Night   Photography
Up ] วิธีการวัดแสง ] ชนิดของแสงสะท้อน ] ชนิดของแสงตกกระทบ ] ชนิดของเครื่องวัดแสง ] แบบฝึกหัดเครื่องวัดแสง ]

 

เครื่องวัดแสง

17   เข้าวิธีการใช้เครื่องวัดแสงภายนอกตัวกล้อง
171   บอกความหมายของการวัดแสงด้วยเครื่องวัดแสง

172   บอกวิธีการวัดแสงประเภทต่างๆ

173   บอกชนิดของแสงสะท้อน

174   บอกชนิดของแสงตกกระทบ

175   อธิบายชนิดของเครื่องวัดแสงชนิดต่างๆ

 

17   เข้าวิธีการใช้เครื่องวัดแสงภายนอกตัวกล้อง

       ตามปกติกล้องที่นักถ่ายภาพส่วนใหญ่ในโลกที่ใช้กันจะเป็นกล้อง   SLR  35  mm.   ที่มีเครื่องวัดแสงในตัว   กล้อง  SLR  35  mm.   บางรุ่นก็ยังมีระบบวัดแสงที่ละเอียดแลพซับซ้อน   แต่นักถ่ายภาพบางกลุ่มที่ต้องการวัดแสงด้วยความละเอียดเป็นพิเศษ   เช่น  นักถ่ายภาพมืออาชีพ,   นักถ่ายภาพสตูดิโอ   ตลอดจนนักถ่ายภาพทั่วๆ   ไปที่พิถีพิถันมากๆ   กับผลของงาน   เครื่องวัดแสงภาพนอกตัวกล้องหรือเครื่องวัดแสงมือถือ   (Hand  Hed  Meter)   เป็นอุปกรณ์เสริมการถ่ายภาพอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจศึกษา   เพื่อที่วันหนึ่งหรือวันนี้   คุณอาจจะเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้มัน

171   บอกความหมายของการวัดแสงด้วยเครื่องวัดแสง

                  เครื่องมือที่ใช้ในการวัดแสงหรือมิเตอร์วัดแสงหากมองในด้านของผลที่ได้จากมัน   เราสามารถจะวัดแสงแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบกว้างๆ   คือใช้สำหรับวัดปริมาณแสง  (ความเข้มสว่าง)   และใช้สำหรับวัดคุณภาพแสง  (วัดอุณหภูมิสี)   เครื่องวัดแสงภายนอกตัวกล้องจะเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดปริมาณแสงหรือวัดอุณหภูมิสีได้   หรือบางรุ่นก็ออกแบบมาให้วัดได้ทั้งสองชนิดเมื่อใช้อุปกรณ์เสริมพิเศษ

                   คำว่าปริมาณแสง   หมายถึงความสว่างของแสงที่ส่องมาจากแหล่งกำเนิดแสง   ซึ่งในบางวงการเขาได้ใช้ปริมาณแสงเป็นมาตรฐานในการกำหนดหน่วยมาตรฐานหรือเป็น   Spec   สำหรับตรวจสอบคุณภาพของงานในด้านต่างๆ   เช่น   ใช้กำหนดค่าความสว่างของพื้นที่ภายในโรงงาน,   กำหนดความสว่างภายในอาคาร,   ความสว่างในการถ่ายภาพยนตร์   เป็นต้น   หน่วยของปริมาณแสงที่ใช้กันแพร่หลายมีสองหน่วย   คือหน่วยของแรงเทียน  (Foot  Candles)   ซึ่งเป็นหน่วยของอังกฤษ   และหน่วยลักซ์  (Lux)   ซึ่งเป็นหน่วยของ  Matrix

                   คำว่าคุณภาพของแสง   เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสง   อุณหภูมิสีมีหน่วยเป็นองศาเคลวิน   (Kelvins  Degrees)  ตัวอย่างเช่น    เวลาเที่ยงวัน   เครื่องวัดอุณหภูมิสีจะอ่านค่าอุณหภูมิสีได้   6,500   องศาเคลวินและหน่วยอันนี้ก็ได้ใช้เป็นมาตรฐานด้วย   เช่น   มาตรฐานในการถ่ายภาพยนตร์,   มาตรฐานในการเลือกแหล่งกำเนิดแสงอุตสาหกรรมในระบบที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์สี   อย่างที่ใกล้ตัวเราก็คือมาตรฐานอุณหภูมิสีของกล่องไฟสำหรับดูสไลด์   และอุณหภูมิของหลอดไฟแฟลช   เป็นต้น   ในส่วนของการถ่ายภาพของเรา   คุณภาพของแสงจะมีความเกี่ยวข้องอยู่ค่อนข้างมาก   เช่น  ฟิล์มแบบ  Daylight   ซึ่งถูกออกแบบให้รับแสงและให้ภาพที่ไม่มีความผิดเพี้ยนของสีในช่วงอุณหภูมิสีเฉลี่ยประมาณ   4,500 - 6,500  องศาเคลวิน   ถ้าเราใช้ในช่วงที่อุณหภูมิสีต่ำหรือสูงเกินไปกว่าช่วงการรับแสงของมัน   ภาพก็จะอมสีแดงในโซนของความยาวคลื่นแสงช่วงอินฟราเรด   หรืออมสีฟ้าในโซนของความยาวคลื่นแสงช่วงอุลตราไวโอเล็ต   อีกตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องก็เช่น   ฟิล์มทังสเตน  (Tungsten  File)   ถูกออกแบบมาสำหรับถ่ายด้วยแสงไฟทังสเตนซึ่งมีอุณหภูมิสีนอกช่วงของ   Daylight  โดยเฉพาะ  เป็นต้น

 

 

กล้อง ] เลนส์ ] ฟิล์ม ] ฟิลเตอร์ ] แฟลช ] เทคนิคการใช้แฟลช ] [ เครื่องวัดแสง ]

Back

ผู้จัดทำ   นายเฉลิมพล  สุขเกษม  รหัส   42064508 

นางรุ่งระวี   สินธุรัตน์  รหัส  42064516

นักศึกษาปริญญาโท   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Hosted by www.Geocities.ws

1