การรักษาโดยการบูรณะอวัยวะ

I. การบูรณะฟันในรูปแบบลักษณะต่างๆ                   โดย หมอแป๋ว

การบูรณะฟัน คืออะไร

การบูรณะฟัน หมายถึง การซ่อม , เสริม , สร้างให้ฟันที่มีความเสียหายจากสาเหตุต่างๆ ให้มีลักษณะ รูปร่างเหมือนฟันธรรมชาติและสามารถทำหน้าที่ของฟันได้ตามสมควร

ควรจะบูรณะฟัน เมื่อใด

เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับฟัน ทั้งจากความผิดปกติตั้งแต่เริ่มขึ้น,เมื่อเกิดรอยโรคกับฟัน ,อุบัติเหตุ รวมถึงเพื่อความสวยงาม ( กรณี ฟันห่าง หรือมีรูปร่างผิดปกติ ฯลฯ. ) ยิ่งเร็ว ยิ่งดี

ความผิดปกติของฟันในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องได้รับการบูรณะ เช่น

1.ความผิดปกติของฟันตั้งแต่ขึ้นมาในช่องปาก. ( ดูเรื่องโรคของฟัน )

1.1.ฟันห่าง …สาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากสัดส่วนของขนาดฟันและขากรรไกรไม่ได้สัดส่วนกัน …สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน หรือการทำครอบฟัน* หรือทำ Facing Veneer **

1.2.ฟันมีรูปร่างผิดปกติตั้งแต่ฟันขึ้น….มีได้หลายสาเหตุ เช่น สาเหตุจากการถูกรบกวนในกระบวนการสร้างฟัน , กรรมพันธุ์

ครอบฟัน / Facing Veneer ( กรณีเป็นมาก )

2.รอยโรคที่เกิดขึ้นบนตัวฟัน ( ดูเรื่องโรคของฟัน)

2.1ฟันผุ

…ผุ / แตกหักไม่ถึงชั้นโพรงประสาทฟัน…..สามารถอุดฟันแบบปกติได้ มีทั้งวัสดุสีเหมือนฟันและอมัลกัม

…..หรือทำโลหะเหวี่ยงมายึดกับฟัน เช่น onlay*** , inlay**** , ครอบฟัน     

(ใช้กรณีที่มีการสูญเสียเนื้อฟันปริมาณมาก)

...ผุลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน…..จะต้องรักษารากฟันก่อน แล้วต้องบูรณะต่อด้วยการอุดฟัน หรือทำครอบฟัน หรือทำเดือยพร้อมครอบฟัน

2.2.ฟันสึก

…สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากการแปรงฟันผิดวิธี….สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

3.ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ ( ดูเรื่องฟันแตกหัก) 

สรุป เมื่อมีความผิดปกติขึ้นกับฟันแม้เพียงเล็กน้อยก็ควรหมั่นตรวจสุขภาพฟันและมาพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

*ครอบฟัน = การกรอฟันให้เล็กลงแล้วทำฟันปลอมมาครอบทับอีกที

**Facing veneer =การกรอฟันเฉพาะบริเวณผิวหน้าฟันแล้วทำฟันปลอมมายึดปิด หรืออาจอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

***Inlay = การกรอฟันให้เป็นโพรงแล้วพิมพ์ปากเพื่อนำโลหะเหวี่ยงมายึด

****Onlay =การกรอฟันแบบตัดยอดปุ่มฟันแล้วพิมพ์ปากเพื่อนำโลหะเหวี่ยงมายึด

II.วัสดุที่ใช้ในการบูรณะฟัน

1.โลหะ

    โลหะที่นำมาใช้ในการบูรณะฟันมีหลายแบบ ที่นิยมใช้กันอยู่เรียกว่า อมัลกัม [ amalgum ] ซึ่งเป็นวัสดุที่เกิดจากการผสมกันในเวลาที่เหมาะสม ของโลหะแอลลอยด์และปรอท  ผสมกันจนได้โลหะที่ไม่เหลือสารปรอทที่เป็นพิษอีก โลหะอมัลกัม เมื่อใช้อุดหรือบูรณะฟัน ต้องให้เวลาในการแข็งตัวเต็มที่ถึง 24 ชั่วโมง ดังนั้นหลังการบูรณะฟันด้วยอมัลกัม ทันตแพทย์จึงมักบอกผู้ป่วยว่า อย่าเพิ่งใช้ฟันซี่นั้นเคี้ยวอาหาร เพราะโลหะยังแข็งตัวไม่เต็มที่

    นอกจากโลหะอมัลกัมแล้ว ในการบูรณะฟันแบบที่เรียกว่า อินเลย์ ( inlay ) หรือ ออนเลย์ ( onlay ) นั้นยังสามารถใช้ทองคำหรือโลหะแอลลอยด์ หรือพวกแพลลาเดียม ทำรูปร่างในห้องแลป และนำมาติดเข้ากับตำแหน่งฟันที่จะบูรณะตามรูปนร่างธรรมชาติของฟันซี่นั้นได้ด้วย

    โลหะอีกพวกหนึ่งที่นำมาใช้แทนที่อมัลกัม ในบางครั้งคือ โลหะเหลว ที่เรียกตามชื่อการค้าว่า คีแทคซิลเวอร์ หรือ อัลฟาซิลเวอร์ เป็นโลหะที่สามารถไหลได้บ้างแบบหนืดๆ ไปตามซอกหลืบของฟันที่จะบูรณะ และเหนียวยึดติดได้ดี ไม่แข็งแรงเท่าอมัลกัม แต่น่าจะแข็งแรงพอสำหรับการเคี้ยวอาหาร

 

2.พลาสติกหรือเรซิน

    ปัจจุบัน พลาสติกหรือเรซิน ที่ใช้ในการอุดหรือบูรณะฟันหน้าและฟันหลัง มีการพัฒนาจนได้ความแข็งแรง คุณภาพดี ผิวเนียน สีสรรใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติ จึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในการบูรณะฟัน โดยเฉพาะฟันหน้า

    พลาสติกหรือเรซินชนิดพิเศษที่ใช้ในการบูรณะฟัน จะเป็นชนิดที่แข็งตัวได้ด้วยแสงฮาโลเจน  ( ไม่ใช่แสงเลเซอร์ ที่ชาวบ้านบางคนเข้าใจ)  เวลาไปอุดฟันหน้าด้วยแสง จะเห็นหมอฟันใช้วัสดุสีคล้ายๆฟันตกแต่งที่ฟันที่อุด แล้วฉายแสง ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแสงสีฟ้าเข้ม มองแล้วแสบตาจนตาพร่า

3.ซีเมนต์

    มีซีเมนต์บางชนิด ที่พัฒนามาใช้ในช่องปากได้ โดยไม่มีอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ปัจจุบันหลังจากที่มีวัสดุเช่น เรซิน มาใช้ได้ดี วัสดุพวกซีเมนต์จึงเสื่อมความนิยมลงไป

4.เซรามิค

    การบูรณะฟันบางประเภท เช่น การใส่หน้ากากฟัน อาจใช้วัสดุพวกเซรามิคมาทำ ซึ่งจะมีความแข็งแรงพอควรและมีผิวคล้ายคลึงกับผิวฟันธรรมชาติ

 

 

 

 

 

 กลับบ้านหน้าแรก / ประวัติคลินิก / รู้จักกับเรา / กายวิภาคช่องปาก / โรคช่องปากขากรรไกร / การรักษา / เครื่องมือดูแลสุขภาพช่องปาก / ท่านถามเราตอบ / สมัครสมาชิก / WEBSITE COMPUTER

Hosted by www.Geocities.ws

1