Night   Photography
Up ] เลือกฟิล์ม ] ฟิล์มสีสไลด์ ] ฟิล์มเนกาทีฟ ] แบบฝึกหัดฟิล์ม ]

 

ฟิล์ม

13   เข้าใจหลักการในการนำฟิล์มมาใช้ถ่ายภาพตอนกลางคืน

131   บอกคุณสมบัติทั่วไปของฟิล์มชนิดต่าง ๆ

132   บอกวิธีการเลือกฟิล์มมาใช้งาน

133   บอกคุณสมบัติของฟิล์มสีสไลด์

134   บอกคุณสมบัติของฟิล์มเนกาทีฟชนิดต่างๆ

 

13   เข้าใจหลักการในการนำฟิล์มมาใช้ถ่ายภาพตอนกลางคืน

       131   บอกคุณสมบัติทั่วไปของฟิล์มชนิดต่าง ๆ   

                ฟิล์มเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการถ่ายภาพกลางคืน   เพราะมันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ (ตัวแปร) ซึ่งจะเข้าไปแทนที่สภาพที่มีอยู่ทั่วไป   ความแตกต่างของชนิดและความเร็วของฟิล์มนั้นมีอยู่มากมาย สิ่งสำคัญคือการหาฟิล์มที่ถูกต้อง   และเหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์   มันเป็นการดีที่จะเริ่มต้นกับฟิล์มสีเนกาทีฟฟิล์มชนิดนี้ยอมให้ผิดพลาด เพราะสามารถให้ละติจูดเพิ่มถึง 5 Stops ดังนั้นถ้าฟิล์มสีเนกาทีฟถูกเปิดแสงให้เข้าน้อย 2 Stops หรือให้แสงเข้ามาก 3 Stops   การที่จะได้ภาพที่น่าพอใจก็ยังคงเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าฟิล์มสีเนกาทีฟจะมีข้อได้เปรียบ   แต่ช่างภาพส่วนใหญ่เลือกใช้ฟิล์มสไลด์แม้ว่ามันจะมี Exposure Latitude ของ Stops แคบเพียง 1 ถึง 1 1/2   ฟิล์มสไลด์จะไม่มีความไม่ตรงกันของสีหรือระดับสี สิ่งที่คุณเห็นในภาพก็คือสิ่งที่คุณบันทึกภาพเอาไว้   ตัวแปร  (Variables)   ที่มากเกินไปในแง่ของสีหรือระดับสีของ Scene จะมีบทบาทเมื่อถ่ายโดยใช้ฟิล์มเนกาทีฟ   ฟิล์มเหล่านี้สามารถถูกปรับความสมดุลย์ของสีในระยะของขั้นตอนการอัดรูป ซึ่งการเลือกสีจะได้รับอิทธิพลจากความรู้สึกส่วนตัว   ดังนั้นถ้าคุณไม่ทำการอัดรูปด้วยตัวคุณเอง   คุณอาจจะเสียการควบคุมของภาพสุดท้าย   นอกจากนี้ฟิล์มแต่ละฟิล์มจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว   คนส่วนมากมักจะคิดว่าฟิล์มที่มีความเร็ว   (Speeds)  ที่ต่างกัน  (แสดงโดยการจัดลำดับ   ISO)  จะมีลักษณะแตกต่างกัน   แต่ความเข้าใจผิดที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อคนส่วนมากเชื่อว่าฟิล์ม   Daylight - Balanced  ทั้งหมดที่มีค่าของ   ISO   ที่เหมือนกันจะตอบสนองไปในทางที่เหมือนกัน   ฟิล์ม  Daylight  Slow  Speed   หลายประเภทจะให้ขอบเขตของความสมดุลย์ที่กว้างและลักษณะอื่นๆ   คุณจะพบว่าฟิล์มบางยี่ห้อจะดีที่สุดสำหรับการใช้กับรูปของแสงหรือสภาพอากาศที่มีลักษณะเฉพาะ

                 ระดับดีและรายละเอียดของเกรนจะแตกต่างกันตามความแตกต่างของความเร็วฟิล์มด้วย   ฟิล์มที่มีเกรนและชั้นของสารที่ไวแสงที่แตกต่างออกไป   แต่ค่า  ISO   ที่เหมือนกันนั้นสามารถที่จะผลิตผลที่แตกต่างกันในแง่ของสีและเกรน   ลักษณะของฟิล์มอีกอย่างหนึ่งคือ   Grain  Structure   สิ่งนี้จะเกี่ยวกับขนาดของเม็ดเงินแฮไลด์   ซึ่งจะสร้างส่วนที่ไวแสงของฟิล์ม   โดยทั่วไปฟิล์ม  Fine - Grained   จะมีแฮไลด์ที่เล็กกว่าฟิล์ม   Coarse - Grain  ซึ่งสิ่งสำคัญคือค่า   ISO   ของฟิล์มไม่ได้เป็นตัวรับประกันผลที่จะเกิดขึ้น   เช่น  ฟิล์ม  Kodak  Lumiere   ที่มีค่า  ISO 100  จะมี  Grain   Structure  ที่ดีกว่าฟิล์มอื่นๆ   ที่มีค่า  ISO 100

                การเลือกฟิล์มค่อนข้างจะเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ฟิล์มสีแต่ละฟิล์มจะไม่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง   ดังนั้นถ้าจะเลือกฟิล์มใดให้ถูกใจคุณก็ต้องทดลองใช้ฟิล์มนั้นในสถานการณ์การถ่ายภาพที่แตกต่างกัน   ฟิล์ม cool  เช่น  Ektachrame  และ   Agfachrame   ดูเหมือนว่าจะควบคุมการใช้แสง   Artificial  ได้ค่อนข้างดี และฟิล์มเหล่านี้มีความเหมาะสมน้อยกว่าฟิล์ม   Warm  เช่น  Film Fujichrome Velvia ในแง่ของการที่จะเพิ่มสีเหลืองหรือเขียวของแสงประดิษฐ์ให้มากขึ้นแต่ฟิล์ม Velvia นี้จะให้ภาพที่มีความเข้มของสีมากกว่า 1 สี ฟิล์ม Kodak Lumiere 100 จะถูกเลือกใช้เพราะระดับสี, ความเย็น และการที่เกือบจะไม่มีความหยาบของเกรนคงอยู่   ทำให้มันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพกลางคืน   จงจำไว้ว่าความสมดุลย์นี้ของฟิล์มไม่ได้ทำให้คุณเลิกที่จะใช้ฟิล์มอื่นๆ   ได้ถ้าคุณชอบคุณสมบัติบางส่วนของมันแผ่นกรองแสง   CC   สามารถทำให้คุณเปลี่ยนความสมดุลย์สีในฟิล์มแต่ละชนิด   การพบสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมขึ้นอยู่กับการทดลองของคุณเท่านั้น

 

P21_1.jpg (22818 bytes)             P21_2.jpg (21694 bytes)

         ภาพประกอบ : ภาพ  2   ภาพสถานที่เดียวกันในเวลาเดียวกัน ภาพแรกใช้ฟิล์ม  Fuji  Velvia   เปิดรับแสง 20  วินาที  ที่ F/8 (ภาพซ้าย) ผลคือสีออกมาอุ่นภาพคมกว่าสีอิ่มกว่าที่ถ่ายด้วย   Agfachrome  CT 100  ซึ่งใช้เป็น Cool  Magenta โดยภาพนี้ (ภาพขวา) เปิดรับแสงที่ 15 วินาที  ที่  F/8   แม้ว่าภาพนี้จะออกโทนมืดกว่า   แต่พื้นที่ที่เป็นแสง High - Light   บนกล้องส่วนใหญ่จะถูกทำให้สว่างจนรายละเอียดหายไป   ดังนั้นการที่คุณจะประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพกลางคืน   คือคุณต้องเข้าใจในลักษณะของฟิล์มของคุณ

 

 

กล้อง ] เลนส์ ] [ ฟิล์ม ] ฟิลเตอร์ ] แฟลช ] เทคนิคการใช้แฟลช ] เครื่องวัดแสง ]

Back Next

ผู้จัดทำ   นายเฉลิมพล  สุขเกษม  รหัส   42064508 

นางรุ่งระวี   สินธุรัตน์  รหัส  42064516

นักศึกษาปริญญาโท   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Hosted by www.Geocities.ws

1