หน้า 1/3
การขุดลอกร่องน้ำขนาดเล็ก

บทนำ
การขุดลอกร่องน้ำของทางน้ำธรรมชาติเป็นการขุดลอกตะกอนที่ตกสะสมอยู่ในทางน้ำนั้นๆ
เป็นเวลานานจนเกิดการตื้นเขิน บางแห่งทำให้ทางน้ำนั้นๆ ถึงกับหมดสภาพไป กลายเป็น
ทางน้ำที่ตายแล้ว การขุดลอกจึงมีความจำเป็นเพื่อการดำรงสภาพของทางน้ำ ซึ่งเป็นแหล่ง
น้ำต้นทุนของหมู่บ้านหรือตำบลในการใช้เป็นทางระบายน้ำและเก็บกักน้ำไว้ใช้อุปโภค
บริโภค และการเกษตรในหน้าแล้ง นอกจากนี้การขุดลอกทางน้ำยังเป็นการกระทำ เพื่อการ
เดินเรือ เพื่อการบำรุงและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ แต่ทั้งหมดนี้การขุดลอก จะต้องกระทำ
โดยมีหลักเกณฑ์ เพราะการขุดลอกจะมีผลกระทบต่อสภาพของทางน้ำนั้นๆ ตลอดจนผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หลักเกณฑ์การขุดลอก แบ่งออกเป็น

1. หลักเกณฑ์ด้านวิศวกรรม ประกอบด้วย
    1.1 พยายามให้ขุดลอกร่องน้ำตรงบริเวณกลางทางน้ำให้มากที่สุด เพื่อให้มีผลกระทบ
          ต่อตลิ่งน้อยที่สุด
    1.2 ถ้าบริเวณที่ขุดลอกมีอาคารกีดขวาง เช่น สะพาน ฝาย ฯลฯ จะต้องปฏิบัติตาม
          กฎหมายหรือระเบียบของหน่วยงานเจ้าของอาคารนั้นๆ ด้วย รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ
          ที่เกี่ยวข้อง
    1.3 ขนาดของร่องน้ำที่จะทำการขุดลอก ให้คำนึงถึงขนาดและปริมาณเรือที่จะมาใช้สอย
          รวมทั้งอัตราการตกตะกอนเป็นสำคัญ โดยมีความลาดชันขอบร่อง ดังนี้
                - กรวด ทราย                อย่างน้อย       1 : 8
                - ดินทราย                    อย่างน้อย       1 : 5
                - ดินปนทราย               อย่างน้อย       1 : 4
                - ดินเหนียว                  อย่างน้อย       1 : 2
    1.4 ในพื้นที่ใกล้เคียงในรัศมี 100 เมตร ถ้ามีการพังทลายของตลิ่งอยู่แล้ว ต้องตรวจสอบ
          ว่าการขุดลอกร่องน้ำจะก่อให้เกิดการพังทลายของตลิ่งเพิ่มขึ้นหรือไม่
    1.5 บริเวณที่ทิ้งวัสดุที่ได้จากการขุดลอกจะต้องอยู่ห่างจากทางน้ำเป็นระยะทางที่ไกลพอ
          จนกระทั่งวัสดุเหล่านั้นไม่ไหลกลับมาลงร่องน้ำได้อีก
    1.6 ถ้าทางน้ำที่จะทำการขุดลอก มีความเกี่ยวพันกับทางน้ำอื่น เช่น เป็นทางระบายน้ำ
          เป็นทางเชื่อมการเดินเรือ เป็นที่เก็บกักน้ำสำรอง ฯลฯ จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบ
          ในส่วนนี้ด้วย
    1.7 ควบคุมการฟุ้งกระจายของตะกอนที่เกิดขึ้นในขณะขุดลอก โดยการเลือกใช้เครื่องมือ
          ที่เหมาะสม และเริ่มต้นขุดลอกด้านเหนือน้ำก่อน

2. หลักเกณฑ์ด้านระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอนุญาตให้ดูดทราย พ.ศ. 2523
    หมวด 4 ข้อ 10 ซึ่งต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
    2.1 ด้านวิชาการ เช่น ความเสียหายแก่สภาพตลิ่ง สภาพธรรมชาติของทางน้ำ เป็นต้น
    2.2 ด้านการปกครอง เช่น ความเดือดร้อนของราษฎร ความเสียหายของเศรษฐกิจต่อ
          ส่วนรวม เ็ป็นต้น  

การสำรวจออกแบบร่องน้ำ

          ก่อนอื่นเราต้องทราบข้อมูลขนาดเรือที่ใช้ร่องน้ำ มีอย่างละกี่ลำ เพื่อหาขนาดและ
ปริมาณเรือที่ใช้ร่องน้ำนั้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดขนาดของร่องน้ำที่จะขุด ทำให้
สามารถกำหนดราคาค่าลงทุนที่จะทำการขุดลอกร่องน้ำได้ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยข้อมูล
อื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาในการวางแผนกำหนดขนาดและทิศทางของ
ร่องน้ำด้วย เช่น

          - คลื่น เป็นตัวที่นำมาประกอบเพื่อกำหนดทิศทางร่องน้ำ ซึ่งทิศทางของร่องน้ำต้อง
ไม่ขวางทิศทางของคลื่น จะทำให้การนำร่องเรือลำบาก ทิศทางของคลื่นทำให้สามารถ
กำหนดตำแหน่งที่ทิ้งดินได้

          - กระแสน้ำ ทำให้เกิดการพัดพาของตะกอนทำให้ร่องน้ำตื้นเขิน และที่สำคัญทิศทาง
ของร่องน้ำจะต้องไม่ขวางทิศทางกระแสน้ำเพราะนอกจากจะทำให้การนำเรือเข้าออก
ร่องน้ำลำบากแล้ว ยังทำให้ร่องน้ำตื้นเขินเร็ว ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามาก
และบริเวณที่ทิ้งดินที่ได้จากการขุดร่องน้ำ จะต้องคำนึงถึงทิศทางกระแสน้ำเพราะถ้าเอาดิน
ไปทิ้งเหนือกระแสน้ำก็จะพัดพาเอาดินที่ขุดขึ้นไปแล้วกลับมาลงร่องน้ำอีก

          - น้ำขึ้นน้ำลง ร่องน้ำอื่นๆ ที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีเป็นผู้ขุดใช้ระดับ
น้ำลงต่ำสุด เป็นระดับมาตรฐานเป็นตัวเทียบในการกำหนดความลึกของร่องน้ำ

          - ลม ความเร็ว ทิศทางและระยะเวลาที่ลมพัดที่บันทึกไว้อย่างน้อย 1 ปี เป็นตัว
ประกอบการพิจารณาของร่องน้ำ เพราะร่องน้ำที่มีลมแรง ถ้าเราไปกำหนดทิศทางขวางกับ
ทิศทางลมแล้ว ก็จะทำให้การนำเรือเข้าออกยุ่งยากมากขึ้น

          - การเคลื่อนตัวของดินทรายชายฝั่งและการตกตะกอน การขุดลอกเป็นการ
เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เหมือนการขุดหลุมขวางแนวการเคลื่อนตัวของตะกอนจึงมี
โอกาสสูงที่ร่องน้ำจะตื้นเขินเร็วกว่าปกติ จึงแก้ปัญหาด้วยการสร้างเขื่อนกันทราย เพื่อ
ปิดกั้นทรายตะกอนไว้ไม่ให้เคลื่อนมาลงร่องน้ำที่ขุดไว้จะช่วยป้องกันร่องน้ำไม่ให้ตื้นเขิน
เร็ว ขณะเดียวกันจะต้องดูแลและขุดย้ายทราย ตะกอนที่สะสมที่เขื่อนกันทรายไม่ให้ทับถม
มากจนถึงปลายเขื่อนออก เพราะทราย ตะกอนก็จะเคลื่อนตัวลงไปในร่องน้ำอีก นอกจากนี้
ยังทำให้ชายฝั่งด้านใต้เืขื่อนเกิดการกัดเซาะด้วย

          นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลกระทบจากการขุดลอก
ร่องน้ำ เช่น การทิ้งดินบริเวณป่าชายเลนที่จะกระทบถึงระบบนิเวศน์วิทยา ดินตะกอนที่
เกิดจากการขุดลอกที่จะมีผลกระทบที่เกิดกับการทำประมงชายฝั่ง ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง

[ 1 ]   [ 2 ]   [ 3 ]


Hosted by www.Geocities.ws

1