หน้าแรก I บททำวัตรเช้า-เย็น แปล I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I มงคลชีวิต ๓๘ ประการI การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ

 

 

 

 

 

 

ประวัติพระพุทธเจ้า (ต่อ)

ปัญจวัคคีย์หมดหวังจึงหลีกหนี

ฝ่ายปัญจวัคคีย์ก็ปรนนิบัติพระองค์ตั้งแต่แรก เห็นพระองค์ตั้งใจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นเวลาถึง ๖ ปี ทุกคนต่างก็หวังและเชื่อว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระองค์อีกหน่อย คงจะได้บรรลุธรรมวิเศษเป็นแน่แท้จึงได้มีจิตใจเลื่อมใสเป็นอย่างมาก แต่แล้วพระองค์ก็กลับมาเสวยพระอาหารตามปกติ เหมือนกับฟ้าผ่ากลางวัน ทำให้ปัญจวัคคีย์ ต่างคิดหนักว่าพระองค์คลายความเพียรเสียแล้วเมื่อหันมาเสวยพระกระยาหารแล้วอย่างนี้ จะบรรลุธรรมวิเศษได้อย่างไรทำให้ทุกคนต่างสิ้นหวัง และคลายความเลื่อมใสลง จึงได้ปรึกษากันที่จะหลีกไปบำเพ็ญต่างหาก ดังนั้นจึงได้ลาพระองค์ หลีกหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทาวัน เขตเมืองพาราณสี

 

เปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติ

เมื่อปัญจวัคคีย์หลีกหนีไปแล้วพระองค์ก็เสวยพระกระยาหารจนมีพละกำลังแข็งแรงอย่างเดิม ก็ได้เริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตทำให้จิตเป็นสมาธิเป็นลำดับขั้นมีจิตใจที่แน่แน่วและสามารถคิดถึงปัญหาต่าง ๆ ด้วยจิตที่เป็นสมาธิสามารถแก้ปัญหาเป็นเปราะ ๆ ไปและก็ได้วิธีใหม่ ๆ ในการปฏิบัตินั้น
ตอนรุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ นางสุชาดาซึ่งเป็นบุตรธิดาของเศรษฐีในตำบลนั้นก็ได้จัดแจง ข้าวมธุปายาสเอาใส่ถาดทองแล้วก็เอามาเพื่อถวายรุกขเทวดาที่ตนเองได้บนบานสานกล่าวเอาไว้ในตอนที่ได้ขอบุตร เมื่อตนเองได้บุตรชายตามปรารถนาแล้วก็เอาข้าวมธุปายาสมาถวายที่ต้นโพธิตามเจตนาที่ได้ตั้งเอาไว้ เมื่อมาถึงที่ต้นไม้โพธิก็พบพระองค์ซึ่งสง่างามอันมีรัศมีที่ผ่องใสก็ทำสามาธิอยู่ นางดีใจมากคิดว่าคงเป็นเทพารักษ์อย่างแน่นอนที่ตนได้บนบานเอาไว้ จึงได้เอาเข้ามธุปายาสถวายพร้อมกับถาดทอง พระองค์ก็รับไว้ เมื่อนางกลับไปแล้วพระองค์ก็ไปชำระร่างกายในแม่น้ำเนรัญชราหลังจากนั้นก็เสวยข้าวมธุปรายาส จนหมด จากนั้นก็ลงไปที่แม่น้ำเพื่อเสียงทายด้วยการอธิฐานเสี่ยงบารมีว่า หากจะได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วขอให้ถาดนี้ ลอยทวนกระแสน้ำ เมื่อลอยถาดไปปรากฏว่าถาดนั้นทวนกระแสขึ้นไปจริงๆ

 

โสตถิพราหมณ์ถวายหญ้าคา

ครั้นพระองค์ได้เห็นเช่นนั้นก็ทรงมั่นพระทัยว่าจะต้องบรรลุธรรมวิเศษเป็นแน่ หลังจากนั้นก็เสด็จไปที่หมู่ไม้สาละวันใกล้ ๆ แม่น้ำเนรัญชราได้ประทับที่นั่นจนกระทั่งพระอาทิตย์คล้อยบ่ายลง พระองค์ก็ได้เสด็จจะมาที่ต้นไม่โพธิ์อีก ในระหว่างทางก็พบกับพราหมณ์ชื่อว่าโสตถิยะ ซึ่งได้หาบหญ้าคาผ่านมา เมื่อโสตถิยะเห็นก็ความสง่างามตลอดจนความสงบเสงี่ยมก็เกิดความเลื่อมใสจึงได้สนทนาด้วย เมื่อสนทนากันประมาณแล้วโสตถิยะก็ได้ถวายหญ้าคา ๘ กำแล้วก็หลีกไป

 

ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

พระองค์ก็เอาหญ้าคามาที่ควงต้นไม้โพธิ์แล้วก็ปูลาดทำเป็นที่ประทับนั่งแล้วทำการอธิฐานว่า " ถ้าเราไม่บรรลุพระอนุตตรสัมโพธิญาณ จะไม่ลุกขึ้นจากที่เป็นอันขาด แม้ว่าเลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไปก็ตามที " แล้วก็เริ่มนั่งเจริญสมาธิภาวนาทำให้จิตใจแน่แน่วปราศจากอุปกิเลส จนจิตสุขุมเข้าโดยลำดับในที่สุดก็ฌาณที่ ๑ ๒ ๓ ๔
ตามลำดับ ซึ่งเกิดขึ้นตามลำดับกาลดังนี้

ปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ คือการระลึกชาติได้ อันเป็นเหตุให้หยั่ง รู้อัตตภาพข้นธสังขาสรว่าเป็นเพียงแต่สภาวะอย่างหนึ่ง ๆ เท่านั้นคุมกันเข้าเป็นขันธ์ เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในขันธ์อันเป็นเหตุรักหรือชังเสียได้
มัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ สามารถเห็นการจุติและเกิดของมวลสัตว์โลกได้

เป็นเหตุให้รู้ว่าขันธ์นั่นแลย่อมเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดา
มีอันคุมกันเข้าเป็นสัตวเป็นบุคคล ในเบื้องต้นแปรปรวนในท่ามกลาง
แล้วแตกสลายไปในที่สุดเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีดีมีเลวได้สุขได้ทุกข์บ้างแตกต่างกันไปตามอำนาจกรรมืที่กระทำเอาไว้
เป็นผลให้กำจัดความหลงเสียได้ในขันธ์อันเป็นดเหตุสำคัญผิดด้วยประการต่าง ๆ เสียได้

ปัจฉิมยาม ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ คือการตรัสรู้ อริยสัจ ๔ คือ

- ทุกข์ สภาพของปัญหา

- สมุทัย เหตุเกิดของปัญหา

- นิโรธ ความสิ้นไปแห่งปัญหา

- มรรค หนทางที่จะปฏิบัติทำให้ปัญหาสิ้นไป

 

ทรงเสวยวิมุตติสุข

เมื่อตรัสรู้แล้วก็เสวยวิมุตติสุข (สุขที่เกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) ที่ต้นไม้โพธิ์เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ก็ได้พิจารณาปฏิจจสมุปบาทกลับไปกลับมาแล้วก็เปล่งอุทานใน 3 ยามแห่งราตรี

สัปดาห์ที่สองก็เสด็จออกจากต้นโพธิ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไม่ไกลเท่าไรแล้วก็หันมามอง ที่ต้นโพธิ์ประทับที่นั้นเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์

สัปดาห์ที่สามเสด็จออกจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือมายืนที่ระหว่างกลางแล้วจงกรมที่นั้น

สัปดาห์ที่สี่เสด็จไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประทับที่เรือนแก้วอันเทวดานิมิตพิจารณาพระอภิธรรม

สัปดาห์ที่ห้าเสด็จไปประทับที่ต้นไม้ไทร (อชปรนิโครธ) ได้พบกับพราหมณ์ที่ชอบตวาดคนอื่นว่า หึ หึ

สัปดาห์ที่หกออกจากที่ต้นไม้ไทรมาประทับที่ต้นไม้จิกที่เรียกว่ามุจจลินซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

สัปดาห์ที่เจ็ดออกจากต้นไม้จิกไปประทับที่ต้นไม้เกตุ ซึ่งยู่ทางทิศใต้

 

คนแรกที่นับถือพระพุทธเจ้าและพระธรรม

ระหว่างที่เสวยวิมุตติสุขที่ต้นไม้จิกนั้นมีพ่อค้าวาณิชย์ 2 คนชื่อตปุสสะและภัลลิกะ ผ่านมาทางนั้นเมื่อได้พบเห็นพระองค์ก็เกิดความเลื่อมใสแล้วก็ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแล้ว แล้วก็ขอนับถือพระองค์กับพระธรรมเป็นสรณะตลอดชีวิตแล้วถวายลาเดินทางต่อไป รวมการเสวยวิมุตติสุขของพระองค์ทั้ง 7 สัปดาห์เป็นเวลา 49 วัน

ทรงจัดขั้นปัญญา ( ไอคิว) ของมนุษย์เปรียบเทียบกับดอกบัว

หลังจากที่พ่อค้าพาณิชย์สองพี่น้องไปแล้ว ก็เสด็จในที่ต้นได้ไทรอีกและก็ได้ พิจารณาธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่ลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพ ยากที่ใครจะตรัสรู้ได้จึงท้อพระทัย ต่อมาก็พิจารณาอีกก็ทราบว่ามนุษย์เรานั้น มีปัญญาแตกต่างกัน
มีอุปนิสัยก็ต่างกันก็ทรงแบ่งปัญญาของคนออกเป็น 4 จำพวกคือ

๑. คนมีสติปัญญาเฉียบแหลมหัวไว เพียงยกหัวข้อธรรมเท่านั้นสามารถรู้และก็บรรลุได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่เหนือน้ำพอได้แสงอาทิตย์ก็บาน

๒. คนมีสติปัญญาระดับปานกลาง ต้องอธิบายขยายเนื้อความธรรมถึงจะสามารถรู้เข้าใจได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำจะบานในวันพรุ่งนี้

๓. คนที่พอจะแนะนำได้ คือต้องอธิบายธรรมให้ฟังบ่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง เปรียบ เหมือนบัวที่ในน้ำที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ ซึ่งจะบานในวันต่อไป

๔. คนที่ด้อยปัญญา ไม่อาจเข้าใจทั้งอรรถทั้งพยัญชนะแห่งธรรมได้ เปรียบเหมือนดอกบัว ที่จมอยู่ในโคลน ย่อมเป็นอาหารของเต่าและปลา

 

ทรงดำริที่จะเปิดเผยธรรม

เมื่อพิจารณาบุคคลอย่างนี้แล้วตั้งปณิธานที่จะแสดงธรรมสั่งสอนเหล่ามนุษย์ ์และจะทรงประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายให้มั่นคงถาวรต่อไป ครั้นคิดหาผู้ที่จะได้รับธรรมเทศนาครั้งแรก พระองค์ก็ทรงคิดปรารภอาจารย์ของตน คืออาฬารดาบสและอุทกดาบสที่เคยพำนักอาศัย เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้ที่มีปัญญามากหากสดับฟังธรรมก็คงจะตรัสรู้เป็นแน่ ก็ทรงทราบว่าทั้งสองได้เสียชีวิตแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ที่เคยอุปฐากพระองค์มาก่อน ดังนั้นจึงตกลงพระหฤทัยว่าจะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ก่อน และก็ทราบว่าปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
พอรุ่งเช้าของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ก็เสด็จดำเนินไปมุ่งไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ตอนระหว่างทางได้เจอกับพราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อพราหมณ์เห็นก็ถามพระองค์ทูลว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร พระองค์ตอบว่าเราตรัสรู้เอง พราหมณ์สั่นศรีษะไม่เชื่อแล้วก็เดินจากไป พระองค์ก็มุ่งหน้าเสด็จดำเนินต่อไป พอถึงตอนเย็นก็เสด็จมาถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อมาถึงสถานที่ที่ปัญจวัคคีย์อยู่
ปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์กำลังเสด็จแต่ไกลต่างก็จำได้ จึงปรึกษากันว่าจะไม่ลุกรับและก็ไม่รับบาตร แต่จะปูอาสนะเท่านั้นหากต้องการจะนั่งก็คงนั่งเอง

ทรงเทศนาธรรมกัณฑ์แรก

เมื่อพระองค์มาถึงปัญจวัคคีย์ต่างก็ลืมกติกาที่ได้ทำไว้ จึงได้ทำการต้อนรับด้วยการลุกขึ้นยืนรับ
เมื่อสนทนากันปัญจวัคคีย์ก็ยังแสดงอาการต่าง ๆ นา ๆ ด้วยความกระด้างกระเดื่อง
พระองค์ตรัสว่าบัดนี้เราบรรลุธรรมวิเศษแล้วท่านทั้งหลายจงฟังเราจักสั่งสอน
ปัญจวัคคีย์ไม่เชื่อในการบรรลุเพราะว่า เมื่อตอนที่ปฏิบัติทุกรกิริยาพระองค์ก็ยังไม่บรรลุ
มาบัดนี้พระองค์ได้คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมากเสียแล้วอย่างนี้จะบรรลุได้อย่างไร
พูดอย่างนี้ถึงสองสามครั้ง พระองค์ก็ตรัสว่า วาจาเช่นนี้เราเคยตรัสกับพวกเธอหรือ
เมื่อนั้นปัญจวัคคีย์ต่างก็ได้สติคิดนึกได้ว่าพระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสเลย
และไม่ได้ยินมาก่อน จึงตกลงใจพร้อมกันที่จะฟังธรรมของพระองค์
เย็นนั้นพระองค์คงเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทาง อีกอย่าง ปัญจวัคคีย์ก็ให้พระองค์ได้พักบ้าง เพราะฉะนั้นคืนนั้นก็พักที่นั้น

ครั้นรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา) พระองค์ก็ทรงเทศนาธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร
โปรดปัญจวัคคีย์ ซึ่งเนื้อความย่อ ๆ ธรรมจักรสรูปดังนี้

บรรพชิตไม่ควรประพฤติในสองทาง คือ

- ประพฤติปฏิบัติตนย่อหย่อนเกินไปคือพัวพันในกามสุข ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้

- ประพฤติปฏิบัติทรมานร่างกายตนเองเคร่งจนเกินไป ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้

เพราะฉะนั้นมัชฌิมปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติสายกลางเท่านั้นคือต้องปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นจึงจะบรรลุธรรมได้
ในตอนท้ายธรรมเทสนาพราหมณ์โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
คือความรู้ความเข้าใจอย่างแตกฉานในธรรมที่ทรงแสดงว่า
"สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา"
พร้อมกับ เทศนาจบลง
เมื่อหมดความสงสัยพราหมณ์โกณฑัญญะก็ขออุปสมบท พระองค์ก็อนุญาตให้อุปสมบทด้วยตรัสว่า
"ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข ์โดยชอบเถิด)
การอุปสมบทอย่างนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา อันนับได้ว่าพระรัตนตรัยได้เกิดขึ้น ครบบริบูรณ์ในโลก
ในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘

ซึ่งในสมัยนั้นเป็นฤดูฝนดังนั้นในกาลฝนนั้นพระองค์ก็ได้จำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันพร้อมกับ ได้เทสนาธรรมแก่ปัญจวัคคีย์จนท่านทั้ง 4 ที่เหลือได้ดวงตาเห็นธรรมและ ขออุปสมบท

เมื่อพระองค์เห็นว่าปัญจวัคคีย์มีบารมีแก่แล้าก็ได้แสดงธรรมคืออนัตตลักขณสูตร
และปัญจวัคคีย์ก็บรรุลุอรหันต์ในพรรษานั่นเอง ในพรรษาแรกก็มีพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้วในโลก ๖ รูป

 

สุขไหนจะเท่าความสงบ (ยสะกุลบุตรบวช)

ถึงจะออกพรรษาแล้วพระองค์ก็ยังอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
สมัยนั้นมีลูกเศรษฐีชื่อว่ายสะ อยู่ในเมืองพาราณาสี
พ่อแม่ได้สร้างปราสาท 3 ฤดูไว้ให้มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายตามฆราวาสวิสัย
เมื่ออยู่นาน ๆ ก็เกิดความเบื่อหน่าย
ในราตรีวันหนึ่งนายยสะนอนแต่พลบค่ำไปก่อน เหล่านางบำเรอบริวารก็นอนทีหลัง
ตอนดึกนายยสะตื่นขึ้นมาก็เห็นอาการหลับ ต่าง ๆ ของหญิงเหล่านั้น
บ้างก็นอนโกน บ้างก็นอนมีผ้าเลิกหลุดลุ่ย เป็นต้น
ก็เกิดความเบื่อหน่าย ก็เปล่งอุทานว่า
ที่นี่วุ่นวายหนอๆ ก็เลยสวมรองเท้าออกเดินเล่นภายในปราสาท
ในที่สุดไม่รู้จะไปไหน ก็ออกจากปราสาทเดินไปเรื่อย ๆ พลางก็พูดว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ๆ ทั้ง ๆ ที่ก็ยังเช้าตรู่มาก
ก็เดินไป ตามทาง ซึ่งผ่านไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ขณะนั้นใกล้รุ่งสางแล้ว พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จเดินจงกรมก็ได้ยินคำว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ๆ
พระองค์ก็ตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญมาทางนี้
ยสะได้ยินเช่นนั้นก็ดีใจ จึงถอดรองเท้าไว้ข้างนอกแล้วก็เข้าไปถวายบังคมสนทนากับพระพุทธเจ้า
แล้วพระองค์เทศนา โปรดเขาด้วยอนุบุพพิกถาธรรมเพื่อฟอกจิตให้สะอาด ซึ่งลำดับแห่งธรรมก็มีดังนี้

- ทานกถา พรรณาการให้ทาน

- สีลกถา พรรณาถึงการรักษากาย วาจา และใจให้เรียบร้อย ไม่เบียดเบียนตนเอง และบุคคลอื่นตลอดถึงสรรพสัตว์

- สัคคกถา พรรณาถึงสวรรค์ คือผลอานิสงค์ที่บุคคลรักษาศีลและให้ทาน

- กามาทีนกถา พรรณาโทษของกามว่าเป็นช่องทางแห่งความทุกข์

- เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงค์ของการหลีกออาจากกามด้วยการออกบวช

 

อุบาสกคนแรกที่นับถือพระรัตนตรัย

เมื่อยสะได้ฟังธรรมเทศนาจบลงก็ได้บรรลุธรรมขั้นต่ำคือโสดาบัน
พอสว่างขึ้นมาที่บ้านของยสะ พ่อแม่ของไม่เห็นยสะก็เกิดความโกลาหลตามหากันให้วุ่นวายไปหมด
เมื่อหาไม่พบในปราสาท ก็ออกตามหากันคนละที่ละทาง
พ่อของยสะก็ออกเดินตามหาโดยได้ผ่านไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เมื่อเดินไปก็ได้เห็นรองเท้าของลูกที่ถอดไว้ก็จำได้ก็เลยเข้าไปที่ยสะ
และพระองค์ก็เทศนาโปรดพ่อของ ยสะอีก
พอเทศนาจบลงพ่อของยสะก็ได้ความรู้ความเข้าใจในธรรมเทศนา (ดวงตาเห็นธรรม)
ก็เลยประกาศตนขอนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ณ ที่นั้น นับได้ว่าบิดาของยสะเป็นอุบาสกคนแรกในโลกที่ได้นับถือพระรัตนตรัย
ในขณะที่พ่อกำลังฟังธรรมเทศนาอยู่นายยสะก็ได้ส่งกระแสจิตฟังธรรมเทศนาไปด้วย
ในที่สุดก็บรรลุพระอรหันต์ เมื่อเทศนาจบบิดาก็ชวนบุตรของตนกลับ
พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอก ว่ายสะนั้นบรรลุอรหันต์แล้วไม่หวนกลับไปเป็นฆราวาสอีก
ก็เข้าใจก็เลยนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมกับลูกศิษย์ให้ไปฉันที่บ้าน
พระองค์ก็ทรงหยุดนิ่ง (ทรงรับ) เมื่อบิดาของยสะกลับไปแล้ว ยสะก็ขออุปสมบทพระองค์ก็อนุญาต

 

อุบาสิกาคู่แรกที่นับถือพระรัตนตรัย

พอสายมาหน่อยพระองค์พร้อมกับอรหันต์รวม 7 องค์ก็ไปฉันที่บ้านของพระยสะตามที่รับนิมนต์ไว้
เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้วก็ทรงแสดงธรรมโปรดบิดามารดาและภริยาตลอดถึงคนใช้ต่าง ๆ
เมื่อเทศน์จบลง มารดาและภริยาของพระยสะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมได้รู้ได้เข้าใจและเลื่อมใส ในพุทธองค์
ก็ปาวรณาตนนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง
นับได้ว่าเป็นอุบาสิกาคู่แรกที่นับถือพระรัตนตรัย หลังจากฉันเสร็จก็เสด็จกลับไปพักที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันอีก

 

บวชตามเพื่อนรัก

วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ และควัมปติ คือเพื่อนสนิทของพระยสะซึ่งเป็นลูกเศรษฐีในเมืองนั้น
เมื่อมาเที่ยวที่บ้านของพระยสะไม่เห็นยสะก็ถามบิดามารดาของพระยสะ
ก็ได้ทราบความต่าง ๆ นา ๆ ก็กลับมาคิดว่าธรรมที่พระยสะชอบใจนั้นคงไม่เลวเป็นแน่นอน
จึงปรึกษากันและกัน ในที่สุดก็ตัดสินใจที่จะบวชตามเพื่อน ก็ไปเฝ้าพระพุทธองค์และก็ได้ฟังธรรมเทศนาเกิดความเลื่อมใส
ได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทพุทธองค์ก็บวชให้ดังที่แล้ว ๆ มา
ต่อมาเพื่อน ๆ ของพระยสะอีก ๕๐ คน ก็ได้ทราบข่าวการบวช
ทุกคนต่างก็สนใจก็พากันมาที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันพอได้ฟังธรรมเทศนาก็เกิดความเลื่อมใส
ก็ขอบวชตามอีก ในไม่ช้าก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
บัดนี้ได้มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ รูป รวมพระพุทธเจ้าด้วย

 

ประกาศพระพุทธศาสนา

เมื่อพระองค์เห็นว่าสาวกมีมาก พอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการประกาศพุทธศาสนาก็ได้ตรัสเรียก ประชุมสาวกตรัสว่า พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มากให้เขาได้มีโอกาสรู้ส่วนแห่งธรรม แต่อย่าไปเส้นทางเดียวกันสององค์ ส่วนเราจะไปตำบลเสนานิคม เมื่อพระสาวกรับพระดำรัสแล้วก็แยกย้าย กันไปประกาศธรรมตามสถานที่ต่าง ๆ

ทรงโปรดชฏิล ๓ พี่น้อง (ฤาษี ๓ พี่น้อง)

เมื่อพระสงฆ์แยกย้ายกันไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จบ่ายหน้าไปยังอุรุเวลาเสนานิคม
ในระหว่างทางก็ได้พบกับชายหนุ่ม 30 คนที่มาเที่ยวดูมหรสพแล้วถูกหญิงแพศยา (บริการ) ที่ตนเอามาเป็นคู่สำราญได้ลักเอาสิ่งของไป
เมื่อพบพระพุทธเจ้าก็สนทนา จนในที่สุดพระองค์ก็แสดงธรรมแก่พวกชายหนุ่มเหล่านั้น
เมื่อเทศนาจบลงก็ได้ดวงตาเห็นธรรมและบรรลุธรรมต่าง ๆ มีโสดาบัน สูงสุดบรรลุสกทาคามี
และขออุปสมบท พระองค์ก็อนุญาต ต่อจากนั้นพระองค์ก็ส่งสาวกทั้ง 30 แยกย้ายกันประกาศศาสนา
ส่วนพระองค์ก็เสด็จไปสู่อุรุเวลาเสนานิคมต่อไป
ชฎิล 3 พี่น้องเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพระเจ้าพิมพิสารมากและเป็นสำนักที่คนนับถือมาก
ตั้งสำนักที่แม่น้ำเดียวกันแต่คนละตำบล ชฎิล 3 พี่น้องคือ

- อุรุเวลกัสสปะ มีบริวาร 500 คน ตั้งอาศรมที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมใกล้แม่น้ำ

- นทีกัสสปะ มีบริวาร 300 คน ตั้งอาศรมที่ตำบลหนึ่งซึ่งอยู่ถัดลงมาอยู่เลียบใกล้แม่น้ำเหมือนกัน

- คยากัสสปะ มีบริวาร 200 คน ก็ตั้งอาศรมที่คุ้งน้ำถัดลงมา


เมื่อพระองค์เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมตอนพลบค่ำ
ก็เข้าไปขออาศัยพักค้างแรมที่อาศรมของอุรุเวลกัสสปะ
อุรุเวลกัสสปะก็ให้พักที่อาศรมอันที่บูชาของเขา (ลัทธินับถือบูชาไฟ)
คืนนั้นพระองค์ก็ทรมานพญานาค ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จนพญานาคแพ้
รุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปะคิดว่าพระองค์คงมรณภาพแล้วเป็นแน่
แต่ก็ประหลาดใจเมื่อเห็นพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่
ต่อมาพระองค์ก็สนทนากับอุรุเวลกัสสปะ จนอุรุเวลหายสงสัยพร้อมกับบริวาร
ในที่สุดก็คิดได้ว่าลัทธิที่ตนถือนั้นเป็นสิ่งที่ไร้แก่นสารจึงยอมฟังเทศนา

พระองค์ก็เทศนาให้ฟังจนเข้าใจในธรรมแล้วก็เลื่อมใส ขออุปสมบทพร้อมกับบริวารบวชในพุทธศาสนา
แล้วก็ตัดสินในลอยบริขารของตนพร้อมศิษย์ลงในแม่น้ำ
บริขารต่าง ๆ ก็ไหลลอยไปตามแม่น้ำ เมื่อนทีกัสสปะเห็นบริขารก็นึกว่าพี่ชายคงเกิดเหตุใหญ่เป็นแน่ จึงพร้อมกับบริวารขึ้นไปที่สำนักอุรุเวลเพื่อช่วยเหลือ เมื่อไปเห็นพี่ชายพร้อมกับบริวารบวชเป็นภิกษุก็แปลกใจ ครั้นได้ทราบเรื่องราวทั้งหมดก็เกิดความเลื่อมใสก็ของอุปสมบทตาม แล้วลอยเครื่องบริขารที่แม่น้ำ
ฝ่ายคยากัสสปะเมื่อเห็นบริขารต่าง ๆ ลอยมาก็นึกว่าต้องเกิดเหตุใหญ่กับพี่ชายทั้งสองเป็นแน่ จึงพร้อมกับบริวารไปที่สำนักของพี่ชายทั้งสอง เมื่อเห็นท่านทั้งสองบวชพร้อมกับบริวารก็เกิดความสงสัย เมื่อทราบความต่าง ๆ ก็เกิดความเลื่อมใสก็ขออุปสมบท เมื่อชฏิลสามพี่น้องบวชก็มีภิกษุรวม 1003 รูป พระองค์ก็พาภิกษุทั้งหลายไปที่ตำบลคยาสีสะอีกครั้งเมื่อทราบบารมีแก่กล้าพร้อมกับ เทศนาสอนก็ตรัสอาทิตตปริยายสูตรเมื่อเทศนาจบทุกรูปก็บรรลุพระอรหันต์
พระองค์ก็เสด็จพักที่ตำบลคยาสีสะพอสมควร จากนั้นก็พาภิกษุจาริกสู่เมืองมคธ (เมืองหลวงคือราชคฤห์) ชาวเมืองเมื่อเห็นพระพุทธองค์ซึ่งงดงาดผิวพรรณผ่องใสตลอดจนอากัปกิริยาต่าง ๆ ที่สงบเสงี่ยมก็เกิดความเลื่อมใสต่างก็ลือกันไปทั่วพระนคร

 

Home

Next : Page 4>>

 
 
หน้าแรก I บททำวัตรเช้า-เย็น แปล I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I มงคลชีวิต ๓๘ ประการI การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ

&Non; Copyright 2002. Buddhamamaka. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

Hosted by www.Geocities.ws

1