ระยะเปิดเกม
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะกลางเกม
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะปิดเกม
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
เริ่มกระบวนยุทธ การเปิดหมาก(2) ![]() ![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ซึ่งแต่ละรูป จะได้นำมาแจกแจงข้างล่างนี้ต่อไป
แต่โดยภาพรวมแล้ว เกิดจากตำแหน่งของม้าทั้งสอง ทั้งนี้เพราะวิถีของม้านับได้ว่าเร็วที่สุด
และไกลที่สุดในระยะเปิดเกม ซึ่งเรือจะยังไม่มีบทบาทนักในระยะนี้ จนกว่ากระดานจะเริ่มเปิดโล่ง
อาจมีรูปหมากบางรูปที่แหวกตำราออกไป โดยเริ่มต้นที่การเดินซ้อนเรือ อย่างรูปเรือมหศวรของอดีตแชมป์ประเทศไทย
สุรการ วงษ์นิล "โคนสุรการ" ใช้ในการแข่งขันศึกขุนทองคำ แต่ก็ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จนัก
จึงไม่เป็นที่นิยมครับ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นอกจากตำแหน่งม้าแล้ว องค์ประกอบอื่นที่สำคัญก็คือ ตำแหน่งหมากใหญ่ตัวอื่น อาทิ โคนทั้งซ้าย และขวา, ตำแหน่งเม็ด โดยที่โครงสร้างเบี้ย ก็จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งหมากใหญ่เหล่านี้ และโครงเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามประกอบกัน ส่วนตำแหน่งขุน ในหมากรุกยุคปัจจุบันมักจะเคลื่อนตำแหน่งขุนในขั้นตอนแปรขบวน หรือแม้กระทั่งระยะกลางเกมเสียมากกว่า ซึ่งนำมาจากแนวคิดของสุดยอดแชมป์ประเทศไทยผู้ยิ่งใหญ่ สม บรมสุข "อาจารย์เหงี่ยม" ที่ให้ความสำคัญกับตำแหน่ง และการเดินขุนอย่างยิ่ง ตำแหน่งโคนขวาที่ใช้ในระยะเปิดเกมในยุคปัจจุบัน ที่มีประสิทธิภาพจะมี
ส่วนตำแหน่งโคนซ้าย ซึ่งจะสนับสนุนการแปรขบวนชิงเอาเปรียบฝั่งซ้ายนั้น มีตำแหน่งสำคัญคือ
และตำแหน่งเม็ดก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนเลยครับ โดยอาจจำแนกเป็น
ซึ่งตำแหน่งของหมากสำคัญเหล่านี้
อาจประกอบขึ้นด้วยสูตรประกอบที่ต่างกันเท่าที่เป็นไปได้ ส่วนกรณีที่เป็นไปไม่ได้ยกตัวอย่างเช่นโคนนายผล
กับม้าโยงขวา ไม่สามารถใช้ด้วยกันได้ เพราะใช้ตำแหน่ง ฉ3 ทั้งคู่ครับ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.ม้าผูก หรือม้าโยงขวา(ง2, ฉ3) จากนิยามคำต่างๆ ที่กล่าวข้างบน เราอาจเรียกรูปม้าผูกบันลือโลก ให้เห็นภาพได้เลย โดยเรียกว่า "ม้าโยงขวา โคนไขว้ใน เม็ดสูง(โคนสุรการ)" โดยในวงเล็บหมายถึงโคนซ้าย บางท่านอาจเรียกตรงๆ ว่าโคน ข3 ซึ่งมักจะเป็นส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการแปรขบวนต่อไปนั่นเอง ซึ่งรูปโคนสุรการนี้ อาจส่งแม่บทแปรขบวนเป็น เบี้ย ก4 หรือโคนก้าวร้าวต่อไป ดังที่กล่าวไปบ้างแล้วในบทก่อน
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
2.ม้าเทียม(ง2, จ2) ส่วนรูปม้าเทียมอิทธิฤทธิ์ ก็อาจเรียกในสไตล์นี้ได้ว่า "ม้าเทียม เม็ดสูง โคนผูกเม็ด(โคนสุรการ)" ในทำนองเดียวกัน ซึ่งการเรียกแบบนี้ทำให้ไม่ต้องไปจดจำชื่อซึ่งมีอยู่มากมายให้ยุ่งยาก และเป็นที่นิยมในหมู่นักหมากรุกระดับเซียนทั้งหลาย เพียงแต่ขาดอรรถรส และลีลาของชื่อกระบวนท่า ที่ครูหมากรุกรุ่นก่อนบรรจงประดิษฐ์ไว้ให้ ก็แล้วแต่ความถนัด และความชอบครับ แต่ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม การเรียกเพียงสั้นๆ ว่า ม้าผูก ม้าเทียม ฯลฯ ไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนากระบวนยุทธขึ้นไปสู่ระดับมาตรฐานแน่นอนครับ สำหรับในคอลัมน์พัฒนาฝีมือของหมากรุกสยาม ก็จะได้นำการเรียกทั้งสองแบบมานำเสนอให้ได้รู้จักกัน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.ม้าซ้าย หรือม้าโยงซ้าย(ค3, จ2) รูปด้านขวานี้ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นรูปมาตรฐานของม้าซ้าย แต่ก็จะมีเซียนบางท่านพลิกแพลงไปจากนี้บ้าง และถ้าเราจะเรียกกันให้แน่นอนว่าเป็นรูปนี้ ก็อาจใช้ว่า "ม้าซ้าย เม็ดไขว้ใน โคนขุนพล" ซึ่งโคนขุนพลก็อาจใช้เป็นโคน ง3 ตรงๆ ได้เช่นกัน ส่วนโคนขวาขึ้นตรงตามปกติ แต่ไม่ได้ผูกเม็ด เพราะเม็ดไปไขว้ในซะแล้ว เพราะฉะนั้นในกรณีอาจใช้คำเรียกว่า โคนตั้ง รูปม้าซ้ายเป็นรูปบุกที่ถ้ารับไม่เป็นจะอันตรายอย่างยิ่ง เพราะจะเห็นได้ว่า ถ้าดูจากรูป การใช้โคนแทนเม็ด ทำให้อาวุธหนักทำงานได้รวดเร็วกว่าม้าโยงขวาซะอีก จนต้องมีตำรามากมายว่าด้วยการพิชิตม้าซ้ายโดยเฉพาะ
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
4.ม้ามังกร หรือม้าคู่(ค3, ฉ3) ม้ามังกรเป็นรูปหมากอีกรูปที่มีการบุกรุนแรง มีรูปแบบได้มากมาย เพราะมีที่ว่างแถว 2 ให้เลือกวางหมากตัวอื่นอย่างสบายๆ รูปที่ยกมาเป็นรูปที่อดีตแชมป์ประเทศไทย ปรีชา สินประยูร "ม้าปรีชา" นำมาใช้ตอนเดินหมากขาวกับ อดีตแชมป์ประเทศไทยเช่นกัน วิรัช เลิศมวลมิตร "เซียนซ้ง" ซึ่งตั้งรับด้วยรูปม้าอุปการขวา ในศึกขุนทองคำครั้งที่ 3 โดยรูปด้านซ้ายนี้ อาจเรียกเต็มๆ ว่า "ม้ามังกร เม็ดสูง โคนผูกเม็ด(โคนปกติ)" เนื่องจากรูปม้าซ้าย หรือม้ามังกร และแม้กระทั่งม้าอุปการ จะมาใช้กันแพร่หลายก็ในยุคปัจจุบันแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีชื่อประดิษฐ์ออกมาเหมือนม้าโยงขวา และม้าเทียม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5.ม้าอุปการซ้าย(ก3, จ2) รูปเปิดรูปนี้มีมาแต่โบราณ แต่สุชาติ ชัยวิชิต "เซียนป่อง"เคยงัดเอาใช้เป็นอาวุธไม้ตายปราบยอดฝีมือทุกคน แม้กระทั่งวีระพล สุนทรพงษาทร "หนูทอง" ในศึกขุนทองคำครั้งที่ 5 จนระบือลือลั่น จากรูปด้านขวานี้เซียนป่องใช้พิชิต สุรศักดิ์ เชื้อชวลิต "สิงห์ร้ายฉะเชิงเทรา" ถ้ามาเรียกตามหลักการที่เราใช้ก็คือ "ม้าอุปการซ้าย เม็ดไขว้ใน โคนตั้ง(โคนปกติ)"
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
6.ม้าอุปการขวา(ง2, ญ3) รูปด้านซ้ายนี้ คือรูปที่เซียนซ้ง ใช้เดินหมากดำ รับรูปเปิดในข้อ 4."ม้ามังกร" ของม้าปรีชาข้างบน ผลของกระดานนี้คือ เสมอ การเรียกชื่อโดยดูจากรูปหมากคือ "ม้าอุปการขวา เม็ดต่ำ โคนไขว้ใน(โคนสุรการ)" |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในขั้นสูงอาจมีเรื่องของรูปเปิดที่เตรียมไว้ก่อนด้วยก็ได้ โดยส่วนใหญ่หมากขาวจะเป็นหมากบุก เพราะมีโอกาสเดินก่อน แทบทุกรูปจะใช้เป็นฝ่ายขาวได้ทั้งสิ้น ยกเว้นม้าอุปการขวาที่ไม่ค่อยพบใช้ในการบุก แต่ที่เน้นบุก ไม่เน้นรับคือม้ามังกร และม้าซ้าย โดยเฉพาะม้าซ้ายนั้น เท่าที่เซียนแหว่งได้กรุณาวิเคราะห์ ถ้าฝ่ายขาวเปิดม้าซ้าย ฝ่ายดำรับด้วยม้าซ้ายก็จะเสียเปรียบทันที ดังนั้นจึงไม่พบในการแข่งขันที่จะมีฝ่ายดำนำรูปม้ามังกร และม้าซ้ายไปใช้ แต่ทั้งนี้เซียนแหว่งก็ยังคอมเมนท์เพิ่มเติมว่า ถ้ามีการถอดหมาก และใช้การเดินที่แหวกรูปกันมากกว่านี้ เราอาจจะได้ข้อสรุปที่ต่างออกไป และนั่นก็คือพัฒนาการอีกก้าวของหมากรุกไทยครับ สำหรับรูปตั้งรับที่ดีที่สุด แทบจะไม่มีทางคัดค้านว่า ม้าเทียม รับได้ทุกรูปแม้กระทั่งม้าซ้าย ในขณะที่ถ้าใช้ม้าโยงขวารับม้าซ้าย ก็เสียเปรียบเช่นกัน ส่วนม้าอุปการซ้ายที่เซียนป่องใช้เป็นไม้ตายในศึกขุนทองคำครั้งที่ 5 นั้น เป็นที่ฮือฮากันไปพักใหญ่ว่าจะเป็นรูปหมากที่ดับรัศมีรูปม้าโยงขวาลงได้เชียวหรือ แต่ในที่สุดหลังจากผ่านวันเวลา มีการถอดหมากวิเคราะห์กันแล้ว การณ์กลับปรากฏว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายรู้รูปหมากแล้ว ม้าโยงขวาก็ยังคงเป็นต่อครับ เพราะเป็นรูปที่ใช้ประสิทธิภาพของม้าได้ดีกว่านั่นเอง ขอขอบคุณเซียนแหว่งที่ได้กรุณาถ่ายทอดความรู้ในส่วนนี้ให้ และจะตามไปขอคำปรึกษาอีกในโอกาสต่อไปครับ : ) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีข้อสงสัยหรือคำแนะนำกรุณาติดต่อ
[email protected]
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||