ChessSiam เวบในเครือ SiamBoardGames
เกี่ยวกับผู้จัดทำ
Links
SiamGo
ChessSiam
SiamBoardGames
ChessSiam
เกี่ยวกับหมากรุก
พัฒนาฝีมือ
เล่าสู่กันฟัง
กระทู้สนทนา
เกี่ยวกับหมากรุก
   
เครือเวบ สยามบอร์ดเกมส์
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด
6 ตุลาคม 2543
หมากรุกสากล
Chess
หมากรุกสากล

กฎกติกามารยาท(2/2)
หน้าก่อน
หน้าถัดไป [ดูหน้า 1 | 2]

กระดาน

กระดาน • ตำแหน่งเริ่มต้น
ตัวหมาก และการเดิน
คิง • ควีน • รุค • บิชอป • ม้า • เบี้ย
การเดินพิเศษ

การเดินเข้าป้อม(Castling)

การแพ้-ชนะ-เสมอ

จุดหมายแห่งชัยชนะ • การเสมอ

 
 
 
 
 
  การเดินเข้าป้อม(Castling)
ตำแหน่งก่อน Castling

วิธีเข้าป้อม

ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระยะเปิดเกม เพื่อให้คิงอยู่ในที่ปลอดภัย และรุคทั้งสองสามารถผูกพันส่งอิทธพลถึงกันได้ ทำโดยคิงก้าวกระโดดสลับข้างกับรุค ทำได้ทั้งฝั่งคิง(โดดไปที่ช่องสีแดง) และฝั่งควีน(โดดไปที่ช่องสีน้ำเงิน) จะปรากฏผลดังรูปด้านล่างทั้งสอง

Castling ฝั่งคิง
เข้าป้อมด้านคิง
Castling ฝั่งควีน
เข้าป้อมด้านควีน

ข้อยกเว้น

ไม่สามารถทำการ Castling ได้ ถ้า

  • คิงกำลังถูกรุก
  • ระหว่างทางมีหมากตัวอื่นขวางอยู่
  • ระหว่างทางที่คิงกระโดดมีตาที่ฝ่ายตรงข้ามสามารถเดินถึงได้ เช่นผ่านตารุคฝ่ายตรงข้ามที่คั่นอยู่
  • ถ้าก่อนหน้านั้นคิงได้มีการเดินมาก่อนแล้วแม้แต่ครั้งเดียว
  จุดหมายแห่งชัยชนะ
รุกจน รุกคิงจน ฝ่ายไล่เดินเข้ารุก(การขู่ว่าจะกินคิง) แล้ว
1. ฝ่ายหนีไม่สามารถหนีคิง ให้พ้นตากินของฝ่ายไล่ได้
2. ฝ่ายหนีไม่สามารถป้องกันคิง จากตารุกของฝ่ายไล่ได้ (กรณีใช้ควีน, บิชอป หรือรุครุก)
3. ฝ่ายหนีไม่สามารถกินตัวรุก(ที่ขู่ว่าจะกินคิง)ได้
จากรูป ม้ากำลังรุกคิง จะเห็นว่า คิงฝ่ายหนีไม่มีตาหนีเลย อย่างนี้เรียกว่า รุกจนครับ  ยอมแพ้ เห็นท่าไม่ดี หรือไม่มีประโยชน์ที่จะทู่ซี้เล่นต่อไป ก็ยอมแพ้ซะ และแน่นอนครับว่า ฝ่ายที่ยอมแพ้ ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้ ส่วนอีกฝ่ายก็ชนะไป
หมดเวลา ในกรณีที่มีกำหนดเวลา ฝ่ายใดไม่สามารถควบคุมเวลาของตนได้ ย่อมเป็นฝ่ายแพ้ครับ
  การเสมอ
ตาอับ เข้าตาอับ เมื่อฝ่ายหนึ่ง ไม่มีตาเดินที่สามารถจะเดินได้ หรือถ้าเดินแล้วจะถูกกินคิง เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การเข้าตาอับ ให้เสมอกันครับ ดังนั้นถ้าได้ไล่อีกฝ่ายก็อย่าเพลินนัก ระวังให้ดีว่าจะเข้าตาอับนะครับ
จากรูป ถ้าเป็นตาเดินของฝ่ายสีทอง ก็แน่นอนว่า จะต้องเอาม้ามารุกจน ดังรูปข้างบนก่อนโน่น แต่ถ้าเป็นตาเดินของฝ่ายสีเงินล่ะ? แน่นอนว่า ในเมื่อคิงไม่มีตาเดิน แต่ไม่ได้ถูกรุกอยู่ อย่างนี้ล่ะครับ ที่เรียกว่า ตาอับ ต้องเสมอกัน ตกลงเสมอ เมื่อทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจกัน เพราะเห็นว่าไม่มีทางที่แต่ละฝ่าย จะสามารถไล่คิงฝ่ายตรงข้ามถึงจนได้ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเดินต่อ เสมอกันไปได้เลยครับ
เดินซ้ำ, รุกล้อ ถ้ารูปของตัวหมากบนกระดาน มีตำแหน่งซ้ำกันถึง 3 ครั้ง 3 ครา โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตาเดินติดต่อกัน ให้ถือว่าเสมอครับ กรณีนี้จะเห็นได้ว่า คล้ายกับ Ko ในหมากล้อม เพียงแต่ในหมากล้อม จะไม่ยอมให้เกิดรูปซ้ำเลยแม้แต่ครั้งเดียว และเป็นกฏห้ามเดินไปเลย
หน้าก่อน หน้าถัดไป[ดูหน้า 1 | 2]

มีข้อสงสัยหรือคำแนะนำกรุณาติดต่อ [email protected]
Hosted by www.Geocities.ws

1