Home ด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครอง ด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา จัดทำโดย
Home
ด้านสังคม
ด้านการเมืองการปกครอง
ด้านศาสนา
ด้านเศรษฐกิจ
ด้านการศึกษา
จัดทำโดย

 

ด้านการเมืองการปกครอง
การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งเป็น 2 ระยะคือ

  1. การปรบปรุงการปกครองประเทศในตอนต้นรัชกาล ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเรียกว่า “เคาน์ซิล ออฟ สเตท” (Council of State) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือเรียกว่า “ปรีวี เคาน์ซิล” (Privy Council) สภาทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในสมัยนั้น ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า“วิกฤตการณ์วังหน้า” (เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน) ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้
  2. การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภยันตรายจากการแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก และทรงเห็นว่าลักษณะการปกครองของไทยใช้มาแต่เดิมล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญก้าวของบ้านเมือง ดังนั้นใน พ.ศ.2430 ทรงเริ่มการปฏิรูปการปกครองแผนใหม่ตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า “กระทรวง” แทนโดยประกาศสถาปนากรมหรือกระทรวงต่างๆ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435 และยังได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวงคือ

    1. กระทรวงมหาดไทย
    2. กระทรวงกลาโหม
    3. กระทรวงการต่างประเทศ
    4. กระทรวงวัง
    5. กระทรวงเมือง (นครบาล)
    6. กระทรวงเกษตราธิการ
    7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
    8. กระทรวงยุติธรรม
    9. กระทรวงธรรมการ
    10.กระทรวงโยธาธิการ

ส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้เป็นการรวมอำนาจการปกครองทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้การปกครองหัวเมืองเป็นแบบเดียวกันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ

 

เว็บไซต์ประวัติศาสตร์น่าสนใจ
พระราชประวัติของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การรถไฟ
การประปา
โทรศัพท์และโทรเลข
ไปรษณีย
การปฏิรูปการปกครอง
การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น
การเงิน การคลัง
เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1
เสด็จประพาสยุโรปครั้งที้่ 2
เจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาต
พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระราชนิพนธ์เงาะป่า
พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน
การศึกษา
ร.ศ.112
การเลิกทาส