ย่านลิเพา

Page : 1  2  3

         ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำ

เนินไปจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. 2513  นายกิมช่วง  ก็ได้สานย่านลิเพาถวาย  เมื่อมีคนไปติดต่อ

ขอให้ทำให้ก็รับจ้างทำมาหาเลี้ยงชีพได้จนกระทั่งบัดนี้

           ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าย่านลิเพาเป็นเถาวัลย์ที่มีลักษณะเหนียวแน่นใช้ประโยชนในการผูกรัด

เครื่องมือเครื่องใช้ได้  จึงมีบทเพลงช้าน้องของชาวพื้นบ้านภาคใต้  กล่าวถึงย่านลิเพา  คือ

 

ไปเขาเอยไปตัดลิเพา มาคล้องช้าง

ทำบ่วงให้กว้าง ๆ คล้องช้างบนภูเขาเขียว

ช้างตั้งสี่ห้าร้อยไม่มีพลายน้อยสักตัวเดียว

คล้องช้างบนภูเขาเขียวตัวเดียวลิงโลดเอย

  

วิธีสานเครื่องมือเครื่องใช้และภาชนะด้วยย่านลิเพา

 

        การที่จะนำเอาย่ายลิเพาไปสานเป็นภาชนะเครื่องใช้สอย ๆ ต่าง ๆ ในชั้นแรกนั้นจะต้องเลือกเอา

ย่านลิเพาต้นที่มีความเจริญเติบโตและมีขนาดยาวพอสมควร  วิธีเลือกย่านลิเพาว่าจะเป็นต้นแก่หรือไม่

นั้นจะต้องดูที่เปลือกของลำต้นข้างใน  ถ้าหากเปลือกของลำต้น  ข้างในเป็นสีน้ำตาลแก่หรือเหลืองทอง

แล้วก็เป็นใช้ได้  เมื่อเลือกย่ายลิเพามาแล้วก็นำมาเด็ดใบทิ้ง  แล้วลอกเปลือกเอาใส้ในที่มีลักษณะเป็น

สีเขียวอมเหลืองและเปราะมากออกให้หมด  เวลาปอกเปลือกต้องคอยระวังตรงข้อหรือตา  เพราะถ้าหาก

ไม่ระวังหรือไม่มีความชำนาญ  ย่านลิเพาจะขาดออกจากกันได้ง่าย การลอกเปลือกนี้จะต้องทำในขณะที่

ย่านลิเพากำลังสด ๆ อยู่ เพราะถ้าแห้งแล้วจะลอกยาก  เมื่อปอกเปลื่อเสร็จแล้วก็จะนำไปแขวนไว้ในที่ร่ม

ตากลมในร่มไว้เท่านั้น  ย่าลิเพาก่อนที่จะนำไปใช้งานจะต้องฉีกให้เป็นเส้นเท่ากันเสียก่อน  ขนาดแล้แต่

ความต้องการว่าจะใช้เส้นเล็กใหญ่ขนาดไหน  จากนั้นก็นำเส้นย่านลิเพาไปขูดเกลาให้สะอาดเรียบร้อยอีก

ครั้งหนึ่ง  เครื่องมือขูดเกลาเส้นย่านลิเพาจะใช้ฝากระป๋องนมหรือแป้นสังกะสีเจาะรูให้มีขนาดต่าง ๆ กัน

ตามแต่จะต้องการ  แล้วจึงนำเส้นย่านลิเพาสอดเข้าไปในรูขูดเอาผิวนอกออก (เรียกว่าชักเลียด เหมือชัก

เลียดหวายทำเครื่องจักสาน)  ให้ผิวเรียบเป็นเส้นตรงไม่มีขรุยไม่ขรุขระ  ตรงข้อต่อตาต้องคอยระวังขูด

ให้เบา ๆ ย่ายลิเพาถ้าชักเลียดได้เส้นบางและอ่อนนุ่มเท่าไร  ภาชนะที่ออกมาจะสวยงามและปราณีตยิ่ง

ขึ้น

กระเป๋าย่านลิเพาเลี่ยมเงิน

กระเป๋าย่านลิเพา เลี่ยมถมทอง ลายดอกแก้ว

 

          ก่อนทีจะลงมือสานจะต้องนำย่ายลิเพาไปชุบน้ำให้เปียกชื้นเกิดความเหนียวเสียก่อน เวลาสานใช้

หวายพันเป็นเส้นตั้งโครงภายใน  จะต้องตัดเหลี่ยมหวายออกกลมจึงจะใช้ได้  การสารภาชนะด้วยย่าน

ลิเพาจะยากในตอนขึ้นต้นเพราะต้องใช้เวลานาน  เมื่อขึ้นต้นได้แล้วก็สานถักต่อขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ตามรูป

ทรงของภาชนะที่ทำจนเสร็จ

          การผูกลายหรือวิธีทำลายในตัว  การสานจะใช้เส้นย่านลิเพาซึ่งมีสองสีอยู่ในตัวของมันเองสลักัน

คือ เปลือกนอกของย่านลิเพา หรือด้านหลังจะมีสีอ่อนกว่า  ด้านท้องหรือด้านในที่มีสีน้ำตาลเข้ม  เวลาสาน

จะใช้สลับเอาตามต้องการก็จะเกิดลายเป็นสีแตกต่างกันมากทำให้สีกลมกลือนกันสวยงามมาก  เมื่อสาน

เสร็จสมบูรณ์แล้วก็จะนำภาชนะนั้นไปทำน้ำมัน  เช่นน้ำมันยาง (ปัจจุบันใช้น้ำมันตราตะเพียน) เพื่อให้สี

เข้าขึ้นและไม่ขึ้นรา  ภาชนะที่สานด้วยย่านลิเพานี้จะเก่าสักแค่ไหนก็ตาม จะยังคงอยู่ในสถาพเดิมอยู่

           เครื่องมือที่ใช้ในการสานย่านลิเพา มีมีดเล็ก ๆ (มีดนี้ใช้ใบเลื่อยเหล็กที่เสียแล้วมาทำมีด) มีด

ตอก แป้นสังกะสีหรือฝากกระป๋องสำหรับชักเลียด และเขมเหล็กสำหรับเจาะรู

Page : 1  2  3


	


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 29, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1