หน้า 2/3
การขุดลอกร่องน้ำขนาดเล็ก

การสำรวจก่อนงานขุดลอก

          1. การสำรวจสภาพพื้นที่เบื้องต้น การสำรวจก่อนงานขุดลอกมีส่วนสำคัญในการ
กำหนดแนวและระยะทางของร่องน้ำที่จะทำการขุดลอก นอกจากนี้ยังมีค่าระดับก่อนการ
ขุดลอก สำหรับร่องน้ำขนาดเล็กจะใช้วิธีหยั่งน้ำวัดความลึกของเนื้อดินที่ Station ต่างๆ
ก่อนขุดลอก โดยความลึกใช้ระดับน้ำลงต่ำสุด (Lowest Low Water - LLW)
เป็นตัวเทียบ โดยการสำรวจขั้นแรกและการตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษา การสำรวจ
ขั้นแรก คือการตรวจเพื่อพิจารณาขุดลอกเป็นครั้งแรก ซึ่งก็คือเรื่องที่กำลังกล่าวถึงในขณะนี้
ส่วนการตรวจสอบเพื่อบำรุงรักษานั้น เป็นการตรวจสอบร่องน้ำที่ไม่ได้มีการบำรุงรักษาทุกปี
หรือทุำกสองปีว่ามีอัตราการตื้นเขินมากน้อยแค่ไหน เพื่อพิจารณากำหนดเวลาที่จะส่งรถขุด
ได้ถูกต้อง
          การตรวจสอบก่อนการขุด เป็นการตรวจสอบก่อนที่จะขุดลอกเป็นการทำ cross
section โดยละเอียด เพื่อการคำนวณปริมาณดินที่จะขุด กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
การขุด

          2. ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานสำรวจโดยละเอียดก่อนงานขุดลอก
              การสำรวจและการหยั่งน้ำ (Hydrographic Survey)
              - การตรวจระดับน้ำ (Tide Observation)

                 จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำละเอียดลงไปแต่ละชั่วโมงในตำบลที่จะ
ขุดลอกโดยเฉพาะ ถ้ามีเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และงบประมาณ วิธีที่ปฏิบัติในการตรวจระดับ
น้ำที่ดีที่สุดคือ ใช้เครื่องจักรตรวจระดับน้ำ (Tide recorder) บันทึกระดับน้ำของตำบลที่นั้น
เป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อยที่สุดหนึ่งปี แต่ถ้าไม่มีเครื่องตรวจระดับน้ำก็ใช้บรรทัดน้ำ
(Tide gauge) แทนก็ได้ โดยเฉพาะขณะที่ทีมสำรวจกำลังทำงานอยู่จะต้องมีคนคอยเฝ้า
จดระดับน้ำบรรทัดน้ำตลอดเวลาทุกชั่วโมง  ก่อนที่จะตั้งบรรทัดน้ำจะต้องตั้งหมุดระดับ
อย่างน้อย 2 หมุด ซึ่งโยงมาจากหมุดระดับมาตรฐานที่ทราบค่าระดับแน่นอนแล้วมายัง
บริเวณที่จะตั้งบรรทัดน้ำ เพื่อที่จะตั้งระดับศูนย์บนบรรทัดน้ำ้ำว่าจะอยู่ที่ระดับไหน ตัวบรรทัด
อาจทำด้วยวัสดุอะไรก็ได้ที่คงทนแข็งแรง เช่น ไม้ คอนกรีต แผ่นสังกะสีเคลือบ ฯลฯ แต่
บรรทัดน้ำที่ทำด้วยไม้จะสะดวกและราคาถูกที่สุด เพราะการจัดทำและติดตั้งง่าย โดยอาจ
นำไปผูกติดกับเสาของท่าเรือหรือโครงสร้างที่แข็งแรงได้ การแบ่งขีดระยะบนบรรทัดน้ำควร
เซาะไม้ให้เ็ป็นร่องแล้วทาสีด้วยสีดำสลับกับสีขาวหรือสีแดงสลับกับสีขาว จะคงทนถาวร
และสะดวกในการอ่านดีกว่าบรรทัดน้ำที่ทาสีไว้เฉยๆ
                ระดับศูนย์บนบรรทัดน้ำควรตั้งไว้ให้ต่ำกว่าระดับน้ำลงต่ำสุด (LLW) ของบริเวณ
นั้นไว้เล็กน้อย เพื่อความสะดวกในการหักระดับน้ำจากการหยั่งน้ำ ตัวอย่างการทำบรรทัดน้ำได้
แสดงไว้ตามรูป

ตัวอย่างบรรทัดน้ำที่ใช้กับงานขุดลอก


                 จะสังเกตเห็นว่าการแบ่งขีดของบรรทัดน้ำจะทำทุกๆ ระยะ 10 เซนติเมตร ซึ่งการ
แบ่งขีดแบบนี้สามารถจะอ่านละเอียดได้ทุกๆ ระยะ 2 เซนติเมตร ซึ่งก็ละเอียดเพียงพอแล้้ว
สำหรับงานหยั่งน้ำ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการแบ่งขีดบนบรรทัดน้ำแบบนี้จะ
สามารถอ่านระดับน้ำได้ง่ายมาก แม้ว่าผู้อ่านจะอยู่ในระยะไกล 200-300 เมตร ถ้าใช้กล้อง
สายตาก็อ่านได้ นอกจากนี้บรรทัดน้ำแบบนี้ยังเหมาะที่จะใช้เป็นบรรทัดน้ำสำหรับพนักงาน
ขุดในการขุดด้วย
              - ที่หมายที่ใช้ในการสำรวจ (Survey Markers)
                 ตำบลที่ของเรือสำรวจในขณะหยั่งน้ำขณะใดขณะหนึ่ง ตลอดจนตำบลที่จะ
ขุดลอก จะทราบว่าอยู่ที่ใดแน่ก็ต่อเมื่อมีที่หมายฝั่งที่ทราบตำบลที่แน่นอนแล้วอย่างน้อย 3
แห่งขึ้นไป ในกรณีที่ร่องน้ำอยู่ห่างจากฝั่งมากๆ และไม่สามารถวัดมุมด้วยเครื่องวัดมุม
(sestant) ได้ที่หมายที่อยู่บนฝั่งดังกล่าวก็ใช้เป็นตำบลที่ของที่ตั้งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
ในการหาที่เรือ ถ้าร่องน้ำอยู่ไม่ห่างจากฝั่งมากนักก็ใช้ที่หมายดังกล่าวเป็นที่สร้างกระโจม
เพื่อเป็นที่หมายในการวัดมุมด้วยเครื่องวัดมุม (sextant) ในการหาที่เรือ ที่หมายเหล่านี้
จะต้องทำแบบถาวร โดยทำด้วยคอนกรีตบนรากฐานที่มั่นคงตามตัวอย่างดังรูป



หมุดหลักฐานที่ใช้ในการสำรวจ

          หมุดที่หมายจะทำเป็นรูปปิรามิดโดยยึดติดกับเหล็กขนาดโต 6-8 ซม. ยาวประมาณ
1.5 ม. หลุมที่ขุดจะขุดเป็นรูปวงกลมลึกประมาณ 45 ซม. ในตำบลที่ๆ ดินอ่อน ฐานราก
คอนกรีตควรทำให้หนาประมาณ 30-50 ซม. และใช้เหล็กยึด 3-4 อัน ที่ตัวคอนกรีตจะต้อง
เขียนชื่อหมายเลข และวันที่ไว้ตัวหมุดที่หมายไม่ควรอยู่สูงจากพื้นดินมากนักยกเว้นบริเวณ
ที่น้ำท่วมถึง เมื่อสร้างหมุดที่หมายเรียบร้อยแล้วจะต้องทำรายละเอียดของหมุดที่หมาย
ดังกล่าวไว้ คือ ขนาด วัสดุที่ใช้ทำ รายละเอียดที่เขียนไว้บนหมุดที่ก่อสร้าง ตำบลที่ วิธีที่จะ
ค้นหาหมุดที่หมาย ค่าโคออร์ดิเนต และค่าระดับ ขอบข่ายของหมุดที่หมายที่จะใช้ในการ
สำรวจ จะต้องมีจำนวนมากพอที่จะสามารถมองเห็นได้อย่างน้อย 3 แห่งตลอดเวลาไม่ว่า
เรือสำรวจจะอยู่ที่ใด และจะต้องมีระยะห่างกันพอสมควร ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถทำการวัดมุม
ด้วย sextant ได้ 2 มุม ในขณะหยั่งน้ำได้ตลอดเวลา และความโตของมุมที่วัดออกมาได้
จะต้องทำให้เกิดจุดตัดที่ดี สำหรับร่องน้ำในแม่น้ำ ถ้าเป็นตอนที่แม่น้ำมีความกว้างมาก
และจำเป็นจะต้องหาที่เรือโดยวิธีลากเส้นให้ตัดกัน (Intersection Method) แล้ว
survey markers ที่จะสร้างมีหลักง่ายๆ คือ ระยะระหว่างหมุดที่หมายบนฝั่งทั้งสอง
ของแม่น้ำควรมีระยะใกล้เคียงกับความกว้างของแม่น้ำ

[ 1 ]   [ 2 ]   [ 3 ]

Hosted by www.Geocities.ws

1