ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

ถ้าช้างหลวงรุ่นหนุ่มที่ควาญช้างยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ย่อมถึงการนับว่า
‘ช้างหลวงหนุ่มล้มอย่างไม่ได้ฝึก’ แม้ฉันใด
ถ้าภิกษุปูนเถระยังไม่สิ้นอาสวะมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุปูนเถระ
มรณภาพลงอย่างไม่ได้ฝึก’
ถ้าภิกษุปูนมัชฌิมะ ฯลฯ
ถ้าภิกษุปูนนวกะยังไม่สิ้นอาสวะมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุ
ปูนนวกะมรณภาพลงอย่างไม่ได้ฝึก’ ฉันนั้นเหมือนกัน
อัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ควาญช้างฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว ล้มลง ย่อม
ถึงการนับว่า ‘ช้างหลวงแก่ล้มอย่างฝึกแล้ว’
ถ้าช้างหลวงรุ่นกลาง ฯลฯ
ถ้าช้างหลวงหนุ่มที่ควาญช้างฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว ล้มลง ย่อมถึงการนับว่า
‘ช้างหลวงหนุ่มล้มอย่างฝึกแล้ว’ แม้ฉันใด
ถ้าภิกษุปูนเถระผู้สิ้นอาสวะแล้วมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุปูนเถระ
มรณภาพลงอย่างฝึกแล้ว’
ถ้าภิกษุปูนมัชฌิมะ ฯลฯ
ถ้าภิกษุปูนนวกะผู้เป็นขีณาสพมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุ
ปูนนวกะมรณภาพลงอย่างฝึกแล้ว’ ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว อจิรวตะ สมณุทเทสมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ทันตภูมิสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

๖. ภูมิชสูตร
ว่าด้วยพระภูมิชะ

[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเวลาเช้า ท่านพระภูมิชะ๑ ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้าไปหาท่านพระภูมิชะถึงที่อยู่แล้วได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ชยเสนราชกุมารได้รับสั่งกับท่านพระภูมิชะว่า “ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความ
หวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้’
ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส
สอนไว้อย่างไร”
ท่านพระภูมิชะถวายพระพรว่า “พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่
แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวก
เขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’
พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้”
ชยเสนราชกุมารตรัสว่า “ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างนี้ มี
ทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมีความรู้
เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้”
ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมาร ทรงอังคาสท่านพระภูมิชะด้วยภัตตาหารใน
ภาชนะอันเป็นส่วนของพระองค์เองเลยทีเดียว
[๒๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระภูมิชะกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้ามาหาข้าพระองค์ แล้วได้ตรัส
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่
สมควร ได้รับสั่งกับข้าพระองค์ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้ว ประพฤติ
พรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส
สอนไว้อย่างไร’
เมื่อชยเสนราชกุมารรับสั่งอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ถวายพระพรว่า ‘พระ
ราชกุมาร เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย
แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้ง
ความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’
เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่
เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้’
ชยเสนราชกุมารรับสั่งว่า ‘ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมี
ความรู้เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ
พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้
มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำ
กล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภูมิชะ ช่างเถิด เธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อ
พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ
ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็น
มิจฉาทิฏฐิ(มีความเห็นผิด) เป็นมิจฉาสังกัปปะ(มีความดำริผิด) เป็นมิจฉาวาจา(มี
การเจรจาผิด) เป็นมิจฉากัมมันตะ(มีการงานผิด) เป็นมิจฉาอาชีวะ(มีการเลี้ยงชีพ
ผิด) เป็นมิจฉาวายามะ(มีความเพียรผิด) เป็นมิจฉาสติ(มีความระลึกผิด) เป็น
มิจฉาสมาธิ(มีความตั้งใจผิด)
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
[๒๒๕] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยว
เสาะหาน้ำมัน เกลี่ยทรายลงในรางแล้ว เอาน้ำพรมไป คั้นไป
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป
เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงไปในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขา
ก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำ
พรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยทรายลงในราง
เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้น้ำมัน แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นมิจฉาสังกัปปะ เป็นมิจฉาวาจา เป็นมิจฉากัมมันตะ เป็นมิจฉาอาชีวะ เป็น
มิจฉาวายามะ เป็นมิจฉาสติ เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการนมสด แสวงหานมสด เที่ยวเสาะหานมสด
แต่รีด(นมสด) จากเขาโคแม่ลูกอ่อน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเขาโคแม่ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเขาโคแม่ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวัง ฯลฯ
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วรีดเอาจากเขาของโคแม่
ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้นมสด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้นมสด แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
[๒๒๖] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการเนยข้น แสวงหาเนยข้น เที่ยว
เสาะหาเนยข้น เทน้ำลงในอ่างแล้ว กวนด้วยเครื่องกวน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังเทน้ำลงไปในอ่างแล้วกวนด้วยเครื่องกวน เขาก็ไม่
สามารถได้เนยข้น
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเทน้ำลงในอ่างแล้วกวน
ด้วยเครื่องกวน เขาก็ไม่สามารถได้เนยข้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้เนยข้น แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการไฟ แสวงหาไฟ เที่ยวเสาะหาไฟ จึงเอาไม้สดที่
มียางมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วจึงเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้
เป็นไฟ เขาก็ไม่สามารถได้ไฟ
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้
สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็ไม่สามารถได้ไฟ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้ไฟ แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็น
สัมมาสังกัปปะ เป็นสัมมาวาจา เป็นสัมมากัมมันตะ เป็นสัมมาอาชีวะ เป็น
สัมมาวายามะ เป็นสัมมาสติ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
[๒๒๗] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยว
เสาะหาน้ำมัน เกลี่ยแป้งงาลงในรางแล้ว เอาน้ำพรมไป คั้นไป
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเกลี่ยแป้งงาลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป
เขาก็สามารถได้น้ำมันงา
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยแป้งงาลงในราง
เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็สามารถได้น้ำมันงา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้น้ำมันงา แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นสัมมาสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการนมสด แสวงหานมสด เที่ยวเสาะหานมสด จึง
รีด(นมสด) จากเต้านมของโคแม่ลูกอ่อน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเต้านมโคแม่ลูกอ่อน เขาก็สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วพึงรีดจากเต้านมโคแม่
ลูกอ่อน เขาก็สามารถได้นมสด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้นมสด แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วพึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
[๒๒๘] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการเนยข้น แสวงหาเนยข้น เที่ยว
เสาะหาเนยข้น เทนมส้มลงในอ่างแล้วกวนด้วยเครื่องกวน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเทนมส้มลงในอ่างพึงกวนด้วยเครื่องกวน เขา
ก็สามารถได้นมข้น
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเทนมส้มลงในอ่างแล้ว
กวนด้วยเครื่องกวน เขาก็สามารถได้นมข้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้นมข้น แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการไฟ แสวงหาไฟ เที่ยวเสาะหาไฟ จึงเอาไม้แห้ง
มาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้ว เอาไม้แห้งมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
เขาก็สามารถได้ไฟ
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเอาไม้แห้งมาทำไม้สีไฟ
แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็สามารถได้ไฟ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้ไฟ แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
ภูมิชะ ถ้าเธอพึงอธิบายอุปมา ๔ ข้อนี้ ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมารได้
ชยเสนราชกุมารจะพึงเลื่อมใสเธออย่างน่าอัศจรรย์ และชยเสนราชกุมารผู้เลื่อมใส
แล้ว จะพึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสแก่เธอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

ท่านพระภูมิชะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะข้าพระองค์จัก
อธิบายอุปมา ๔ ข้อนี้อันน่าอัศจรรย์ ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้สดับมาก่อน ให้
แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมาร เหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภูมิชะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ภูมิชสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ

[๒๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ เรียกชาย
คนหนึ่งมาสั่งว่า
“มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เธอจงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ กราบเท้า
ท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราแล้วกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ช่างไม้ปัญจกังคะกราบเท้าท่านพระอนุรุทธะด้วยเศียรเกล้า’ และจงกราบเรียนอย่าง
นี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธะโปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ นิมนต์
รับภัตตาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอพระคุณเจ้าโปรดมาแต่เช้า ๆ
เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำทางราชการมาก”
ชายคนนั้นรับคำแล้วจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ กราบแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอนุรุทธะว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ช่างไม้
ปัญจกังคะกราบเท้าพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า
‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธะโปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ นิมนต์รับ
ภัตตาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอพระคุณเจ้าโปรดไปแต่เช้า ๆ
เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำทางราชการมาก”
ท่านพระอนุรุทธะรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

[๒๓๐] ครั้นเวลาเช้า เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระอนุรุทธะ ครองผ้า
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของช่างไม้ปัญจกังคะ แล้วนั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ช่างไม้ปัญจกังคะถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีต
แก่ท่านพระอนุรุทธะจนอิ่มหนำสำราญด้วยตนเอง พอเห็นท่านพระอนุรุทธะฉันเสร็จ
ละมือออกจากบาตรแล้ว จึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ได้กล่าว
กับท่านพระอนุรุทธะว่า
“พระคุณเจ้าผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเข้ามาหากระผมในที่นี้แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘คหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้เถิด’ พระเถระบางรูปกล่าวอย่างนี้ว่า
‘คหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะเถิด’
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ธรรม ๒ ประการนี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติ๑อันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ๒
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน(อย่างไร) หรือว่ามีอรรถเป็นอันเดียวกัน๓
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านนั่นแหละ จงทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้แจ่มแจ้ง
ท่านจะได้ปฏิบัติไม่ผิดจากเรื่องนี้”
“พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘ธรรมเหล่านี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

“คหบดี ธรรม ๒ ประการนี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน ท่านพึงทราบความต่างกันนั้น โดย
วิธีที่ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกันโดยเหตุผลต่อไปนี้
เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ... ทิศที่ ๒
... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มี
อุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่
คหบดี นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
[๒๓๑] เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๑ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็น
แดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดปฐพีซึ่งมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต
๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
คหบดี โดยเหตุผลนี้ ท่านก็จะทราบความต่างกันนั้น โดยวิธีที่ธรรมเหล่านี้
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน
[๒๓๒] คหบดี การเข้าถึงภพนี้มี ๔ ประการ
การเข้าถึงภพ ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างเล็กน้อยเป็นอารมณ์อยู่ หลังจากตายแล้ว
จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปริตตาภา
๒. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างหาประมาณมิได้เป็นอารมณ์อยู่ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นอัปปมาณาภา
๓. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างเศร้าหมองเป็นอารมณ์อยู่ หลังจาก
ตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นสังกิลิฏฐาภา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

๔. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่ หลังจากตาย
แล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปริสุทธาภา
การเข้าถึงภพ ๔ ประการนี้แล
มีสมัยที่พวกเทพประชุมร่วมกัน เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่
มีรัศมีไม่ต่างกัน เปรียบเหมือนบุรุษตามประทีปน้ำมันหลายดวง เข้าไปยังเรือน
หลังหนึ่ง ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกัน แต่มีแสงสว่างไม่ต่างกัน
แม้ฉันใด สมัยที่พวกเทพประชุมร่วมกัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เทพเหล่านั้นย่อม
ปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่มีรัศมีไม่ต่างกัน
มีสมัยที่พวกเทพแยกกันประชุม เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกันและ
มีรัศมีต่างกัน เปรียบเหมือนบุรุษนำประทีบน้ำมันหลายดวงออกจากเรือนหลังนั้น
ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกันและมีแสงสว่างต่างกัน แม้ฉันใด สมัย
ที่พวกเทพแยกกันประชุม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกาย
ต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน
คหบดี เทพเหล่านั้นไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า ‘สิ่งนี้ของเราทั้งหลายเที่ยง
ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่เทพเหล่านั้นย่อมอภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น
เปรียบเหมือนแมลงวันที่ติดไปกับหาบหรือตะกร้า ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘หาบหรือตะกร้านี้ของเราเที่ยง ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่ว่าแมลงวันเหล่านั้นย่อม
อภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น แม้ฉันใด เทพเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่
มีความคิดอย่างนี้เลยว่า ‘สิ่งนี้ของเราทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่เทพ
เหล่านั้นย่อมอภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น”
[๒๓๓] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะ ได้
กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ แต่กระผมมีเรื่องจะขอ
ถามให้ยิ่งขึ้นไปในเรื่องนี้ว่า ‘เทพผู้มีรัศมีทั้งหมดนั้นมีรัศมีเล็กน้อย หรือว่าบรรดา
เทพเหล่านั้นมีเทพบางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ท่านกัจจานะ โดยองค์แห่งการเกิด บรรดาเทพ
เหล่านี้ เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดใน
หมู่เทพเดียวกันเหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมี
หาประมาณมิได้”
“ท่านกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น กระผมจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบ
ปัญหานั้นตามที่ท่านพอใจ
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’
อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปสู่โคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็น
แดนมหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่
ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาปฐพีมีมหาสมุทร
เป็นขอบเขตอยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดมหาปฐพีมีมหาสมุทรเป็นขอบเขตว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดในหมู่เทพเดียวกัน
เหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”
[๒๓๔] “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ แต่กระผมมีเรื่องจะขอสอบถามให้ยิ่งขึ้น
ไปในเรื่องนี้ว่า ‘เทพผู้มีรัศมีทั้งหมดนั้นมีรัศมีเศร้าหมอง หรือว่าบรรดาเทพ
เหล่านั้นมีเทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
“ท่านกัจจานะ โดยองค์แห่งการเกิดนั้น บรรดาเทพเหล่านี้ เทพบางพวกมี
รัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิด
ในหมู่เทพเดียวกันเหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมี
บริสุทธิ์”
“ท่านกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น กระผมจักทำการเปรียบเทียบแก่ท่าน แม้เพราะ
การเปรียบเทียบ วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ จึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตได้
เปรียบเหมือน เมื่อประทีปน้ำมันอันบุคคลจุดไฟอยู่ แม้น้ำมันก็ไม่บริสุทธิ์
แม้ไส้ก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะน้ำมันและไส้ไม่บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นจึงติดไฟอย่าง
ริบหรี่ แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน น้อมจิต
แผ่กสิณมีแสงสว่างเศร้าหมองเป็นอารมณ์อยู่ ไม่ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี
ไม่ถอนถีนมิทธะให้ดี ไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เพราะไม่ระงับความชั่วหยาบ
ทางกายให้ดี ไม่ถอนถีนมิทธะให้ดี ไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี ภิกษุนั้นจึง
รุ่งเรืองอย่างริบหรี่ หลังจากมรณภาพแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่เทพ
ผู้มีรัศมีเศร้าหมอง
เปรียบเหมือน เมื่อประทีบน้ำมันอันบุคคลจุดไฟอยู่ แม้น้ำมันก็บริสุทธิ์
แม้ไส้ก็บริสุทธิ์ เพราะน้ำมันและไส้บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นจึงติดไฟอย่างไม่ริบหรี่
แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน น้อมจิตแผ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

กสิณมีแสงสว่างบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่ ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี ถอน
ถีนมิทธะให้ดี กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เพราะระงับความชั่วหยาบทางกาย
ให้ดี ถอนถีนมิทธะให้ดี และกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี ภิกษุนั้นจึงรุ่งเรืองอย่างไม่
ริบหรี่ หลังจากมรณภาพแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้มีรัศมีบริสุทธิ์
ท่านกัจจานะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดในหมู่เทพเดียวกัน
เหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
[๒๓๕] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะได้
กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ ท่านอนุรุทธะมิได้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘เราได้สดับมาแล้วอย่างนี้’ หรือว่า ‘ควรจะเป็นอย่างนี้’ แต่ท่าน
อนุรุทธะกล่าวว่า ‘เทพเหล่านั้นเป็นอย่างนั้นบ้าง เทพเหล่านั้นเป็นอย่างนี้บ้าง
ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ท่านอนุรุทธะต้องเคยอยู่ร่วม
เคยเจรจา และเคยร่วมสนทนากับเทพเหล่านั้นมาเป็นแน่”
“ท่านกัจจานะ ท่านกล่าววาจานี้เป็นที่น่าเชื่อถือจริง ๆ แต่กระผมจักตอบ
ท่านบ้าง ท่านกัจจานะ กระผมเคยอยู่ร่วม เคยเจรจา และเคยร่วมสนทนากับ
เทพเหล่านั้นมานานแล้ว”
เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะได้กล่าวกับ
ช่างไม้ปัญจกังคะว่า “คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ท่านละเหตุแห่ง
ความสงสัยนั้นเสียได้ เราทั้งสองจึงได้ฟังธรรมบรรยายนี้” ดังนี้แล

อนุรุทธสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลส

[๒๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพี เกิดความบาดหมาง เกิดการทะเลาะวิวาท
ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพี เกิดความบาดหมาง เกิดการ
ทะเลาะเกิดการวิวาท ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ขอประทานวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุเหล่านั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัส
กับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าบาดหมาง อย่า
ทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี (เจ้าของธรรม)
โปรดรอก่อน ขอพระผู้มีพระภาคทรงขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมใน
ปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ
การขัดแย้ง และการวิวาทนั่นเอง พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
ภิกษุรูปนั้นได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี โปรดรอก่อน ขอพระผู้มีพระภาคทรง
ขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาท
นั่นเอง พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้
มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี โปรดรอก่อน ขอพระพระผู้มีพระภาคทรงขวนขวาย
น้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
ปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาทนั้นเอง
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพีแล้ว เสด็จกลับ
จากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือ
บาตรและจีวรประทับยืนอยู่นั่นแล ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๓๗] “ภิกษุทั้งหลายต่างส่งเสียงดังพร้อมกัน
ที่จะรู้สึกว่าตนเป็นพาลนั้น ไม่มีเลยสักรูปเดียว
ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น
เธอทั้งหลายขาดสติ แสดงตนว่าเป็นบัณฑิต
เท้าคารมพูดได้ตามที่ตนปรารถนา
จะยื่นปากพูดก็ไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ
ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า
‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’
เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบระงับ
ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า
‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’
เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ
เพราะว่าในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร๑
แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร๒
นี้เป็นธรรมเก่า๓


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

ชนเหล่าอื่น๑ไม่รู้ชัดว่า
‘พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้’
ส่วนชนเหล่าใด๒ในหมู่นั้น
รู้ชัดความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ
เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น
ชนทั้งหลายบั่นกระดูกฆ่ากัน ลักทรัพย์คือโคและม้า
ช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก
ไฉนเธอทั้งหลายจึงคบหากันไม่ได้เล่า
ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตนเที่ยวไปด้วยกันได้
เป็นสาธุวิหารี๓ เป็นนักปราชญ์
ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว
พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด
ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์
ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเถิด
เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว
และเหมือนช้างมาตังคะละทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น
การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ
เพราะคุณเครื่องความเป็นสหาย๔ไม่มีในคนพาล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย
เที่ยวไปผู้เดียวไม่พึงทำความชั่ว
เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า”๑
[๒๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับยืนตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไป
ยังบ้านพาลกโลณการคาม
สมัยนั้น ท่านพระภคุพักอยู่ที่บ้านพาลกโลณการคาม ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงได้จัดที่ประทับ ตั้งน้ำล้างพระบาทไว้
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงล้างพระบาท
ฝ่ายท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระภคุว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอ
เป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ”
ท่านพระภคุกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบาก
ด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระภคุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน๒
สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ พักอยู่
ที่ป่าปาจีนวังสทายวัน
นายทายบาล(ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านอย่าเข้าไปในป่านี้เลย ในป่านี้มีกุลบุตร
๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้มุ่งประโยชน์ตนอยู่ ท่านอย่าได้รบกวนกุลบุตรทั้ง ๓ นั้นเลย”
ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลว่า “นายทายบาล ท่าน
อย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย
เสด็จมาถึงแล้ว”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

[๒๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่าน
พระกิมพิละถึงที่อยู่ แล้วได้บอกว่า “รีบไปกันเถิดท่าน รีบไปกันเถิดท่าน พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จมาถึงแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละได้ต้อนรับพระผู้มี
พระภาค คือ รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูพุทธอาสน์
รูปหนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท
พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ทรงล้างพระบาทแล้ว
พระเถระทั้ง ๓ รูปนั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอนุรุทธะว่า “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ”
“ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ
มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่หรือ”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่
วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่
พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายเป็นผู้สามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างไร”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นกายกรรมอัน
ประกอบด้วยเมตตา ตั้งมั่นวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และตั้งมั่นมโนกรรม
อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

ความนึกคิดของท่านเหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตาม
อำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่
ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ท่านพระนันทิยะ ฯลฯ
แม้ท่านพระกิมพิละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้
อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
ตั้งมั่นวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และตั้งมั่นมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้’
ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่าน
เหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอัน
เดียวกัน
ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนม
กับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
อนึ่ง เธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่หรือ”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างไร”
“ขอประทานวโรกาส บรรดาข้าพระองค์ทั้งหลาย รูปใดกลับจากบิณฑบาต
จากบ้านก่อน รูปนั้นย่อมปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ รูปใด
กลับจากบิณฑบาตจากบ้านในภายหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หาก
ประสงค์ก็ฉัน หากไม่ประสงค์ก็เททิ้งบนพื้นที่ที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำ
ที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นเก็บงำอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ ล้างถาดสำรับเก็บไว้ กวาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

โรงอาหาร รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้น
ก็นำไปตั้งไว้ ถ้าเหลือวิสัยของท่าน ข้าพระองค์ทั้งหลายจะกวักมือเรียกรูปที่ ๒
มาช่วยกันยกหม้อน้ำฉัน หรือหม้อน้ำใช้ไปตั้งไว้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ปริปากบ่น
เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย และข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนาธรรมีกถาตลอดคืน
ยันรุ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้แล
พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
เมื่อเธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุก
ที่เธอทั้งหลายได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือ”๑
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย
แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นก็หายไปจากข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จึงแทงตลอดนิมิตนั้นไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เธอทั้งหลายต้อง
แทงตลอดนิมิตนั้นได้แน่ จะเล่าให้ฟังว่า ก่อนแต่การตรัสรู้
๑. แม้เรายังไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ขณะที่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อม
จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้เหมือนกัน แต่ไม่นาน แสงสว่าง
และการเห็นรูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดอย่างนี้ว่า ‘อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรา
นั้นได้คิดว่า ‘วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะวิจิกิจฉาเป็นเหตุ
สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ
เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาจะไม่เกิดแก่เราอีก’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

๒. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึง
จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นาน แสงสว่างและการเห็น
รูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า
‘อมนสิการ(การไม่ใส่ใจ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอมนสิการเป็น
เหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ
การเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะ
ไม่เกิดแก่เราอีก’
๓. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ถีนมิทธะเกิดขึ้น
แล้วแก่เรา เพราะถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ
สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ
โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะจะไม่เกิดแก่เราอีก’
๔. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความสะดุ้งกลัว
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล ที่สองข้างทางเกิดมีคนปอง
ร้ายเขา เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความสะดุ้งกลัว
แม้ฉันใด ความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ
เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่
วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และความสะดุ้งกลัวจะไม่เกิดแก่
เราอีก’
๕. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความปลาบปลื้ม
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเรา
จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง
หายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษผู้แสวงหาขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่ง
ขุมทรัพย์ ๕ แห่งในคราวเดียวกัน เพราะพบแหล่งขุมทรัพย์ ๕
แห่งนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความปลาบปลื้ม แม้ฉันใด ความ
ปลาบปลื้มเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความ
ปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา
อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว และความปลาบปลื้มจะไม่
เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๖. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความชั่วหยาบ
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความชั่วหยาบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว
ความปลาบปลื้ม และความชั่วหยาบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๗. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไปเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป
เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง
และการเห็นรูปจึงหายไป
เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้น
ต้องถึงความตายในมือของบุรุษนั้นนั่นเอง แม้ฉันใด ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ
สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ
โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความ
ปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ และความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปจะไม่
เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๘. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่
หย่อนเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่หย่อนเกิน
ไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสง
สว่างและการเห็นรูปจึงหายไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มหลวม ๆ นกคุ่มนั้น
ย่อมบินไปจากมือเขาได้ แม้ฉันใด ความเพียรที่หย่อนเกินไปได้
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความเพียรที่หย่อน
เกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา
อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความ
ชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป และความเพียรที่หย่อนเกิน
ไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๙. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ตัณหาที่คอย
กระซิบได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ
สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ
เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ
ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อนเกินไป และตัณหาที่คอย
กระซิบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๑๐. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘นานัตตสัญญาได้
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะนานัตตสัญญาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว
ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป
ความเพียรที่หย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และนานัตต-
สัญญาจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๑๑. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำ
แสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย แสงสว่างและการเห็น
รูปนั้น ก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า
‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะลักษณะที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

เพ่งรูปมากเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ
เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่
วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม
ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อน
เกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ นานัตตสัญญา และลักษณะที่เพ่งรูป
มากเกินไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’

ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต

[๒๔๒] เรานั้นรู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลส(ธรรมเครื่องเศร้าหมอง)แห่งจิต’
แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้๑
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง
กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ
ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละตัณหา
ที่คอยกระซิบอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘นานัตตสัญญาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละนานัตตสัญญา
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
[๒๔๓] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เพราะเรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป เพราะเราเห็นรูป
แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและ
กลางวันบ้าง เรานั้นจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราจำแสงสว่างได้
แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปได้ แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน
บ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’ เรานั้นคิดว่า ‘สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป
ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป แต่สมัยใด
เราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูป แต่จำ
แสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและ
กลางวันบ้าง’
เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างได้
เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย จำแสงสว่างอันหาประมาณมิได้
และเห็นรูปอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอด
กลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราจำแสง
สว่างได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย จำแสงสว่างอันหา
ประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน
บ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’
เรานั้นได้รู้ว่า ‘ในสมัยใด เรามีสมาธินิดหน่อย สมัยนั้นเรามีจักษุนิดหน่อย
เรานั้นจำแสงสว่างได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย ด้วย
จักษุเพียงนิดหน่อย แต่สมัยใด เรามีสมาธิอันหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

มีจักษุอันหาประมาณมิได้ เรานั้นจำแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหา
ประมาณมิได้ด้วยจักษุอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง
ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’
[๒๔๔] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เรารู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉา
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้๑
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง
กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ
ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละตัณหาที่
คอยกระซิบอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘นานัตตสัญญาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละนานัตตสัญญา
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
[๒๔๕] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลนั้น เรานั้นได้รู้ว่า ‘เราละ
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้นได้แล้ว เอาเถิด บัดนี้ เราจะเจริญสมาธิทั้ง ๓ ประการ’
เรานั้นจึงได้เจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียง
วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง ได้
เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยความสุขบ้าง ได้เจริญสมาธิ
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง
อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เราเจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เจริญสมาธิที่
มีปีติ เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติ เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยสุข เจริญสมาธิที่สหรคต
ด้วยอุเบกขา ในกาลนั้น ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อุปักกิเลสสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาลปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของคนพาล๑ เครื่องหมายของคนพาล ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้
ลักษณะของคนพาล ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ คนพาลในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว๒
๒. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว๓
๓. ชอบทำแต่กรรมชั่ว๔
ถ้าคนพาลไม่ชอบคิดเรื่องชั่ว ไม่ชอบพูดเรื่องชั่ว ไม่ชอบทำกรรมชั่วเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า ‘ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี’ แต่เพราะ
คนพาลชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว และชอบทำแต่กรรมชั่ว ฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า ‘ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี‘๕
คนพาลนั้นย่อมเสวยทุกขโทมนัส ๓ ประการในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ในตรอกก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี
ถ้าชนในที่นั้น พูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้นแก่เขา ถ้าคนพาลเป็นผู้ฆ่าสัตว์
เป็นผู้ลักทรัพย์ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้พูดเท็จ เป็นผู้เสพของมึนเมาคือ
สุราและเมรัย๖อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ในเรื่องนั้น คนพาลจะมีความรู้สึก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

อย่างนี้ว่า ‘ข้อที่ชนพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา
และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๑ นี้ในปัจจุบัน
[๒๔๗] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนพาลเห็นพระราชารับสั่งให้จับโจร
ผู้ประพฤติผิดมาแล้ว ลงอาญาโดยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้
เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและ
เท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน
ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหล
เหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟ
ต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลก
หนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่
ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ
เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง
เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบ
ให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้
แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัด
กินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุแห่งกรรมเช่นไร
พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้วลงอาญาโดยประการต่าง ๆ
คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา
และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น ถ้าแม้พระราชาทั้งหลายพึงรู้จักเรา ก็จะรับสั่งให้
จับเราแล้วลงอาญาโดยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ให้นอน
บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง๑
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๒ นี้ในปัจจุบัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

[๒๔๘] อีกประการหนึ่ง ในสมัยนั้น บาปกรรมที่คนพาลทำ คือ การ
ประพฤติกายทุจริต การประพฤติวจีทุจริต การประพฤติมโนทุจริตไว้ในกาลก่อน
ย่อมหน่วงเหนี่ยวบดบัง ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น
เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมกั้น บดบัง ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่
ในเวลาเย็น แม้ฉันใด ในสมัยนั้น บาปกรรมที่คนพาลทำ คือ การประพฤติกายทุจริต
การประพฤติวจีทุจริต การประพฤติมโนทุจริตไว้ในกาลก่อน ย่อมหน่วงเหนี่ยวบดบัง
ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น ฉันนั้นเหมือนกัน
ในเรื่องนั้น คนพาลมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรายังไม่ได้ทำความดีไว้หนอ ยัง
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรม
หยาบช้า ทำแต่กรรมเศร้าหมอง เราตายแล้ว จะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรมหยาบช้า
ทำแต่กรรมเศร้าหมองนั้น’ เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ
ถึงความหลงไหล
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๓ นี้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นยังประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต
ประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนรกนั้นนั่นแหละว่า ‘เป็นสถานที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ โดยส่วนเดียว’ ทุกข์นี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันไม่ได้”
[๒๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์จะทรงอุปมาได้อีกหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนราชบุรุษ
ทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร
ประพฤติผิดต่อพระองค์ ขอพระองค์จงทรงลงพระอาญาตามที่ทรงพระราชประสงค์
แก่โจรผู้นี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษนี้ด้วย
หอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วย
หอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า
ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายว่า ‘ท่านทั้งหลาย
บุรุษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า’
พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษคน
นั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเที่ยงวัน’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารบุรุษ
คนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเที่ยงวัน
ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายอีกว่า ‘ท่านทั้งหลาย
บุรุษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า’
‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเย็น’
ราชบุรุษทั้งหลายจึงช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเย็น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม พึงเสวยทุกขโทมนัสเพราะ
การประหารนั้นเป็นเหตุบ้างไหม”
“บุรุษนั้นแม้ถูกประหารด้วยหอก ๑ เล่ม ยังได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมี
การประหารนั้นเป็นเหตุ ไม่จำต้องกล่าวถึงการที่บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอกตั้ง
๓๐๐ เล่ม พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่ามือ
ขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนหินขนาด
ย่อม ๆ เท่าฝ่ามือที่เราถืออยู่นี้กับขุนเขาหิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
“ก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่าพระหัตถ์ที่พระองค์ทรงถืออยู่นี้ มีประมาณ
น้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว ไม่ถึงแม้การนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่ง
เสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ทุกขโทมนัสเพราะการประหารนั้นเป็นเหตุ
ที่บุรุษถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม เสวยอยู่นั้น เปรียบเทียบกับทุกข์แห่ง
นรกแล้ว ไม่ถึงแม้การนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
นายนิรยบาลทั้งหลายทำกรรมกรณ์ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ
ตอกตะปูเหล็กร้อนแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก คนพาลนั้น
เสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อน ในที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า
ฯลฯ ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง
เอามีดเฉือน คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า ฯลฯ ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลจับเขาเทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลวโชติช่วง
คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อน ในที่นั้น ฯลฯ ตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลบังคับเขาให้ขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟ
ลุกโชนโชติช่วง คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ บนภูเขา
ถ่านเพลิงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขา
เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงในโลหกุมภี(หม้อทองแดง) อันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ
คนพาลนั้นถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น เขาเมื่อถูกต้มเดือดจนตัวพองใน
โลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนา
กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก
ก็มหานรกนั้น
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง
แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ๑
ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์นี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันด้วยการบอกไม่ได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

[๒๕๑] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นอาหารมีอยู่ สัตว์
ดิรัจฉานเหล่านั้นใช้ฟันเล็มหญ้าสดบ้าง หญ้าแห้งบ้าง
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นอาหาร พวกไหนบ้าง
คือ ช้าง ม้า โค ลา แพะ มฤค หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่มี
หญ้าเป็นอาหาร
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่มีหญ้าเป็นอาหารเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหารมีอยู่ สัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถแต่
ที่ไกลแล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า ‘จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้’
เปรียบเหมือนพราหมณ์เดินไปตามกลิ่นเครื่องบูชาด้วยหมายใจว่า ‘จักกิน
ตรงนี้ จักกินตรงนี้’ แม้ฉันใด สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหารเหล่านั้น ฉัน
นั้นเหมือนกัน ได้กลิ่นคูถแต่ที่ไกลแล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า ‘จักกินตรงนี้ จักกิน
ตรงนี้’
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหาร พวกไหนบ้าง
คือ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่มีคูถ
เป็นอาหาร
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่มีคูถเป็นอาหารเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด พวกไหนบ้าง
คือ แมลง มอด ไส้เดือน หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่เกิดในที่มืด
แก่ในที่มืด ตายในที่มืด
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด
ตายในที่มืดเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ พวกไหนบ้าง
คือ ปลา เต่า จระเข้ หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ
ตายในน้ำ
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ
ตายในน้ำเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่โสโครก มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่โสโครก
พวกไหนบ้าง
คือ สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในปลาเน่า แก่ในปลาเน่า หรือตายในปลาเน่า
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในศพเน่า ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในขนมกุมมาสที่
บูด ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำครำ ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในหลุม
โสโครก ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่
โสโครก
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่
โสโครก ตายในที่โสโครกเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์นี้กับทุกข์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเปรียบเทียบกันด้วยการ
บอกไม่ได้
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงไปในมหาสมุทร ลมทาง
ทิศตะวันออกพัดแอกนั้นไปทางทิศตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดแอกนั้นไปทาง
ทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัดแอกนั้นไปทางทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดแอกนั้นไป
ทางทิศเหนือ ในมหาสมุทรนั้น มีเต่าตาบอดอยู่ตัวหนึ่ง ผ่านไป ๑๐๐ ปี มันจะ
โผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ เต่าตาบอดนั้นพึงสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้บ้างไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า แต่ถ้าเวลาล่วงเลยไปนาน ๆ บางครั้งบางคราวมัน
ก็จะสอดเข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดนั้นพึงสอดคอเข้าไปใน
แอกที่มีรูเดียวโน้นยังเร็วกว่า เรากล่าวว่าการที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวเดียวจะ
พึงได้เป็นมนุษย์อีกยากกว่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะในวินิบาตนั้น ไม่มีการประพฤติธรรม ไม่มีการประพฤติชอบ ไม่มี
การทำกุศล ไม่มีการทำบุญ ในวินิบาตนั้น มีแต่สัตว์ผู้เคี้ยวกินกันเอง เคี้ยวกิน
สัตว์ผู้มีกำลังน้อยกว่า๑
คนพาลนั้น เพราะเวลาล่วงเลยมานาน ในบางครั้งบางคราวถ้ามาเกิดเป็น
มนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะเช่นนั้น ที่เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำ
และสิ่งของเครื่องใช้น้อยเป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่องนุ่งห่ม
ได้ยาก และคนพาลนั้นมีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป เขายังประพฤติ
กายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน เพราะความพ่ายแพ้ครั้งแรกเท่านั้น
จึงเสียลูก เสียเมีย เสียทรัพย์สมบัติทุกอย่าง และถึงการจองจำ ที่เป็นการ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

สูญเสียอย่างยิ่ง ความพ่ายแพ้ ของนักเลงการพนันผู้เสียลูก เสียเมีย เสียทรัพย์
สมบัติทุกอย่าง และถึงการจองจำเพราะความพ่ายแพ้ครั้งแรกนั้น เป็นเพียงเล็กน้อย
แม้ฉันใด ความพ่ายแพ้ของคนพาลผู้ประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติ
มโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้น
เหมือนกัน
นี้เป็นภูมิของคนพาลที่คนพาลบำเพ็ญไว้ทั้งสิ้น
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของบัณฑิต เครื่องหมายของบัณฑิต ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้
ลักษณะของบัณฑิต ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ บัณฑิตในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี
๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี
๓. ชอบทำแต่กรรมดี
ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า ‘ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี’ แต่เพราะ
บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า ‘ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี’๑
บัณฑิตนั้นย่อมเสวยสุขโสมนัส ๓ ประการในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตนั่งในสภาก็ดี ในตรอกก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี
ถ้าชนในที่นั้นพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้นแก่เขา ถ้าบัณฑิตเป็นผู้เว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดใน
กาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ในเรื่องนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า
‘ข้อที่ชนพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเรา
ก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๑ นี้ในปัจจุบัน
[๒๕๔] อีกประการหนึ่ง บัณฑิตเห็นพระราชาทั้งหลายรับสั่งให้จับโจรผู้
ประพฤติผิดมาลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยน
ด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง
ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง
ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือน
ปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง
ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึง
บั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่า
แล้วเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง
เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น
ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้ว
จับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือน
ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่
กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุแห่งบาปกรรม
เช่นไร พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้วลงอาญาด้วยประการ
ต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง
ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบ
หูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาว
เหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราด
น้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้า
ให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

เหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕
ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ
เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้
หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบ
กระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัว
ด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอน
บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นไม่มีในเรา และ
เราก็ไม่ปรากฏในธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๒ นี้ในปัจจุบัน
[๒๕๕] อีกประการหนึ่ง ในสมัยนั้น กรรมดีที่บัณฑิตทำ คือ การประพฤติ
กายสุจริต การประพฤติวจีสุจริต การประพฤติมโนสุจริตไว้ในกาลก่อน ย่อม
คุ้มครอง ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น
เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมบดบัง ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่
ในเวลาเย็น แม้ฉันใด กรรมดีที่บัณฑิตทำ คือ การประพฤติกายสุจริต การ
ประพฤติวจีสุจริต การประพฤติมโนสุจริตไว้ในกาลก่อน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
คุ้มครอง ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น
ในเรื่องนั้น บัณฑิตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ได้ทำความชั่วไว้หนอ ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ เราทำแต่ความดี ทำแต่กุศล
ทำแต่ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ เราตายแล้วจะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความชั่วไว้ ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่
ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้’ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความหลงไหล
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๓ นี้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นยังประพฤติกายสุจริต ประพฤติวจีสุจริต ประพฤติ
มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

ถูกต้อง พึงกล่าวถึงสวรรค์นั่นแหละว่า ‘เป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
โดยส่วนเดียว’ ภิกษุทั้งหลาย แม้การเปรียบเทียบว่าสวรรค์เป็นสุขก็ไม่ใช่ทำ
ได้ง่าย”
[๒๕๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงอุปมาได้อีกหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนพระเจ้า
จักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์(ความสำเร็จ) ๔ ประการ
เพราะความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการนั้นเป็นเหตุ
พระเจ้าจักรพรรดินั้นจึงเสวยสุขโสมนัส
พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ จักรแก้วอันเป็นทิพย์มีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และส่วนประกอบ
ครบทุกอย่าง ย่อมปรากฏแก่กษัตราธิราชในโลกนี้ผู้ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรง
สนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ ประทับอยู่ชั้นบน
ปราสาทหลังงาม กษัตราธิราชผู้ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ครั้นทอดพระเนตรแล้ว
ได้มีพระราชดำริว่า ‘เราได้ฟังเรื่องนี้มาว่า ‘จักรแก้วอันเป็นทิพย์มีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง
มีดุม และส่วนประกอบครบทุกอย่าง ย่อมปรากฏแก่กษัตราธิราชพระองค์ใดผู้ทรง
ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ
ประทับอยู่ชั้นบนปราสาทหลังงาม กษัตราธิราชพระองค์นั้นย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ’
เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิกระมัง’
ลำดับนั้น กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วทรงลุกจากที่ประทับ พระหัตถ์
เบื้องซ้ายทรงจับพระภิงคาร(พระน้ำเต้า) พระหัตถ์เบื้องขวาทรงชูจักรแก้ว ขึ้นตรัสว่า
‘จักรแก้วอันประเสริฐจงหมุนไป จงได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่’ ทันใดนั้นจักรแก้วนั้นก็
หมุนไปทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไป
เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาในประเทศที่จักรแก้วหยุดอยู่ พระราชา
ทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกพากันเสด็จมาเฝ้า แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จพระองค์ ราชสมบัติ
ของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า’
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึง
ลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และท่าน
ทั้งหลายจงครองราชสมบัติไปตามเดิมเถิด’ พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศ
ตะวันออกเหล่านั้น ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว
[๒๕๗] ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น จักรแก้วก็หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศ
ตะวันออก แล้วหมุนกลับไปด้านทิศใต้ ฯลฯ หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศใต้
แล้วหมุนกลับไปด้านทิศตะวันตก ฯลฯ หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศตะวันตก
แล้วหมุนกลับไปด้านทิศเหนือ เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ในประเทศ
ที่จักรแก้วหยุดอยู่
พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือพากันเสด็จมาเฝ้า แล้วกราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จ ราชสมบัติ
ของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า’
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงปก
ครองบ้านเมืองไปตามเดิมเถิด’ พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้น
ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว
๑. ครั้งนั้น จักรแก้วนั้นได้ปราบปรามแผ่นดิน มีมหาสมุทรเป็นขอบ
เขตอย่างราบคาบ เสร็จแล้วหมุนกลับราชธานีนั้น ประดิษฐานอยู่
เสมือนลิ่มสลักที่พระทวารภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทำพระทวารภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิให้สว่างไสว
ภิกษุทั้งหลาย จักรแก้วเห็นปานนี้ ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

[๒๕๘] ๒. อีกประการหนึ่ง ช้างแก้ว ซึ่งเป็นช้างเผือก เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์
มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาสได้ เป็นพญาช้างตระกูลอุโบสถ ย่อม
ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิครั้นทอดพระเนตร
เห็นช้างนั้น จึงมีพระทัยโปรดปรานว่า “ท่านผู้เจริญ พาหนะคือ
ช้างนี้ถ้าได้นำไปฝึก ก็จะเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลแน่แท้” จากนั้น
ช้างแก้วนั้นจึงได้รับการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนยตัวเจริญซึ่งได้รับ
การฝึกหัดดีแล้วตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า แล้วเสด็จเลียบไป
ตลอดแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมา
ราชธานีนั้นดังเดิม ทันเสวยพระกระยาหารเช้า ช้างแก้วเห็นปาน
นี้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ
๓. อีกประการหนึ่ง ม้าแก้ว ซึ่งเป็นม้าขาว ศีรษะดำ มีขนปกดุจ
หญ้าปล้อง มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้ ชื่อพญาม้าวลาหก
ย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิครั้นทอด
พระเนตรเห็นม้าแก้วนั้น จึงมีพระทัยโปรดปรานว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พาหนะคือม้านี้ถ้าได้นำไปฝึกก็จะเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลแน่แท้’ จาก
นั้น ม้าแก้วนั้นจึงได้รับการฝึกหัดเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญซึ่งได้
รับการฝึกหัดดีแล้วตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า แล้วเสด็จเลียบไป
ตลอดแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมา
ราชธานีนั้นดังเดิม ทันเสวยพระกระยาหารเช้า ม้าแก้วเห็นปานนี้
ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

๔. อีกประการหนึ่ง มณีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือมณีแก้ว
นั้นเป็นแก้วไพฑูรย์ งามบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ สุกใสเป็นประกาย
ได้สัดส่วน มีแปดเหลี่ยม เจียระไนไว้ดีแล้ว รัศมีแห่งมณีแก้วนั้น
แผ่ซ่านออกไปรอบ ๆ ประมาณ ๑ โยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบมณีแก้วนั้น ทรงให้หมู่จตุรงคินีเสนาผูกสอดเกราะแล้วทรง
ยกมณีแก้วนั้นเป็นยอดธง เสด็จไปประทับยืนในที่มืดยามราตรี
เพราะแสงสว่างนั้น ชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบสำคัญว่าเป็นเวลา
กลางวัน จึงพากันประกอบการงาน มณีแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่
พระเจ้าจักรพรรดิ
๕. อีกประการหนึ่ง นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือนางแก้วนั้น
เป็นสตรีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไม่
สูงเกินไป ไม่เตี้ยเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป
ไม่ขาวเกินไป งดงามเกินผิวพรรณของหญิงมนุษย์ แต่ไม่ถึง
ผิวพรรณทิพย์ กายของนางแก้วนั้นมีสัมผัสอ่อนนุ่มดุจปุยนุ่นหรือ
ปุยฝ้าย มีร่างกายอบอุ่นในฤดูหนาว เย็นในฤดูร้อน มีกลิ่น
จันทน์หอมฟุ้งออกจากกาย กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของนาง
นางแก้วนั้นมีปกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังว่าจะรับสั่งให้ทำอะไร
ประพฤติต้องพระทัย ทูลแต่คำไพเราะต่อพระเจ้าจักรพรรดิ และ
นางแก้วนั้นจะไม่ประพฤตินอกพระทัยพระเจ้าจักรพรรดิ ไฉนเล่า
จะประพฤติล่วงเกินทางกายได้ นางแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่พระ
เจ้าจักรพรรดิ
๖. อีกประการหนึ่ง คหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือ
คหบดีแก้วนั้นเป็นผู้มีตาทิพย์ อันเกิดแต่ผลกรรม ซึ่งสามารถเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

ขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้า
จักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทรง
เป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้
พระองค์’
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบคหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือลัดกระแสน้ำไปกลางแม่น้ำ
คงคา แล้วได้รับสั่งกับคหบดีแก้วว่า ‘คหบดี ฉันต้องการเงิน
และทอง’ คหบดีแก้วจึงกราบทูลว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น
โปรดให้เทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด’ พระเจ้าจักรพรรดิ ตรัสว่า
‘คหบดี ฉันต้องการเงินและทองตรงนี้แหละ’ ทันใดนั้น คหบดี
แก้วนั้นจึงเอามือทั้งสองหย่อนลงในน้ำ ยกหม้อที่เต็มด้วยเงินและ
ทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า ‘เท่านี้พอหรือยัง
มหาราช เท่านี้ใช้ได้หรือยัง มหาราช เท่านี้พอบูชาแล้วหรือยัง
มหาราช’ พระเจ้าจักรพรรดิจึงตรัสอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เท่านี้พอแล้ว
เท่านี้ใช้ได้แล้ว เท่านี้ชื่อว่าบูชาแล้ว’ คหบดีแก้วเห็นปานนี้ปรากฏ
แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
๗. อีกประการหนึ่ง ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือ
ปริณายกแก้วนั้นเป็นบัณฑิต มีปรีชาสามารถถวายข้อแนะนำให้
พระเจ้าจักรพรรดิทรงบำรุงผู้ที่ควรบำรุง ถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน
ทรงแต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด
ข้าพระองค์จักถวายคำปรึกษา’ ปริณายกแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่
พระเจ้าจักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้
[๒๕๙] พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ มีพระรูปงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มี
พระฉวีผุดผ่องยิ่งนักเกินกว่ามนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิมีพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ
นานเกินกว่ามนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็น
ประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิมีพระโรคาพาธน้อย มีโรคเบาบาง
ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด เกินกว่า
มนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เปรียบเหมือนบิดาเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของบุตร
แม้ฉันใด พระจักรพรรดิก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย
อนึ่ง พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระทัยแม้
ของพระเจ้าจักรพรรดิ เปรียบเหมือนบุตรเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของบิดา แม้ฉันใด
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็เป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระ
ทัยแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา
เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีพากันเข้าเฝ้าพระเจ้า
จักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าด่วน
เสด็จไป โปรดเสด็จโดยอาการที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ชมพระบารมีนาน ๆ เถิด’
แม้พระเจ้าจักรพรรดิได้รับสั่งเรียกนายสารถีมาตรัสว่า ‘แน่ะพ่อสารถี ท่านจง
ค่อย ๆ ขับไปโดยอาการที่ฉันจะพึงเยี่ยมพราหมณ์และคหบดีได้นาน ๆ เถิด’
พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ ๔ ประการนี้
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔
ประการนี้ พึงเสวยสุขโสมนัสอันมีความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔
ประการนั้นเป็นเหตุบ้างไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็น
ผู้สมบูรณ์ด้วยแก้วแม้ประการเดียว ยังเสวยสุขโสมนัสที่เกิดเพราะแก้วแม้ประการ
เดียวนั้นเป็นเหตุได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๖๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่า
พระหัตถ์ขึ้นมาแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร คือก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่ามือที่เราถืออยู่นี้กับขุนเขา
หิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่าพระหัตถ์ที่พระองค์ทรง
ถืออยู่นี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว ไม่ถึงการนับ
ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สุขโสมนัสที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการ ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมี
ความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการและฤทธิ์ ๔ ประการนั้นเป็นเหตุ เปรียบเทียบ
กับสุขที่เป็นทิพย์แล้ว ไม่ถึงการนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบ
กันได้เลย
บัณฑิตนั้น เพราะเวลาล่วงเลยมานาน ในบางครั้งบางคราวถ้ามาเกิดเป็น
มนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล๑ ตระกูลพราหมณมหาศาล
หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เห็นปานนั้น อันเป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และธัญชาติมาก
และบัณฑิตนั้นเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีปกติ
ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง
ประทีป เขาจึงประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จึงไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน ได้รับโภคสมบัติมากมาย
ความชนะของนักเลงการพนันผู้ได้รับโภคสมบัติมากเพราะความชนะครั้งแรกนั้น
เป็นเพียงเล็กน้อย โดยที่แท้ ความชนะของบัณฑิตผู้ประพฤติกายสุจริต ประพฤติ
วจีสุจริต ประพฤติมโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็น
ความชนะที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น นี้เป็นภูมิของบัณฑิตที่บัณฑิตบำเพ็ญไว้ทั้งสิ้น”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พาลปัณฑิตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต

[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลัง มีประตูตรงกัน บุรุษผู้มีตาดี
ยืนอยู่ตรงกลางเรือน ๒ หลังนั้น พึงเห็นคนกำลังเดินเข้าเรือนบ้าง กำลังเดินออก
จากเรือนบ้าง กำลังเดินมาบ้าง กำลังเดินไปบ้าง แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
‘สัตว์เหล่านี้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ
มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หรือสัตว์เหล่านี้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม
ตามความเห็นชอบ หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในหมู่มนุษย์ สัตว์เหล่านี้ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในเปรตวิสัย
หรือสัตว์เหล่านี้ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ
มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หรือว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม
ตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑
[๒๖๒] ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาล๒จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๓ว่า
‘ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูลมารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูล
พราหมณ์ และไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ขอพระองค์จงลงโทษคนผู้นี้เถิด’
ภิกษุทั้งหลาย พญายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูต๔ที่ ๑ ว่า ‘เจ้า
ไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
พญายมถามเขาว่า ‘ในหมู่มนุษย์ เด็กเล็กผู้ยังอ่อนนอนหงายกลิ้งเกลือกอยู่
ในมูตรและกรีสของตน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความเกิดเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเกิดไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย
วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๑)
[๒๖๓] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียง ถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏ
ในหมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษมีอายุ ๘๐ ปี ... ๙๐ ปี ... หรือ ๑๐๐ ปี
เป็นคนชรา มีซี่โครงคด หลังโก่ง หลังค่อม ถือไม้เท้า เดินงก ๆ เงิ่น ๆ เก้ ๆ
กัง ๆ หมดความเป็นหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว ตัวตกกระ
เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย
วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๒)
[๒๖๔] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๒ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๓ ปรากฏใน
หมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษเจ็บป่วย ประสบทุกข์ เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่
ในมูตรและกรีสของตน ผู้อื่นต้องช่วยพยุงให้ลุกขึ้นช่วยป้อนอาหาร เจ้าไม่เคยเห็น
บ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดี
ทางกาย วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๓)
[๒๖๕] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๓ แล้ว จึงสอบ
สวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๔ ว่า ‘เจ้าเคยเห็นเทวทูตที่ ๔ ปรากฏในหมู่
มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ พระราชารับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว ลงอาญาด้วย
ประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลอง
บ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง
ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้
ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัว
ราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึง
ข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดู
เหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕
ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

แว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่
กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้
รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง
รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้
นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ได้ยินว่า
สัตว์ผู้ทำบาปกรรมไว้เหล่านั้น จะถูกลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ เห็นปานนี้ใน
ปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงชาติหน้า เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย วาจา
และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้ทำให้เจ้า
เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๔)
[๒๖๖] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๔ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๕ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๕ ปรากฏใน
หมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษที่ตาย ๑ วัน ๒ วัน หรือ ๓ วัน พองขึ้น
เป็นสีเขียว มีน้ำเหลืองแตกซ่าน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย วาจา
และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๕)
[๒๖๗] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๕ นั้นแล้วก็นิ่งเฉย
นายนิรยบาลจึงลงกรรมกรณ์ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอกตะปู
เหล็กร้อนแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนา
กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยัง
ไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก ฯลฯ
นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน ฯลฯ จับเขา
เทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นดินอันร้อนลุกเป็นเปลว โชติช่วง ฯลฯ บังคับ
เขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะ
ลง ทุ่มลงในโลหกุมภีอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองใน
โลหกุมภีนั้น เขาเมื่อถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น
บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก
ก็มหานรกนั้น
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง
แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ
[๒๖๘] ภิกษุทั้งหลาย เปลวไฟแห่งมหานรกนั้น ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้าน
ทิศตะวันออกจรดฝาด้านทิศตะวันตก ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศตะวันตกจรดฝา
ด้านทิศตะวันออก ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศเหนือจรดฝาด้านทิศใต้ ลุกโพลงขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

จากฝาด้านทิศใต้จรดฝาด้านทิศเหนือ ลุกโพลงขึ้นจากเบื้องล่างจรดเบื้องบน ลุก
โพลงขึ้นจากเบื้องบนจรดเบื้องล่าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในมหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูด้านทิศตะวันออกของ
มหานรกนั้นจะถูกเปิด เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่าง
รวดเร็วจึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูก
ทั้งหลายก็มอดไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที ใน
ขณะที่เขามาถึง ประตูนั้นจะถูกปิด เขาจึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในมหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูด้านทิศตะวันตกของ
มหานรกนั้นจะถูกเปิด ... ประตูด้านทิศเหนือจะถูกเปิด ... ประตูด้านทิศใต้จะถูก
เปิด ... เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็วจึงถูกไฟ
ไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลายก็มอด
ไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที ในขณะที่เขามาถึง
ประตูนั้นจะถูกปิด เขาจึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
มหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูมหานรกด้านทิศ
ตะวันออกจะถูกเปิด เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็ว
จึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลาย
ก็มอดไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที (แต่)เขาจะ
ออกทางประตูนั้นได้
[๒๖๙] ภิกษุทั้งหลาย
๑. รอบ ๆ มหานรกนั้น มีคูถนรกขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงในคูถนรกนั้น
ในคูถนรกนั้นแล สัตว์ปากเข็มทั้งหลายย่อมเจาะผิว เจาะผิวแล้ว
จึงเจาะหนัง เจาะหนังแล้ว จึงเจาะเนื้อ เจาะเนื้อแล้ว จึงเจาะเอ็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

เจาะเอ็นแล้ว จึงเจาะกระดูก เจาะกระดูกแล้ว จึงกินเยื่อในกระดูก
เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในมหานรกนั้น
แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๒. รอบ ๆ คูถนรกนั้น มีกุกกุลนรก๑ขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงใน
กุกกุลนรกนั้น จึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
กุกกุลนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๓. รอบ ๆ กุกกุลนรกนั้น มีป่างิ้วขนาดใหญ่สูง ๑ โยชน์ มีหนามยาว
๑๖ องคุลี ร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ นายนิรยบาลบังคับเขาขึ้นลง
ที่ป่างิ้วนั้น เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
ป่างิ้วนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๔. รอบ ๆ ป่างิ้วนั้นมีป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบขนาดใหญ่อยู่ เขาเข้าไป
ในป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น ใบไม้ที่เป็นดาบถูกลมพัดแล้วจะตัดมือ
เขาบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง
ตัดหูและจมูกบ้าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรม
นั้นยังไม่สิ้นไป
๕. รอบ ๆ ป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้นมีแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างขนาดใหญ่
อยู่ เขาตกลงในแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น จึงลอยไปในแม่น้ำอันมี
น้ำเป็นด่างนั้น ตามกระแสบ้าง ทวนกระแสบ้าง ตามกระแสและ
ทวนกระแสบ้าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในนรกแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

[๒๗๐] ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลใช้เบ็ดเกี่ยวสัตว์นรกนั้นขึ้นมาวางไว้บนบก
แล้วถามเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร’
เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าหิว เจ้าข้า’
นายนิรยบาลจึงใช้ขอเหล็กอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเกี่ยวปากให้อ้า แล้วใส่
ก้อนโลหะอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเข้าไปในปาก ก้อนโลหะนั้นจึงไหม้ริมฝีปากบ้าง
ไหม้ปากบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้ท้องบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้างของเขา
ออกมาทางทวารหนัก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในนรกนั้น
แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลถามเขาว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร’
เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้ากระหาย เจ้าข้า’
นายนิรยบาลจึงใช้ขอเหล็กอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเกี่ยวปากให้อ้า แล้ว
กรอกน้ำทองแดงอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเข้าไปในปาก น้ำทองแดงนั้นจึงลวก
ริมฝีปากบ้าง ลวกปากบ้าง ลวกคอบ้าง ลวกท้องบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อย
บ้างของเขา ออกมาทางทวารหนัก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาล
จึงโยนเขาเข้าไปในมหานรกอีก
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พญายมได้คิดว่า ‘ได้ยินว่า ชนเหล่าใดทำ
บาปอกุศลกรรมไว้ในโลก ชนเหล่านั้นจึงถูกนายนิรยบาลทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ
อย่างนี้ โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พึงเสด็จอุบัติในโลก เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ พระองค์พึงแสดงธรรมแก่เรา และ
เราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์’
เราได้ฟังความนั้นจากสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่
แต่เรากล่าวสิ่งที่เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองเท่านั้น”
[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“มาณพเหล่าใดอันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่
มาณพเหล่านั้นเข้าถึงหมู่ที่เลว
ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
ส่วนสัตบุรุษเหล่าใดเป็นผู้สงบในโลกนี้
อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ไม่ประมาทในอริยธรรมในกาลใด ๆ
เห็นภัยในความยึดมั่นถือมั่น
ที่เป็นบ่อเกิดแห่งความเกิดและความตาย
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงหลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่สิ้นความเกิดและความตาย
สัตบุรุษเหล่านั้นจึงถึงความเกษม
มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงพ้นเวรและภัยทุกอย่าง
ข้ามพ้นทุกข์ทั้งสิ้นได้แล้ว” ดังนี้แล๑

เทวทูตสูตรที่ ๑๐ จบ
สุญญตวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬสุญญตสูตร ๒. มหาสุญญตสูตร
๓. อัจฉริยัพภูตสูตร ๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
๕. ทันตภูมิสูตร ๖. ภูมิชสูตร
๗. อนุรุทธสูตร ๘. อุปักกิเลสสูตร
๙. พาลปัณฑิตสูตร ๑๐. เทวทูตสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

๔. วิภังควรรค
หมวดว่าด้วยการจำแนกธรรม
๑. ภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๒๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุทเทส๑และวิภังค์๒ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญ๓แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังอุทเทสและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึง๔สิ่งที่ล่วงไปแล้ว๕
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”๑
[๒๗๓] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลิน๒ที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต
เราได้มีรูปอย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”๓
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๒๗๔] บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
[๒๗๕] บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เราจักแสดงอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เธอทั้งหลาย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ด้วยประการ
ฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ภัทเทกรัตตสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์แสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และกล่าวอุทเทสและวิภังค์แห่งบุคคล
ผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังหอฉัน
แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ใครหนอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และ
กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เธอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
[๒๗๗] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้
มีรูปอย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
[๒๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ เธอชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อานันทภัทเทกรัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะแสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๒๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่ง เข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงน้ำ
สรงเสร็จแล้วได้กลับมายืนนุ่งผ้าผืนเดียวผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑
เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วสระตโปทะ เข้าไปหา
ท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิอย่างนี้
ว่า “ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม”
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญได้ไหม”
“อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม”
“ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ขอท่านจงศึกษา เล่าเรียน และจำอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคล
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ
พรหมจรรย์”
เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๒๘๐] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระสมิทธิได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อคืนนี้ตอนใกล้รุ่ง ข้าพระองค์
ลุกขึ้นเข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงน้ำ สรงเสร็จแล้ว ได้กลับมายืนนุ่งผ้าผืนเดียว
ผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วสระตโปทะ เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มี
ราตรีเดียวเจริญได้ไหม’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าว
กับเทวดานั้นว่า ‘ผู้มีอายุ อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
เทวดากล่าวว่า ‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาอันแสดงถึงบุคคลผู้
มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม’
ข้าพระองค์ตอบว่า ‘อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
เทวดากล่าวว่า ‘ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ขอท่านจงศึกษา เล่าเรียน
และจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

วิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการ
ประพฤติพรหมจรรย์‘๑
เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
อุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านพระสมิทธิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถา
ประพันธ์นี้ว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสคาถาประพันธ์นี้แล้ว ทรงลุกจาก
พุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้เกิดความ
สงสัยว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เรา
ทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า “ท่านพระมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไป
หาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ”
[๒๘๑] ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะว่า “ท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน เราทั้งหลายได้เกิดความสงสัยว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ท่านกัจจานะ เราทั้งหลายคิดว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่พระศาสดาทรง
ยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะก็
สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรง
ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ
ถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ’ ขอท่านมหากัจจานะ
จงชี้แจงเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะจึงตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ ละเลยโคนและลำต้นของต้นไม้
ใหญ่ซึ่งมีแก่นไป เขาเข้าใจว่าแก่นไม้ต้องแสวงหาที่กิ่งและใบ แม้ฉันใด ข้ออุปไมย
นี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏเฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ละ
เลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไป และพึงเข้าใจเนื้อความนั้นว่าต้องสอบถามกับ
กระผม แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น
เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยาย
เนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็
เป็นเวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มี
พระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า “ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม
เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็น
เจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่เราทั้งหลายจะทูล
ถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด เรา
ทั้งหลายจะพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะเป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะสามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจ
ชี้แจงเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
[๒๘๒] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
จักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้’ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึง
ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้’ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีมโนอย่างนี้ มีธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ
บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้นจึงชื่อ
ว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีจักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้’ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ
บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึง
ถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ‘ในอดีต เรา
มีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีมโน๑อย่างนี้ มีธรรมารมณ์๒อย่างนี้’ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับ
ฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๓] บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีจักขุอย่างนี้
มีรูปอย่างนี้’ เพราะความตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคล
เมื่อยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีโสตะอย่างนี้ มีเสียง
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่น
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มีรส
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี
โผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี
ธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะความตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์
นั้น บุคคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีจักขุอย่างนี้
มีรูปอย่างนี้’ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น
บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีโสตะอย่างนี้ มี
เสียงอย่างนี้’ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มี
กลิ่นอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มี
รสอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี
โผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี
ธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยัง
ไม่มาถึง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๔] บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น
บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูป จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่
เป็นปัจจุบันนั้นเพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่
เป็นปัจจุบัน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุ
และรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็น
ปัจจุบัน
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่
เป็นปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดี
มโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่
ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้แก่
เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยัง
ที่ประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย
เมื่อหวัง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแแล้วทูลถามเนื้อความนั้น พระองค์ทรง
ตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระมหากัจจานะแล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เกิดความ
สงสัยว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้คิดว่า ‘ท่านพระ
มหากัจจานะนี้แล เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็
สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส
โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี
เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้
กับท่านพระมหากัจจานะ’ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่าน
พระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่าน
พระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วย
บทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต ภิกษุ
ทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นผู้มีปัญญามาก แม้ว่าเธอทั้งหลายจะพึงสอบถาม
เนื้อความนี้กับเรา เราก็จะพึงตอบเนื้อความนั้นเหมือนกับที่มหากัจจานะตอบ
เรื่องนี้มีเนื้อความดังนี้แล เธอทั้งหลายจงทรงจำเรื่องนั้นไว้อย่างนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่พระโลมสกังคิยะ

[๒๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ อยู่ที่
นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป
จันทนเทพบุตร มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วนิโครธาราม เข้าไปหา
ท่านพระโลมสกังคิยะถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระ
โลมสกังคิยะอย่างนี้ว่า “ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญได้ไหม”
ท่านพระโลมสกังคิยะกล่าวว่า “อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม”
“แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ
ได้ไหม”
“อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม”
“ข้าพเจ้าจำได้”
“ก็ท่านจำได้อย่างไรเล่า”
“ภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่
ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้นเอง พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
อุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เทพชั้นดาวดึงส์ว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
ภิกษุ ข้าพเจ้าจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้อย่างนี้ ขอท่าน
จงศึกษา เล่าเรียน และจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด
เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์”
จันทนเทพบุตรกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๒๘๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ เมื่อล่วงราตรีนั้นไป จึงเก็บงำ
เสนาสนะ ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เมื่อจาริกไปโดยลำดับ
ได้เข้าไปยังพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทพบุตรองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วนิโครธาราม เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้
กล่าวกับข้าพระองค์ว่า ‘ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญได้ไหม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทพบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าว
กับเทพบุตรนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
เทพบุตรกล่าวว่า ‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคล
ผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม’
ข้าพระองค์ตอบว่า ‘อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
‘ข้าพเจ้าจำได้’
‘ผู้มีอายุ ก็ท่านจำได้อย่างไรเล่า’
‘ภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่
ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เทพชั้นดาวดึงส์ว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
ภิกษุ ข้าพเจ้าจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้อย่างนี้แล ขอ
ท่านจงศึกษา เล่าเรียน และทรงจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วย
ประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์’
เทพบุตรนั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด”
[๒๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ก็เธอรู้จักเทพบุตรนั้นไหม”
ท่านพระโลมสกังคิยะกราบทูลว่า “ไม่รู้จัก พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

“ภิกษุ เทพบุตรนั้นชื่อจันทนะ จันทนเทพบุตรสนใจ ใส่ใจ กำหนดด้วยจิต
ทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตสดับธรรม ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุนั้นรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ‘ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้’
ในอดีต เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอดีต เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอดีต เราได้มีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ‘ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุ บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
ในอดีต เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอดีต เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอดีต เราได้มีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุ บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุ บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุ บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ภิกษุ บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
ภิกษุ บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระโลมสกังคิยะมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก

[๒๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพโตเทยยบุตร เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอ
เป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์ที่เกิดเป็นมนุษย์
ปรากฏเป็นคนเลวและคนดี คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏว่ามีอายุสั้น มีอายุยืน
มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณดี มีอำนาจน้อย มีอำนาจมาก
มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในตระกูลต่ำ เกิดในตระกูลสูง มีปัญญาน้อย
มีปัญญามาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

ท่านพระโคดม อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนุษย์ทั้งหลายที่เกิดเป็น
มนุษย์ปรากฏเป็นคนเลวและคนดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรม
เป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและดีต่างกัน”
“ข้าพระองค์ ไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดย
ย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดม
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่ง
พระภาษิตนี้ที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารเถิด”
[๒๙๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจะกล่าว”
สุภมาณพโตเทยยบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม
เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ฝักใฝ่ในการ
ประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์
ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑
หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็น
มนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นคนมีอายุสั้น
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ฝักใฝ่
ในการประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นปฏิปทา(ข้อปฏิบัติ)
ที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้น (๑)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลในสรรพสัตว์ เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่น
ไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว
ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นคนมี
อายุยืน
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และ
ศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลในสรรพสัตว์
นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืน (๑)
[๒๙๑] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วย
ศัสตราบ้าง เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโรคมาก
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อน
ดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรค
มาก (๒)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วย
ศัสตราบ้าง เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโรคน้อย
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วย
ก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมี
โรคน้อย (๒)
[๒๙๒] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่ากล่าวแม้เล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

พยาบาท ปองร้าย แสดงความโกรธความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้ปรากฏ
เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีผิวพรรณทราม
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่ากล่าว
แม้เล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธ พยาบาท ปองร้าย แสดงความโกรธความปองร้ายและ
โทษเล็กน้อยให้ปรากฏ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทราม (๓)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ไม่โกรธ ไม่มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ
ไม่พยาบาท ไม่ปองร้าย ไม่แสดงความโกรธ ความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้
ปรากฏ เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขา
จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่โกรธ ไม่มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่า
กล่าวแม้มากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่ปองร้าย ไม่แสดงความโกรธ
ความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้ปรากฏ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ผิวพรรณผ่องใส (๓)
[๒๙๓] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้มีใจริษยา ย่อมริษยา ประทุษร้าย ผูกความริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ
ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของบุคคลอื่น เพราะกรรมนั้นที่เขาให้
บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิด
เป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีอำนาจน้อย
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มีใจริษยา ย่อมริษยา ประทุษร้าย ผูกความ
ริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของ
บุคคลอื่น นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจน้อย (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่ประทุษร้าย ไม่ผูกความริษยาในลาภสักการะ
ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของบุคคลอื่น เพราะกรรม
นั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็น
มนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีอำนาจมาก
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่ประทุษร้าย ไม่ผูก
ความริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการ
บูชาของบุคคลอื่น นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจมาก (๔)
[๒๙๔] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่อง
ประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เพราะกรรมนั้น๑ที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น
หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว
ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขา
ก็จะเป็นผู้มีโภคะน้อย
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ นี้เป็นปฏิปทา
ที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคะน้อย (๕)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่อง
ประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น
หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโภคะมาก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ นี้เป็นปฏิปทา
ที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคะมาก (๕)
[๒๙๕] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม
เป็นผู้กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้๑ ไม่ลุกรับผู้ที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะ ไม่ให้ทางแก่ผู้ที่ควรให้ทาง ไม่สักการะผู้ที่ควร
สักการะ ไม่เคารพผู้ที่ควรเคารพ ไม่นับถือผู้ที่ควรนับถือ ไม่บูชาผู้ที่ควรบูชา
เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาจะเป็นผู้เกิดในตระกูลต่ำ
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับผู้ที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะ ไม่ให้ทางแก่ผู้ที่ควรให้ทาง
ไม่สักการะผู้ที่ควรสักการะ ไม่เคารพผู้ที่ควรเคารพ ไม่นับถือผู้ที่ควรนับถือ ไม่
บูชาผู้ที่ควรบูชา นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เกิดในตระกูลต่ำ (๖)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้ ลุกรับผู้ที่ควรลุกรับ ให้
อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะ ให้ทางแก่ผู้ที่ควรให้ทาง สักการะผู้ที่ควรสักการะ
เคารพผู้ที่ควรเคารพ นับถือผู้ที่ควรนับถือ บูชาผู้ที่ควรบูชา เพราะกรรมนั้นที่เขา
ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ
เขาจะเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้ผู้ที่ควร
กราบไหว้ ลุกรับผู้ที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะ ให้ทางแก่ผู้ที่ควร
ให้ทาง สักการะผู้ที่ควรสักการะ เคารพผู้ที่ควรเคารพ นับถือผู้ที่ควรนับถือ บูชา
ผู้ที่ควรบูชา นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง (๖)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

[๒๙๖] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม
ไม่เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า ‘ท่านขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไร
เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไร
ที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่า
กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน’
เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาจะเป็นผู้มีปัญญาทราม
มาณพ การที่บุคคลไม่เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า ‘ท่าน
ขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ
อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุขตลอดกาลนาน’ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทราม (๗)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เข้าไป
หาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า ‘ท่านขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำ
จึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่
ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน’ เพราะกรรมนั้น
ที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ
เขาจะเป็นผู้มีปัญญามาก
มาณพ การที่บุคคลเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า ‘ท่าน
ขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ
อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุขตลอดกาลนาน’ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

[๒๙๗] มาณพ รวมความว่า ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้นย่อมนำ
เข้าไปสู่ความมีอายุสั้น
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืนย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอายุยืน
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโรคมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโรคน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทรามย่อมนำเข้าไปสู่ความมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณผ่องใสย่อมนำเข้าไปสู่ความมีผิวพรรณผ่องใส
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอำนาจน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอำนาจน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอำนาจมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอำนาจมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโภคะน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโภคะมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในตระกูลต่ำย่อมนำเข้าไปสู่ความเกิดในตระกูลต่ำ
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในตระกูลสูงย่อมนำเข้าไปสู่ความเกิดในตระกูลสูง
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาทรามย่อมนำเข้าไปสู่ความมีปัญญาทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีปัญญามาก
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มี
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลว
และดีต่างกัน ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้า
แต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม และพระ
สงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

จูฬกัมมวิภังคสูตรที่ ๕ จบ

๖. มหากัมมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่

[๒๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสมิทธิอยู่ในกระท่อมป่า ครั้งนั้น
ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรเที่ยวเดินเล่นอยู่ เข้าไปหาท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิว่า
“ท่านพระสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระสมณโคดมว่า
‘กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง’ และว่า ‘สมาบัติที่บุคคล
เข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้นก็มีอยู่’
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “ท่านโปตลิบุตร ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง’ และว่า
‘สมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้นก็มีอยู่’
“ท่านพระสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว”
“ท่านผู้มีอายุ อาตมภาพบวชได้ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา”
“บัดนี้ ในเมื่อภิกษุใหม่ยังคิดปกป้องพระศาสดาถึงเพียงนี้ เราทั้งหลายจะ
พูดอะไรกับภิกษุผู้เป็นพระเถระได้เล่า ท่านพระสมิทธิ บุคคลทำกรรมที่ประกอบ
ด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจแล้ว จะเสวยผลอะไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

“ท่านโปตลิบุตร บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา
และทางใจแล้ว จะเสวยทุกข์”
ลำดับนั้น ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของท่านพระสมิทธิ
ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
[๒๙๙] ครั้งนั้นแล เมื่อปริพาชกชื่อโปตลิบุตรจากไปไม่นาน ท่านพระสมิทธิ
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอ
เป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร เล่าเรื่องที่ตนได้สนทนาปราศัยกับ
ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรทั้งหมดแก่ท่านพระอานนทเถระ
เมื่อท่านพระสมิทธิเล่าเรื่องอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวกับท่าน
พระสมิทธิว่า “ท่านสมิทธิ เรื่องนี้มีมูลเหตุพอที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด
เราทั้งสอง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ พึงกราบทูลเนื้อความนี้แด่
พระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด เราทั้งหลายควรทรง
จำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น” ท่านพระสมิทธิรับคำแล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องที่
ท่านพระสมิทธิได้สนทนาปราศัยกับปริพาชกชื่อโปตลิบุตรทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค
เมื่อพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระ
อานนท์ว่า “อานนท์ เราไม่รู้แม้ความเห็นของปริพาชกชื่อโปตลิบุตรเลย จะรู้การ
สนทนาปราศัยกันเห็นปานนี้ได้อย่างไร โมฆบุรุษผู้มีนามว่าสมิทธินี้ได้ตอบปัญหา
ที่ควรจำแนกตอบแก่ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรโดยแง่เดียว”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าวหมายเอาทุกข์นี้แล้ว อารมณ์อย่างใดอย่าง
หนึ่งที่สัตว์เสวยแล้ว อารมณ์นั้นต้องจัดเข้าในทุกข์หรือ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๓๐๐] เมื่อท่านพระอุทายีกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่ง
เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของ
อุทายีผู้เป็นโมฆบุรุษนี้เถิด เราได้รู้บัดนี้เอง โมฆบุรุษอุทายีนี้เมื่อจะพูด ก็พูดโพล่ง
ออกมาโดยไม่แยบคาย เบื้องต้นทีเดียวปริพาชกชื่อโปตลิบุตรถามถึงเวทนา ๓
ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิผู้ถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านโปตลิบุตร บุคคลทำ
กรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจอันให้ผลเป็นสุข๑
ย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และ
ทางใจอันให้ผลเป็นทุกข์๒ ย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความ
จงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจอันให้ผลเป็นอทุกขมสุข๓ ย่อมเสวยผลเป็น
อทุกขมสุข
อานนท์ โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าตอบโดยชอบแก่ปริพาชกชื่อ
โปตลิบุตร แต่ว่าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด จะเข้าใจ
มหากัมมวิภังค์ของตถาคตได้อย่างไรเล่า ถ้าตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ เธอ
ทั้งหลายควรฟัง”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์
ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรื่องนี้ว่า
“อานนท์ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็น
ผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็น
มิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก
การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้
หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก
การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่เพ็งเล็งอยากได้
สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้
หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๓๐๑] อานนท์
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา
กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ
ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี ข้าพเจ้าได้
เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
บุคคลใดมักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้น
ทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง
เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๒. ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท
ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิต
ตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมชั่วไม่มี วิบากของ
ทุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดมัก
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชน
เหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้
ผิด’
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง
ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า ‘นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา
กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ
ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มี
จิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
กรรมดีมีจริง วิบากของสุจริตมีจริง ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็น
สัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดเว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ชน
เหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง
ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า ‘นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๔. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา
กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ
ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ได้ยินว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคล
โน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
บุคคลใดเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น
ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง
เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
[๓๐๒] อานนท์
๑. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราคล้อยตามวาทะ
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี’ เราคล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก’ แต่เราไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา
ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตาม
แม้วาทะของเขาที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
๒. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราไม่คล้อยตามวาทะ
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
กรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี’ เราคล้อยตามวาทะของเขา
ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์’ แต่เราไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดมักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสรรค์’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอก
เหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา
ที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ
ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
๓. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ทั้ง ๔ จำพวกนั้น เราคล้อยตามวาทะ
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี’ เราคล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ และเราก็คล้อยตามวาทะ
ของเขา ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใด
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็น
สัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์’ แต่เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอก
เหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา
ที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ
ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
๔. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ทั้ง ๔ จำพวกนั้น เราไม่คล้อยตาม
วาทะของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้
ยินว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี’ เราคล้อยตามวาทะของ
เขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากการ
ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้
หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ แต่เรา
ไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

บุคคลใดเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา
ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชน
เหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตาม
แม้วาทะของเขาที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบ
เอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
[๓๐๓] อานนท์
๑. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลนั้นหลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะบาปกรรมที่เขาทำไว้ในชาติก่อน ให้
ผลเป็นทุกข์ บาปกรรมที่เขาทำไว้ในภายหลังให้ผลเป็นทุกข์ หรือ
ในเวลาจะตาย เขามีมิจฉาทิฏฐิที่ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่
บุคคลเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้
เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง
ในชาติต่อ ๆ ไปบ้าง
๒. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ บุคคลนั้นหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมดีที่เขาทำไว้ในชาติก่อนให้ผลเป็นสุข กรรมดีที่เขาทำ
ไว้ในภายหลังให้ผลเป็นสุข หรือในเวลาจะตาย เขามีสัมมาทิฏฐิที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่บุคคลเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น
ในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อ ๆ ไปบ้าง
๓. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลนั้นหลังจากตาย
แล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมดีที่เขาทำไว้ในชาติก่อน
ให้ผลเป็นสุข กรรมดีที่เขาทำไว้ในภายหลังให้ผลเป็นสุข หรือใน
เวลาจะตาย เขามีสัมมาทิฏฐิที่ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่
บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ เขาเสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้
บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อ ๆ ไปบ้าง
๔. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลนั้น
หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
บาปกรรมที่เขาทำไว้ในชาติก่อนให้ผลเป็นทุกข์ บาปกรรมที่เขาทำ
ไว้ในภายหลังให้ผลเป็นทุกข์ หรือในเวลาจะตาย มีมิจฉาทิฏฐิที่เขา
ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ เขาย่อม
เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อ ๆ
ไปบ้าง
อานนท์ กรรมที่ไม่ควร ส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มีอยู่ กรรมที่ไม่ควร ส่องให้
เห็นว่าควรก็มีอยู่ กรรมที่ควร ส่องให้เห็นว่าควรก็มีอยู่ และกรรมที่ควร ส่องให้
เห็นว่าไม่ควรก็มีอยู่ ดังพรรณนามาฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหากัมมวิภังคสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๗. สฬายตนวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ

[๓๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวด
วิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ มโนปวิจาร๑ ๑๘ สัตตบท๒ ๓๖ ในธรรมเหล่านั้น
เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้แล้ว จงละธรรมนี้เสีย และพึงทราบสติปัฏฐาน ๓ ที่
พระอริยะเสพซึ่งเมื่อเสพอยู่ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ พระอริยศาสดา
นั้นอันเราเรียกว่าเป็นสารถีผู้สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์
ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุทเทสแห่งสฬายตนวิภังค์
[๓๐๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายใน ๖’ เพราะอาศัยเหตุ
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ

๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)๑
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายใน ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (๑)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)
๒. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
๓. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
๔. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
๕. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือสัมผัส)
๖. ธัมมายตนะ (อายตนะคือธรรมารมณ์)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (๒)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (๓)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ

๑. จักขุสัมผัส (สัมผัสทางตา)
๒. โสตสัมผัส (สัมผัสทางหู)
๓. ฆานสัมผัส (สัมผัสทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัส (สัมผัสทางลิ้น)
๕. กายสัมผัส (สัมผัสทางกาย)
๖. มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ)

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้ (๔)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบมโนปวิจาร ๑๘’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อม
นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
ความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖ ย่อมมีด้วย
ประการฉะนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบมโนปวิจาร ๑๘’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๓๐๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบสัตตบท ๓๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ โสมนัสอาศัยเรือน๑ ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ๒ ๖
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขา
อาศัยเนกขัมมะ ๖
ในสัตตบท ๓๖ นั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูป
ที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวน
ระลึกถึงรูปที่ตนเคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้ว
โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
๒. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่
พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่พึงรู้แจ้ง
ทางจมูก ...
๔. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่ง
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
๖. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่ง
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ
หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ตนเคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับ
แปรผันไปแล้ว โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ในสัตตบท ๓๖ นั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแลไม่เที่ยง
เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบ๑อย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและใน
บัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’
โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ
๒. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่เสียงทั้งหลายนั่นแล ...
๓. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
๔. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รสทั้งหลายนั่นแล ...
๕. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่โผฏฐัพพะทั้งหลาย
นั่นแล ...
๖. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่ธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่น
แลไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับ
นั่นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘ธรรมารมณ์
ในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี
ความแปรผันเป็นธรรมดา’ โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ
โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการนี้
[๓๐๗] ในสัตตบท ๓๖ นั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ประกอบ
ด้วยโลกามิส โดยความเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึก
ถึงรูปที่ตนไม่เคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้ว
โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๒. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียงที่พึงรู้
แจ้งทางหู ...
๓. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่พึงรู้
แจ้งทางจมูก ...
๔. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรสที่พึงรู้แจ้ง
ทางลิ้น ...
๕. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่
พึงรู้แจ้งทางกาย ...
๖. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์
ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ประกอบด้วยโลกามิส โดยความเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือ
หวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ตนไม่เคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับ
แปรผันไปแล้ว โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแลไม่เที่ยง
เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและใน
บัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็น
ธรรมดา’ แล้วตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์๑ว่า ‘ในกาลไร
เราจักบรรลุอายตนะ๒ที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้’
เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสจึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ตั้ง
ความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ด้วยประการฉะนี้ โทมนัสเช่นนี้
เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๒. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่เสียงทั้งหลายนั่นแล ...
๓. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
๔. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รสทั้งหลายนั่นแล ...
๕. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่โผฏฐัพพะทั้งหลาย
นั่นแล ...
๖. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่ธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่น
แลไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับ
นั่นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘ธรรมารมณ์
ในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี
ความแปรผันเป็นธรรมดา’ แล้วตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
ว่า ‘ในกาลไร เราจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุ
อยู่ในบัดนี้’ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสจึงเกิดขึ้นแก่
เขาผู้ตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ด้วยประการฉะนี้ โทมนัส
เช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการนี้
[๓๐๘] ในสัตตบท ๓๖ นั้น อุเบกขาอาศัยเรือน๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะเห็นรูปทางตา อุเบกขา๒จึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชน ผู้โง่เขลา งมงาย
ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ
เป็นคนกิเลสหนา อุเบกขาเช่นนี้ยังล่วงพ้นรูปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
๒. เพราะฟังเสียงทางหู ...
๓. เพราะดมกลิ่นทางจมูก ...
๔. เพราะลิ้มรสทางลิ้น ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๕. เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
๖. เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ อุเบกขาจึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชน ผู้โง่เขลา
งมงาย ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ
เป็นคนกิเลสหนา อุเบกขาเช่นนั้นยังล่วงพ้นธรรมารมณ์ไม่ได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ ประการนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแลไม่เที่ยง
เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและใน
บัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็น
ธรรมดา’ อุเบกขาเช่นนี้นั้นย่อมล่วงพ้นรูปได้ เพราะฉะนั้น เราจึง
เรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
๒. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่เสียงทั้งหลายนั่นแล ...
๓. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
๔. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รสทั้งหลายนั่นแล ...
๕. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่โผฏฐัพพะทั้งหลาย
นั่นแล ...
๖. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่ธรรมารมณ์ทั้งหลาย
นั่นแลไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และ
ความดับนั่นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า
‘ธรรมารมณ์ในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ อุเบกขาเช่นนี้นั้นย่อมล่วงพ้น
ธรรมารมณ์ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขา
อาศัยเนกขัมมะ
อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบสัตตบท ๓๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึง
กล่าวไว้
[๓๐๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้
แล้วจงละธรรมนี้เสีย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายจงอาศัยพึ่งพิงโสมนัสอัน
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ
ก้าวล่วงโสมนัสเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงโทมนัสอันอาศัยเนกขัมมะ ๖
นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง
โทมนัสเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขาอันอาศัยเนกขัมมะ ๖
นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง
อุเบกขาเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงโสมนัสอันอาศัยเนกขัมมะ ๖
นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง
โทมนัสเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขาอัน
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นเสีย
การละ การก้าวล่วงโสมนัสเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกันก็มี
อุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกันก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

อุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกันก็มี เป็นอย่างไร
คือ อุเบกขาในรูปก็มี อุเบกขาในเสียงก็มี อุเบกขาในกลิ่นก็มี อุเบกขา
ในรสก็มี อุเบกขาในโผฏฐัพพะก็มี
นี้จัดเป็นอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกัน
อุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกัน เป็นอย่างไร
คือ อุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานก็มี อุเบกขาที่อาศัยวิญญาณัญ-
จายตนฌานก็มี อุเบกขาที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานก็มี อุเบกขาที่อาศัย
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็มี
นี้จัดเป็นอุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกัน
ในอุเบกขา ๒ ประการนั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขาที่เป็นประเภท
เดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกันแล้ว จงละ จงก้าวล่วงอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน
อาศัยอารมณ์ต่างกันนั้นเสีย การละ การก้าวล่วงอุเบกขานี้มีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอตัมมยตา๑ แล้ว จงละ จงก้าวล่วง
อุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกันเสีย การละ การก้าวล่วง
อุเบกขานี้มีได้ด้วยอาการอย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ในสัตตบท ๓๖ นั้น ‘เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้แล้ว
จงละธรรมนี้เสีย’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๑๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบสติปัฏฐาน ๓ ที่พระอริยเสพซึ่ง
เมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาในโลกนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่เธอทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดา
นั้นย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของ
ศาสดา ในข้อนั้น ตถาคตไม่มีใจยินดี ไม่ชื่นชม และไม่ถูก(โทสะ) รั่วรด มี
สติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๑ ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อ
เสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ
อีกประการหนึ่ง ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย
ความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เธอ
ทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น บางพวก
ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
บางพวกฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของ
ศาสดา ในข้อนั้น ตถาคตก็ไม่มีใจยินดี ไม่ชื่นชม ไม่มีใจยินดีก็มิใช่ ไม่ชื่นชม
ก็มิใช่ เว้นความมีใจยินดีและความไม่มีใจยินดีทั้ง ๒ อย่างนั้นแล้ว จึงเป็น
ผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๒ ที่พระอริยเสพ ซึ่ง
เมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ
อีกประการหนึ่ง ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย
ความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เธอ
ทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น ย่อมฟัง
ด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ในข้อนั้น
ตถาคตมีใจยินดี ชื่นชม และไม่ถูก(ราคะ) รั่วรด มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๓ ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พระอริยะเสพธรรม คือ สติปัฏฐาน ๓ ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๑๒] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พระอริยศาสดานั้นอันเราเรียกว่า เป็นสารถีผู้
สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันควาญช้างบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียว
เท่านั้น คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
ม้าที่ควรฝึก อันคนฝึกม้าบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศ
ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
โคที่ควรฝึก อันคนฝึกโคบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือทิศ
ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไป
ได้ตลอดทิศทั้ง ๘ คือ
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้เป็นทิศที่ ๑
ผู้มีสัญญาในอรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกได้ นี้เป็นทิศที่ ๒
เป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้เป็นทิศที่ ๓
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ นี้เป็นทิศที่ ๔
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นทิศที่ ๕
เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘ไม่มีอะไรสักหน่อยหนึ่ง’ นี้เป็นทิศที่ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๗
เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึกอันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ตลอดทิศทั้ง ๘ นี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พระอริยศาสดานั้นอันเราเรียกว่า เป็นสารถีผู้สามารถ
ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุทเทสวิภังคสูตร
ว่าด้วยอุทเทสและวิภังค์

[๓๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุทเทสและวิภังค์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังอุทเทสและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะ
ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น
เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะ
ไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ทรงลุกจากพุทธอาสน์
เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
[๓๑๔] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้มี
ความสงสัยว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เรา
ทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะ
ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น
เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะ
ไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
ใครเล่าหนอจะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า “ท่านพระมหากัจจานะนี้ เป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไป
หาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าว
กับท่านพระมหากัจจานะว่า
“ท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป
ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป
ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุ
เกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจง
เนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมได้มีความสงสัยว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
พึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก
ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปใน
ภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดน
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร
ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอจะพึงชี้แจงเนื้อความแห่ง
อุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ท่านกัจจานะ เราทั้งหลายคิดว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่พระศาสดาทรง
ยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะ
ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่
ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่าน
พระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ’
ขอท่านมหากัจจานะโปรดชี้แจงเถิด”

พระมหากัจจานะอธิบายอุทเทส

[๓๑๕] ท่านพระมหากัจจานะจึงตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ ละเลยโคนและลำต้น
ของต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นไป เขาเข้าใจว่าแก่นไม้ต้องแสวงหาที่กิ่งและใบ แม้
ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏเฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายก็ละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไป และพึงเข้าใจเนื้อความนั้นว่า
ต้องสอบถามกับกระผม แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้สิ่งที่ควรรู้
ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็น
ผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็น
พระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้
กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๒ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker