ศักยภาพ

และลู่ทางการลงทุน

จังหวัดตาก



ประตูสู่อันดามัน

ผลิตภัณฑ์หินแกรนิต
ผลิตภัณฑ์หินแกรนิต



ผลิตผลทางการเกษตร
ผลิตผลทางการเกษตร



 ผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องจักรสาน
ผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องจักรสาน



 ผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง
ผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง



 ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและสิ่งทอ
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและสิ่งทอ



 โครงการท่องเที่ยว
โครงการท่องเที่ยว


จั ง ห วั ด ต า ก
          ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบนค่อนไปทางตะวันตก มีพื้นที่ 16,406 ตารางกิโลเมตร หรือ 10.3 ล้านไร่ ใหญ่เป็นลำดับสองของ ภาคเหนือโดยมีพรมแดนติดต่อกับสหภาพพม่า ทางด้าน ตะวันตกของจังหวัด ยาว 533 กิโลเมตร จังหวัดตากมีประชากร ทั้งสิ้น 449,158 คน (ชาวเขา 96,979 คน) การปกครองแบ่งออก เป็น 8 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ โดยพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามแนว เทือกเขาถนนธงชัย ผั่งตะวันออก มี 3 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก สามเงา และกิ่งอำเภอวังเจ้า ฝั่งตะวันตก มี 5 อำเภอ คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด ท่าสองยาง พบพระ และอุ้มผาง หน่วยงานท้องถิ่นมีเทศบาล 2 แห่ง สุขาภิบาล 11 แห่ง อบต. 45 แห่ง สภาตำบล 13 แห่ง
          รายได้ประชากร 33,359 บาท/คน/ปี (ข้อมูลปี 2537) เป็นลำดับ
ที่ 4 ของภาคเหนือ ในระยะที่ผ่านมาอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของจังหวัดเฉลี่ยร้อยละ 9.2
ศักยภาพ โอกาส และลู่ทางการลงทุนของจังหวัดตาก
  1. เป็นประตูใหม่สู่อันดามัน เนื่องจากได้มีการเปิดใช้สะพาน มิตรภาพไทย-พม่า ทำให้ จ.ตาก กลายเป็นจุดเชื่อมและจุดทาง การค้าจากไทยไปสหภาพพม่า และเชื่อมต่อเพื่อออกไปยัง เอเชียใต้ รวมทั้งยุโรป
  2. มีการเปิดจุดผ่านแดนภาวรที่อำเภอแม่สอดตรงข้ามจังหวัด เมียวดีของพม่า ทำให้การเดินทางของนักท่องเที่ยวและการนำสินค้า เข้า-ออก เป็นไปอย่างสะดวก ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในภาพรวม
  3. มีสภาพภูมิประเทศและที่ตั้งเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการค้าขาย เพื่อส่งออก อุตสาหกรรม เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยตรง
  4. มีวัตถุดิบในพื้นที่หลายชนิด และมีปริมาณมากเพียงพอที่ดำเนินการ ด้านอุตสาหกรรม ได้แก่ แร่ธาตุประเภทต่างๆ เช่น แกรนิต หินอ่อน ลิกไนต์ เฟลสปาร์ ฯลฯ มีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ เช่น ช้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มันฝรั่ง ผักต่างๆ ฯลฯ สามารถเป็นวัตถุดิบใน อุตสาหกรรมแปรรูปได้ นอกจากนั้นยังมีความเหมาะสม ที่จะเป็นฐาน การผลิตเพื่อการส่งออกอีกด้วย
  5. มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น มีถนนลาดยาง ทุกอำเภอ มีการขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจร กำลังผลิตไฟฟ้า ระบบ ประปา และโทรศัพท์ ซึ่งมีจำนวนมากพอ สามารถเอื้ออำนวยต่อการทำ กิจกรรมการค้าขายตามแนวชายแดน และจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสนามบินพาณิชย์ 2 แห่ง คือ ที่อำเภอเมืองตาก และอำเภอแม่สอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าอากาศยานที่อำเภอแม่สอด สามารถพัฒนาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติได้
  6. มีแหล่งแรงงานราคาถูกเป็นจำนวนมาก สามารถแข่งขันในเชิง ธุรกิจและชดเชยต้นทุนด้านอื่นๆที่เสียเปรียบได้
  7. มีศักยภาพด้านการเป็นเขตร่วมมือเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเขตการค้าชายแดน เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งให้สิทธิพิเศษต่างๆ มากยิ่งกว่าเขตการลงทุนเขต 3 อันจะเอื้อ ประโยชน์ต่อการลงทุนอย่างมาก
  8. เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศ อยู่ที่เขื่อน ภูมิพล อ.สามเงา มีการเพิ่มวงจรอีก 2 วงจร และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 9 เครื่อง 9,605 กิโลวัตต์ ปรับปรุงระบบจำหน่าย 9 แห่ง เสริมระบบ จำหน่าย 3 จุด ติดตั้งสายไฟแรงสูง 300 วงจร/กม. และสร้างโรงจักร สำรอง 1 แห่ง
  9. มีแหล่งท่องเที่ยวกว่า 40 แห่ง ที่มีความหลากหลายสมบูรณ์ ครบถ้วนสวยงามคงสภาพเดิมมีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม หลากหลายดึงดูดใจผู้ไปเยือน และสามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางการ ท่องเที่ยวนานาชาติในภูมิภาคไทย สหภาพพม่า บัคลาเทศ และอินเดีย
ผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ของจังหวัดตาก
  1. พืชที่สำคัญ
    • กล้วยไข่ ผลิตได้ประมาณ 405,800 ตัน
      มูลค่าประมาณ 3,651 ล้านบาท
    • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลิตได้ประมาณ 259,800 ตัน
      มูลค่าประมาณ 1,091 ล้านบาท
    • ถั่วเหลือง ผลิตได้ประมาณ 50,900 ตัน
      มูลค่าประมาณ 417.6 ล้านบาท
    • ผักกาดขาวปลี ผลิตได้ประมาณ 59,200 ตัน
      มูลค่าประมาณ 236.8 ล้านบาท
    • ลำไย ผลิตได้ประมาณ 5,800 ตัน
      มูลค่าประมาณ 203.3 ล้านบาท
    • นุ่น ผลิตได้ประมาณ 5,000 ตัน
      มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท
    • ดอกกุหลาบ ผลิตได้ประมาณ 43.2 ล้านดอก
      มูลค่าประมาณ 65 ล้านบาท
  2. สัตว์ที่สำคัญ
    • โค ปริมาณ 106,500 ตัว
    • ไก่ ปริมาณ 411,200 ตัว
  3. ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและหัตถกรรม
    • เสื้อผ้าสำเร็จรูป, เสื้อผ้าปักลาย, กางเกงสำเร็จรูป
      (ผลิตตามสั่ง)
    • เสื้อกันหนาวไหมพรม, เสื้อยืดไหมพรม
    • ผ้าขนหนูสำเร็จรูป
    • ตุ๊กตาผ้าชนิดต่างๆ ดอกไม้ประดิษฐ์
    • ผักดองและผลไม้ชนิดต่างๆ
    • ผักและผลไม้กระป๋อง, น้ำผลไม้กระป๋อง
    • ภาพประดับพลอย, การแปรรูปอัญมณี
      และเครื่องประดับ
    • ผลิตภัณฑ์หินแกรนิต เช่น หินแกรนิตแผ่น
      ของที่ระลึก ฯลฯ
    • ชิ้นส่วนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ผลิตตามสั่ง)
    • สังกะสีแท่ง และสังกะสีอัลลอยด์
    • สินค้าหัตถกรรมไทย เช่น ตะกร้า หมวก
      และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น
การลงทุนภาคเกษตร
  • โครงการปลูกพืชผักผลไม้เพื่อการแปรรูป
  • โครงการปลูกนุ่น
  • โครงการเลี้ยงโคเนื้อและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
  • โครงการปลูกดอกกุหลาบ
  • โครงการผลิตผลไม้กระป๋องเพื่อส่งออก
การลงทุนภาคอุตสาหกรรม
  • โครงการแปรรูปอุตสาหกรรมพืชผักผลไม้กระป๋อง
  • โครงการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
  • โครงการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
  • โครงการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป
  • โครงการโรงงานเคหะสิ่งทอ
  • โครงการโรงงานผลิตอาหารสัตว์
การลงทุนภาคการท่องเที่ยว
  • โครงการลงทุนโรงแรมและที่พัก
การลงทุนภาคบริการ
  • โครงการจัดตั้งโรงพยาบาลเอกชน
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
  1. ประเภทศิลปกรรมและโบราณสถาน
    • ศาลสี่มหาราช อ.เมืองตาก
    • ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อ.เมืองตาก
    • วัดพระบรมธาตุ อ.บ้านตาก
    • เจดีย์ยุทธหัตถี อ.บ้านตาก
    • เขิ่อนภูมิพล อ.สามเงา
    • ศาลเจ้าพ่อพะวอ อ.แม่สอด
    • สะพานมิตรภาพไทย-พม่า ตลาดริมเมย
      อ.แม่สอด
    • พระพุทธรูปหินอ่อน อ.แม่ระมาด
  2. ประเภทธรรมชาติ
    • น้ำตกลานสาง อ.เมืองตาก
    • ต้นกระบากใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
      อ.เมืองตาก
    • ล่องเรือ และพักค้างคืนบนเรือในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ
      เขื่อนภูมิพล ไปยัง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
    • น้ำตกพาเจริญ อ.พบพระ
    • ถ้ำแม่อุสุ อ.ท่าสองยาง
    • ทะเลหมอกแม่ระเมิง อ.ท่าสองยาง
    • ร้านค้าผลิตผลของชาวไทยภูเขา อ.แม่สอด
    • การล่องแพลำน้ำห้วยแม่ละเมา อ.แม่สอด
    • น้ำตกทีลอซู อ.อุ้มผาง
    • การล่องแพลำน้ำแม่กลอง อ.อุ้มผาง

จัดทำโดย นายสมเกียรติ อ่วมจ้อย

ประวัติ&ภูมิประเทศ  สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาลงานประเพณี อาหารพื้นเมือง ลู่ทางการลงทุน คู่มือท่องเที่ยวอุ้มผาง มีอะไรใหม่?
Hosted by www.Geocities.ws

1