หน้าแรก I บททำวัตรเช้า-เย็น แปล I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I มงคลชีวิต ๓๘ ประการI การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ

 
 

 

ประวัติพระพุทธเจ้า (ต่อ)

พระมารดาทรงสวรรคต
หลังจากที่พระนางมหาสิริมายาได้ประสูติพระโอรสเวลาได้ผ่านมา ๗ วันเท่านั้น พระนางสิริมหามายาก็ได้สิ้นพระชนม์สวรรคต พระเจ้าสุทโธทนะราชบิดาก็ได้ทรงมอบสิทธัตถะกุมาร ให้พระนางมหาปชาบดีซึ่งเป็นพระมาตุจฉาเลี้ยงดูต่อมา พระกุมารก็เจริญเติบโต มาตามลำดับ และในการต่อมาพระมหาปชาบดีก็ได้ประสูติพระโอรสและพระธิดาคือ นันทะกุมารและรูปนันทา ซึ่งเป็นน้องของสิทธัตถะแต่คนละพระมารดากัน

ทรงศึกษาศิลปวิทยา

วันเวลาได้ผ่านไป กระทั่งสิทธัตถะกุมารมีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา พระจ้าสุทโธทนทรงเห็นว่า สมควรที่สิทธัตถะควรจะได้ศึกษา จึงได้มอบให้ครูวิศวามิตรเป็นผู้สอน และกุมารก็ได้ศึกษาเป็นที่พอใจของครูมาก เพราะเป็นผู้เรียนเก่งและจบในไม่ช้า และพระราชบิดาก็ได้ให้สร้างสระ 3 สระเพื่อสิทธัตถะเพื่อให้พระโอรส และบริวารทรงเล่นเป็นที่สำราญพระทัย
ต่อมาในวันหนึ่งซึ่งเป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคลแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปถึงสถานที่แรกนาขวัญ และก็ทรงเอาพระโอรสเสด็จดำเนินไปด้วย ก็ได้จัดให้โอรสประทับที่ใต้ร่มต้นหว้าต้นใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งมีร่มเ พราะหนาแน่นด้วยกิ่งใบต่าง ๆ ครั้นพอถึงเวลาแรกนาขวัญ พวกนานมต่าง ๆ ก็อยากเห็นพิธีต่างก็ยืนและดูอยู่ เมื่อมีคนมุงดูมากพวกสนมนางนมซึ่งอยู่ไกลไม่ค่อยได้เห็นต่างก็พากันมาดูใกล้ ๆ ก็เลยทิ้งพระโอรสไว้โดยลำพัง เมื่อพวกนามสนมไปแล้วก็ทำให้เสียงเงียบสงัดเป็นสุข พระโอรสก็ได้นั่งสมาธิ ณ ที่ใต้ต้นไม้หว้านั้นจนเกิดสมาธิจนได้ปฐมฌาน จนเวลาบ่ายไปแล้ว และเป็นที่น่าอัศจรรย์คือร่มเงาต้นไม้หว้าแทนที่จะคล้อยตามตะวันไป แต่เงาของต้นหว้ายังไม่คล้อยไปตามกลับเป็นรูปปริมณฑลหยุดอยู่ตรงดุจเวลาเที่ยง พอนางสนมนางนมกลับมาก็เห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้นก็ได็กราบทูลให้พระเจ้าสุทโธทนะทราบ มื่อพระราชาเสด็จมาถึงก็ถึงกับตะลึงและมีความปลื้มปีติเป็นอย่างมากถึงกับได้ประณมมือต่อโอรส นับได้ว่าพระเจ้าประณมมือต่อพระโอรสเป็นครั้นที่สอง หลังจากเสร็จพิธีแรกนาขวัญนั้นก็เสด็จกลับพระราชวัง

ทรงอภิเษกสมรส

ครั้นเจริญเติบโตและได้เรียนศิลปะวิทยาจนอายุถึง ๑๖ พรรษา และก็เรียนจนจบ ๑๘ ศาสตร์และมีความชำนาญในศาสตร์นั้นด้วย เช่น ยุธศาสตร์เป็นต้น พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นว่า สิทธัตถะควรมีพระมเหสีได้แล้วก็ได้ไปขอพระนางพิมพาหรือพระนางยโสธราซึ่งเป็นธิดาของพระเจ้า สุปปพุทธะกับพระนางอมิตามาเป็นมเหสีของสิทธัตถะกุมาร ต่อมาจึงได้สร้างปราสาท ๓ ฤดูให้แก่สิทธัตถะโดยที่ปราสาททั้งสามนั้นไม่มีคนแก่ คนทุรภาพ เป็นต้นให้เห็นแต่สิ่งที่เจริญหูเจริญตา และก็ถูกทำนุบำรุงเป็นอย่างดีทั้งได้รับความอบอุ่นความ เพลิดเพลินอยู่ในการดำรงฆราวาสวิสัยเป็นอย่างดีซึ่งแวดล้อมไปด้วยนางสนมนางบำเรอ เพราะพระราชบิดาต้องการผูกมัดให้พระองค์สืบราชบัลลังค์เพื่อว่าจะได้ไม่คิดไปอย่างอื่น

เสด็จออกเที่ยวชมพระนคร

สิทธัตถะกุมารเสวยความสุขอยู่แต่ในพระราชวังซี่งประดับตกแต่งอย่างดีโดยมิได้เสด็จออกไปที่ไหน จนพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา วันหนึ่งอยากออกไปเที่ยวชมนอกพระนครจึงไปขอพระราชบิดา พระราชบิดากลัวสิทธัตถะกุมารจะได้เห็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาจึงได้ให้ชาวพระนครตกแต่งเคหสถานของตน ให้เป็นที่เจริญตาโดยเฉพาะคนเจ็นไข้ได้ป่วยคนง่อยเปี้ยเสียขาก็ให้อยู่ในภายในเรือน อย่าออกมาให้เห็นอีกทั้งคนที่ตายแล้วก็งดเอาไปทิ้ง ทั้งงานในวันนั้นก็ให้งดหมด ให้เป็นเหมือนว่าบ้านเมืองมีความเป็นอยู่อยางสุขสบายมองออกไปทางไหนก็เป็นที่เจริญตามีแต่คนรุ่น ๆ เมื่อได้จัดแจงดังนี้ก็อนุญาติให้สิทธัตถะกุมารเที่ยวชมพระนครได้ เมื่อถึงเวลาก็เสด็จออกเที่ยวชมพระนคร ก็มีความประทับพระทัยเป็นอย่างมากที่ได้มีโอกาสชมพระนครและประชาชนพสกนิกรก็ประดับตกแต่งตัว อย่างดีได้ออกรับเสด็จมาชมพระบารมีและเป็นที่ตรึงตราตรึงใจพสกนิกรที่ได้มีโอกาสเห็นพระราชกุมารเป็น ครั้งแรก พระราชกุมารได้ทรงเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เห็นหลายอย่างก็ประทับใจก็ได้เสด็จเที่ยวชมพระนครจนถึง เวลาเย็นก็นิวัตติกลับพระราชวัง

ทรงเห็นเทวทูต (ทูตเทวดา)

เมื่อกลับพระนครแล้วสิทธัตถะกุมารก็ได้ความคิดหลายอย่าง ต่อมาก็ได้ประพาสในสวนอุทยานโดยมีนายฉันนะไปด้วย ครั้นไประหว่างทางก็ได้เห็นเทวทูต (เทวดาเนรมิตไว้) คนที่หนึ่งคือ คนแก่ หนังเหยี่ยว หลังค่อม ซึ่งถือไม้เท้างก ๆ งัน ๆ เดินทางมาซึ่งพระองค์ไม่เคยเห็นมาก่อนก็ถามนายฉันนะว่า นั่นใคร่ ฉันนะตอบว่า "คนแก่ ขอรับ" " เอ๊ะ ทำไม่คนต้องแก่" "คนเราล่วงความแก่ไปไม่ได้หรอก อีกหน่อยพระองค์ก็ต้องแก่และข้าพองค์ก็ต้องแก่" จากนั้นขบวนก็ดำเนินต่อไปและต่อมาก็ทอดพระเนตรเห็นคนเจ็บซึ่งเป็นโรค ซึ่งนอนเจ็บครวญครางอยู่ พระองค์ก็ตรัสถามว่า "ฉันนะ นั่นคนเป็นอะไรละ" ฉันนะตอบว่า "คนเจ็บไม่สบายเป็นไข้ได้ป่วย" "ทำไม่คนเราต้องป่วยละ" "คนเราต้องมีความเจ็บป่วยกันทั้งนั้นไม่มากก็น้อย" แล้วก็ตรัสถามกันอีกหลายเรื่อง ต่อจากนั้นก็เสด็จดำเนินไปต่อและก็ได้พบกับคนตายซึ่งหมู่ญาติคร่ำครวญร้องไห้เ ป็นที่เวทนาเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้พบเห็น สิทธัตถะก็ถามว่า "นั่นใครเป็นอะไร" ฉันนะอำมาตย์ตอบว่า "นั่นคนตายและกำลังจะถูกหามไปทิ้ง" "ทำไมคนเราต้องตาย" "คนเราก็ต้องตายเหมือนกันทุกคนไม่มีใครจะล่วงความตายไปได้" ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะครุ่นคิดอย่างหนักต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นในจิตใจ ต่อแต่นั้นราชรถก็ได้เสด็จดำเนินไปต่อ ต่อมาก็ได้เห็นสมณะซึ่งเดินด้วยอาการสงบเสงี่ยมมีกิริยาเรียบร้อย ก็ถามว่า "นั้นใคร" ฉันนะก็ทูลว่า "นักบวช " . "เขาไปไหน". "ไปแสวงหาโมกธรรม ". เมื่อสนทนากับนายฉันนะพอสมควรก็เสด็จดำเนินไปต่อในอุทยานนั้นทั้งวัน พอตกเย็นก็เสด็จพระราชวัง พอเสด็จถึงพระราชวังก็ทราบข่าวการประสูติพระโอรสของพระนางพิมพาก็มีความปลาบ ปลื้มยินดีเป็นอันมากได้เสด็จไปเยี่ยม ต่อมาก็คิดถึงความเป็นทุกข์ต่าง ๆ ที่ได้เห็นเทวทูตในตอนกลางวันคือคนเจ็บ คนแก่ คนตาย และสมณะ ว่าคนเราต้องมีความทุกข์ตลอดไปจะทำอย่างไรที่จะต้องไม่ทุกข์จึงมีความคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นของคู่กัน คือมีทุกข์ ต้องมีสิ่งแก้ทุกข์ มีกลางวันต้องมีกลางคือเป็นต้น ด้วยการเสด็จไปเที่ยวอุทยานตลอดทั้งวันทำให้พระวรกายอ่อนล้าบ้างก็เสด็จบรรทมแต่พลบค่ำ พอตอนดึก ๆ ก็ทรงตื่นขึ้นก็ได้ครุ่นคิดถึงความทุกข์ต่าง ๆ และหาวิธีแก้ทุกข์ว่าจะทำอย่างไร ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต่าง ๆ เกิดขึ้นในจิตใจ จึงลุกออกจากห้องบรรทมเมื่อออกมาก็ได้เห็น นางสนมนางบำเรอที่ประโคมนอนมีอาการต่างกัน บางก็นอนโกรน บ้างก็นอนมีผ้าหลุดลุ้ย บ้างก็มีน้ำลายไหลยืด เป็นต้น ก็เกิดความเบื่อยิ่งขึ้นมาก ก็คิดหาวิธีต่าง ๆ ในที่สุดก็สรุปลงที่ว่าการหาโมกขธรรมเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่พอจะแก้ปัญหาได้ นั้นก็คือ การออกบวช คิดได้ดังนั้นก็กลับไปห้องหวังจะจุมพิตพระราชโอรสลาหุลเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งบรรทมโดยมีพระนางนอนกอดอยู่ ก็ไม่ได้จุมพิตเพราะกลัวพระนางพิมพาจะตื่น และจะขวางการบรรพชาจึงออกมาจากห้องบรรทม

เสด็จออกบวช

เมื่อออกมาจากห้องคิดต่อไปว่า ถ้าจะออกโดยการบอกลาฝ่ายพระญาติตลอดทั้ง พระมเหสีคงจะไม่อนุญาตให้เป็นแน่แท้ มีทางเดียวก็คือหนีโดยไม่ต้องบอกลาใคร ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงปลุกนายฉันนะอำมาตย์และวางแผนกันโดยรู้เฉพาะสองคนเท่านั้น เมื่อตกลงได้จึงหนีออกจากพระนครในยามราตรีนั้น และหนีออกมาห่างจากพระนคร จนมาสว่างที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแก็ได้ทำการอธิฐานการถือเพศบรรพชิต ณ ที่นั้นนั่งเองโดยการตัดพระเมาลีทิ้ง พร้อมกับส่งนายฉันนะให้นำเครื่องแต่กายของ พระองค์กลับพระนครและเล่าเรื่องให้พระเจ้าสุทโธทนะตลอดทั้งพระญาติได้ทรงทราบ ความประสงค์ทุกอย่างและไม่ต้องทรงเป็นห่วงและไม่ต้องติดตามหา เพราะถ้าได้ค้นพบทางสว่างแล้วจะกลับมา ม้ากัณฐกะเมื่อกลับพระราชวังด้วยความ ห่วงหาอาลัยเจ้าชายสิทธัตถะ ก็ได้ตรอมใจตายในเวลาต่อมา ขณะที่ออกบวชนั้นเป็นเวลาที่มีอายุ 29 พรรษาพอดี

 

เสด็จผ่านเมืองมคธ

หลังจากที่ได้ถือเพศนักบวชแล้วก็ได้ออกเดินทางต่อไปเพื่อหาสถานที่ศึกษาและปฏิบัติหา ความพ้นทุกข์ต่อไป ก็ได้เสด็จผ่านเมืองราชคฤห ครั้นมหาชนได้เห็นต่างก็ร้องเรียกกันมาชม รูปลักษณ์ของพระองค์เพราะไม่เคยเห็นบุรุษใดจะมีรูปโฉมสง่างามเช่นนี้มาก่อนและทั้งความ ประพฤติก็จะแตกต่างกับชนทั่วไป ข่าวนี้ได้ไปถึงพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ๆ ก็ได ้เชื้อเชิญมาที่พระนครเมื่อได้เห็นก็ทรงเลื่อมใสและก็ได้ตรัสถามต่าง ๆ นา ๆ เมื่อทรงทราบว่าเป็นเชื้อสายกบัตริย์ก็เชื้อเชิญให้ปกครองบ้านเมืองด้วยกันโดยจะแบ่งให้ส่วนหนึ่ง แต่สิทธิถะนักบวชก็ปฏิเสธและย้ำเจตนาเดิมคือความมุ่งมั่นต่อพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อเชื้อเชิญไม่สำเร็จพระเจ้าพิมพิสากก็ทรงอนุโมทนาด้วยและทูลขอปฎิญญาว่าถ้าหากพระองค์ ได้ตรัสรู้แล้วขอให้กลับมาสั่งสอนและมาโปรดด้วย เมื่อรับปฏิญญาแล้วก็เสด็จไปต่อ โดยมุ่งไปที่สำนักของอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสเพื่อเล่าเรียนและปฏิบัติ ซึ่งในตอนนั้นถือว่าเป็นสำนักที่โด่งดังมากในสมัยนั้น

 

ถูกเหนี่ยวรั้งให้สอน

เมื่อมาอยู่ในสำนักของอาจารย์ทั้งสอง โดยไปสำนักของอาฬารกดาบสก่อนก็ตั้งใจเล่าเรียน และปฏิบัติจนมีความชำนาญโดยใช้เวลาไม่นาน ก็ได้สำเร็จสมาบัติ ๗ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๓ ซึ่งก็สิ้นความรู้ของอาฬารดาบสเพียงเท่านี้ ครั้นถามอาจารย์ว่ายังมีอีกไหมที่จะเรียนหรือปฏิบัติให้มากกว่านี้ซึ่งอาฬารดาบสก็บอก สอนหมดแล้วและก็ถูกเหนี่ยวรั้งให้สอนต่ออยู่ที่นั่น แต่พระองค์ก็ปฏิเสธเพราะ ทรงคิดว่ายังมิใช่การตรัสรู้ และก็ขอไปเรียนต่อที่อาจารย์อุทกดาบสซึ่งอาฬารดาบสก็ไม่ห้าม เมื่อมาอยู่กับอุทกดาบสก็ร่ำเรียนและก็ปฏิบัติจนได้มาอีกหนึ่งขั้นคือสมาบัติ ๘ เมื่อสอบถามถึงธรรมวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อุทกดาบสก็ตอบไม่ได้ และบอกว่าถ่ายทอด แก่พระองค์หมดแล้ว และก็ถูกอุทกดาบสเชื้อเชิญให้สอนที่สำนักนั้น และพระองค์ก็มาคิดดู ก็ว่ายังมิใช่หนทางตรัสรู้จึงได้ปฎิเสธและอำลาจากคณาจารย์ทั้งสองนั้นไปแสวงหาโมกขธรรมต่อไป
เมื่อออกจากสองสำนักนั้นแล้วก็เสด็จเดินทางต่อไป โดยดำเนินไปเรื่อย ๆ บางทีก็เห็นนักพรตปฏิบัติเรียงราย ก็ดำเนินมาถึงตำบลหนึ่งมีชื่อว่า อุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันคือพุทธคยา) และทำการสำรวจตำบลนี้ทรงเห็นว่าเป็นสถานที่ที่สงบมากมีต้นไม้เป็นที่ร่มรื่นมีแนวป่าที่เขียวขจีไปด้วย หมู่ไม้นานาพันธุ์และมีแม่น้ำไหลผ่านทั่งสายน้ำก็เย็นใสสะอาด และหมู่บ้านก็อยู่ไม่ไกลจากที่นี้ และเห็นว่าเป็นสถานที่สามารถอาศัยบำเพ็ญได้ จึงได้ตกลงเลือกเอาสถานที่นี้เป็นที่บำเพ็ญ

 

เบญจวัคคีย์บวชตามหา

เมื่อนายฉันนะกลับถึงราชวังพร้อมทั้งทูลเรื่องราวต่าง ๆ พราหมณ์โกณฑัญญะซึ่งเป็นหนึ่ง ในพราหมณ์ ๑๐๘ ที่ได้รับฉันโภชนาหารและที่ได้รับเลือกเป็นผู้ทำนายลักษณะตอนที่สิทธัตถะเล็ก ๆ พอทราบข่าวการออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะก็เชื่อถึงคำทำนายของตนเองและตนเองก็ตั้งใจ ไว้แล้วว่าถ้าสิทธัตถะออกบวชตนเองก็จะออกบวชตาม ก็ตัดสินใจบวชเพื่อจะได้มีส่วนแห่งธรรมนั้น ก่อนที่จะบวชก็ได้ชักชวนบุตรของพราหมณ์คนอื่น ๆ อีก รวมกันได้ ๕ คนพอดีที่เรียนว่า เบญจวัคคีย์หรือเบญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ก็เมื่อบวชแล้วก็ออกเที่ยวตามหาพระองค์โดยแกะรอยถามหาคน ไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็ได้ข่าวว่าอยู่ที่หมู่บ้านอุรุเวลาเสนานิคมจึงไปที่นั้นและก็ได้เจอพระองค์ที่นั้นเอง จึงพากันเข้าไปถวายอภิวาทและขอเป็นอุปัฏฐาก โดยหวังว่าเมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วจักได้แสดงธรรมโปรดพวกตนบ้าง

 

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

หลังจากนั้นก็เริ่มบำเพ็ญเพียรต่าง ๆ นานาที่ได้ร่ำเรียนมาและเอามาประยุกต์ที่ตนคิดว่าจะสำเร็จ ซึ่งคนสมัยนั้นนิยมว่าเป็นการประพฤติตามธรรมอย่างอุกฤษคือการทำทุกรกิริยา ด้วยการทรมานตนตามวิธีต่าง ๆ เพื่อที่จะบรรลุธรรม แต่ที่พระองค์ทรงกระทำมีอยู่ 3 วาระ
วาระที่ ๑ ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่นจนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ ในเวลานี้นทรงได้รับทุกขเวทนาอยย่างหนักเหมือนก้บมีใครมาบีบคอไว้แน่น แม้พระวรกายที่จะกระวนกระวาย ไม่สงบเช่นนั้น พระองค์ก็มิได้ทรงท้อถอยยังคงบำเพ็ญต่อไป กระทั่งทรงเห็นว่าการกระทำอย่างนี้ไม่ใช่ทางตรัสรู้ เมื่อทรงเห็นว่าไม่เป็นทางตรัสรู้จึงเปลี่ยนอย่างอื่นต่อไป
วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ (คือการอดกลั้นลมหายใจ) เมื่อลมเดินโดยทางช่องพระนาสิกและชอ่ง พระโอษฐ์ ไม่ได้สะดวกก็บังเกิดกเสียงอู้ทางช่องพระกรรณทั้งสองข้าง ทำให้ปวดพระเศียรเสียดพระอุทรร้อนในพระวรกายเป็นกำลัง แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จึงเปลี่ยนแนวใหม่
วาระที่ ๓ ทรงอดอรหารเสวยแต่วันละน้อย บ้าง เสวยอาหารที่ละเอียดล้าง จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้าหมอง พระอัฐิปรากฏทั่วพระวรกราย เมื่อทรงลูบพระวรกาย เส้นพระโลมาก็ร่วงหลุด มีพระกำลังน้อย จะเสด็จไปข้างไหนก็ชวนล้ม แต่ก็ยังไม่สำเร็จอีก

 

อุปมาปรากฏ

พระองค์ได้ทำปฏิบัติอย่างนี้และอีกหลายวิธีเป็นเวลา 6 ปีแต่ก็ยังไม่สำเร็จแต่พระองค์ก็ครุ่นคิด อย่างหนักที่จะหาวิธีที่จะปฏิบัติในที่สุดความคิดก็ได้ผุดขึ้นซึ่งเป็นอุปมาเปรียบเทียบเกิดขึ้นในใจ 3 ข้อดังนี้

๑. สมณะพราหมณ์เหล่าใด มีกายและใจยังไม่หลีกออกจากกาม แม้จะทรมานร่างกายให้ได้รับ ทุกขเวทนาแสนสาหัสสักปานใดก็ไม่สามารถที่จะตรัสรู้ได้ เช่นเดียวกับไม้สดที่ชุ่มด้วยยางทั้งแช่อยู่ในน้ำ ใครก็ไม่สามารถที่จะสีให้เกิดไฟขึ้นมาได้ เขาย่อมเหนื่อยเปล่าแน่นอน

๒. สมณะพราหมณ์เหล่าใด มีกายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ทว่าจิตใจยังมีความกำหนัดยินดีอยู่ในกาม ถึงจะบำเพ็ญอย่างแรงกล้าสักปานใดก็ยังตรัสรู้ไม่ได้เช่นเดียวกัน เช่นไม้ที่ยังสดอยู่แต่ชุ่มด้วยยางแม้จะอยู่บนบก ใครก็ไม่อาจสีไฟให้เกิดไฟได้ เขาย่อมเหนื่อยเปล่า

๓. สมณะพราหมณ์เหล่าใด มีกายและใจหลีกออกจากกามด้วยดีแล้ว แม้จะได้รับทุกขเวทนา อันเกิดจากการบำเพ็ญเพียรนั้นหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถที่จะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้งที่ตั้งอยู่บนบก บุคคลย่อมสีให้เกิดไฟขึ้นได้

คราวนี้พระองค์ก็หวนมาคิดถึงอดีตก็มาพลันนึกถึงตอนที่ยังเป็นพระโอรสน้อยเมื่อครั้ง พระองค์ประทับที่ต้นไม้หว้าในคราวพระราชพิธีแรกนาขวัญว่า การบำเพ็ญทางจิตทำให้เกิด เป็นสมาธินั้น อาจจะเป็นหนทางเพื่อตรัสรู้ได้ ขณะนั้นก็ได้ยินเสียงขอพิณสามสายอันเทวดาแสดงนิมิต สายหนึ่งตึงพอดีดไปได้หน่อยสายก็ขาดพอดีดอีกก็ขาดอีก สายที่สองเมื่อดีดไปเสียงหย่อนแสดง ว่าสายหย่อนฟังแล้วไม่ลื่นหู อีกสายหนึ่งเสียงปานกลาง พอดีก็บังเกิดเสียงไพเราะน่าฟังดีดอีดก็น่าฟังอีก จึงได้เป็นแนวคิดว่า การปฏิบัต ิถ้าปฏิบัติเคร่งมากเกินก็เป็นการทรมานตนเองโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าปฏิบัติหย่อนเกินไป ก็ได้ตรัสรู้เป็นแน่ แต่ถ้าบำเพ็ญทางสายกลางไม่หย่อนไม่ตึงจนเกินไปน่าจะเป็นหนทางตรัสรู้ เราควรบริโภคอาหารแล้วหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ ดำริได้ดังนั้นและตกลงพระทัยก็ได้ กลับมาเสวยอาหารตามปกติเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและก็จะได้บำเพ็ญทางจิตต่อไป

Home

Next : Page 3>>

 
 
หน้าแรก I บททำวัตรเช้า-เย็น แปล I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I มงคลชีวิต ๓๘ ประการI การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ

&Non; Copyright 2002. Buddhamamaka. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

Hosted by www.Geocities.ws

1