รูปไง

วิธีการตรวจจับข้อผิดพลาด (Error Detection Methods)


                      ตามหลักการแล้วเครือข่ายจะต้องสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง
        และสมบูรณ์ แต่เครือข่ายไม่สามารถรับประกันถึงข้อมูลที่ส่งไปยังปลายทาง ว่าจะเป็นข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางที่ส่ง
        มาหรือไม่ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ข้อมูลอาจผิดเพี้ยนไปจากเดิมในระหว่างการเดินทาง อันเนื่องมาจากถูกรบกวนจาก
        ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดทอนของสัญญาณ หรือถูกสัญญาณรบกวนสอดแทรกเข้ามาระหว่างการ
        เดินทาง  สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบข้อมูลโดยตรง   ทำให้บิตข้อมูลอาจถูกลบล้างไปบิตใดบิตหนึ่งหรือหลายๆบิตก็
        เป็นได้  อย่างไรก็ตามเครือข่ายที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้
                      ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกลไกในการตรวจจับเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งตามปกติการตรวจจับข้อ
        ผิดพลาดและการแก้ไข (Detection and Correction) ถูกนำมาใช้งานบนชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์  และชั้นสื่อสารทราน
        สปอร์ตบนแบบจำลอง OSI โดยในชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์เมื่ออุปกรณ์ใดมีการสร้างเฟรมข้อมูลขึ้นมา  ก็จะมีการแทรก
        รหัสเข้าไปเพื่อนำมาใช้ตรวจจับข้อผิดพลาด ของข้อมูลในเฟรมนั้นด้วยครั้นเมื่อเฟรมข้อมูลดังกล่าวเดินทางมาถึง
        ปลายทาง  โหนดปลายทางก็จะนำรหัสตรวจจับข้อผิดพลาด  ที่แนบมาพร้อมกับเฟรมข้อมูลนำไปตรวจสอบ   ในทำ
        นองเดียวกัน  ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตก็จะมีความคล้ายคลึงกับชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์   แต่การปฏิบัติการบนชั้นสื่อสาร
        ทรานสปอร์ตจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่รับส่งกันในลักษณะ  End-to-End ที่แต่ละโฮสต์อยู่ห่างไกลกัน ในขณะที่ชั้นสื่อ
        สารดาต้าลิงก์จะเป็นในลักษณะ Node-to-Node ซึ่งรับส่งอยู่บนลิงก์เดียวกันสำหรับชนิดของรหัสตรวจจับข้อผิดพลาด
        มีหลายวิธีด้วยกัน คือ


        1. การใช้บิตตรวจสอบ  (Parity  Checks) 
        2. การหาผลรวม  (Checksum) 
        3. การใช้วิธี  CRC  (Cyclic Redundancy Checksum)