ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ต้องขัง


                เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร  มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องขังชายทุกคดี (ยกเว้นผู้ต้องขังหญิง)  ที่อยู่ในระหว่างการสอบสวน, ระหว่างพิจารณาหรือไต่สวนมูลฟ้อง และ ระหว่างอุทธรณ์ ฎีกา  ปัจจุบันมี  นายธนพัฒน์   จันทรปรรณิก เป็นผู้บัญชาการเรือนจำ  ผู้ที่มีความประสงค์จะติดต่อสอบถามข้อมูลของเรือนจำ และผู้ต้องขัง  ต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ดังนี้
การสอบถามข้อมูลผู้ต้องขัง
               
ติดต่อสอบถามข้อมูลผู้ต้องขัง  เช่น เลขหมายประจำตัว หรือ แดนฯ ที่งานทะเบียนประวัติผู้ต้องขังด้านหน้าเรือนจำฯ (ช่องหมายเลข 1)  ส่วนทัณฑปฏิบัติ

การเยี่ยมผู้ต้องขัง
          1.  เขียนรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนลงในแบบฟอร์มใบเยี่ยมญาติที่จัดเตรียมไว้ให้  เสร็จ แล้วส่งมอบให้เจ้าหน้าที่พร้อมบัตรประชาชน  หรือใบขับขี่  ตรวจสอบที่ (ช่องหมายเลข 2)
          2.  รอฟังรายชื่อและเข้าเยี่ยมตามช่องภายในห้องเยี่ยมที่เรือนจำกำหนด  และประกาศให้ ทราบ (ห้องเยี่ยมที่ 1 - 9 ซึ่งภายในห้องเยี่ยมเรือนจำฯ ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศทุกห้อง)
          3.  เมื่อเยี่ยมเสร็จแล้ว  ให้ไปรับใบฝากเงิน และฝากสิ่งของกับเจ้าหน้าที่ช่องหมายเลข 4 เพื่อ นำไปซื้อสิ่งของจากร้านสงเคราะห์ของเรือนจำฯ  (สินค้าที่ซื้อจากร้านค้าของเรือนจำฯ ห้ามเปิดหรือฉีกถุงที่บรรจุแล้วโดยเด็ดขาด) และฝากเงินที่ช่องหมายเลข 6  ,   ฝากสิ่งของที่ช่องหมายเลข 7
กำหนดวันและเวลาเยี่ยม
1.  วันจันทร์ - ศุกร์  
          -  ภาคเช้าเวลา     08.30  -  12.00  น.                                        
        -  ภาคบ่ายเวลา    13.00  -  14.30  น.
                         ( เว้นวันเสาร์  -  อาทิตย์)
    วันหยุดนักขัตฤกษ์ 
            -  ภาคเช้าเวลา     08.30  -  12.00  น.
         -  ภาคบ่ายเวลา    13.00  -  14.00  น.
  2.  ผู้ต้องขังออกรับการเยี่ยมญาติได้คนละ 1 ครั้ง/วัน ครั้งละประมาณ 15 นาที

การฝากสิ่งของ
          เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  ได้จัดร้านค้าสงเคราะห์ฯ ไว้บริเวณหน้าเรือนจำฯ (หน้าห้องเยี่ยม ญาติ)  เพื่อจำหน่ายสิ่งของต่าง ๆ ในราคาปกติ และสิ่งของที่ซื้อจากร้านค้าฯ ของเรือนจำฯ  จะใส่ถุง พลาสติกปิดผนึกอย่างดี ทำให้ฝากส่งให้แก่ผู้ต้องขังได้อย่างรวดเร็ว หากท่านนำสิ่งของต่าง ๆ มาจาก ที่อื่น ๆ ทางเรือนจำฯ จะทำการตรวจค้นสิ่งของนั้น  อย่างละเอียดถี่ถ้วน  เพื่อป้องกันการซุกซ่อน  ลักลอบนำสิ่งของต้องห้ามนำเข้าภายในเรือนจำฯ

ข้อห้ามต่าง ๆ
         1.  สิ่งของต้องห้ามที่ไม่อนุญาตฝากให้แก่ผู้ต้องขัง
          2.  ฝิ่น  กัญชา  ยาเสพติด  หรือของมึนเมาอย่างอื่น
          3.  สุรา หรือน้ำเมาซึ่งดื่มได้เมาเหมือนสุรา
          4.  เครื่องอุปกรณ์สำหรับเล่นการพนัน
          5.  เครื่องอุปกรณ์ในการหลบหนี
          6.  สาตราวุธ
          7.  ของเน่าเสีย หรือของมีพิษต่อร่างกาย
          8.  วัตถุระเบิด  หรือน้ำมันเชื้อเพลิง
          9.  สัตว์มีชีวิต

การปฏิบัติตนในการติดต่อราชการเรือนจำ
        1.  แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
           2.  เมื่ออยู่ภายในเรือนจำฯ ต้องอยู่ในความสงบ
           3.  ติดต่อเจ้าหน้าที่เรือนจำฯ โดยตรง
           4.  ระวังบุคคลภายนอกแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของเรือนจำฯ หรือกรมราชทัณฑ์  รับอาสา หรือหลอกลวงว่า  สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องขังญาติของท่านได้    โดยเรียกร้องเงินเป็นค่าตอบแทน อย่าได้หลงเชื่อ  ท่านจะสูญเสียเงินเปล่าหากสงสัย หรือไม่ได้รับความสะดวกประการใด   ในการติดต่อราชการเรือนจำฯ  ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฯ หรือผู้บัญชาการเรือนจำฯ โดยตรง

ทนายความขอพบผู้ต้องขังตามขั้นตอนดังนี้
        1.  ยื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่ห้องทนายความ (ต้องนำหลักฐานการเป็นทนายความพร้อมบัตร ประจำตัว แสดงต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง)
           2.  ห้องทนายความเปิดเวลา  08.30 - 15.00 น.  เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
           3.  ห้ามนำญาติเข้าพบผู้ต้องขังในห้องทนายความ
พนักงานสอบสวนขอพบผู้ต้องขังในกรณีดังต่อไปนี้
        1.  ขอสวบสวนเพิ่มเติม
           2.  ขอให้พยานชี้ตัวและถ่ายรูป
           3.  ขอพิมพ์ลายนิ้วมือ
           4.  ขอทราบว่าตัวถูกคุมขังหรือไม่
           5.  ขออายัดตัวผู้ต้องหา
           6.  ขอตรวจสอบประวัติการต้องโทษ
           7.  ขอทราบผลคดี
หมายเหตุ    กรณี 1 - 4  ให้ยื่นหนังสือได้ที่งานทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง
                     กรณี 5 - 7  ส่งหนังสือที่งานธุรการฝ่ายบริหารทั่วไป


  หน้าแรก /ประวัติเรือนจำ/การดำเนินการของเรือนจำ/ผลิตภัณฑ์เรือนจำ /ผู้บริหาร

Hosted by www.Geocities.ws

1