภาษี/ใบกำกับสินค้า จะได้ส่วนลด 2 % (ถ้าเกิน 10 วันนับจากวันที่ที่ปรากฏในใบกำกับภาษี/ใบกำกับสินค้า จะไม่ได้ส่วนลด)
2/10, eom. หมายความว่า ถ้าผู้ซื้อต้องชำระค่าสินค้า ภายใน 10 วัน ของเดือนถัดไปจะได้ส่วนลด 2 %
(eom. = end of month)

ส่วนลด (Discounts)

ส่วนลด (Discounts) มี 2 ชนิด คือ
1. ส่วนลดการค้า (Trade discount) (ไม่ต้องบันทึกบัญชี)
2. ส่วนลดเงินสด (Cash discount) (ต้องบันทึกบัญชี)

  • ส่วนลดเงินสด ทางด้านผู้ขาย เรียกว่า ส่วนลดจ่าย หรือส่วนลดขาย (Sale discount)

บันทึกบัญชีโดย   เดบิต    ส่วนลดจ่าย            120

                                       เครดิต ลูกหนี้                    120

  • ส่วนลดเงินสด ทางด้านผู้ซื้อ เรียกว่า ส่วนลดรับ หรือส่วนลดซื้อ (Purchase discount)

บันทึกบัญชีโดย   เดบิต     เจ้าหนี้                  120

                                       เครดิต   ส่วนลดรับ             120

เรื่อง ค่าขนส่งสินค้าและเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าขนส่งสินค้า

การซื้อขายสินค้าส่วนใหญ่ ผู้ซื้อและผู้ขายจะอยู่ต่างสถานที่กัน หรือห่างกันต้องอาศัยกิจการขนส่งในการขนส่งสินค้า เช่น เครื่องบิน รถไฟ เรือ รถบรรทุก ฯลฯ ดังนั้นผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยว่าใครจะเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง ตามปกติแล้ว การขนส่งสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การขนส่งเข้า (Transportation-in) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับต้นทุนสินค้าที่ขาย ซึ่งผู้ซื้อเป็นผู้จ่าย โดยบันทึกไว้ในบัญชี “ค่าขนส่งเข้า”

2. การขนส่งออก (Transportation-out) หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกีร่ยวกับการขายสินค้า ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกิจการ ผู้ขายเป็นผู้จ่าย โดยบันทึกไว้ในบัญชี “ค่าขนส่งออก”

  • เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าขนส่งสินค้า

1. กำหนดราคาซื้อขาย เป็น F.O.B. Shipping Point หมายความว่า ราคาสินค้าส่งมอบต้นทาง ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง จึงบันทึกบัญชีเป็น ค่าขนส่งเข้า

2. กำหนดราคาซื้อขาย เป็น F.O.B. Destination หมายความว่า ราคาสินค้าส่งมอบปลายทาง ผู้ขายเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง จึงบันทึกบัญชีเป็น ค่าขนส่งออก

เงื่อนไขราคาซื้อสินค้า--จากต่างประเทศ--ที่เกี่ยวข้องกับค่าขนส่งสินค้า

  • กำหนดราคาซื้อขาย เป็น F.O.B. หมายความว่า ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง จึงบันทึก เป็น ค่าขนส่งเข้า

  • กำหนดราคาซื้อขาย เป็น C & F หมายความว่า ผู้ขายเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง จึงบันทึกเป็น ค่าขนส่งออก

หมายเหตุ F.O.B. (Free on board), C F (Cost & Freight), Cost = ต้นทุน , Freight = ค่าระวาง

  • เมื่อกิจการซื้อสินค้า ถ้าตกลงกันว่าผู้ซื้อต้องออกค่าขนส่งสินค้าเอง ฝ่ายผู้ซื้อจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

โดยใช้ชื่อว่าบัญชีค่าขนส่งเข้า

ตัวอย่าง กิจการซื้อสินค้ามาโดยจ่ายค่าขนส่งสินค้ามายังร้าน 300 บาท จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต ค่าขนส่งเข้า 300

เครดิต เงินสด 300

ตัวอย่าง กิจการซื้อสินค้ามาและต้องออกค่าขนส่งสินค้าเอง แต่ฝ่ายผู้ขายได้ทดรองออกไปก่อน 300 บาท
กรณีแบบนี้ จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต ค่าขนส่งเข้า 300

เครดิต เจ้าหนี้ - ร้าน… 300












       ผู้จัดทำและดูแลเว็บไซต์    nirote_kh@ hotmail.com 

Hosted by www.Geocities.ws

1