Night   Photography
Up ] ฟิล์มถ่ายภาพดาว ] เลือกองค์ประกอบถ่ายภาพดาว ] วงโคจรของดวงจันทร์ ] การเคลื่อนที่ของดาว ] การใช้แสงกับภาพกลางคืน ] ปัญหาของการถ่ายภาพกลางคืน ] แบบฝึกหัดถ่ายภาพดาว ]

 

การถ่ายภาพดาวและดวงจันทร์

64   เข้าใจเทคนิคการถ่ายภาพดาวและดวงจันทร์

        เมื่อมีใครกล่าวถึงการถ่ายภาพ Out door ทุกๆคนมีจะต้องพุ่งความสนใจไปที่เรื่องของแสง   และแน่นอนว่าช่วงเวลาที่มีแสงเหมาะสำหรับถ่ายภาพคือ   ช่วงเวลากลางวันตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตก   โดยที่ลืมไปว่าช่วงเวลาอีกครึ่งหนึ่งของวันตั้งแต่อาทิตย์ตกจนถึงอาทิตย์ขึ้น   ก็สามารถบันทึกภาพได้เช่นกัน   และลักษณะของภาพไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภาพแสงไฟรถวิ่งเป็นเส้นยาวบนถนนเท่านั้น   แต่ยังมีสิ่งต่างๆ มากมายในธรรมชาติรอให้ช่างภาพบันทึกลงบนฟิล์ม

          ใน Central   Australia   ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศกึ่งแห้งแล้ง   ปราศจากยอดเขาสูงที่มีหิมะปกคลุม   หรือสายหมอกลอยเอื่อยท่ามกลางหุบเขาให้บันทึกภาพ    ภาพทิวทัศน์ที่ถ่ายในแถบนี้ช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในมุมสูงมักจะมีลักษณะของแสงที่ค่อนข้างจัดท้องฟ้าสีน้ำเงินเข้มไร้เมฆ จึงควรเลือกถ่ายภาพในช่วงชั่วโมงแรกหลังอาทิตย์ขึ้น   และหนึ่งชั่วโมงก่อนอาทิตย์ตก   แต่เวลาเพียงน้อยนิดนี้ทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพได้อย่างเต็มที่

        จึงเป็นสาเหตุให้ใช้ช่วงเวลาหลังอาทิตย์ตกจนถึงอาทิตย์ขึ้นถ่ายภาพ   พร้อมกับความคิดที่ว่า ”หากไม่สามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ในสภาพทั่วๆ ไปได้   ทำไมถึงไม่ใช้ช่วงเวลาที่ท้องฟ้าใสกระจ่างยามค่ำคืนถ่ายภาพ   เพื่อสร้างความแตกต่างจากคนอื่นล่ะ”      

        ตอนกลางคืนมักเป็นช่วงเวลาที่ถูกช่างภาพมอบข้ามถึงแม้ว่าจะกินเวลาถึงแม้ว่าจะกินเวลาถึงครึ่งหนึ่งของวัน   อาจจะมีช่างภาพบางคนใช้เวลาช่วงก่อนอาทิตย์ขึ้นและหลังอาทิตย์ตกบันทึกภาพ   ซึ่งจะมีเวลาอย่างมากสุดก็ประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น   แต่ยังไม่มีช่างภาพคนไหนเคยบอกว่าใช้เวลา 9 – 10 ชั่วโมงหลังอาทิตย์ตกทำงาน

        วิธีการถ่ายภาพแบบนี้จุดประกายให้กับนักถ่ายภาพคนอื่น ๆ โดยผู้ที่เริ่มจะถ่ายภาพกลางคืนจะพบว่ามีรูปแบบต่าง ๆ มากมายให้ลองทำ หรืออาจจะเก็บเอาเทคนิคที่เขาใช้ไปปรับปรุงใช้กับบางสถานการณ์ที่พบ

        การถ่ายภาพในเวลากลางคืนจะเป็นการ “สร้างภาพ” ซึ่งเกิดจากการคิดถึงภาพที่ต้องการก่อน   เนื่องจากโดยปกติตาคนจะไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่จะได้ในภาพจนกระทั่งล้างฟิล์มแล้ว   ดังนั้นนักถ่ายภาพจึงต้องคิดถึงสิ่งที่ต้องการให้ปรากฎบนฟิล์มและหาวิธีที่จะทำให้เป็นตามนั้น   สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใหม่ ๆ อาจจะเกิดคำถามมากมายเช่น หากเปิดเวลาบันทึกภาพนานมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น   หรือหากให้แสงเพิ่มเข้าไปที่ฉากหน้า ภาพที่ได้จะเป็นอย่างไร โดยปล่อยให้ส่วนอื่นของภาพรับแสงไปเรื่อย ๆ

641   บอกอุปกรณ์บันทึกภาพในการถ่ายภาพดาวและดวงจันทร์

                สิ่งแรกที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพก่อนที่จะไปถึงเรื่องเทคนิคก็คือ   อุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพ   สำหรับการถ่ายภาพในเวลากลางคืน   ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มากไปกว่าการถ่ายภาพทั่ว ๆ ไป   ซึ่งนักถ่ายภาพมีใช้ตามปกติอยู่แล้วนอกเหนือไปจากกล้องและเลนส์แล้วอุปกรณ์สำคัญก็คือ ขาตั้งกล้อง  สายลั่นชัตเตอร์   และไฟฉายขนาดเล็กซึ่งควรพกติดกระเป๋าไว้เป็นประจำ   และหากคิดว่าจะถ่ายภาพเป็นเวลานานนาฬิกาปลุก   ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็น   เพราะหากเผลอหลับไปโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจเสียงนาฬิกาจะได้ช่วยปลุกให้ลุกขึ้นมาปิดชัตเตอร์ได้ทัน

                ส่วนเข็มทิศจะจำเป็นหากต้องการถ่ายภาพโดยเน้นไปที่การโคจรของกลุ่มดาวบางกลุ่มให้เป็นวงกลม

                สำหรับกล้องถ่ายภาพ   ระบบบันทึกภาพ T เป็นสิ่งจำเป็นมากในการบันทึกภาพเป็นเวลานาน   เพราะที่ T จะไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ในการทำงาน   แต่หากไม่มีระบบ T ก็สามารถใช้ B ได้ไม่แตกต่างกัน  ซึ่งกล้อง SLR ทั่วไปแทบทุกตัวจะมี B ให้ใช้อยู่แล้ว   เพียงแต่ชัตเตอร์ B ของกล้องบางรุ่นจะต้องใช้กำลังจากแบตเตอรี่ทำงาน   ซึ่งเมื่อเปิดบันทึกภาพเป็นเวลานานอาจจะทำให้แบตเตอรี่หมดได้

                ส่วนอุปกรณ์สำหรับเพิ่มแสงเข้าไปที่ฉากหน้า   ใช้สปอตไลต์หรือแฟลชตามแต่ขนาดหรือพื้นที่ของวัตถุ

                ผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพลักษณะนี้ใหม่ ๆ สมุดโน็ต   เป็นอีกสิ่งที่ควรมีเพื่อบันทึกรายละเอียดของภาพแต่ละภาพ   เมื่อล้างฟิล์มออกมาแล้วจึงนำภาพที่ได้มาดู   พร้อมกับข้อมูลของแต่ละภาพแล้วศึกษาถึงสิ่งที่ดีหรือผิดพลาดจากแต่ละภาพและนำไปใช้ในอนาคต

                ภาพที่ถ่ายในช่วงกลางคืนส่วนมากจะใช้เลนส์   Wide  อย่างเช่น 24 มม. ของกล้อง 135 หรือ 40 มม. ของกล้องฟอร์แมต 6x6   แต่ก็มีบางครั้งที่ใช้เลนส์นอร์มอล 50 มม. ของกล้อง 135 หรือ 80 มม. ของกล้อง 6x6  โดยกล้องที่ใช้ในฟอร์แมต 135 จะเป็นกล้องที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์   ส่วนกล้อง 6x6 จะเป็นกล้องกลไก

P37_7.jpg (53525 bytes)

                ตั้งกล้องติดเลนส์ 24 มม. พร้อมฟิล์ม  Ektachrome  EPP 100 Plus หันไปทางทิศเหนือ   ใช้เวลาบันทึกภาพ 9 ชั่วโมง 35 นาที f/2.8 ใช้แฟลช Nikon SB - 24   ตั้งลดกำลังไฟ  1/2 ให้แสงทางขวาของสิ่งก่อสร้างโดยซูมแฟลชที่ 24 มม.  ทางซ้ายซูมแฟลช 50 มม.   แล้วตั้งแฟลชไว้บนกล้อง   เพื่อให้แสงที่ฉากหน้าโดยใช้ไฟเต็มกำลังซูมแฟลชที่ 24 มม.   ภาพในสิ่งก่อสร้างใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ม้วนรอบไฟ   เพื่อให้แสงออกโทนอุ่นให้แสงเป็นเวลา 5 นาที   ภาพนี้มีแสงสีแดงจากเครื่องบินที่ด้านซ้ายของภาพ

 

 

 

คอนเสิร์ต ] ถ่ายภาพพลุ ] [ ถ่ายภาพดาว ]

Back

ผู้จัดทำ   นายเฉลิมพล  สุขเกษม  รหัส   42064508 

นางรุ่งระวี   สินธุรัตน์  รหัส  42064516

นักศึกษาปริญญาโท   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Hosted by www.Geocities.ws

1