ย่านลิเพา

Page : 1  2  3

 

        ย่านลิเพา  เป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง (ภาษาทางภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่าย่าน) มีลักษณะเป็นเถา ชอบขึ้น

ในที่ลุ่มดินทรายที่มีอากาศชื้นมาก มีขึ้นอยู่ทั่วไปทางภาคใต้ของประเทศไทย  และมีขึ้นอยู่บ้างในจังหวัด

จันทบุรี (รียกผักกะฉาด) ย่านลิเพา มีลักษณะใบเล็กแต่ยาว ริมใบสองข้างจะเป็นหยัก ๆ สันนิษฐานกันว่า

คำว่า"ลิเพา" คงจะเรียกเพี้ยนมาจากภาษามาลายู คำว่า "ลิบู"  เพราะย่างลิเพานี้ชาวพื้นเมืองที่จังหวัด

นราธิวาสเรียกว่า "ลิบู" (ลิบูเป็นภาษามาลายู แปลว่าตีนจิ้งจก ลักษณะใบของย่านลิเพานั้นก็หยัก ๆ คล้าย

ตีนจิ้งจกมาก) ต่อมาก็เรียกเพี้ยนกันออกไปเป็น "ย่านลิเพา","ย่านนิเพา"  หรือจนกระทั้งหญ่ายายเพา

สุดแต่ใครจะคิดว่าชื่อต่าง ๆ ที่ตนเรียกกันนั้นถูกต้อง

ต้นย่านลิเพา

 

         ย่านลิเพามี 3 ชนิด

         1. ย่านลิเพาเขา  ลักษณะเป็นเส้นใหญ่มากคล้ายหวาย  ชอบขึ้นอยู่ตามเทือกเขา  ไม่ค่อยมีใคร

นำมาใช้ประโยชน์

         2. ย่านพองหยอง(ย่านลิเพายุ่ง) มีลักษณะใบเล็กดก  และลำต้นคด ยาวประมาณ 8-9 เซนติเมตร

กว้างหนึ่งเซนติเมตร  ใบหยักถี่คล้ายฟันเลื่อย ชอบขึ้นแถบดินดำ  ดินเค้ม และมักจะเกี่ยวพันกับไม้อื่นยุ่ง

เหยิงดึงแก้และมักจะขากและไม่ค่อยออกง่าย  หากจะใช้ก็ใช้ทั้งลำต้น  สำหรับในการผูกมันเครื่องมือ

เครื่องใช้ต่าง ๆ หรือนำไปประดับซุ้ม หรือปะรำพิธีต่าง ๆ ในงานพิธีมงคล  เช่นงานโกนจุก, งานบวชนาค

งานขึ้นบ้านใหม่

          3. ย่านลิเพาใหญ่ ย่านลิเพาชนิดนี้มีลำต้นโตประมาณก้านไม้ขีดไฟ เวลาเจริญเต็มที่มีความยาว

ประมาณ 2 เมตร  ใบยายประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ1.5 เซนติเมตร  ลำต้นตรงชอบขึ้นอยู่

ตามริมรั้ว  ป่าละเมาะและสุมทุมต้นไม้  ถ้าหากขึ้นปะปนอยู่กับไม้อื่น  จะเลี้ยวเกี่ยวเกาะอยู่เหนือสุด และ

จะไม่ยอมอยู่ใต้พืชหรือไม้อื่น ดังนั้นถ้าหากที่ใดมีย่านลิเพาขึ้นอยู่จะสามารถมองเห็นได้ง่าน คุณสมบัติ

ของย่านลิเพาชนิดนี้คือ ลำต้นเหนียว ชาวบ้านจึงนิยมเอามาทำจักสาน  เป็นภาชนะเครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ

แทนหวาย  สามารถนำเอาย่ายลิเพาชนิดนี้มาผูกรัดอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้

เป็นอย่างดี  เพราะมีความทนทานเหนียวแน่นมาก ตากแตดตากฝนก็ไม่เป็นไร มีความทนทานอยู่ได้เป็น

ร้อย ๆ ปี แต่ถ้าหากใกล้ไฟจะติดง่าย

ย่านลิเพาก่อนนำไปสานภาชนะ

วิธีสานย่านลิเพา

 

        ย่านลิเพาเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวภาคใต้ จะมีกำเนินมานานตั้งแต่ครั้งไหนนั้นสืบความไม่ได้

แต่เชื่อว่าจะต้องมีมาเป็นร้อย ๆ ปีแน่นอน  ภาชนะที่ชาวพื้นเมืองทำด้วยย่านลิเพาแต่โบราณนั้น  มี

กระเฌออกุบหมาก  กล่องยาเส้น  พาน  เฉี่ยนหมาก ปั้นชา  กล่องและขัน (ขันนั้นเข้าใจว่าจะใช้สำรับใส่-

ดอกไม้ธูปเทียนไปวัด)  กรงนก  และเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน  แต่เดิมนิยมกัน

มากในสำนักของเจ้าพระยาเมืองนครศรีธรรมราช ในปัจจุบันนี้ทีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดนครศรี-

ธรรมราชยังมีกระเฌอใบเล็ก ๆ ฝีมือละเอียดสวยงามอยู่ใบหนึ่ง เป็นเครื่องเล่นของลูกหลาน  เจ้าพระยา

นครเก่าพวกในสกุล ณ นคร เป็นผู้มอบให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์

           งานฝีมือจักสานย่านลิเพานี้  กล่าวกันว่าเจ้าพระยาเมืองนครศรีธรรมราชเคยนำเข้ามาถวายเจ้า

นายในกรุงเทพฯ แต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก  ยุคที่งานฝีมือชนิดนี้แพร่หลายและเป็นที่นิยมใช้กันมากใน

หมู่เจ้านายชั้นสูงคือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง

พระยาสุขุมนัยวินิต  สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้ฟื้นฟูการสานย่านลิเพาขึ้น  ด้วยเห็นว่า

ย่านลิเพาเป็นของที่หาง่ายมีอยู่ทั่วไปในภาคใต้  และงานฝีมือชนิดนี้เป็นงานฝีมือที่ละเอียดลออประณีต

สวยงาม  สมควรที่จะสนับสนุนให้คงอยู่เป็นอาชีพสำหรับราษฏรต่อไป  ในเรื่องของการฟื้นฟู้ศิลปะวัฒน-

ธรรมและการพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราชของเจ้าพระยายมราชนั้นยังเป็นที่เล่าติดปากกันต่อมาในหมู่

ชาวิเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราชมาจนกระทั่งบัดนี้  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุ-

ภาพ  ได้กล่าวถึงผลงานของเจ้าพระยายมราช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรม-

ราชไว้ในประวัติเจ้าพระยายมราช มีความตอนหนึ่งดังนี้

 Page : 1  2  3


	


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 29, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1