ฟันหัก ฟันบาดเจ็บ                                                        เขียนโดย หมอฟ.ฟัน

ฟันหัก….ทำไงดี

ฟันหักมีสาเหตุมาจากการกระทบกระแทกของแข็ง เนื่องจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา หรืออื่นๆ ซึ่งมีผลไห้ฟันแตก บิ่น โยกหรือหลุดออกจาเบ้าฟันได้

ฟันหักเฉพาะชั้นเคลือบฟัน หรือมีรอยร้าว

เมื่อมีการกระแทกกับของแข็ง อาจทำให้ฟันบิ่นหรือร้าว ถ้ารอยบิ่นไม่ลึกมาก ทันตแพทย์จะกรอแต่งรูปร่างและลบคมด้วยหัวกรอความเร็วสูง อาจร่วมกับการทาฟลูออไรด์เพื่อป้องกันการเสียวฟัน

ส่วนใหญ่ฟันที่มีรอยบิ่นร้าวในระดับผิวเคลือบฟันมักไม่มีอาการใดๆ แต่ถ้ารอยร้าวลึกมากหรืออย๋ในแนวดิ่งไปทางรากฟันก็อาจเป็นทางให้เชื้อโรคเข้าไปสู่โพรงประสาทฟันทำให้ฟันตายได้

รอยบิ่นที่ทำให้มีการเสียรูปร่างของฟัน สามารถบูรณะได้ด้วยวัสดุสีเหมือนฟันที่เรียกว่า composite resin และกลับไปให้ทันตแพทย์ตรวจเป็นระยะๆ เพราะฟันอาจเปลี่ยนสีเป็นฟันตาย หรือมีรูเปิดของถุงหนองปลายรากได้

ฟันหักถึงชั้นเนื้อฟัน

ชั้นเนื้อฟันมีสีขุ่น ออกเหลืองครีมมากการเคลือบฟัน เมื่อรอยหักถึงชั้นนี้ มักทำให้มีอาการเสียวฟันได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรเก็บเศษฟันที่ฟักมาพบทันตแพทย์เพื่อพิจารณนาว่าจะนำกลับมาต่อได้หรือไม่ หรือจะบูรณะใหม่ทั้งชิ้นด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน และเช่นเดียวกัน ควรกลับไปให้ทันตแพทย์

ตรวจเป็นระยะเพราะอาจมีปัญหาฟันตายได้

ฟันหักทะลุโพรงประสาทฟัน

การหักทะลุโพรงประสาทฟัน สังเกตุได่ตั้งแต่เห็นเป็นจุดแดงขนาดเท่าปลายเข็มหรือรอยเลือดขนาดใหญ่บริเวณที่มีการหักของฟัน

ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพราะยิ่งปล่อยเวลานาน เชื้อโรคสามารถเข้าสู่โพรงประสาทฟันได้มาก และจะมีผลต่อการรักษาได้

การรักษาฟันหักทะลุโพรงประสาทฟันขึ้นกับขนาดรูทะลุ ระยะเวลาที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมหรือน้ำลายในปากซึ่งมีเชื้อโรค รวมถึงลักษณะปลายรากฟันว่าปลายรากปิดหรือไม่

ทันตแพทย์จะทำการรักษา โดยนำโพรงประสาทฟันออกบางส่วนหรือทั้งหมด ใส่ยาและบูรณะฟันขึ้นมาใหม่หรือรักษาราก-ทำครอบฟัน เพื่อความสวยงามและคงทนถาวร

 การหักของรากฟัน

การหักของรากฟันแบ่งเป็นแนวการหักว่า แนวนอน แนวเฉียงหรือแนวดิ่ง หรือแบ่งตามตำแหน่งที่หักเช่น คอฟัน กลางรากฟันหรือ ปลายรากฟัน ซึ่งล้วนแล้วมีผลต่อการรักษาทั้งสิ้น

ฟันที่มีการหักบริเวณรากมักมีเลือดซึมตามขอบเหงือก มีอาการปวด ระดับการโยกขึ้นกับตำแหน่งที่มีการหัก ยิ่งอยู่บริเวณคอฟันก็จะยิ่ง โยกมาก

การรักษา หลังจากได้รับอุบัติเหตุ ทันตแพทย์จะทำการตรวจ อาจต้องมีการถ่ายเอกซเรย์เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย

รากฟันที่พบการหักในแนวราบ พบว่ามีโอกาสเก็บฟันไว้ได้มากกว่าที่อยู่ในแนวดิ่งซึ่งมักจบลงด้วยการถอน สำหรับระดับในการหัก การหักที่คอฟันมักต้องนำส่วนตัวฟันออก รักษารากส่วนที่เหลือแล้วบูรณที่หลังด้วยการทำครอบฟัน ถ้าการหักอยู่ระดับกลางหรือปลายรากต้องใช้เครืองมือยึดฟันให้อยู่นิ่งประมาณ 2-3 เดือน ร่วมกับติดตามการรักษาทุกๆ1 เดือน ถ้าพบว่าฟันแน่นอยู่ดี แต่เริ่มเปลี่ยนสี เป็นฟันตาย จำเป็น ต้องรักษารากฟัน

การเคลื่อนที่ของฟันจากแรงกระแทก

อาจเกิดขึ้นร่วมกับการแตกบิ่นของตัวฟันและราก

  1. กระแทกเพียงเล็กน้อย อาจรู้สึกเจ็บบริเวณฟันใน ระยะแรกแล้วมีอาการดีขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งเหนียวในระยะแรก เพื่อให้ร่างกายได้มีการซ่อมแซมตนเอง โดยส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหาฟันตาย ควรติดตามการรักษาเป็นเวลา 1 ปี
  2. ฟันโยกเล็กน้อย เคาะเจ็บและมีเลือดออกตามขอบเหงือก อาจมีปัญหาเรื่องฟันตากหรือการละลายตัวของรากฟันตามมา ทันตแพทย์จะทำการตรวจหาจุดสบกระแทกและทำการกรอลบจุดสบกระแทก ติดตามการรักษาเช่นเดียวกัน
  3. ฟันยื่นยาวออกจากเบ้าฟัน หรือเคลื่อนไปด้านข้างหรือด้านหลัง จะพบว่าปลายฟันยื่นยาว หรืออยู่ผิดตำแหน่ง ทันตแพทย์จะฉีดยาชาแล้วจับฟันกลับที่ตำแหน่งเดิม ยึดด้วยลวดไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งมักช่วยให้ฟันแน่นปกติดี โอกาสฟันตายมีสูง
  4. ฟันเคลื่อนเข้าไปในเบ้าฟัน มักเกิดขึ้นในเกและถ้าเป็นฟันน้ำนมอาจมีผลต่อหน่อฟันแท้ได้ ในฟันแท้ที่รากยังไม่ปิดถูกกระแทกจมในเบ้าฟันมักขึ้นมาได้เอง แต่ถ้าไม่ขึ้นใน 2-3 เดือนอาจเกิดการเชื่อมกับกระดูกเบ้าฟันซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขโดยติดเครื่องมือจัดฟัน เพื่อช่วยดึงฟันให้เคลื่อนออกมาได้ การติตามการรักษาต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี และพบได้บ่อยว่ามีการตายของฟัน
  5. ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน ควรพยายามตั้งสติ และเก็บฟันที่หลุดออกมาและรีบพบทันตแพทย์โดยเร็ว ควรภายใน 15 นาที ฟันที่เก็บควรเก็บในสารละลาย โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือทำอันตรายต่อผิวรากฟัน

สารละลายที่แนะนำ

  1. น้ำเกลือ 0.9% normal saline solution
  2. นมรสจืด
  3. น้ำลายผู้ป่วยโดยอมไว้ในกระพุ้งแก้ม
  4. HBSS (Hank’s balance salt solution ) ซึ่งเป็นสารเลี้ยงเซล

สารละลายอื่นๆเช่น น้ำเปล่า(ไม่ควรเกิน 20 นาที เพราะจะทำให้เซลแตกได้), สารละลายเตตร้าซัยคลิน, สารละลายด๊อกซี่ซัยคลิน, ฟลูออไรด์ , กรดซิตริก

ทันตแพทย์จะนำ ฟันมาทำความสะอาด แช่ในน้ำยา นำกลับสู่เบ้าฟันและยึดให้อยู่นิ่ง 1 เดือน ประมาณ 3 สัปดาห์จะมีการเกิดของหลอดเลือกขึ้นใหม่ และฟันแน่นขึ้นได้ ติดตามการรักษาอย่างน้อย 5 ปี และมักต้องรักษารากฟัน

ฟันตาย-ฟันเปลี่ยนสี

อาการแทรกซ้อนหลังมีอุบัติเหตุต่อฟัน คือการทำลายเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่รอบๆฟัน มีการอักเสบการคั่งของเลือดบริเวณปลายรากเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันจึงมีการขาดอาหารและตาย

เริ่มแรกฟันอาจมีสีชมพูเข้ม ต่อมาจะสีทึบข้นเป็นสีเหลืองขุ่นและเป็นสีเทาหรือน้ำตาลในที่สุด

ผลการเช็คการนำไฟฟ้าด้วยเครื่อง มือ EPT อาจผิดไปรวมถึงมองเห็นพยาธิสภาพบริเวณปลายรากในภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์

รักษาโดยการรักษารากฟัน ฟอกสีฟัน หรือทำครอบฟัน

ในฟันน้ำนมการเปลี่ยนสีจะเริ่มจากสีเทาน้ำตาลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง อาจมีพยาธิสภาพปลายรากซึ่งมีผลต่อการเจริญของฟันแท้ได้ รักษาโดยการรักษารากหรือถอน

สรุป

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ควรตั้งสติ แล้วรีบพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อที่ฟันซี่นั้นจะได้รับการบูรณะ

ไม่ต้องถูกถอนก่อนเวลา

ด้วยความปรารถนาดีจาก หน่วยย่อย WEB MASTER ศูนย์ทันตแพทย์ 1991

กลับบ้านหน้าแรก / ประวัติคลินิก / รู้จักกับเรา / กายวิภาคช่องปาก / โรคช่องปากขากรรไกร / การรักษา / เครื่องมือดูแลสุขภาพช่องปาก / ท่านถามเราตอบ / สมัครสมาชิก / WEBSITE COMPUTER

Hosted by www.Geocities.ws

1