การดำเนินงานของเรือนจำ

           ผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกคนจะต้องถูกส่งตัวเข้าสถานแรกรับ (แดน1)อย่างน้อยหนึ่งสปดาห์ชึ่งถือเป็นด่านที่มีความสำคัญเพื่อ     เป็นการปรับสภาพจิตใจ  โดยจะได้รับการฝึกอบรมแนะนำเกี่ยวกับระเบียบวินัยการปฏิบัติตนขณะอยู่ในเรือนจำ

การจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง
         เมื่อผู้ต้องขังเข้าใหม่อยู่ในสถานแรกรับครบหนึ่งสัปดาห์แล้ว  จะต้องทำการจำแนกลักษณะและ แยกไปคุมขัง ตาม แดนต่างๆ  ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง
           การจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง  เป็นการศึกษาวิเคราะห์ประวัติ ิผู้ต้องขังเพื่อให้การช่วยเหลือแก้ไขเป็นรายบุคคล  เพื่อจะได้ดำเนินการด้านทัณฑปฏิบัติต่างๆ  ได้เหมาะสมตรงตามเป้า หมายโดยจะเน้นให้การศึกษาอบรมทั้งด้าน สายสามัญ สายอาชีพและ ด้านจิตใจไปพร้อมๆกัน ผู้ต้องขังคนใดสนใจและตั้งใจที่จะรับการ ฝึกอบรมงานด้านอาชีพใดที่ตน ชอบ และมีความถนัดเป็นพื้นฐาน เรือนจำฯ ก็จะจัดส่งเข้าฝึกวิชาชีพนั้นๆ  ตามความเหมาะสมต่อไป

การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังด้านอื่นๆ

                  การให้การศึกษา

                                    เรือนจำมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะอบรมแก้ไขผู้ต้องขังให้เป็นคนดีเมื่อพ้นโทษแล้ว จึงได้จัดการศึกษาในรูปของ ศึกษาผู้ใหญ่ตามหลักการของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ในเรือนจำ มีชื่อว่า"โรงเรียนผู้ใหญ่กรุงเทพมหานคร วิทยา"  ทำการเปิดสอน 3 สาขา ได้แก่

                                   1.  สายสามัญ
                                   2.  สายอาชีพ

                                   3.  สายธรรมศึกษา

 การศึกษาสายสามัญ

                เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร  ได้เปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังทุกคน โดยเฉพาะที่อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น  หรือยังไม่จบระดับประถมศึกษา  ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึง  ว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลหรือไม่  เมื่อจำแนกแล้วถ้าปรากฎว่า ยังอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ก็จะส่งเข้าเรียนต่อไป สำหรับผู้ต้องขังที่เรียนระดับประถมศึกษาแล้ว ก็สนับสนุนให้  เรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยได้จัดการศึกษาสายสามัญออกดังนี้
   
         1.  ระดับประถมศึกษา  แบบชั้นเรียน จำนวน  4  ห้องเรียน
   
         2.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น   แบบชั้นเรียน จำนวน 3 ห้องเรียน และแบบทางไกล  จำนวน 3 กลุ่มเรียน
               3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบทางไกล จำนวน 3 กลุ่มเรียน
   
        4.  ระดับอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) ซึ่งขึ้นอยู่ที่ความสมัครใจของผู้เรียนเอง 

 

การศึกษาสายวิชาชีพ

                สำหรับผู้ต้องขังที่อ่านออก เขียนได้ แล้ว มีความสนใจอยากจะศึกษาวิชาชีพต่าง ๆ  เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครได้เปิดสอนวิชาชีพ
สาขาต่าง ๆ จำนวน 13 สาขาวิชา  ดังนี้
  1.  วิชาชีพช่างไม้ก่อสร้าง  2 ห้องเรียน
  2.  วิชาชีพช่างไฟฟ้าเบื้องต้น  1  ห้องเรียน
  3.  วิชาชีพเกษตรกรรม (ขยายพันธุ์พืช)1ห้องเรียน
  4.  วิชาชีพช่างเครื่องยนต์เล็ก  1  ห้องเรียน
  5.  วิชาชีพช่างเครื่องยนต์  1  ห้องเรียน
  6.  วิชาชีพช่างเฟอร์นิเจอร์หวาย  2  ห้องเรียน
  7.  วิชาชีพช่างศิลป์ประดิษฐ์   2  ห้องเรียน
  8.  วิชาชีพช่างตัดผม  1  ห้องเรียน
  9.  วิชาชีพช่างไม้ครุภัณฑ์   1  ห้องเรียน
10. วิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ  1  ห้องเรียน
11. วิชาชีพช่างชุบโลหะ  1  ห้องเรียน
12.  วิชาชีพดนตรีสากล   1  ห้องเรียน  
13. วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น  1  ห้องเรียน

การศึกษาธรรมศึกษา

                เป็นการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง  เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู จิตใจ  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขัง  ให้เป็นคนดี มีเหตุผล  มีคุณธรรม  จริยธรรม  นำหลักธรรมคำสอนของศาสนา  โดยมีอนุศาสนาจารย์ เรือนจำเป็นผู้ดำเนินงาน และเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาอบรมด้วย  โดยจัดให้มีการเรียน การสอน และการอบรม ดังนี้
   
         1.  ธรรมศึกษาตรี
   
         2.  ธรรมศึกษาโท
   
         3.  ธรรมศึกษาเอก

  การอบรมพัฒนาจิตใจ
           1.  ฝึกอบรมจิตตภาวนา    เดือนละ  1  รุ่น
   
         2.  อบรมก่อนพ้นโทษ    เดือนละ  1  รุ่น
   
         3.  อบรมในวันสำคัญต่าง ๆ  ปีละ 13 ครั้ง
   
         4.  อบรมโดยวิทยากรภายนอกด้านศาสนา ทั้ง พุทธ,อิสลาม,คริสต์ เดือนละ 7 ครั้ง

              

หน้าแรก/ประวัติเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ/ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ต้องขัง/ผลิตภัณฑ์เรือนจำ/ผู้บริหาร

Hosted by www.Geocities.ws

1