โรคและความผิดปกติของอวัยวะรองรับฟัน            โดย      หมอโรคเหงือก

         อวัยวะรองรับฟัน มีความหมายถึงอวัยวะและระบบ ที่ประกอบด้วย เหงือกชนิดต่างๆ ( เหงือกมีหลายลักษณะ) กระดูกเบ้ารากฟัน ( ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกรที่มีหน้าที่รองรับรากฟัน ) เอ็นยึดรากฟัน ( ซึ่งทำหน้าที่ยึดรากฟันเข้ากับผนังกระดูกเบ้ารากฟัน )

        อวัยวะเหล่านี้ ล้วนแต่มีโอกาสและเงื่อนไข ที่จะเกิดโรคได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ ( ดูเรื่องการติดเชื้อของฟันฯ ประกอบ ) ในบทความนี้ จะลำดับลักษณะของกายวิภาค การทำงานของอวัยวะรองรับฟัน และพยาธิสภาพให้ท่านเข้าใจโดยสรุป

 

1.กายวิภาคของอวัยวะรองรับฟัน ( ดูเรื่องกายวิภาคช่องปากประกอบ )

    ฟันของคนเรา ประกอบด้วย ตัวฟันและรากฟัน ในภาวะปกติที่ยังไม่เกิดพยาธิสภาพ จะมีแต่ตัวฟันเท่านั้นที่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมาในช่องปาก ตัวรากฟันนั้นจะฝังอยู่ภายในส่วนที่เรียกว่า "อวัยวะรองรับฟัน" 

    อวัยวะรองรับฟัน ประกอบด้วย 1.เหงือก ซึ่งห่อหุ้มอยู่ภายนอกสุดและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมในช่องปาก 2.เอ็นยึดรากฟัน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเอ็นยึดกระดูกของร่างกาย และทำหน้าที่ยึดผิวรากฟันเข้ากับผนังกระดูกเบ้ารากฟัน 3.กระดูกเบ้ารากฟัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกร 

    อวัยวะรองรับฟันนี้ จะทำให้ฟันสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง มีประสิทธิภาพ ตัวเหงือกนั้นจะมีหลายลักษณะ แต่ละลักษณะล้วนแต่มีผลทำให้สรีระรอบคอฟันเป็นไปได้อย่างปกติ ส่วนเอ็นยึดผิวรากฟันจะทำให้ตัวฟันขยับไปมาได้บ้าง ดังนั้นเมื่อฟันทำหน้าที่เคี้ยวอาหาร ตัวฟันทุกซี่จะขยับไปมาได้ประมาณไม่เกิน 1 มม.โดยรอบ อีกทั้งปลายประสาทของเอ็นยึดนี้ ยังทำหน้าที่รับรู้ตำแหน่งและการขยับตัวของฟันอีกด้วย ข้อแตกต่างของฟันปลอมรากเทียมและฟันแท้ ก็อยู่ที่ตรงนี้ คือ ฟันรากเทียม จะไม่มีเอ็นยึดดังกล่าว ทำให้ฟันรากเทียมแข็งและไม่ยึดหยุ่นเมื่อเวลาเคี้ยวอาหารหรือสบกระแทก  

    ทั้งเหงือกและเอ็นยึด จะสัมพันธุ์ใกล้ชิดกับกระดูกเบ้าฟันหรือเบ้ารากฟัน เหงือกและเอ็นยึดจะหมดสภาพทันที ที่ไม่มีกระดูกเบ้าฟันรองรับเป็นฐานอยู่เบื้องล่าง โรคเหงือกอักเสบระยะรุนแรงซึ่งกระดูกเบ้าฟันถูกทำลายไป จึงมีความหมายว่า เหงือกและเอ็นยึดรากฟันถูกทำลายสมรรถนะไปด้วย นั่นเอง

    เมื่อฟันทำหน้าที่ เช่น เคี้ยวอาหาร แรงบดเคี้ยวจะกระทำลงที่ตัวฟัน และถ่ายทอดต่อไปที่รากฟัน ผ่านเอ็นยึด ไปที่กระดูกเบ้าฟัน และถ่ายทอดต่อไปที่กระดูกขากรรไกรส่วนต่อไป จนสลายตัวที่ข้อต่อขากรรไกรล่างหรือกระดูกใบหน้าและกะโหลกศีรษะในฟันบน

 2.โรคเหงือกอักเสบ
เหงือกของคนเรา มีหน้าที่ปกป้องตัวฟัน โดยทั่วไปมีลักษณะ สีชมพู โค้งตามตัวฟัน ผิวหยาบเล็กน้อย คล้ายเปลือกส้มโอ 




แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำความสะอาดภายในเวลาไม่นาน ก็จะเริ่มมีคราบจุลินทรีย์ (DENTAL PLAQUE) มาเกาะติดบริเวณผิวฟัน มีลักษณะอ่อนนิ่ม สีขาว ระยะนี้สามารถแก้ไขด้วยการแปรงฟัน





เมื่อคราบจุลินทรีย์สะสมแคลเซียมมากขึ้น จะกลายเป็นคราบหินปูน (CALCULUS) มีสีน้ำตาล, แข็งเกราะติดแน่นบนตัวฟัน ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยง่าย



คราบหินปูนเหล่านี้ จะเป็นต้นเหตุให้เกิดการอักเสบของเหงือก (GINGIVITIS) ทำให้เหงือกมีลักษณะบวม แดง และมีเลือดออกตามไรฟัน



ถ้าปล่อยให้อาการอักเสบของเหงือกดำเนินต่อไป กระดูกหุ้มรากฟันจะถูกทำลาย ทำให้มีอาการปวด, ฟันโยก, มีหนอง ที่บริเวณเหงือก กลายเป็นโรค ปริทันต์อักเสบ (PERIODONTITIS) ในที่สุด



วิธีแปรงฟันที่ถูกต้อง
เพื่อเป็นการป้องกันโรคเหงือก ควรแปรงฟัน 2 ครั้ง/วัน โดยใช้แปรงชนิดนุ่ม จนถึงขนาดปานกลาง วางแปรงทำมุม 450 กับแกนฟัน ให้ขนแปรงชี้ไปทางปลายรากฟัน โดยขนแปรงสอดเข้าไปในร่องเหงือก พยายามอย่าดันขนแปรงเข้าไปในร่องเหงือกลึกเกินไป และพยายามดันขนแปรงเข้าไปในซอกฟันด้วย แล้วทำการขยับปัดเบาๆ ดังรูป 

รูปที่ 1                รูปที่ 2        รูปที่ 3   

รูปที่ 4                รูปที่ 5  


THANK YOU  





 กลับบ้านหน้าแรก / ประวัติคลินิก / รู้จักกับเรา / กายวิภาคช่องปาก / โรคช่องปากขากรรไกร / การรักษา / เครื่องมือดูแลสุขภาพช่องปาก / ท่านถามเราตอบ / สมัครสมาชิก / WEBSITE COMPUTER

 

  

 

Hosted by www.Geocities.ws

1