Welcome to Faculty of Design
lesson  
Lesson Test Webboard Contact Us Link Page Site Map

บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของ
การโฆษณาในประเทศไทย

บทที่ 2
สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์

บทที่ 3 สื่อโฆษณาประเภท
แพร่ภาพกระจายเสียง

บทที่ 4
สื่อโฆษณาประเภทวิทยุโทรทัศน์

บทที่ 5
สื่อโฆษณาเฉพาะกิจ

 
บทที่ 5 สื่อโฆษณาเฉพาะกิจ
[ แบบประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 5 ]


3. การโฆษณาในโรงภาพยนตร์

การโฆษณาในโรงภาพยนตร์ (Cinema Advertising)

ถึงแม้จะเป็นสื่อที่กระจายได้ทั้งเสียงและภาพก็ตาม แต่ก็ไม่จัดอยู่ในสื่อประเภท Broadcast Media เพราะไม่ได้กระจายเสียงและภาพออกอากาศไปตามบ้านในลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็ก-ไฟฟ้าในรูปของคลื่นเสียงผสมกับคลื่นวิทยุ โรงภาพยนตร์จึงไม่ใช่สื่อสารมวลชนออกอากาศการโฆษณาในโรงภาพยนตร์อาจทำเป็นสไลด์หรือจัดทำเป็นภาพยนตร์โฆษณา
โดยใช้ฟิล์มขนาด 16 มม. หรือ 35 มม. (ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 35 มม.) ซึ่งพบว่าสามารถสร้างความประทับใจได้ดีที่สุด เพราะจะทำให้โฆษณามีขนาดตามจอไปด้วย และมีระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบผู้ชมส่วนใหญ่จะถูกบังคับให้รับข่าวสารโฆษณาอย่างเต็มที่

สื่อโรงภาพยนตร์ Movies advertising

คือ ภาพยนตร์โฆษณาเพื่อออกโฆษณาทางโรงภาพยนตร์ต่างๆ ภาพยนตร์โฆษณานี้เป็นสื่อที่ให้ผลทางด้านประทับใจ (Impact) เพราะผู้ชมสามารถเห็นโฆษณาขนาดใหญ่และรูปภาพมีสีสวย
รวมทั้งสามารถเห็นรูปร่างของสินค้าที่โฆษณาได้และยังถูกบังคับ
ให้ต้องดูภาพยนตร์โฆษณานั้นๆ โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้การใช้ภาพยนตร์ในการโฆษณาสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย เช่น สินค้าสำหรับเด็กหรือวัยรุ่น ก็โฆษณาในโรงภาพยนตร์ที่ฉายภาพยนตร์ ที่จัดทำสำหรับเด็กหรือวัยรุ่น หรือถ้าต้องการเข้าถึงผู้บริโภคในเขตพื้นที่ใดที่หนึ่ง ก็ออกโฆษณาทางโรงภาพยนตร์ในเขตนั้นๆ เป็นต้น

การใช้สื่อทางโรงภาพยนตร์มีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ดังนี้

ข้อได้เปรียบ

1. สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้
2. ให้ผลทางด้านประทับใจสูง (Impact) เพราะผู้ชมมองเห็นภาพ ได้ยินเสียงและการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกัน เห็นภาพโฆษณาที่มีขนาดใหญ่สีสวย
3. เสนอภาพสินค้าได้ชัดเจน
4. ผู้ชมหลีกเลี่ยงในการดูไม่ได้

ข้อเสียเปรียบ

1. ค่าจัดทำโฆษณาสูง
2. มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
3. มีผู้เห็นไม่มากเท่าโฆษณาทางโทรทัศน์

4. การโฆษณาแหล่งซื้อ

การโฆษณา ณ แหล่งซื้อ (P.O.P. หรือ Point of Purchase Advertising)

เป็นรูปแบบส่วนหนึ่งของการจัดการแสดงสินค้า (Merchandise Displays) โดยผู้โฆษณาจะจัดหาอุปกรณ์หรือชิ้นโฆษณาต่างๆ ไปติดตั้งไว้ในบริเวณที่ขายสินค้าหรือตามร้านค้าปลีกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหน้าร้าน ภายในบริเวณร้าน หรือจุดที่ตั้งขายสินค้า เพื่อทำให้สินค้าได้รับความสนใจจากลูกค้าที่กำลังผ่านไปมา หรือจากลูกค้าที่กำลังเลือกซื้อสินค้าประเภทนั้นอยู่ ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อในบริเวณนั้น เป็นการย้ำเตือนความทรงจำของลูกค้าให้ระลึกถึงตรายี่ห้อของผู้โฆษณา ในบางครั้งยังสามารถกระตุ้นลูกค้าให้เกิดการซื้อย่างฉับพลันโดยไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน (Impulse Buying)

รูปแบบการโฆษณา ณ แหล่งซื้อ

รูปแบบการโฆษณา ณ แหล่งซื้อ อาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำแผ่นโฆษณาติดที่ตู้โชว์หน้าร้าน แผ่นโฆษณาสำหรับแขวน หรือวางบนเคาน์เตอร์ขาย เคาน์เตอร์ชำระเงิน ป้ายโฆษณาแบบตั้งพื้น ป้ายโฆษณาติดที่รถเข็นหรือตะกร้าสำหรับให้ลูกค้าใส่สินค้าที่จะซื้อ ป้ายโฆษณาติดผนังกล่องจำลองสินค้าสำหรับแขวนหรือวางเบนเคาน์เตอร์ขาย หรืออาจจัดทำเป็นภาชนะในรูปแบบต่างๆ สำหรับชั้นวางสินค้า เป็นต้น

5. โฆษณาในรูปแบบพิเศษอื่นๆ (Specialty Advertising) ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่

5.1 ปฏิทิน (Calendars)

เป็นสื่อการโฆษณาที่มีลักษณะเฉพาะตัวคล้ายกับการโฆษณาทางไปรษณีย์ ในแต่ละปีจะมีสถาบันธุรกิจต่างๆ ใช้งบประมาณในการจัดทำปฏิทินรวมกันแล้วไม่เคยต่ำกว่าร้อยล้านบาท ไม่ว่าจะมีสภาพเศรษฐกิจดีหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นว่าปฏิทินเป็นสื่อโฆษณาแบบซึมลึกที่สามารถสร้างภาพพจน์ให้สินค้าหรือกิจการได้เป็นอย่างดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 365 วัน ซึ่งนานที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อโฆษณาชนิดอื่นๆ
รูปแบบของปฏิทินที่จัดทำขึ้นมามีอยู่ 3 ชนิด คือ แบบแขวนติดผนัง (นิยมที่สุด) แบบตั้งโต๊ะ และแบบพกติดตัว

5.2 ของที่ระลึกหรือของขวัญทางธุรกิจ (Business Gift)

เป็นของที่ผู้โฆษณาแจกให้กับลูกค้าของตนเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ โดยผู้โฆษณามักจะเลือกของที่มีการหยิบใช้บ่อย มีอายุการใช้งานนานพอสมควร และมีราคาไม่แพงจนเกินไปนักมาเป็นของที่ระลึก ผู้โฆษณาจะพิมพ์ชื่อสินค้า ชื่อกิจการ หรือข้อความโฆษณาสั้น ๆ ติดไปกับของที่ระลึกเพื่อย้ำเตือนความทรงจำ

และเพื่อเข้าถึงตลาดในสวนที่สื่อโฆษณาอื่นเข้าไม่ถึง เช่น ปากกา ไฟแช็ก ไม้ขีดไฟ ที่เขี่ยบุหรี่ กระเป๋า พวงกุญแจ แก้วน้ำ สมุดบันทึก แท่นเสียบปากกา ที่ทับกระดาษ ไดอารี่ เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ ปฏิทิน

5.3 ของแถม (Premium)

มีลักษณะใกล้เคียงกับของที่ระลึกนั้นเป็นการแจกให้แก่ลูกค้าโดยไม่คิดราคา
และไม่มีเงื่อนไขใดๆ เป็นการตอบแทนน้ำใจของลูกค้าและผู้มีอุปการคุณทั่วๆ ไป แต่ของแถมจะให้แก่ลูกค้าอย่างมีเงื่อนไข คือจะต้องซื้อสินค้าตามจำนวนหรือขนาดที่ระบุไว้จึงได้รับของแถมควบคู่กันไป ตามข้อเท็จจริงแล้วของแถมไม่ใช่สื่อการโฆษณา แต่เป็นสิ่งจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ซึ่งเป็นรูปแบบของการส่งเสริมการขาย แต่ตัวของที่ใช้แถมนั้นผู้โฆษณามักพิมพ์ชื่อสินค้าหรือกิจการลงไปด้วย เพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำไปในตัว

5.4 การลงโฆษณาในหนังสือนามานุกรมต่างๆ (Directory)

คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อกลุ่มสถาบันทางธุรกิจ หรือผู้ประกอบอาชีพต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น หนังสือรวบรวมรายชื่อผู้ส่งสินค้าออก หนังสือทำเนียบธุรกิจโฆษณา หนังสือรวบรวมรายชื่อผู้ผลิตและผู้ค้าค้าเฟอร์นิเจอร์สมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) เป็นต้น ดังนั้นผู้โฆษณาสามารถติดต่อกับบริษัทผู้จัดทำโทรศัพท์ให้ตีพิมพ์ข้อความและภาพประกอบลงในหน้าตามที่ได้แยกประเภท
สินค้าหรือบริการนั้นไว้โดยเฉพาะ สื่อโฆษณาประเภทนี้จึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญไป เพราะจริง ๆ แล้ว ผู้ซื้อเมื่อเปิดไปพบโฆษณาในหน้าของสินค้าที่ต้องการก็มักติดต่อไปยังบริษัทที่โฆษณาสินค้านั้น นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่มีอายุการใช้งานยาวนานมาก และยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

5.5 สูจิบัตร โปรแกรมหรือรายการต่างๆ (Programme)

ในการจัดงานต่างๆ ผู้จัดงานมักจะพิมพ์หนังสือสูจิบัตร เพื่อแจ้งรายการหรือโปรแกรมต่างๆ แจกให้แก้ผู้มาร่วมงาน โดยมักจะพิมพ์เป็นจำนวนมากๆ ผู้โฆษณาอาจติดต่อรับเป็นผู้จัดพิมพ์สูจิบัตรให้ฟรี หรือคิดค่าพิมพ์เอกสาร ก็จะมีการขายเนื้อที่สำหรับโฆษณาด้วย ผู้มาร่วมงานส่วนใหญ ่มักจะเปิดดูสูจิบัตรเหล่านั้น โฆษณาที่อยู่ในสูจิบัตรจึงมีโอกาสถูกพบเห็นได้ไม่น้อย นอกเหนือจากสื่อเหล่านี้แล้วยังมีวิธีการอื่นๆ อีกมากมายที่มีผู้คิดค้นนำมาใช้เป็นสื่อการโฆษณา ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานการณ์ต่างๆ เช่น พิมพ์โฆษณาไว้ที่ถุงใส่ของ เสื้อยืด หมวกร่ม บัตรผ่านทางด่วน ปกเทปวิทยุ โฆษณาในม้วนเทปวิทยุ เทปวีดิโอ การใช้ลูกโป่ง บอลลูน เป็นสื่อการโฆษณา การใช้สติ๊กเกอร์ การโฆษณาผ่านโครงเครื่องโทรสาร และคอมพิวเตอร์ การใช้สื่อวีดิโอวอลล์ เป็นต้น

6. สื่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ The net

อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อตัวใหม่ที่ผสมระหว่างโทรทัศน์ โทรศัพท์ วิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์ (แพร่ภาพ) ถ่ายทอดเสียงและ
ข้อมูลสิ่งพิมพ์) การโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่มีผลมาจากความก้าวหน้าทางอีเล็กทรอนิกส์ ผู้บริโภคทางอินเตอร์เน็ตจะเห็นโฆษณาทั้งที่เป็นข้อความรูปภาพสีสวย มีเสียงประกอบ เป็นสื่อที่เข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการโฆษณาในโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ มีสินค้าและบริการให้เลือกใช้มากมาย สามารถสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งดอกไม้จองที่พักโรงแรม จองตั๋วหนัง จองตั๋วคอนเสิร์ต สั่งซื้อของกินของใช้ได้นานาชนิด
อัตราค่าโฆษณาเดือนละ 500 บาท สำหรับโฆษณาที่มีภาพกราฟฟิกด้วยคิดเดือนละ 750 บาท (พ.ศ.2539)

ความแตกต่างของการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ตกับการโฆษณาแบบดั้งเดิม การทำโฆษณาบนเว็บต่างจากการโฆษณาด้วยสื่อต่างๆ กล่าวคือ การโฆษณาแบบดั้งเดิม ผู้โฆษณาส่งข่าวสารเกี่ยวกับภาพพจน์ และตัวสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ดึงดูดใจ ให้มีการซื้อขายสินค้า แต่ในเว็บนั้นผู้บริโภคเป็นผู้ค้นหาข้อมูลข่าวสารเอง

ในการสื่อสารผ่านการโฆษณานั้นมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. พื้นที่ (Space)
2. เวลา (Time)
3. การสร้างภาพพจน์ (Imgae Creation)
4. การสื่อสารโดยตรง (Communication Direction)
5. การโต้ตอบ (Interactive)
6. การเรียกร้องให้กระทำ (Call To Active)

Back to Top

1 | 2 | 3 | 4 | Next >>



©2003 E-Learning, All Rights Reserved
.
Contact us : [email protected], [email protected]

 

Home
Hosted by www.Geocities.ws

1