ประเภทของสายLAN
| หน้าแรก | สาย LAN คืออะไร | ประเภทของสายLAN | ประโยชน์และการใช้งาน | การเข้าหัวRJ45 | แหล่งที่มาข้อมูล | ข้อมูลผู้จัดทำ |


สายLANมีกี่ประเภท?

       เมื่อเราไปซื้อสาย LAN เราจะพบว่าสาย LAN จะมีฉลากกำกับเอาไว้ด้วยว่าเป็นสายประเภทอะไร อย่างเช่น "CAT 5", "CAT 5E", "CAT 8" ฯลฯ เลขเหล่านี้ คือ เลขที่จะบอกให้เราทราบว่ามันเป็นสาย LAN ประเภทอะไรนั่นเอง โดย CAT ย่อมาจากคำว่า CATegory ที่แปลว่า ประเภท โดยในปัจจุบันนี้ก็จะมีใช้งานอยู่ 8 ประเภท คือ

สาย CAT 3 และ CAT 5



รูปต้นฉบับ


     ปัจจุบันนี้ สาย CAT 3 และ CAT 5 กลายเป็นของตกยุคไปแล้ว เราอาจจะเจอสาย CAT 5 อยู่บ้าง แต่มันช้าเกินไปสำหรับยุคนี้ ดังนั้นข้ามสายมาตรฐานนี้ไปได้เลยCAT 3 และ CAT 5

CAT 5e



รูปต้นฉบับ


     "e" ใน CAT 5e มาจากคำว่า "Enhanced" (ปรับปรุง) ในทางฟิสิกส์แล้วสาย CAT 5 และ CAT 5e ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การผลิตสาย CAT 5e จะมีการควบคุมที่เข้มงวดกว่า เพื่อควบคุมคุณภาพสัญญาณให้มีความบริสุทธิ์ สาย CAT 5e เป็นสายที่มีการใช้งานแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบันนี้ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำ และความเร็ว 1,000Mbps / 1Gbps ก็ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหลือเฟือแล้ว

CAT 6



รูปต้นฉบับ


     CAT 6 มีแบนด์วิธที่สูงกว่า CAT 5e มาก โดยทำได้ถึง 250 MHz (CAT 5e ทำได้ 100 MHz) ความยาวสายสูงสุด 100 เมตร แต่ทำความเร็วสูงสุด 10 Gbps ได้ที่ความยาว 55 เมตร

CAT 6a

     หากมองในระยะยาวแล้ว CAT 6a เป็นสายที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน มันมีโปรโตคอล A/V ในตัว ทำให้รองรับการใช้งานแทนสาย HDMI ได้ด้วย สาย CAT 6a ต่างจาก CAT6ตรงที่แบนด์วิธขยับเพิ่มมาเป็น500MHzนอกจากนี้ภายในตัวสายยังมีฉนวนเพื่อลดปัญหาสัญญารบกวนทำให้มีเสถียรภาพสูงแม้จะใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณอื่นรบกวนสูงเรื่องความยาวก็ไม่มีปัญหาเหมือนกับ CAT 6 สามารถทำความเร็วสูงสุด 10 Gbps ที่ความยาวสายสูงสุด 100 เมตร

CAT 6e

     หลัง CAT 6 เปิดตัวไม่นาน ผู้ผลิตหลายรายนำเสนอมาตรฐานสาย CAT 6e ออกมา โดยมีเป้าหมายเหมือนกับสาย CAT 5e ในอดีต อย่างไรก็ตาม สาย CAT 6e ไม่ได้รับการยอมรับมาตรฐานจากองค์กร TelecommuniCATions Industry Association (TIA) ที่ควบคุมมาตรฐานด้านการสื่อสาร


CAT 7 และCAT 7a



รูปต้นฉบับ


     มาตรฐาน CAT 7 และ CAT 7a นี้ค่อนข้างพิเศษหน่อย ตรงที่ CAT มาตรฐานอื่นๆ เนี่ย จะรับรองโดยกลุ่ม ANSI/TIA แต่ว่า CAT 7 และ CAT 7a นั้นรับรองโดย ISO/IEC CAT 7 เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) มันเป็นสาย LAN รุ่นแรกที่รองรับความเร็วระดับ 10 Gbps ที่ความยาว 100 เมตร แบนด์วิธก็สูงถึง 600 MHz สูงยิ่งกว่า CAT 6 เสียอีก แต่โดยรวมแล้วสเปกของมันก็ใกล้เคียงกับ CAT 6a ที่ได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) แม้สเปกของ CAT 7 และ CAT 7a จะดูดี แต่มันก็มีจุดอ่อนที่ทำให้มันไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก ตรงที่สาย CAT 7 จะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ GG-45 หรือ TERA แต่สาย LAN ที่เราเห็นๆ กันปกติจะเป็นหัว RJ-45 (8P8C) แม้เราจะสามารถแปลงหัวของสาย CAT 7 เป็นหัว RJ-45 เพื่อใช้งานแบบ Backward compatibility ได้ก็จริง แต่ความเร็วก็จะลดตามไปด้วย CAT 7 และ CAT 7a มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากัน คือ 10 Gbps แต่ว่า CAT 7 จะมีแบนด์วิธ 600 MHz (Class F) ส่วน CAT 7a จะมีแบนด์วิธ 1000 MHz (Class FA)

CAT 8



รูปต้นฉบับ

     เป็นมาตรฐานล่าสุดที่เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง สาย CAT 8 ทำความเร็วได้ถึง 40 Gbps และ มีแบนด์วิธสูงถึง 2,000 MHz เร็วกว่าสายรุ่นก่อนหน้าเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มันมีข้อจำกัดด้านความยาวสาย ตรงทำความเร็วสูงสุดได้แค่ในระยะ 30-36 เมตร เท่านั้น สายชนิดนี้ออกแบบมาให้ใช้ใน Data center ที่ระยะห่างระหว่างตัว Switches กับ Servers ไม่ได้อยู่ไกลกันมากนัก ไม่เหมาะกับการวางในโครงสร้างตึกขนาดใหญ่