ChessSiam เวบในเครือ SiamBoardGames
เกี่ยวกับผู้จัดทำ
Links
SiamGo
ChessSiam
SiamBoardGames
ChessSiam
เกี่ยวกับหมากรุก
พัฒนาฝีมือ
เล่าสู่กันฟัง
กระทู้สนทนา
พัฒนาฝีมือ
   
เครือเวบ สยามบอร์ดเกมส์
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด
10 ตุลาคม 2543
ระยะเปิดเกม
การเปิดหมาก(1) 10 ตุลาคม 2543 • การจำแนกระยะหมาก • หลักเบื้องต้นการเปิดเกม • รูปหมากเบื้องต้น
การเปิดหมาก(2) 3 ธันวาคม 2543 • การจำแนกรูปหมากเปิดเกม • การวิเคราะห์รูปหมาก
 
ระยะกลางเกม
ยุทธศาสตร์(1) • แนะนำหลักยุทธศาสตร์หมากรุก • การวิเคราะห์การเป็นต่อ-เป็นรอง
 
ระยะปิดเกม
การไล่-หนี(1) • การจำแนกประเภทหมากไล่-หนี • การวิเคราะห์โอกาสแพ้-ชนะเบื้องต้น
หมากกล(1) • ศึกษา และประลองปัญญา
 
การเปิดหมาก
เริ่มกระบวนยุทธ
การเปิดหมาก(1)
หน้าก่อน
หน้าถัดไป [ดูหน้า 1 | 2]


กระบวนยุทธหมากรุก ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ของชาติใดก็ตามจะแบ่งขั้นตอนการเล่นซึ่งมีวิธีการคิด และวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไปเป็น 3 ระยะ คือ

  1. ระยะเปิดเกม
  2. ระยะกลางเกม
  3. ระยะปิดเกม

โดยสรุปคร่าวๆ คือ
ระยะเปิดเกมเป็นการจับจองเส้นทางลำเลียงพล ทำลายหรือหันเหเบี่ยงเบนสิ่งกีดขวาง เริ่มกลยุทธขั้นต้นของโครงสร้างเบี้ย วางตำแหน่งอาวุธหนักเบาในสภาวะพร้อมรบ
ระยะกลางเกมเป็นการใช้กลยุทธขั้นต่อมาแทบทั้งหมดเพื่อเอาเปรียบในด้านกำลังพล และเปิดเส้นทางสู่ขุนของฝ่ายตรงข้าม ทำลาย หรือเบี่ยงเบนองครักษ์ที่แวดล้อมป้องกันขุน
ระยะปิดเกม เป็นการใช้กลยุทธขั้นสุดท้ายเบียดไล่ขุนให้จนในกรณีเป็นต่อ หรือหลบหนีให้รอดในกรณีเป็นรอง

ทั้งสามขั้นตอนนี้ บางเกมอาจไม่ต้องเล่นไปถึงระยะปิดเกมก็ชี้ขาดกันที่ระยะกลางกระดานได้เลยก็มี แต่โดยทั่วไปแล้ว การที่จะฝึกฝนจนฝีมือก้าวขึ้นสู่ระดับมาตรฐาน จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในเกมทั้งสามระยะนี้เป็นอย่างดี ขาดองค์ประกอบใดไปก็จะทำให้ยากที่จะพัฒนาถึงขั้นมาตรฐานได้

สำหรับในตอนแรกนี้ เราจะมาเริ่มทำความเข้าใจกับมุมมองในระยะเปิดเกมกันก่อนครับ แต่แทนการอธิบายเชิงพรรณาโวหารว่า วัตถุประสงค์ของการเปิดหมากเป็นอย่างไรอย่างในสไตล์อนุรักษ์ ผมขอใช้ภาพตัวอย่างของรูปหมากที่มีประสิทธภาพแทน เรามามองวิเคราะห์จากผลไปสู่เหตุ เพื่อจะได้ใช้แนวคิดเดียวกันนี้ไปประยุกต์ใช้กับรูปหมากอื่นได้โดยใช้หลักเหตุไปสู่ผลได้อย่างเข้าใจครับ

 

ม้าผูกบันลือโลก
8
7
6
5
4
3
2
1
ก ข ค ง จ ฉ ช ญ  
ม้าผูกบันลือโลก

มาดูตัวอย่างทางด้านซ้ายมือนี้ เป็นรูปหมากที่ผ่านการศึกษาจากยอดฝีมือระดับประเทศ หลายยุคหลายสมัยแล้วว่า เป็นรูปที่มีประสิทธภาพสูงมาก โดยในระยะเปิดเกมจากรูปนี้ ทั้งฝ่ายสีเงิน และสีทองต่างก็เลือกเปิดหมากในรูปเดียวกัน ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในหลายกระดานของการแข่งขันศึกขุนทองคำครั้งที่ 1 (ปี 2527) ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นการเปิดยุคทองของหมากรุกขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่หลับไหลมานาน ทำให้ยอดฝีมือรุ่นต่อมาได้เกิดขึ้นอีกมากมาย หลังจากการเปิดเผยแต้มเซียนในครั้งนั้น จนในศึกขุนทองคำครั้งต่อมา รูปเปิดเกมนี้จึงได้ค่อยๆซาลง ทั้งนี้เพราะมีการวิเคราะห์เจาะลึกกัน จนกระทั่งโอกาสที่ต่างรู้รูปหมาก และการแปรกระบวนค่อนข้างสูง ซึ่งนั่นหมายถึงเอาชนะกันไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่มีฝีมือสูงกว่าจึงหลีกเลี่ยงไปใช้รูปแบบซึ่งคิดขึ้นใหม่ต่อไป

 

จริงๆแล้วรูปหมากนี้คิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2497 หรือก่อนศึกขุนทองคำครั้งที่ 1 เป็นเวลา 30 ปีพอดี โดยพระอรรคเทวินทรามาตย์ มีการตั้งชื่อรูปนี้ให้เป็นเกียรติแก่ท่านว่า "ม้าผูกบันลือโลก" (คำว่าม้าผูก และม้าเทียมจะได้อธิบายต่อไปข้างล่างนี้) นับถึงปัจจุบันก็เกือบครึ่งศตวรรษแล้ว แต่ยังคงเป็นรูป "บันลือโลก" ไม่เคยเสื่อมถอยครับ

สำหรับตอนที่ 1 นี้ เรามาลองพิจารณาดูเฉพาะรูปหมากของแต่ละฝ่ายกันก่อน โดยในตอนต่อไป จะนำรูปหมากของทั้งสองฝ่ายมาวิเคราะห์ประกอบกันนะครับ

 

จากฝั่งของผู้เล่นฝ่ายสีเงิน เมื่อเปิดถึงตานี้แล้ว จะพบว่าแทบทุกตัวผูกพันกันหมด จะมีขาดอยู่ก็คือเบี้ยตัวสาม และตัวที่เจ็ดเท่านั้น ซึ่งถึงแม้จะถูกจู่โจมก็ไม่มีทางที่จะจับกินได้ทั้งสองตัวพร้อมกัน ดังนั้นเพียงก้าวเดียวก็สามารถผูกได้ทันแล้ว นี่คือหลักข้อที่ว่า "ผูกพัน" รูปหมากที่ใช้หลักการนี้จะเหนียวแน่นแข็งแกร่ง ยากที่จะเจาะทำลายได้โดยง่ายครับ

 

4
3
2
1
ก ข ค ง จ ฉ ช ญ  
ม้าผูกบันลือโลก
4
3
2
1
ก ข ค ง จ ฉ ช ญ  
ม้าเทียมอิทธิฤทธิ์

แต่ถ้าจะยกตัวอย่างรูปหมากที่เน้นความเหนียวแน่นยิ่งกว่า ก็น่าจะเป็นรูป"ม้าเทียมอิทธิฤทธิ์" ที่เห็นทางด้านซ้ายมือนี้ โดยจะเห็นได้เลยว่า ตัวหมากตั้งแต่แถวสองขึ้นไป ไม่มีตัวใดที่ไม่ผูกพันกันเลย แม้กระทั่งเรือทั้งสองที่แถวล่าง เพียงขยับขุนขึ้นไปก้าวเดียวก็พร้อมที่จะผูกกันได้ทันทีแล้ว ดังนั้นรูปนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ตั้งรับ และก็จะพบในการแข่งขันลักษณะนี้อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่ผู้เล่นเพียงเอาเสมอก็จะชนะการแข่งขัน ก็จะหันไปยึดรูปเหนียวแน่นเพื่อความมั่นใจกันครับ

 

และถึงตรงนี้ก็ขอถือโอกาสอธิบายถึงคำว่าม้าผูก และม้าเทียม สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก

  • ม้าผูก หรือม้าโยงนั้นละคำว่า "ขวา"ไว้เป็นที่เข้าใจ หมายถึงรูปที่ม้าผูกกันอยู่โดยตัวสูงอยู่ทางด้านขวาดังรูปม้าผูกบันลือโลกนั่นเอง โอกาสต่อไปก็จะได้พบรูปม้าซ้าย หรือม้าโยงซ้ายซึ่งกลับเอาม้าสูงมาอยู่ทางด้านซ้ายแทน
  • ม้าเทียม ในสมัยก่อนใช้ชื่อเต็มว่า "ม้าเทียมรถ" ซึ่งเห็นภาพพจน์ได้ทันทีว่าม้าทั้งสองจะต้องวางคู่กัน ดังรูปม้าเทียมอิทธิฤทธิ์ครับ

 

สำหรับรูปม้าผูกบันลือโลกเอง ถ้าย้ายโคนขวามาวางถัดไปทางขวาอีกหนึ่งก้าว ก็จะเน้นความเหนียวแน่นมากขึ้น กลายเป็นรูป "ม้าผูกอิทธฤทธิ์" เป็นรูปที่นิยมกันมากอีกรูปหนึ่ง เพราะขุนสามารถเลือกขึ้นได้ทั้งสองทาง คล่องตัวในการตั้งรับและป้องกันขุน แต่จะขาดความยืดหยุ่นของโคนขวา ที่ไม่สามารถก้าวเข้าสนับสนุน "ยุทธภูมิกลางกระดาน" ซึ่งเป็นอีกหลักการหนึ่งของการเปิดหมากได้อย่างทันท่วงที

 

4
3
2
1
ก ข ค ง จ ฉ ช ญ  
ม้าผูกอิทธฤทธิ์
4
3
2
1
ก ข ค ง จ ฉ ช ญ  
ม้าผูกบันลือโลก แปรขบวน เบี้ย ก4

กลับมาที่รูปม้าผูกบันลือโลกอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้วรูปนี้ไม่เน้นการขึ้นขุน ซี่งอาจจะขัดกับความรู้สึกของมือใหม่ที่มักจะกริ่งเกรงว่าเรือทั้งสองจะไม่ผูกพันกัน ทำให้ถูกแต้มหลอกกินเบี้ยที่ริมกระดาน ซึ่งจัดเป็นแต้มที่รู้จักกันดีตั้งแต่ขั้นฝีมือระดับอนุบาลทีเดียว ทั้งนี้เพราะเน้นหลัก "รวดเร็ว" โดยจะไม่มีการเดินแต้มที่ไร้ประโยชน์แม้แต่ก้าวเดียว

จากรูปทางซ้าย จากรูปหลัก ตาเดินต่อไปเรียกว่า "การแปรขบวน" ซึ่งมีหลากหลายแบบ บ้างเน้นโครงสร้างเบี้ย บ้างเน้นการบุกด้านริม บ้างเน้นตีกลางกระดาน โดยในรูปนี้เดินเบี้ยทางซ้ายสุด(ก3)ขึ้นสูง เพื่อเอาเปรียบเบี้ยนอกเบี้ยใน เป็นไปตามหลักยุทธภูมิกลางกระดาน ดังจะได้อธิบายในตอนต่อไป

 

ส่วนรูปนี้ แปรขบวนโดยเดินโคนซ้ายขึ้นสูงริมกระดาน เพื่อหนุนเบี้ยตัวที่สองขึ้นสูงต่อไป รูปนี้เป็นการแปรขบวนยอดนิยมในยุคขุนทองคำครั้งแรกๆก็ว่าได้ มีชื่อเฉพาะว่า "โคนก้าวร้าว" ซึ่งแต้มค่อนข้างดุดันสมชื่อ ทั้งนี้การวิเคราะห์จะต้องมองรูปหมากทั้งสองฝ่าย ดังนั้นจะได้นำมาอธิบายต่อในตอนต่อไปเช่นกันครับ

 

4
3
2
1
ก ข ค ง จ ฉ ช ญ  
ม้าผูกบันลือโลก แปรขบวนโคนก้าวร้าว
   

ทบทวนสำหรับตอนนี้ หลักการเปิดหมากที่ผมพูดถึงไปแล้วก็คือ

  • ผูกพัน
  • ยุทธภูมิกลางกระดาน
  • รวดเร็ว

โดยจะได้นำมาย้ำอีกครั้งในตัวอย่างต่อไปครับ

  
หน้าก่อนหน้าถัดไป [ดูหน้า 1 | 2]

มีข้อสงสัยหรือคำแนะนำกรุณาติดต่อ [email protected]
Hosted by www.Geocities.ws

1