ChessSiam เวบในเครือ SiamBoardGames
เกี่ยวกับผู้จัดทำ
Links
SiamGo
ChessSiam
SiamBoardGames
ChessSiam
เกี่ยวกับหมากรุก
พัฒนาฝีมือ
เล่าสู่กันฟัง
กระทู้สนทนา
เกี่ยวกับหมากรุก
   
เครือเวบ สยามบอร์ดเกมส์
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด
30 กันยายน 2543
จตุรงค์
ประวัติหมากรุก
ตำนานกำเนิดหมากรุก(2/2)
หน้าก่อน
[ดูหน้า 1 | 2]
อาณาจักรและการแผ่ขยาย
กำเนิดหมากรุก • การแผ่ขยายสู่เอเชีย • การแผ่ขยายสู่ยุโรป • การแผ่ขยายทั่วโลก
หมากรุกรุ่นแรกของโลก
Chatrang • Shatranj • Zatrikion
 
หมากรุกรุ่นแรกของโลก

มีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ไว้ว่าหมากรุกรุ่นแรกของโลกเป็นเกม 4 กองทัพระหว่าง 4 ผู้เล่น ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีตัวหมาก 4 ชุด แม้จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการใช้ชื่อของหมากรุกรุ่นแรก คือ Chatrang (เป็นสันสกฤตตรงกับคำว่า "จตุรงค์") โดยคำว่า จตุร แปลว่า สี่ และ รงค์ แปลว่าสี หรือฝ่าย

ชื่อ Chatrang เท่าที่พบก็มีวรรณกรรมสมัยราชวงศ์ Sasanid(242-651) แห่งเปอร์เซีย เขียนขึ้นด้วยภาษาปาลาวีชื่อ Chatrang namakwor(A Manual of Chess) มาถึงเปอร์เซียยุคใหม่ก็ใช้ชื่อซึ่งแทบจะไม่แตกต่างคือ Shatranj คำนี้มีการวิเคราะห์ถกเถียงกันด้วยความเห็นที่แตกต่าง บ้างก็ว่าน่าจะมาจากความเชื่อในยุคอินเดียโบราณในเรื่องธาตุทั้ง 4 คือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ แต่บ้างก็ว่าอาจจะมาจากฤดูทั้ง 4 และก็ยังมีการกล่าวถึงทฤษฎีอารมณ์ทั้ง 4 คือ รัก, โลภ, โกรธ, หลง แต่ก็ล้วนใช้เลข 4 เป็นกุญแจหลักทั้งสิ้น

คำว่า Chess(หมากรุก) มาจากคำว่า Shah(King)ในภาษาเปอร์เซีย และ Checkmate(รุกจน) ก็มาจากคำว่า Shah mat (King died)

ตัวหมากทั้งหมดที่ยังมีใช้อยู่ในหมากรุกหลากหลายชนิดของโลกจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย

King ขุน  
Queen เม็ด  
Bishop ช้าง  
Knight ม้า  
Rook เรือ  
Pawn เบี้ย  
 
เป็นที่น่าสังเกตุว่าไม่ว่าจะเป็นชื่อตัวหมาก หรือวิธีการเดินหมากแทบจะไม่แตกต่างจากยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะหมากรุกไทย (ส่วน Elephant เดินเหมือน เฉีย หรือช้างของหมากรุกจีน)
จตุรงค์ หรือ Chatrang จาตุรงค์ หรือ Chatrang เป็นหมากรุกรุ่นแรกของโลก ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 สี 4 ฝ่าย เล่นโดยใช้ลูกเต๋า เป็นตัวกำหนดหมากที่จะเดิน
Shatranj Shatranj เป็นหมากรุกในยุคถัดมาแบ่งออกเป็นสองฝ่ายเหมือนหมากรุกยุคปัจจุบัน
 

ชาวอาหรับมุสลิมอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มชนชาติที่มีอิทธิพลสูงสุดในการแผ่ขยายของเกมหมากรุก ตั้งแต่เป็นที่มาของคำสำคัญที่กล่าวไปบ้างแล้วคือ Chess, Checkmate เชื่อหรือไม่ครับ มีการแข่งขันแบบปิดตาเล่นตั้งแต่ก่อนปี คศ.700 มีการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนท์ ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 8

ตำราหมากรุกก็เกิดขึ้นในช่วงนี้ ว่าด้วยการเปิดหมาก ปัญหาหมากกล(ภาษาอาหรับคือ Mansubat) เท่านั้นไม่พอยังมีการเปรียบเทียบระหว่างหมากรุกของทางเปอร์เซียกับแบบฮินดูแถมท้าย เรียกได้ว่าครบเครื่องเรื่องหมากรุกจริงๆ ทว่าเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ปัจจุบันตำราล้ำค่าเล่มดังกล่าวได้สูญหายไปจากพิพิธภัณฑ์อย่างไร้ร่องรอย...!

แต่ก็ยังโชคดีครับ ที่ทางพิพิธภัณฑ์แห่งชาติยูโกสลาเวียยังมีต้นฉบับอีกเล่มซึ่งเขียนขึ้นราวต้นศตวรรษที่ 9 เป็นตำรา Mansubat(ปัญหาหมากกล) ถูกค้นพบและนำออกแสดงในปีคศ.1958

ในจำนวนนั้นมีหมากกลเด็ด ๆ ที่เลื่องชื่ออยู่หลายกล สุดยอดหมากกลหนึ่งชื่อ "The Dilaram Mate" กล่าวถึงกระทาชายนาม Dilaram เป็นนักหมากรุกและนักพนันตัวยงเพียงแต่แกมีนิสัยค่อนข้างหุนหันพลันแล่นโดยไม่ยั้งคิด จนในที่สุดครั้งสุดท้ายแพ้ติดต่อกันจนหมดเนื้อหมดตัว แต่อย่านึกว่าจะพอแค่นั้น แกก็ยังเดิมพันด้วยภรรยา! ที่สำคัญคือคนที่เล่นด้วยก็รับเดิมพันนี้ซะด้วย และด้วยความเลินเล่อประมาทของ Dilaram ดูเหมือนเทพีแห่งชัยชนะจะโบกบินไปยังฝ่ายตรงข้าม แต่ภรรยาของแกเห็นรูปหมากแล้วกลับคิดขึ้นได้ว่าถ้าให้ฝ่ายตรงข้ามกินเรือสองลำจะพลิกกลับมารุกจนได้ภายในสามตา!!! หลังจากกระซิบบอกสามี นาย Dilaram ก็เอาชนะไปได้ และได้สิ่งที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนกลับมา นี่คืออานุภาพของหมากกลรูปนี้

ทีนี้ลองมาดูคำศัพท์ที่ใช้เรียกตัวหมากของเปอร์เซียกันครับ

ตัวหมาก อาหรับ ความหมาย  
King Al Shah ราชา  
Queen Al Firzan นักวิทยาศาสตร์  
Bishop Al Fil ช้าง  
Knight Al Faras ทหารม้า  
Rook Al Rokh กำแพง  
Pawn Al Beizaq พลราบ  
 

หลังจากนำหมากรุกเข้าสู่ยุโรป ก็ปรากฏบันทึกเกมที่เลื่องชื่อขึ้นมามากมาย ที่เด่นมากคือบันทึกของกษัตริย์สเปน "Alfonso ผู้ปราดเปรื่อง" ในปี 1283 ซึ่งผลงานชิ้นนี้มีภาพสีประกอบกว่า 150 ภาพ มีการเล่นปิดเกมที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมอาหรับ

Zatrikion

หมากรุกแห่งเมืองอิสตันบูลสมัยโบราณ Zatrikion เล่นอยู่บนกระดานทรงกลม ทั้งตัวหมากและวิธีการเดินเป็นแบบเดียวกับของอาหรับ

 
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คงจะเห็นแล้วนะครับว่า หมากรุกมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา, สถานที่, อารยธรรม จนมาถึงปัจจุบัน ในอนาคตใครจะหยั่งรู้ว่าเกมอัจฉริยะนี้จะเปลี่ยนไปในรูปแบบใด
หน้าก่อน[ดูหน้า 1 | 2]

มีข้อสงสัยหรือคำแนะนำกรุณาติดต่อ [email protected]
Hosted by www.Geocities.ws

1