การทำงาน ของ ระบบไฟฟ้าในเครื่องยนต์ การตั้งไฟ

       ก่อนนอื่น เราต้องมาทำความเข้าใจ ระบบไฟฟ้า และการทำงานก่อน เพราะหาก เข้าใจ ตรงนี้ มันก็ เป็น สิ่งที่ง่าย แก่ การวิเคราะหห์ หรือ หาสาเหตุกรณึเกิดอาการ รวนๆ ในระบบ ว่าทำมัย รถ เรานี้ วิ่ง เด้งหน้า เด้ง หลัง อยู่ได้ ไม่ ฉิว เฉียดกระฉู๊ด เหมือน บางคัน เลย

 

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวพันกับเครื่อง ยนต์ ที่สำคัญๆ ก็ ได้แก่ จานจ่าย ที่เรียกว่าDistributor ซึ่งตรงนี้จะประกอบด้วย ทองขาว breaker point และตัวเก็บประจุ ที่เรียกว่า Condenser หรือ Capacitor จากนั้นอุปกรณ์ร่วม ก็ คือ Coil หรือ เรียกกับแบบเต็มยศ ต้องเรียก Transformer Coil และหัวเทียน spark Plug การทำงานทองขาวทำหน้าที่ เป็นสวิสท์ คอยเปิดปิดวงจรไฟฟ้า ให้กระแสไหลผ่านไปครบวงจร ที่ คอยล์ ทำให้ มันสามารถผลิตไฟฟ้าแรงสูงเป็น พันโวลท์ส่งไปยังหัวเทียนได้ นั่นก็ คือการเปิดปิด ของมัน เปรียบเสมือนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพราะลำพัง หาก เอาไฟกระแสตรงไปผ่าน คอยล์ อย่างเดียว มันจะไม่สามารถผลิตไฟแรงสูงได้ เนื่องไม่เกิดการเหนี่ยวนำ ทาง สนามแม่เหล็ก พูดมาแค่นี้ เริ่ม มึน กันแล้ว ใช่ ไหมสรุป คอยล์ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้า จาก 12 โวลท์ เป็น พันๆโวทย์ โดยใช้ทองขาวทำหน้าที่ เปิดปิดวงจร ให้ ไฟฟ้าที่ผ่านตัวมันเป้นคล้ายกระแสสลับ โดยใช้ แค้มป์ลูกเบี้ยว(Cam) เป็นตัวกำหนดจังหวะ แต่แค้มป์ จะมีกี่ด้าน ก็ ขึ้นกับ จำนวนลูกสูบ ของเครื่องยนต์ เอาเป็นว่า ของโฟลคมี4ด้าน เพราะมันมี4 สูบ โดยมันจะเอาไฟจากแบตตารี่ มาผ่านวงจรคอยล์ ทางด้าน Primary Coil หรือ ที่เรียก ว่า ขดลวดปฐมภูมิ แปลเป็นไทย แล้ว ฟัง ยาก นะ ไปครบวงจรที่ หน้าทองขาว ในตำแหน่ง ทองขาวปิด และ คอนเด็นเซ็อร์ ทำหน้าที่ คอย เก็บประจุไฟฟ้า และ คลายประจุไฟฟ้า  

            จากนั้น ก็จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางสนามแม่เหล็ก ไปตัดกับ ขดลวด ทาง ทุติยภูมิ (Secondary Coil) ตามอัตราส่วนของจำนวนขดลวด นั่น คือ ขดทาง ทุติยภูมิ จะพันไว้ มากรอบกว่าทาง ปฐมภูมิ มากเป็นพันๆรอบ จึงทำให้ เกิด ไฟแรงสูงที่ขดลวดนี้ได้ไง เป็น พันๆโวลท์ ส่งไปหัวเทียน ไง ฟังแล้ว เริ่มเหนื่อย หรือ ยัง ที่บอกมาทั้งหมด แค่ ว่า หลักการทำงานแบบคร่าวๆ แต่ ตอนนี้ การเปิดปิด ของหน้าทองขาว เพื่อทำให้ เกิดไฟแรงสูง นะ จะต้องมีความสัมพันธ์ กับการหมุนของเครื่อง ยนต์ และ ตำแหน่ง ของลูกสูบ เราถึงต้องปรับ และ เรียกกันแบบชาวบ้าน ว่า ตั้งไฟ ไง แล้ว เราจะตั้งไฟ เมื่อไรบอกให้ แบบ ง่ายๆ คือ

ว่าด้วยการเปลี่ยน หน้าทองขาว ก่อนตั้งไฟ

      ทองขาว เนี่ย บางที เขาก็ เรียกว่า Ignition point แทนคำว่า Breaker point แล้วแต่ตำรามาจากสำนักไหน ตัวของมันเอง ทำมาจากโลหะทังสะเตน เคลือบด้วย ทองคำขาว หรือ แพ๊คตินั่ม(ทองคำขาว จะมีความแข็ง สูง ทนต่อการความร้อนสูงๆได้) ของโฟลค ก็ ใช้ของยี่ห้อ Boss เวลาไปซื้อไม่ต้องสนใจหรอกรุ่นไหน ดูจากข้างกล่อง ได้ เลย มีระบุรุ่น ไหม แต่ ต้อง ดูแบบว่า เป็นแบบด้าน ออก หรือ เข้า (ทางที่ดี ถือของเก่า ไปด้วย วิ่งกลับมาเปลี่ยนใหม่ ไม่สนุกแน่ โถ ใน กทม. รถติดยังกะอะไร ดี)

การเปลี่ยน ควรถอดหัวจานจ่าย ออก มาเปลี่ยน ข้างนอก จะง่ายกว่า แถม ยังตกแต่ง ได้ปราณีต อีก ซึ่ง จะบอก วิธีการถอด

มุม CAM หรือ Dwell Angle เป็นเรื่องสำคัญ การปรับเปลี่ยนหน้าทองขาว จะต้องมีการตั้ง ระยะห่างของหน้าทองขาวให้ ห่าง กันตามสเปคที่เครื่องยนต์ กำหนดไว้ ของโฟลค ที่ 0.016 นิ้ว จะได้ Dwell ที่ 54 องศา แต่ สเปคก็ กำหนดไว้อีก ว่า ประมาณ 44-54 องศา เพราะใช้ๆไป ตัวหนอนย่อมสึก ค่า มุมที่ว่า จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ การตั้ง มุม

1.condenser 2.Oil drill 3.Return spring  4. Ground Connection  5.Pull Rod  6.Low tension Cable 7.Breaker Arm Spring  8. Insulator  9.  Hexagon Screw  10. Condenser Cable 11. Breaker Arm  12. Beaker Point  13. Retaining Screw 14.Pin and Adjusting Slot

ภาพ ภานใน จานจ่าย และ ชิ้นส่วนต่างๆที่สำคัญ

การปรับแต่ง หน้าทองขาว แบบ ไม่ถอดชุดจานจ่ายยออก

1. เปิดฝาครอบ จานจ่าย และดึง หัวนกกระจอก ออก

2. หมุน เครื่องยนต์ ไปที่สูบ1 ให้ รอยมาร์ ของ เพลา ข้อเวี่ยงตรงกับ รอย ต่อ ของเครื่อง

3. ครายสกรู ตำแหน่ง 13 ด้วย ไขควง อาจจะต้องใช้ ไขควง ที่ด้ามยาว เพื่อมีแรงบิด มาก หน่อย เพราะตำแหน่งนี้ จะต้อง ยึดแน่น กัน เคลื่อน( หาก เคลื่อน แล้ว บางที ผิดตำแหน่งไป ละก็ ยุ่ง เชียว เครื่องยนต์ สตาร์ต อย่าง ไร ก็ ไม่ติด)

4. สอดไขควงเล็กๆ ลงไปที่ ปุ่ม หมายเลข 14 เพื่อช่วยในการปรับ ระยะ แล้ว เอา สอดฟินเลอร์เกจ ขนาด 0.016 นิ้ว ลงไป( อาจต้อง ใช้ ขนาด 0.010+.004) ปรับระยะจนได้ที่

5.ขันสกรู ตรงตำแหน่ง 13 ให้ แน่น เชียว

แต่หาก ท่าน ถอด ออกมาตั้ง ด้านนอก ให้ หมุน เพลาให้ ตรงตำแหน่ง ให้ ดีของ สูบ 1 (ทำมัย ไม่ใช้ สูบอี่น ขอบอกว่า ของโฟลครุ่นใหม่ๆ ระยะ สูบ3มันจะลาดน้อยกว่า)หาก ยังไม่ช่ำชอง แนะนำ แบบไม่ถอด จานจ่ายก่อน แล้ว ค่อย เลื่อนลำดับชั้น กัน เละ

หม่องฯ 18/11/2000

  NEXT                                              Menu

1