หน้า 3/3
การขุดลอกร่องน้ำขนาดเล็ก

              - เส้นอ้างอิงหรือเส้นฐาน (Reference Line = RL or Base Line = BL)
                 เส้นอ้างอิง (RL) หรือเส้นฐาน (BL) เป็นเส้นหลักที่สำคัญที่สุดของงานขุดลอกที่
จะต้องจัดทำขึ้น เพราะจะเป็นเส้นอ้างอิงถึงตำบลที่ของร่องน้ำ ที่ทิ้งดิน การหยั่งน้ำตาม
ขวางทั้งก่อนขุดและหลังขุด การทำเครื่องหมายบริเวณที่จะต้องขุด
                 RL เป็นเส้นที่เกิดขึ้นจากการสำรวจ และจะต้องทำขนานไปกับเส้นแนวกึ่งกลาง
(Centerline) ร่องน้ำตลอดความยาวของร่องนำ้ ระยะห่างระหว่าง RL กับ C ของร่องน้ำเรา
เรียกว่าระยะ offset ระยะ offset นี้จะกำหนดขึ้นให้สะดวกต่อการปฏิบัติงานและจะมีค่ามาก
หรือน้อยยังขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศและชายฝั่งที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่ถ้าเป็นไปได้
แล้วระยะ offset จะกำหนดให้สั้นที่สุดโดยมีองค์ประกอบที่จะต้องนำมาพิจารณาคือ
             - ความยุ่งยากในการสำรวจเพื่อหา RL และการใช้ RL ภายหลัง
             - RL ควรห่างไกลบริเวณที่จะทำการขุดลอกพอสมควร และจะไม่แกะกะกีดขวาง
การเคลื่อนไหวของเรือขุด และอุปกรณ์ต่างๆ ของเรือขุด เช่น ทุ่นน้ำ ท่อน้ำ
             - RL จะต้องอยู่ในตำบลที่ที่มั่นคงถาวรได้นานที่สุด  
             RL ควรอยู่ในตำบลที่ที่สามารถเข้าถึงได้และสะดวกต่อการใช้ ถ้าเป็นร่องน้ำใน
แม่น้ำหรือบริเวณปากน้ำ RL ก็ต้องทำขึ้นบนฝั่งใดฝั่งหนึ่งที่สะดวก ถ้าเป็นร่องน้ำ้ในทะเล
หรือในแม่น้ำตอนที่มีความกว้างมาก ๆ RL ก็จำเป็นจะต้องกำหนดไว้ในน้ำ RL ที่สร้างขึ้นจะ
ต้องสร้างโดยการเชื่อมโยงจากที่หมายที่ทราบตำบลที่แน่นอนบนแผนที่

REFERENCE   LINE   และระยะ   OFFSET

          จากรูปแสดงการทำ RL ตำบลที่ของสถานี (stations) ต่างๆ บน RL ถ้าอยู่บนฝั่งจะทำ
ด้วยไม้ (อาจเป็นเสาเข็มกลม) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 ซม. ตอกอยู่เป็นระยะๆ
เท่าๆ กัน อาจเป็นทุกระยะ 50 เมตร หรือ 100 เมตรก็ได้ แต่ถ้าเป็นหลักกิโลเมตรที่จะต้องทำ
ป้าย กม. บอกระยะทางแก่ขาวเรือแล้ว จะต้องทำเป็นหลักชนิดถาวร คือ สร้างด้วยเสา
คอนกรีตหรือเสาเข็มต้นใดๆ แต่ละหลักจะเขียนหมายเลขสถานีกำกับไว้ด้วย โดยนับจากจุด
เริ่มต้นหรือที่ปากน้ำเป็นสถานี 0 + 000 และมากขึ้นเป็น 0 + 050 (ระยะ่ห่างจากสถานีแรก
50 ม.) ไปทางต้นน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนสถานีบน RL ที่อยู่ในน้ำ เราไม่สามารถจะปักหลักแบบ
ถาวรได้ จะทำได้เพียงปักหลักหรือวางทุ่นเพื่อใช้งานชั่วคราว หรือกำหนดไว้ในแผนที่เท่านั้น
              - การหยั่งน้ำ
                 หลังจากที่เราได้ข้อมูลในเรื่องระดับน้ำ โครงข่ายที่หมายต่างๆ และเส้นอ้างอิง
(RL) เรียบร้อยแล้ว เราก็พร้อมที่จะลงเรือหยั่งน้ำเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับระดับของพื้นท้องน้ำ
ได้ ชุดสำรวจที่จะใช้ในการหยั่งน้ำตามปกติจะใช้เจ้าหน้าที่ประมาณ 4-5 นาย คือ ถือท้าย
เรือสำรวจ 1 นาย ประจำเครื่องหยั่งน้ำ 1 นาย ใช้เครื่องวัดมุม (sextant) หรือประจำเครื่อง
วัดมุมเครื่องวัดระยะทางบนฝั่งอีก 2 นาย แรงงาน นอกจากนี้จะใช้จ้างคนงานลูกจ้างรายวัน
ช่วยเหลือ หลักใหญ่ในการหยั่งน้ำมีอยู่ว่า "ในขณะหยั่งน้ำที่จุดใดจุดหนึ่งจะต้องทราบ
ตำแหน่งตำบลที่เรือหยั่งน้ำในขณะนั้น" ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นและจะต้องแก้ไขให้ได้ คือ
การหาตำบลที่เรือ มีวิธีการหาที่เรือด้วยวิธีต่างๆ หลายวิธีแตกต่างกันไปแล้วแต่ลักษณะ
ภูมิประเทศ ความถนัด เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีอยู่ วิธีการดังกล่าวที่นิยมใชักันทั่วๆ ไป คือ
          1. การหาที่เรือด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
              ในกรณีที่ร่องน้ำอยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆ การหาที่เรือด้วยวิธีนี้เป็นวิธีเดียว
เท่านั้นที่ได้ผลอัตราผิดที่เกิดจากเครื่องมือน้อยมากเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ทำให้การหยั่งน้ำ
ทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง จะมีข้อเสียตรงที่เครื่องมือมีราคาแพงและต้องใช้เวลาเตรียมการ
ก่อนเริ่มทำการหยั่งน้ำบ้าง
          2. โดยการวัดมุมแนวนอน 2 มุม บนเรือหยั่งน้ำ
              วิธีนี้จะใช้ได้ผลเมื่อร่องน้ำอยู่ไม่ห่างจากฝั่งมากนัก เพราะว่าการทำตำบลที่เรือ
ด้วยวิธีนี้ผู้ที่อยู่บนเรือหยั่งน้ำจะต้องใช้เครื่องวัดมุม (sextant) ทำการวัดมุมแนวนอน 2 มุม
พร้อมกันจากที่หมายบนฝั่ง 3 แห่ง ดังนั้น ที่หมายบนฝั่งดังกล่าวต้องสร้างเป็นกระโจมสูง
ขึ้นไปพร้อมกับติดธงเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในเรือหยั่งน้ำเห็นได้ชัด ความผิดพลาดจากการหาตำบล
ที่เรือด้วยวิธีนี้จะอยู่ภายในวงรัศมีประมาณ 5 เมตร เมื่อระยะจากเรือหยั่งน้ำถึงที่หมายบนฝั่ง
ที่ำไกลที่สุดไม่เกิน 3,000 เมตร

          3. โดยการวัดมุม 2 มุมบนฝั่ง
              การหาที่เรือด้วยวิธีนี้ต้องใช้ Transit 2 กล้อง ตั้งอยู่บนตำบลที่ ที่ทราบค่าแน่นอน
แล้วบนฝั่งและมีระยะห่างกันพอสมควรที่จะ่ก่อให้เกิดการตัดกันของมุมโตพอสมควร เมื่อจะ
ทำการหยั่งน้ำ คนบนเรือหยั่งน้ำจะต้องให้สัญญาณแก่ผู้ที่จะทำการวัดมุมบนฝั่งทั้งสองแห่ง
ทราบเพื่อทำการวัดมุมพร้อมกันในขณะหยั่งน้ำ

          4. โดยให้เรือหยั่งน้ำวิ่ิงตามแนวที่่กำหนดแล้วทำการวัดมุมบนฝั่ง
              วิธีนี้จะต้องปักธง 2 ธง เป็นแนวให้เรือหยั่งน้ำวิ่ง แล้วตั้ง plane table บนตำบลที่
ที่ทราบค่าแน่นอนแล้วบนฝั่ง เมื่อเรือหยั่งน้ำวิ่งถึงตำบลที่ๆ กำหนด คนที่อยู่ที่ plane table
บนฝั่งจะต้องให้สัญญาณให้เรือทำการหยั่งน้ำให้ตรงตามจุดที่กำหนดไว้บนแผนที่

           5. โดยให้เรือหยั่งน้ำวิ่งตามแนวที่กำหนดแล้วทำการวัดระยะทาง
              วิธีนี้ก็ดำเนินการให้เรือหยั่งน้ำวิ่งตามแนวที่กำหนดเช่นเดียวกับวิธีที่ 4 แต่การ
ที่จะทราบว่าตำบลที่เรือหยั่งน้ำอยู่ที่ใดนั้นจะทราบได้โดยการวัดระยะทางจากจุดบนตำบลที่
ที่ทราบค่าแน่นอนแล้วบนฝั่งไปยังเรือหยั่งน้ำว่ามีระยะทางห่างเท่าไรจากจุดนี้ การวัดระยะ
ทาง ทำได้โดยใช้เครื่องวัดระยะทางหรือใช้เชือกระยะหรือลวดระยะก็ได้ ซึ่งทั้งสองวิธีมีข้อดี
และเสีย คือ

              - เครื่องวัดระยะทาง มีข้อดี คือ ใช้ง่าย สะดวก แต่ยังมีข้อเสีย คือ ต้องให้สัญญาณ
คนบนเรือหยั่งน้ำ ให้หยั่งน้ำตรงกันกับตำแหน่งที่ที่กำหนด และต้องย้ายตำบลที่ของเครื่อง
วัดทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงแนววิ่ง
              - เชือกระยะหรือลวดระยะ มีข้อดี คือ ติดตั้งอยู่ในเรือหยั่งน้ำ ตำบลที่ที่หยั่งน้ำ
และการให้สัญญาการหยั่งน้ำทำได้สะดวก แต่มีข้อเสีย คือ ใช้วัดระยะทางไกลๆ เกินกว่า
300 เมตร ไม่สะดวกเนื่องจากต้องม้วนเชือกหรือลวดระยะกลับเข้ารน เพื่อจะเริ่มต้นหยั่งน้ำ
ตามแนววิ่งใหม่ทุกครั้ง
              การหาที่เรือด้วยวิธีที่ 1 - 3 เป็นการหาที่เรือแบบทั่วๆ ไป ใช้ได้กับงานหยั่งน้ำ
ทุกชนิด แต่การหาที่เรือด้วยวิธีที่ 4 - 5 จะเป็นการหาที่เรือในกรณีหยั่งน้ำหา cross section
เพื่อทำการขุดลอกโดยเฉพาะตัวเลขของระดับน้ำที่ได้มาจากการหยั่งน้ำด้วยเครื่องจักร
หยั่งน้ำ ควรจะได้ทำการตรวจสอบด้วยดิ่งน้ำตื้นด้วยอย่างเชื่อเครื่องจักรหยั่งน้ำมากนัก
เพราะร่องน้ำบางแห่งมีโคลนเหลวที่ก้นร่องน้ำมากทำให้เครื่องจักรหยั่งน้ำวัดระดับของพื้น
ท้องน้ำตื้นกว่าความเป็นจริง ตัวเลขระดับน้ำจะต้องนำไปหักเพื่อหาระดับลึกที่เราต้องการ
ใช้ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ ยกตัวอย่าง เช่น ในการหยั่งน้ำเพื่อการเดินเรือเรานิยมหัก
ระดับน้ำลงถึง "ระดับน้ำลงต่ำสุด" (Lowest Low Water-LLW) ส่วนในการหยั่งน้ำ เพื่อการ
ก่อสร้าง เรานิยมหักระดับน้ำลงถึง "ระดับทะเลปานกลาง" (Mean Sea Level-MSL) ตัวเลข
ระดับน้ำหลังจากหักแล้ว ก็นำไปเขียนในแผนที่เรือไปพล๊อคเป็น Cross section

          ในการวางแผนและควบคุมการขุดลอกให้ได้ผล ก่อนการทำการขุดลอกเราจะวิ่งเรือ
หยั่งน้ำตามความยาวของร่องน้ำ (Long Profile) ก่อน เพื่อตรวจสอบดูว่ามีตำบลที่ตื้นที่ไหน
บ้างที่จำเ็ป็นจะต้องขุดลอก เมื่อพบที่ตื้นว่าอยู่ที่ไหนก็ทำเครื่องหมายไว้ อาจใช้ไม้ไผ่ปัก
ทิ้งทุ่นหรือสังเกตภูมิประเทศบนฝั่งไว้ก็ได้ ต่อจากนั้นเราจึงจะกลับมาหยั่งน้ำหา cross
section โดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

เครื่องจักรอุปกรณ์การขุด

          กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้ทำการแบ่งร่องน้ำออกเป็น 3 ขนาดดังนี้
1. ร่องน้ำขนาดใหญ่
2. ร่องน้ำขนาดกลาง
3. ร่องน้ำขนาดเล็ก

ร่องน้ำขนาดใหญ่        คือ   ร่องน้ำที่มีขนาดความกว้างตั้งแต่   60        เมตร ขึ้นไป
ร่องน้ำขนาดกลาง       คือ   ร่องน้ำที่มีขนาดความกว้างตั้งแต่   30-60  เมตร
ร่องน้ำขนาดเล็ก      คือ   ร่องน้ำที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน   30       เมตร

          ในที่นี้จะอธิบายถึงภารกิจที่ถ่ายโอนให้ อปท. คือ ร่องน้ำขนาดเล็ก สภาพพื้นที่
ส่วนมากจะเป็นร่องน้ำขนาดเล็กที่เรือขุดไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานขุดลอกได้ ส่วนใหญ่
จึงใช้รถขุดตักดินไฮดรอลิค (รถแบคโฮ) ในบางพื้นที่ถ้าไม่มีที่ยืนรถก็จะใช้วิธีนำรถแบคโฮ
บรรทุกอยู่บนโป๊ะเพื่อทำการขุดลอก

          เครื่องจักรและอุปกรณ์
          - รถขุดตักดินไฮดรอลิก (รถแบคโฮ)
          - โป๊ะ สำหรับรองรับรถขุด

[ 1 ]   [ 2 ]   [ 3 ]


Hosted by www.Geocities.ws

1