วัยและเพศของแมววัย
เมื่อแมวของคุณมีอายุมากขึ้นก็จะเคลื่อนไหวช้าลง ต่อมรับรสที่ลิ้นก็อาจเปลี่ยนแปลงไป และอาจจะเปลี่ยนมารักสันโดษหรือเรียกร้องความสนใจอะไรมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเลี้ยงแมวชราไว้ จงอย่าทึกทักว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในด้านพฤติกรรมล้วนเป็นผลมาจากการที่แมวมีอายุมากขึ้น ทั้งนี้ความอยากอาหารและกิจกรรมที่เปลี่ยนไปอาจมีอาการเจ็บป่วย เช่นต่อมไทรอย์ทำงานมากผิดปกติหรือไตวาย เป็นต้นเหตุก็ได้ จึงนับเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับวัยกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตาอาจเกิดจากการสะสมของพังผืดในเลนส์ของตาซึ่งไม่อาจเลี่ยงได้ ( ตาเป็นต้อ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับวัย ) หรือเกิดจากเชื้อไวรัส (เป็นปัญหาสุขภาพ )
เรื่องเกี่ยวกับเพศ
แมวตัวเมียในฤดูที่เป็นสัดอาจสร้างความประหลาดใจให้แก่เจ้าของที่ไม่เข้าใจในพฤติกรรมแมวได้ เพราะมันอาจร้องครวญคราง โหยโหน เดินลากขาไปทั่ว ราวกับมีอาการบาดเจ็บที่หลังตอนปลาย พฤติกรรมทั้งหมดดังที่กล่าวมาล้วนง่ายต่อการตีความว่าแมวกำลังเจ็บปวดและบาดเจ็บ แมวตัวเมียอาจดื่มน้ำมากผิดปกติ กินอาหารยากขึ้น และบางตัวนิสัยขับถ่ายก็เปลี่ยนไป รวมทั้งจะปัสสาวะถี่ขึ้นและถ่ายนอกเขตขับถ่ายปกติ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับฮอร์โมนที่เป็นปกติ และเซื่องซึม อาจเป็นอาการของการติดเชื้อพยาธิที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ถ้าแมวของคุณไม่ได้ทำหมัน คุณควรเฝ้าสังเกตแมวอย่างใกล้ชิด และเรียนรู้ว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมปกติของวงรอบการเป็นสัด หากทำได้ตามนี้ คุณก็จะเข้าใจได้ดีว่า เมื่อใดที่แมวของคุณแสดงอาการบ่งชี้ว่าป่วย
แมวตัวผู้ที่แข็งแรงดี การปรากฏตัวของตัวเมียที่กำลังเป็นสัดสามารถส่งผลกระทบได้อย่างมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ผิดปกติและที่ตัวผู้จะมีพฤติกรรมเมื่อได้กลิ่นตัวเมียที่เป็นสัด แม้แต่ตัวผู้ที่ฝึกฝนขับถ่ายมาเป็นอย่างดีก็อาจอึฉี่ไม่เป็นที่ไม่เป็นทางได้ ถ้าแมวตัวผู้ออกไปนอกบ้านก็มักจะไปมีเรื่องกับแมวตัวผู้ตัวอื่นและอาจไม่ยอมกินอาหารไปสักพักหนึ่ง
การทำหมันแมวตัวเมีย
การตกไข่ของแมวตัวเมียเกิดจากการกระตุ้น นั้นหมายความว่าร่างกายจะตกไข่หลังจากการผสมพันธุ์ วงจรการเป็นสัดอีกรอบหนึ่งจะเกิดขึ้นอีกสองสัปดาห์ต่อมา และจะหมุนเวียนอยู่เช่นนี้จนกระทั้งมีการผสมพันธุ์ ทั้งนี้แมวที่ทำหมันจะมีอายุยืนกว่าตัวที่ไม่ได้ทำหมัน การทำหมันเมื่ออายุยังน้อยจะช่วยลดหรือกำจัดความเสี่ยงที่เป็นมะเร็งเต้านมซึ่งเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในแมวเมีย รวมทั้งยังป้องกันการติดเชื้อหรือมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธุ์และไม่ทำให้ตัวเมียเกิดภาวะเป็นสัดอีกต่อไป
การทำหมันแมวตัวผู้
การทำหมันยังช่วยยืดอายุให้กับแมวตัวผู้ด้วย แม้จะมีเหตุผลที่แต่ต่างกัน กล่าวคือ การทำหมันจะช่วยลดความเสี่ยงจากการทำงานบกพร่องของต่อมลูกหมากเมื่อมีอายุมากขึ้น อีกทั้งยังลดอาการก้าวร้าวและทำให้ไปกัดกับแมวตัวผู้ตัวอื่นน้อยลง การทำหมันยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้ออันตรายที่มีน้ำลายเป็นพาหะจากแมวตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่ง
นอกจากนี้การทำหมันจะช่วยลดสัญชาติญาณของเพศผู้ที่จะขับปัสสาวะเพื่อกำหนดอาณาเขตซึ่งช่วยลดกลิ่นฉุน
รุนแรงของปัสสาวะแมว ได้อีกทาง

Page[1][2][3][4][5]
โรคในแมวและคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน
- การทำหมันแมวเพศเมีย
- การทำหมันแมวเพศผู้
- การดูแลบาดแผลปิด
- การดูแลบาดแผลเปิด

โรคในแมวและคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน

โรคไข้หวัดใหญ่แมว Cat flu
            เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสองประเภทคือ Rhinotracheitis Virus และ Calicivirus แมวทุกตัวต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสสองประเภทนี้ โดยการฉีดวัคซีนกระตุ่นควรฉีดภายหลังจากครั้งแรก 1 ปีจากนั้นให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
สัตวแพทย์เตือนว่าการฉีดวัคซีน ช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยเท่านั้น และไม่อาจสร้างภูมิต้านทานได้อย่างเต็มที่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเชื้อจุลินทรีที่แยกย่อยออกมาจากเชื้อไวรัส Calicivirus เป็นจำนวนมากอีกด้วยทั้งนี้วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจป้องกันเชื้อโรคเหล่านี้ได้หมด

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อจุลินทรีย์ในตระกูล Chlamydia
           เป็นโรคติดเชื้อที่เกี่ยวกับการหายใจและตา ไม่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนคุ้มครองโรคนี้เป็นประจำเพราะเชื้อโรคนี้ ไม่มีความรุนแรง
และสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
           ยิ่งไปกว่านั้น ผลการวิจัยในอเมริกาเหนือได้แสดงให้เห็นว่า วัคซีนป้องกันโรคนี้ให้ผลข้างเคียงในทางลบสูงกว่าวัคซีนชนิดอื่น แม้ว่าวัคซีนป้องกันโรคนี้จะไม่มีใช้ในอังกฤษเป็นเวลานานมากพอที่จะประเมินผล

โรคติดเชื้อ
           ในบรรดาสัตว์เลี้ยงทุกชนิด แมวจัดว่าเป็นพาหะของโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงมากโรคที่สุดการป้องกันและรักษาอาการเหล่าน ี้มักมีความซับซ้อนและมีปัญหามาก โรคติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดติดจากเชื้อไวรัส มักซุ่มซ่อนอยู่ในร่างกายโดยไม่รู้ตัว บางชนิดอาจแฝงอยู่ในตัวนานหลายปี บางครั้งถึงอาการจะหายสนิทอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็อาจกลับมาป่วยได้ใหม่เมื่อแมวมีอายุมากขึ้น หรือเมื่อแมวมีความเครียดทางกายหรือทางใจ ความเข้าใจอย่างดีถึงวิธีการติดต่อของโรคติดเชื้อจึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง หากคุณปรารถนาจะป้องกันแมวของคุณจากโรคร้ายเหล่านี้ โดยเฉพาะจากโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

โรคลำไส้อักเสบติดเชื้อไวรัสในแมว Feline Infectious Enteritis ( FIE )
           หรือFeline Infectious Enteritis ( FIE )โรค FIE รู้จักกันในชื่อโรค Feline Parvovirus ควรอย่างยิ่งที่แมวทุกตัวจะได้รับ วัคซีนป้องกันในโรคนี้โดยการฉีดวัคซีนกระตุ้นควรฉีดหลังจากการฉีดครั้งแรก 1ปี จากนั้นให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ถ้าติดเชื้อก็มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา

อาการและการติดเชื้อ
อาการ   - เซื่องซึมและเมินเฉยต่อสิ่งต่าง ๆ

           - มีอากรขาดน้ำ

           - อาเจียนและท้องร่วงรุนแรง โดยอาจมีเลือดปน

การติดเชื้อ   ติดต่อผ่านสารคัดหลั่งและของเสียที่ขับจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อนี้หรือผ่านสิ่ง สกปรกต่างๆ แมวที่เป็นโรคนี้จะยังคง ติดเชื้ออยู่นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนๆ ไวรัสชนิดนี้มีความอดทนสูง โดยสามารถมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้นานหนึ่งปี

โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวในแมว Feline Leukaemia Virus ( FeL V )
การให้วัคซีนควรให้เฉพาะในแมวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น พวกที่ชอบออกไปนอกบ้าน หรือพวกที่อยู่รวมกลุ่มกับแมวตัวอื่น หรือแมวตามบ้านที่มีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาบ่อย ๆ โดยควรฉีดวัคซีนให้แมวเหล่านี้ปีละครั้ง สัตวแพทย์แนะนำว่า แมวที่มีความเสี่ยงน้อยหรือไม่มีความเสี่ยง ที่ติดเชื้อจากน้ำลายของแมวที่เป็นโรคนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีน แต่ถ้าเป็นโรคนี้จะมีระยะฟักตัวค่อนข้างนานหลายปี และมักจะลุกลามจนถึงขั้นคุกคามชีวิตในการติดเชื้อระยะสุดท้าย

อาการและการติดเชื้อ
อาการ อาการบ่งของโรคไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่ประกอบด้วย

          - มีการพัฒนาของเซลล์ในเม็ดเลือดขาว เช่น มีเนื้องอกร้ายในต่อมน้ำเหลือง

          - มีอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อหลายประเภท ( เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันถูกยับยั้ง )

          - มีสภาวะเลือดจาง ซึ้งเกี่ยวข้องกับการยับยั้งของไขกระดูก

การติดเชื้อ ติดต่อผ่านน้ำลาย ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งอื่นๆ ของแมวที่ติดเชื้อ ที่พบบ่อยที่สุดคือการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกตั้งแต่แรกเกิด อาจติดต่อผ่านการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับแมวที่ติดเชื้อนี้ รวมทั้งผ่านชามอาหารและชามน้ำ และถาดรองมูลของแมวที่ติดเชื้อ
สัตวแพย์เตือนเจ้าของว่า วัคซีนไม่สามารถคุ้มครองแมวได้ ฉะนั้นการป้องกันดีที่สุดคือ จงหลีกเลี่ยงการอยู่รวมกลุ่มกับแมวที่ติดเชื้อ

โรคพิษสุนัขบ้า
ควรอย่างยิ่งที่จะต้องฉีดวัคซีนโรคนี้ให้กับแมวทุกตัวที่อยู่ในภูมิภาคที่มีโรคพิษสุนัขบ้า สัตวแพทย์จะทำการให้วัคซีนด้วยความถี่ตามที่ผู้ผลิตวัคซีนกำหนด แต่ถ้าเป็นโรคนี้จะถึงขั้นเสียชีวิต และสามารถติดต่อไปสู่คน

อาการและการติดเชื้อ
อาการ อาการโรคนี้มีหลากหลายมากประกอบด้วย

          - เซื่องซึม

          - กลืนอาหารลำบาก

          - เป็นลม

          - ก้าวร้าวมากขึ้น หรือเชื่อฟังมากขึ้นซึ่งอย่างหลังไม่ค่อยพบนัก

การติดเชื้อ ติดต่อผ่านน้ำลายจากการถูกกัดโดยสัตว์ที่ติดเชื้อนี้ อย่างไรก็ตาม แมวมักสามารถต้านทานการติดเชื้อนี้ได้ตามธรรมชาติ เชื้อไวรัสชนิดนี้อ่อนแอ และไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากไม่อาศัยอยู่ในพาหะ
               ในประเทศอังกฤษซึ้งปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า ควรฉีดวัคซีนให้แมวเฉพาะตอนที่เดินทางไปต่างประเทศ ตามกฎว่าด้วยการเดินทางของสัตว์เลี้ยง ขณะที่แมวในประเทศยุโรปบางประเทศต้องฉีดวัคซีนนี้ปีละครั้ง เนื่องจากวัคซีนทุกชนิดในอังกฤษจะมีผลคุ้มครองสองปี ดังนั้นแมวในอังกฤษที่เดินทางไปต่างประเทศควรรับการฉีดวัคซีนนี้ทุก ๆ สองปี

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว Feline Immunodeficiency Virus ( FIV )
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้ แต่ถ้าเป็นโรคนี้จะมีระยะการฟักตัวนาน จึงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในขั้นสุดท้ายของโรคเหมือนโรค FeL V แต่ไม่รุนแรงเท่าโรค FeL V

อาการและการติดเชื้อ
อาการ อาการบ่งของโรคไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่ประกอบด้วย

          - มีอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อหลายประเภท ( เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน บกพร่อง )

          - มีสภาวะเลือดจาง ซึ้งเกี่ยวข้องกับการยับยั้งของไขกระดูก

การติดเชื้อ การติดต่อหลัก ๆ ทางน้ำลายการกัดเป็นวิธีที่พบบ่อยที่สุดในการติดเชื้อนี้ เป็นเหตุให้แมวตัวผู้ซึ่งชอบต่อสู้มากกว่าตัวเมีย มีโอกาสติดเชื้อนี้สูงกว่าตัวเมียถึงสามเท่า

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ Upper Respiratory Tract ( URT )
โรคนี้อาจทำให้อวัยวะหลายแห่งมีอาการติดเชื้อรุนแรง เชื้อไวรัส Reovirus มักเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อที่ตาเท่านั้น ขณะที่เชื้อ Chlamydia ซึ่งอยู่ในตระกูลแบคทีเรียจะทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างมาก ซึ่งเป็นปฏิกิริยาต่อยาหยอดตาปฏิชีวนะ ทั้งนี้เชื้อไวรัส Calicivirus (calici) และ Rhinotracheitis virus คือสาเหตุของอาการรุนแรงที่สุดของการติดเชื้อ URT
แมวอาจทุเลาจากการติดเชื้อไวรัส calici หรือการอักเสบของจมูกและหลอดลม แต่จะกลายเป็น "พาหะเงียบ" นำเชื้อไปติดแมวตัวอื่นได้ ทั้งนี้การอักเสบของจมูกและหลอดลม เกิดจากไวรัสตระกูล herpesvirus ซึ่งจะฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ในภาวะที่ร่างกายและจิตใจตึงเครียด

อาการ การติดเชื้อ

อาการ ไวรัส Calicivirus และการอักเสบของจมูกและหลอดลมมีอาการดังนี้

          - จามและมีขี้มูกหนา

          - ตาเยิ้มและมีขี้ตาเหนียว

          - มีแผลเปื่อยและแผลขนาดเล็กในปาก

          - มีไข้

          - อยากอาหารลดลง พร้อมกับสูญเสียการดมกลิ่น

          - มีแผลเปื่อยที่ตา (เป็นผลจากการติดเชื้อไวรัส Rhinotracheitis virus )

          - เซื่องซึม และข้อต่อบวมในลูกแมว (เป็นผลจาการติดเชื้อไวรัส Calicivirus )

การติดเชื้อ   ไวรัสHerpesvirus ไม่แพร่กระจายในอากาศ แต่ติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับแมวที่ติดเชื้อ หรือการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือของเสียที่ขับออกจากร่างกายของแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสชนิดนี้สามารถมีชีวิตอยู่ ในอุณหภูมิห้องได้นานหนึ่งเดือน
ไวรัส Calicivirus ติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับแมวที่ติดเชื้อ หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือของเสียที่ขับออกจากร่างกายของแมวที่ติดเชื้อและยังฟุ้งไปในอากาศได้ด้วย
ไวรัส Chlamydia ติดต่อผ่านสารคัดหลั่งของแมวที่ติดเชื้อ เช่น น้ำตาและน้ำลาย ส่วนแบคทีเรีย Bordetella ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ URT ในสุนัข สามารถติดต่อสุนัขที่ติดเชื้อไปสู่แมวได้ผ่านเชื้อที่ฟุ้งกระจายในอากาศ


โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบชนิดติดเชื้อในแมว Feline Infectious Peritonitis ( FIP )
ลูกแมวจะติดเชื้อโรคนี้ได้มากที่สุดในระยะแรกที่ติดเชื้อไวรัสนี้ จะไม่มีอาการแสดงออกมา หรืออาจท้องร่วงเล็กน้อย จากนั้นเชื้อจะลุกลามจนถึงขั้นคุกคามชีวิต

อาการ ไม่อาจคาดการณ์ได้แต่แบ่งเป็นรูปแบบ เปียกและแห้ง

โรค FIP ในรูปแบบเปียก

          - มีของเหลวในช่องอก ทำให้หายใจลำบาก

          - มีของเหลวในช้องท้อง ทำให้ท้องบวม

          - มีไข้ อาเจียน และท้องร่วง

          - น้ำหนักลด

โรค FIP ในรูปแบบแห้ง

          - ไตวาย

          - กระเพาะและลำไส้ทำงานไม่สะดวก

          - มีปัญหาด้านทางเดินหายใจ

          - เป็นลม

          - ตับติดเชื้อ

          - เซื่องซึม

การดูแลบาดแผล
               ถ้าคุณต้องไปพบสัตวแพทย์พร้อมกับแมวที่ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ ควรระวังเรื่องการกระทบกระแทรกระหว่างการเดินทาง การเดินทางจะต้องไม่ทำให้อาการเลวร้ายลงไปอีก ควรปกป้องบาดแผล ( ถ้ามี ) ด้วยอุปกรณ์ชั่วคราว ซึ่งจะทำให้แมวไม่เครียด มากไปกว่าที่เป็นอยู่ และคุณต้องระวังมากเป็นพิเศษ ถ้าคิดว่าแมวมีการบาดเจ็บภายใน อันตรายยิ่งกว่า การบาดเจ็บที่คุณเห็นภายนอก
               เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน พยายามโทรหาสัตวแพทย์เพื่ออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น และบอกให้สัตวแพทย์รู้ว่าคุณกำลังเดินทางไปเพื่อไปรับการรักษาการทำเช่นนี้จะช่วยให้ทีมงานสัตวแพทย์มีเวลาเตรียมทุกอย่างให้พร้อม คุณควรพยายามสงบสติให้นิ่งที่สุดระหว่างการเดินทาง เพราะการตื่นตระหนกอาจเป็นอันตรายต่อการขับขี่ ซึ่งเป็นการเสี่ยง ต่อทั้งคุณและ แมว

คำแนะนำของสัตวแพทย์
- อย่าดึงวัตถุชิ้นใหญ่ ออกจากบาดแผลเปิด เช่นธนูหรือชิ้นไม้ เพราะจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด ควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด
- อย่าใช่วาสลีนโปะแผล เพราะจะล้างออกยากภายหลัง
- อย่าถูบาดแผล เพราะการถูจะทำให้เลือดอกหรือแผลฉีกขาดมากขึ้น
- อย่าประเมินบาดแผลเล็ก เพราะอาจมีการบาดเจ็บภายในขั้นรุนแรง
อาการของบาดแผลปิด
บาดแผลปิดเห็นได้ยากกว่าบาดแผลเปิดเนื่องจากผิวหนังไม่ได้รับการเสียหาย อย่างไรก็ตาม แมวอาจได้รับบาดเจ็บภายในขั้นรุนแรง และต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากสัตวแพทย์
อากากรของบาดแผลเปิด
- บวม
- ผิวหนังเปลี่ยนสีเนื่องจากมีอาการฟกช้ำใต้ผิวหนัง
- ปวด
- ผิวหนังส่วนที่มีปัญหาร้อนกว่าปกติ
ถ้าคุณเห็นอาการข้างต้นเป็นไปได้ว่าแมวอาจมีบาดแผลปิด คุณควรโทรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

การดูแลบาดแผลปิด

1. ถ้าแมวมีบาดแผลปิด ให้ประคบบาดแผลด้วยความเย็นโดยเร็วที่สุดโดยให้นำผ้าขนหนูผืนเล็ก ๆ มาวางเหนือบาดแผลด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าประคบแผลแข็งตัวติดกับผิวหนัง จากนั้นนำน้ำแข็งมาวางทับไว้ 15 นาที
2. แมวอาจกระดูกหัก ซึ่งการใส่เฝือกให้แมวนั้นทำได้ยาก แต่ก่อนจะพาแมวไปพบสัตวแพทย์ ให้ทำเฝือกชั่วคราวขึ้นมาโดยใช้ผ้าขนหนูมาม้วนเป็นเฝือก วิธีนี้จะช่วยให้อวัยวะส่วนที่บาดเจ็บไม่สามารถขยับเขยื่อนได้
3. ค่อยๆ พันบาดแผลด้วยผ้าพันแผลหลายๆ ชั้น แล้วใช้เข็มกลัดหรือเทปติดให้แน่น เพื่อกันไม่ให้ผ้าพันแผลหลุดขณะเดินทางไปพบสัตวแพทย์

อาการของบาดแผลเปิด
บาดแผลเปิดบางประเภทสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่แผลที่เกิดจากการต่อสู้กัน หรือถูกปืนลมยิง อาจมองเห็นไม่ชัด เพราะแผลมีขนาดเล็กมีเลือดออกน้อย สิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าไปในบาดแผลเปิดทุกชนิด จึงมีโอกาสติดเชื้อสูง
อาการของบาดแผลเปิดมีดังนี้
         - แมวเลียหรือให้ความสนใจส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมากผิดปกติ
         - มีสะเก็ดแผลเล็ก ๆ ที่ผิวหนัง
         - ผิวหนังมีรูทะลุ
         - มีรอยเลือด หรือมีขนชื้นบนผิวหนัง
         - เดินกะเผลก
                                                    การดูแลบาดแผลเปิด

1. ถ้าแมวมีบาดแผลเปิดและไม่ใหญ่มาก ให้ดึงสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น กรวด เสี้ยน หรือวัตถุแปลกปลอมใดๆ โดยใช้นิ้วหรือปากครีบ
2. ล้างบาดแผลด้วยน้ำเกลืออ่อน ๆ น้ำสะอาด หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์
3. ถ้าขนแมวเข้าไปอยู่ในบาดแผล ให้ตัดขนรอบๆ ปากแผลให้เกลี้ยงแต่ก่อนจะตัดขน ให้หล่อลื่นกรรไกรด้วยสารหล่อลื่นที่ละลายน้ำได้ วิธีนี้จะช่วยให้ขนมาติดที่กรรไกร โดยไม่ไปติดที่บาดแผล

 


มีต่อหน้า 4
Webmaster C.F.Y. FARM  E-mail [email protected]
health & beauty4
Hosted by www.Geocities.ws

1