การผลิตเครื่องเงินไทย

Page : 1  2  3

การตกแต่ง

        เมื่อขึ้นรูปเป็นภาชนะที่ต้องการแล้ว ภาชนะนั้นก็ยังมีผิวเรียบไม่มีลาย  การตกแต่งลวดลายลงบนผิว

ภาชนะมีหลายขั้นตอน

        1. การแกะลาย โดยทั่วไปในภาคกลางลวดลายที่แกะลงบนภาชนะเงินมักเป็นลายนูนเรียบ ๆ ไม่

นูนสูงอย่างภาคเหนือ การแกะลายก็ทำด้านเดียว โดยใช้ขันรอง แต่ลายนูนแบบภาคเหนือที่ต้องแกะลาย

ทั้งสองด้านนั้นต้องตอกพื้นด้านหลังให้นูนขึ้นตามรูปทรงที่เหมาะสม แล้วจึงใช้สิ่วสลักบนรอยนูนด้านหน้า

ให้เป็นลายที่ต้องการ ซึ่งต้อง "เข้าไฟ" สองครั้ง คือใช้ชันรองทั้งสองครั้ง ทำทีละครั้ง การสลักดุนจากด้าน

ในให้นูนมาก ๆ มักใช้ชันเนื้ออ่อนรองด้านนอก การสลักลายจากด้านนอกมักใช้ชันเนื้อแข็งรองด้านใน

         2. ต้มกรด ภาชนะที่แกะลายแล้วจะถูกนำไปต้มในหม้อน้ำ ผสมกรดกำมะถันเพื่อขจัดสิ่งสกปรกซึ่ง

จับติดอยู่ในระหว่างทำ

         3. ล้าง-ขัด เมื่อต้มแล้วภาชนะที่ได้จะมีสีขาวขุ่นด้วยคราบกรด ต้องนำมาล้างในอ่างน้ำส้มมะขาม

ผสมผงซักฟอกไล่คราบกรดออกแล้วขัดด้วยแปรงทองเหลือ เผยให้เห็นเนื้อเงินใสแวววาว

         4. ขัดเงา เมื่อเสร็จทุกขั้นข้างต้นแล้ว ส่วนที่เป็นผิวเรียบอาจยังดูไม่เนียนเรียบหรือไม่ขึ้นเงาเท่าที่

ควร  ก็อาจนำมาเคาะเบา ๆ ด้วยฆ้อนเล็ก ๆ แล้วขัดด้วยสร้อยลูกประคำเม็ดเล็กผสมผงซักฟอกให้ดูแวว

วาวยิ่งขึ้น สร้อยสูกประคำนี้อาจเป็นสร้อยพลาสติกสมัยใหม่ก็ได้ เช่นเดียวับกรใช้สร้อยประคำดีควายทาง

ภาคใต้สมัยก่อน

 

ประดับอัญมณี

        ทำด้วยการใช้หนามเตยเกาะหรือฝังกระเปาะ

           เครื่องเงินเครื่องทองโบราณมักมีทับทิม หินสีต่าง ๆ เขียว น้ำเงิน และสีขาว ประดับประดา เป็น

ลวดลายดอกใบอยู่ทั่วไป ต่อมาอัญมณีต่าง ๆ มีราคาแพงขึ้น จึงใช้วิธีลงยาสีต่าง ๆ แทน

 

ลงยา

         การลงยาคือการทำลวดลายสีต่างๆ ให้ปรากฎบนผิวพื้นเครื่องเงินและโลหะมีค่าอื่น เช่น ทอง จะลง

ยาสีตามลายที่ต้องการให้เป็นสี หรือลงยาสีตามร่องลายให้เห็นดอกเป็นสีเงินหรือสีทองเด่นขึ้นก็ได้

         การลงยาตอนแรกทำกันเพียงสองสี คือสีแดงและสีเขียว แต่วัตถุที่ใช้ทำยาสีก็หายากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ

มาจึงมีสีน้ำเงิน ฟ้า และขาว เพิ่มขึ้น

         เข้าใจว่าการลงยาของไทยมีมาแต่ครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เรียกว่า "ทองประทาสี" 

         การลงยาที่รู้จักกันทั่วโลกมี 3 วิธี

         1. ใช้ลวดเล็ก ๆ ขดเป็นลายติดกับวัตถุที่จะลงยา นำน้ำยาที่เตรียมไว้หยอดลงตามช่องภายในขด

ลวด แล้วนำไปเผาให้น้ำยาแข็งตัวเป็นสีติดตามลายที่ลงไว้  แล้วกลึงและขัดให้เรียบเป็นขึ้นสุดท้าย

         2. ให้แม่พิมพ์กดลงไปที่ตัววัตถุที่จะลงยาให้ส่วนที่จะลงยาเป็นร่องลึกลงไป ลงยาตามร่องส่วนนูน

เป็นลายสี โลหะเงินหรือทองที่นำมาลงยา

         3. เขียนน้ำยาลงไปตามลวดลายบนตัววัตถุ เรียกว่าการเขียนลายลงยา

          การลงยาต่างจากถมที่ตัวยาที่ลงนั้น ต่างกันทั้งที่สีและธาตุ ถมมีเพียงสีดำมีน้ำยาถมเฉพาะ ของตัว

เอง  น้ำยาลงยาสีเป็นการหลอมละลายของแร่บางชนิด ปัจจุบันการลงยามักใช้ออกไซด์ผสมน้ำยาเคลือบ

แล้วใช้ไฟพ่น(เป่าแล่น) เช่นเดียวกับการเคลือบ

 

         ลงยาราชาวดี  เป็นชื่อเรียกการลงยาสีน้ำปนเขียวชนิดหนึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดพลอยสีขี้นก

การเวกหรือสีฟ้าชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ เครื่องทองต่างๆ สมัยของพระองค์มักลงยาสีนี้เกือบทั้งหมด จึงเรียก

การลงยาสีนี้เป็นพิเศษว่า ลงยาราชาวดี ทำนองเดียวกันที่สีน้ำเงินถูกขนานนามว่า Royal Blue ของ

อังกฤษ      

Page : 1  2  3

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1