ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า “ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มี
พระภาคทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ
มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม
เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่เราทั้งหลาย
จะทูลถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด
เราทั้งหลายจะพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านมหากัจจานะเป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
มหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจ ชี้แจงเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อ
พิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน
ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่
ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ
และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากอาสนะเสด็จ
เข้าไปยังที่ประทับ กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
[๓๑๖] วิญญาณที่เรียกว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว มีวิญญาณซ่านไปตามนิมิต
คือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปตรึงไว้ ถูก
ความยินดีในนิมิตคือรูปผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในนิมิตคือรูปว่า
‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว มีวิญญาณซ่านไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ตรึงไว้ ที่ถูกความ
ยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในนิมิต
คือธรรมารมณ์ว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’
วิญญาณที่เรียกว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’ เป็นอย่างนี้
[๓๑๗] วิญญาณที่เรียกว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว มีวิญญาณไม่ซ่านไปตาม
นิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปตรึงไว้
ที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปผูกมัดไว้ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีใน
นิมิตคือรูปว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว มีวิญญาณไม่ซ่านไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้
มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ตรึงไว้ ที่ไม่
ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’
วิญญาณที่เรียกว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

[๓๑๘] จิตที่เรียกว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณ
ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวกผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า
‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้
ที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือ
ความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ภิกษุนั้นมีวิญญาณซ่านไปตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
เรียกจิตที่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในสุขอัน
เกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุนั้นมี
วิญญาณซ่านไปในอทุกขมสุข พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์
คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

[๓๑๙] จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
ตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย
สังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไป
ตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามอทุกขมสุข พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ไม่
ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้
[๓๒๐] ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น๑ เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน๒ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

ธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะ
ความที่รูปแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงมีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของรูป๑
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรม๒ อันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผัน
ของรูป ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้มีความ
หวาดหวั่น คับแค้น ห่วงใย และเพราะตามยึดมั่น เขาจึงสะดุ้ง
พิจารณาเห็นเวทนา ...
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
บ้าง วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความที่วิญญาณแปร
ผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงมีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ ความสะดุ้ง
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ
ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้มีความหวาดหวั่น
คับแค้น ห่วงใย และเพราะตามยึดมั่น เขาจึงสะดุ้ง
ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น เป็นอย่างนี้แล
[๓๒๑] ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้
เพราะความที่รูปแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงไม่มีวิญญาณคล้อยตามความแปรผัน
ของรูป ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความ
แปรผันของรูป ย่อมไม่ครอบงำจิตเขาตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ เขาจึงเป็น
ผู้ไม่มีความหวาดหวั่น ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย และเพราะไม่ยึดมั่น เขาจึงไม่สะดุ้ง
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ...
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ...
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความที่
วิญญาณแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงไม่มีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผันของ
วิญญาณ ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ เขาจึงเป็น
ผู้ไม่มีความหวาดหวั่น ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย และเพราะความไม่ยึดมั่น เขาจึงไม่
สะดุ้ง
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เป็นอย่างนี้แล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า ‘ภิกษุพึง
พิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก
ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปใน
ภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดน
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร
ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
แต่ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง พึงเข้าไปเฝ้าแล้วสอบถามเนื้อความนั้นเถิด พระผู้มี
พระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้
อย่างนั้นเถิด”
[๓๒๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระมหา
กัจจานะแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่
วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะ
ไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่
สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์
ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยัง
ที่ประทับ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์
ทั้งหลายนั้นได้มีความสงสัยว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่
เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน
ไม่สะดุ้ง เพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่น
อยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา
มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์
เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอจะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นเกิดความคิดขึ้นว่า ‘ท่านพระ
มหากัจจานะนี้ เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็
สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารได้
ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถาม
เนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ’
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้ว
สอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหากัจจานะได้ชี้แจง
เนื้อความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้วโดยอาการเหล่านี้ โดยบทเหล่านี้ โดย
พยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ เป็นบัณฑิต มี
ปัญญามาก แม้ถ้าเธอทั้งหลายพึงสอบถามเนื้อความนั้นกับเรา ถึงเราก็พึงตอบ
อย่างเดียวกับที่มหากัจจานะตอบแล้วเหมือนกัน ก็เนื้อความแห่งอุทเทสนั้นเป็นอย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อุทเทสวิภังคสูตรที่ ๘ จบ

๙. อรณวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกธรรมที่ไม่มีกิเลส

[๓๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็น
ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ
ไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค(การประกอบความลำบากเดือดร้อน
แก่ตน)อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้นที่ตถาคตได้
ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน๑ พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น พึงรู้การตัดสินความสุข
ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน ไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึง
กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า เมื่อไม่รีบร้อน จึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด ไม่พึงยึด
ภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ๒ นี้เป็นอุทเทสแห่งอรณวิภังค์
[๓๒๔] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม
อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติผิด
ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความอันเกิดจาก
กาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก
ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ นี้มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นข้อปฏิบัติผิด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

ธรรมเป็นเหตุไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

อริยมรรคมีองค์ ๘

[๓๒๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน‘๑ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๒๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว
ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิ
ชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคล
ผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มี
ความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่า
ยกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึง
มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อ
ว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละภวสังโยชน์๑ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

[๓๒๗] การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อ
กล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มี
ความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’
เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ นี้แล ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’ ชื่อว่าแสดง
ธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’
เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ นี้แล ไม่มีทุกข์
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’
ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ แม้ภพ
ก็เป็นอันละไม่ได้‘ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ก็เมื่อบุคคลละภวสังโยชน์ได้แล้ว
แม้ภพก็เป็นอันละได้แล้ว’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึง
ยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

กามคุณ ๕ ประการ

[๓๒๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึง
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ นี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า สุขอันเกิดจาก
กาม เป็นสุขที่เกิดแต่เมถุนธรรม๑ เป็นสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ภิกษุไม่พึงเสพ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้มาก พึงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ... บรรลุ
ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... สุขนี้เราเรียกว่า เนกขัมมสุข เป็นสุขอันเกิด
จากความสงัด เป็นสุขเกิดจากความสงบ เป็นสุขเกิดจากการตรัสรู้ เรากล่าวว่า
‘ภิกษุพึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขชนิดนี้’
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๒๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน
ต่อหน้า’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้ความลับอันใด ที่ไม่เป็นความจริง ไม่เป็น
ความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวความลับนั้นเป็นอันขาด แม้รู้ว่า
ความลับอันใดที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึง
สำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวความลับนั้น และพึงรู้ความลับอันใดเป็นความจริง เป็น
ความแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวความลับนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้คำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่ไม่เป็นคำจริง
ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็น
อันขาด แม้รู้ว่าคำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และพึงรู้คำ
ล่วงเกินต่อหน้าอันใดที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๐] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุรีบร้อนพูด แม้กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง
เสียงก็พร่า คอก็แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุรีบร้อนพูดก็ไม่สละสลวย ฟังไม่เข้าใจ
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุไม่รีบร้อนพูด กายก็ไม่ลำบาก จิตก็
ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุผู้ไม่รีบร้อนพูด ก็สละสลวย
ฟังเข้าใจ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูด
สามัญ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง
ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดด้วยความยึดมั่น
ถือมั่นโดยวิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างนี้
[๓๓๒] การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดอย่างไม่ถือมั่นโดย
วิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นได้ว่า ‘ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุ
เหล่านี้พูดหมายถึงภาชนะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็น
อย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ’ นั่น
เพราะอาศัยคำนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
โสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มี
ความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อัน
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

[๓๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือมัชฌิมาปฏิปทา ที่
ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยกย่อง การตำหนิ
และการไม่แสดงธรรมนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงธรรมเท่านั้นนี้
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือสุขอันเกิดจากกาม สุขอัน
เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ สุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะนี้ มีทุกข์ มีความ
เบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือเนกขัมมสุข สุขเกิดจากความสงัด สุขเกิดจากความ
สงบ สุขเกิดจากการตรัสรู้นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น
ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือความลับที่ไม่เป็นความจริง
ไม่เป็นความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความ
คับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็น
ธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ ประกอบ
ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่ไม่
เป็นคำจริง ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มี
ความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือคำที่บุคคลผู้รีบร้อนพูดนี้
มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด
เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำที่บุคคลผู้ไม่รีบร้อนพูดนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยึดภาษาท้องถิ่น และ
การละเลยคำพูดสามัญนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญนี้
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาในอรณวิภังค์นี้อย่างนี้แลว่า
‘เราทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีกิเลส และรู้ธรรมที่ไม่มีกิเลสแล้ว จักปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ
เพื่อไม่มีกิเลส’ กุลบุตรผู้มีนามว่าสุภูติ ได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเพื่อไม่มีกิเลสแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อรณวิภังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกธาตุ

[๓๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ ถึงกรุงราชคฤห์แล้ว
เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัสว่า “ภัคควะ ถ้าท่านไม่
หนักใจ เราขอพักในศาลาสักคืนหนึ่ง”
นายภัคควะกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่หนักใจเลย แต่ในศาลานี้
มีบรรพชิตเข้าไปพักอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตรูปนั้นอนุญาต ก็ขอเชิญท่านพักตาม
สบายเถิด”
ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาค ปุกกุสาติกุลบุตรนั้น เข้าไปพักอยู่ในศาลาของนายช่าง
หม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติถึงที่อยู่แล้ว
ได้ตรัสว่า “ภิกษุ ถ้าเธอไม่หนักใจ เราขอพักในศาลาสักคืนหนึ่ง”
ท่านปุกกุสาติตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ศาลาของนายช่างหม้อกว้างขวาง เชิญ
ท่านพักตามสบายเถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังศาลาของนายช่างหม้อ ทรงลาด
สันถัดหญ้า ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระวรกายตรง ดำรง
พระสติไว้เฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งจนล่วงเลยราตรีไปมาก แม้ท่านปุกกุสาติ
ก็นั่งจนล่วงเลยราตรีไปมากเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ
ทางที่ดี เราควรจะถามดู” จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติว่า “ภิกษุ ท่านบวชอุทิศใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร”
ท่านปุกกุสาติตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จ
ออกจากศากยราชตระกูลทรงผนวชแล้ว ก็พระสมณโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น มี
พระกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ข้าพเจ้าบวช
อุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดาของ
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
“ภิกษุ ก็บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับ
อยู่ ณ ที่ไหน”
“ท่านผู้มีอายุ บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ในอุตตรชนบท”
“ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักหรือ”
“ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย และเห็น
แล้วก็ไม่รู้จัก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา ทางที่ดี เรา
พึงแสดงธรรมแก่เขา” ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านปุกกุสาติมา
ตรัสว่า “ภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านปุกกุสาติทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๔๓] “ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖๑ มีผัสสายตนะ(แดนเกิดแห่งผัสสะ) ๖ มี
มโนปวิจาร(ความนึกหน่วงทางใจ) ๑๘ มีอธิษฐานธรรม(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) ๔
เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิต
จึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา๒ พึงตามรักษา
สัจจะ๓ พึงเพิ่มพูนจาคะ๔ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นี้เป็นอุทเทสแห่งธาตุวิภังค์
๖ ประการ
[๓๔๔] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ประการ’ เพราะ
อาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุ ธาตุ ๖ ประการ นี้ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ (ธาตุคืออากาศ) ๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ประการ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ ๖ ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

๑. ผัสสายตนะคือจักขุ ๒. ผัสสายตนะคือโสตะ
๓. ผัสสายตนะคือฆานะ ๔. ผัสสายตนะคือชิวหา
๕. ผัสสายตนะคือกาย ๖. ผัสสายตนะคือมโน
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ ๖ ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร ๑๘’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อม
นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ความนึกหน่วงโสมนัส ๖ ความนึกหน่วงโทมนัส ๖ ความนึกหน่วงอุเบกขา ๖
ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร ๑๘’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๗] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ
๑. อธิษฐานธรรมคือปัญญา ๒. อธิษฐานธรรมคือสัจจะ
๓. อธิษฐานธรรมคือจาคะ ๔. อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

ธาตุ ๖ ประการ

[๓๔๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ
พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ธาตุ ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ
๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ
[๓๔๙] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร
คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี
ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูป๑ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็น
ของหยาบ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ
อุปาทินนกรูปภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ
นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควร
เห็นปฐวีธาตุนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากปฐวีธาตุ
[๓๕๐] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี
อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ น้ำตา มันข้น เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็น
ของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ
นี้เรียกว่าอาโปธาตุภายใน
อาโปธาตุภายในและอาโปธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากอาโปธาตุ
[๓๕๑] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มี
เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็นเครื่อง
ย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด
ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
นี้เรียกว่าเตโชธาตุภายใน
เตโชธาตุภายในและเตโชธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นเตโชธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากเตโชธาตุ
[๓๕๒] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี
วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้
ลมที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา
นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน
วาโยธาตุภายในและวาโยธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นวาโยธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากวาโยธาตุ๑


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๕๓] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อากาสธาตุภายในก็มี อากาสธาตุภายนอกก็มี
อากาสธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความ
ว่างเปล่า ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม
ของเคี้ยว ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม และ
ช่องสำหรับของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ไหลลงเบื้องต่ำ หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความว่างเปล่า
นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน๑
อากาสธาตุภายในและอากาสธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอากาสธาตุนั่นเอง บัณฑิต
พึงเห็นอากาสธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอากาสธาตุนั้นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ และทำจิต
ให้คลายความกำหนัดจากอากาสธาตุ
[๓๕๔] ทีนั้น วิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหลืออยู่ บุคคลย่อมรู้เรื่องอะไร ๆ
ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือรู้ว่า ‘สุข’ บ้าง รู้ว่า ‘ทุกข์’ บ้าง รู้ว่า ‘อทุกขมสุข’ บ้าง
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวย
สุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยสุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๕] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า
‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๕๖] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
จึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขม-
สุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวย
อยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๗] ภิกษุ เปรียบเหมือนไม้ ๒ อัน เสียดสีกัน จึงเกิดความร้อน ไฟลุกขึ้น
เพราะแยกไม้ทั้งสองนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นจึงดับ
ระงับไป แม้ฉันใด บุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวย
สุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนา
ที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๘] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า
‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๙] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึง
เกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
อยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ อทุกขม-
สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวยอยู่อัน
เกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’๑
[๓๖๐] ทีนั้น อุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน และ
ผ่องใส เหลืออยู่ เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ชำนาญ ตระเตรียม
เบ้าแล้วสุมปากเบ้า เอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นเป็นทองที่
ถูกไล่ขี้เขม่าหมดแล้ว จึงเป็นทองอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง และ
ช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง
ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้นย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ แม้ฉันใด๑
อุเบกขาอื่นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอุเบกขาบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อน เหมาะแก่
การใช้งาน และผ่องใสเหลืออยู่
[๓๖๑] บุคคลนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควร๒แก่ธรรมนั้น๓ เมื่อ
เป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น
ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้ก็จะ
เป็นอุเบกขาที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น
คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานนั้น คงอยู่ตลอดกาลนาน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๖๒] ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็
จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
แล้ว
ภิกษุนั้นจะไม่ปรุงแต่ง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เธอเมื่อไม่
ปรุงแต่ง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดหวั่น
เมื่อไม่หวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนเท่านั้น รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
[๓๖๓] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน‘๑
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
[๓๖๔] ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนา
นั้น เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า
‘หลังจากตายไป เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
[๓๖๕] ภิกษุ เปรียบเหมือนตะเกียงน้ำมันติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้
ตะเกียงน้ำมันนั้นย่อมหมดเชื้อดับไป เพราะหมดน้ำมันและไส้ และเพราะไม่เติมน้ำ
มันและไส้ใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า
‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายไป เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’๑ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้๒ ชื่อว่าเป็น
ผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญาอันยอดเยี่ยมนี้ เพราะว่าปัญญาอันประเสริฐ
ยอดเยี่ยมนี้ คือความรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง๓
[๓๖๖] ความหลุดพ้นของภิกษุนั้น เป็นอันตั้งอยู่ ไม่กำเริบในสัจจะ เพราะ
ว่าสิ่งใดมีความเลอะเลือนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นของเท็จ สิ่งใดไม่มีความ
เลอะเลือนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นของจริงคือนิพพาน เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้
เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะอัน
ยอดเยี่ยมนี้ เพราะสัจจะนี้เป็นบรมอริยสัจคือนิพพานอันไม่มีความเลอะเลือนเป็น
ธรรมดา
[๓๖๗] อนึ่ง อุปธิทั้งหลาย๔ของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแล เป็น
อันเธอสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เธอละอุปธิเหล่านั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐาน
ธรรมคือจาคะอันยอดเยี่ยมนี้ เพราะว่าจาคะอันประเสริฐ ยอดเยี่ยมนี้ คือความ
สละคืนอุปธิทั้งปวง
[๓๖๘] อนึ่ง อภิชฌา คือ ความพอใจ ความกำหนัดยินดีของภิกษุผู้ไม่รู้
แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่ เธอละอภิชฌา คือ ความพอใจ ความกำหนัด
ยินดีได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ความอาฆาต คือ ความพยาบาท ความคิดประทุษร้ายของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งใน
กาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่ เธอละความอาฆาต คือ ความพยาบาท ความคิด
ประทุษร้ายนั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อวิชชา คือ ความหลง งมงายของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่
เธอละอภิชฌา คือความหลง งมงายนั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรม คือ
อุปสมะอันยอดเยี่ยมนี้ ความสงบระงับราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นความสงบระงับ
อันประเสริฐยอดเยี่ยม
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูน
จาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๖๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘เมื่อความกำหนดหมาย๑ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คง
อยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิตจึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ภิกษุ ความกำหนดหมายว่า “เรามี” ความกำหนดหมายว่า “เราไม่มี”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักมี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มี” ความ
กำหนดหมายว่า “เราจักมีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มีรูป” ความ
กำหนดหมายว่า “เราจักมีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มีสัญญา”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ความกำหนดหมายเป็นดุจโรค ความกำหนดหมายเป็นดุจหัวฝี ความ
กำหนดหมายเป็นดุจลูกศร๑ แต่เราเรียกภิกษุว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ เพราะก้าวล่วง
ความกำหนดหมายทั้งปวง เพราะว่ามุนีผู้สงบแล้ว ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่ต้องเกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้
อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ
จักทะเยอทะยานได้อย่างไร
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ใน
อธิษฐานธรรม บัณฑิตจึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
ภิกษุ เธอจงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้”
[๓๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านปุกกุสาติรู้ว่า “ได้ยินว่า พระศาสดาของเราเสด็จมา
ถึงแล้ว ได้ยินว่า พระสุคตของเราเสด็จมาถึงแล้ว ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของเราเสด็จมาถึงแล้ว” จึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า หมอบลงแทบ
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ผู้โง่ เขลา เบาปัญญา มีความผิดที่ข้าพระองค์
ได้สำคัญพระผู้มีพระภาคว่าควรเรียกด้วยวาทะว่าผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาค จง
ให้อภัยโทษแก่ข้าพระองค์ เพื่อสำรวมต่อไป”๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถอะ เธอผู้โง่ เขลา เบาปัญญา มีความผิดที่
ได้สำคัญเราว่าควรร้องเรียกด้วยวาทะว่าผู้มีอายุ แต่เธอเห็นความผิดโดยเป็นความ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ผิดแล้วกระทำคืนตามธรรม เราก็ยกโทษให้เธอ ภิกษุ ก็การที่บุคคลเห็นความผิด
โดยเป็นความผิด แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความ
เจริญในอริยวินัย”
ท่านปุกกุสาติกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้
อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด”
“เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ”
“ไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ตถาคตทั้งหลายจะไม่ให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรไม่ครบอุปสมบท”
ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไปแสวงหา
บาตรและจีวร
ทันใดนั้นเอง แม่โคได้ขวิดท่านปุกกุสาติผู้กำลังเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวร
เสียชีวิต ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “กุลบุตรชื่อ
ปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทด้วยพระโอวาทโดยย่อนั้น ตายเสียแล้ว เขา
มีคติเป็นอย่างไร มีสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้
บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว และเธอไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ปุกกุสาติกุลบุตร จึงเป็นโอปปาติกะ๑ จะ
นิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ธาตุวิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

๑๑. สัจจวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกสัจจะ

[๓๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้ คือ
การบอก๑ การแสดง๒ การบัญญัติ๓ การกำหนด๔ การเปิดเผย๕ การจำแนก๖
การทำให้ง่าย๗ ซึ่งอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ
๒. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขสมุทยอริยสัจ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

๓. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้ คือ การบอก การแสดง
การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะ เธอทั้งหลาย
จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นภิกษุฉลาด
เป็นผู้อนุเคราะห์๑เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด
โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำใน
โสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อมแนะนำในประโยชน์ที่สูงสุด สารีบุตรสามารถที่จะ
บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดย
พิสดาร”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงทรงลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
[๓๗๒] ขณะนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปแล้วไม่นาน ท่านพระ
สารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
รับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระตถาคตผู้เป็นอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ
๒. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๓๗๓] ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ชาติ เป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะ เป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์๑
ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชาติ๒
ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมี
หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชรา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

มรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ความทำลายไป ความหายไป
ความตายกล่าวคือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย
ความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
นี้เรียกว่า มรณะ๑
โสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)
ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า โสกะ๒
ปริเทวะ เป็นอย่างไร
คือ ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะ
ที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)
ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า ปริเทวะ๓
ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกข์๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

โทมนัส เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัส๑
อุปายาส เป็นอย่างไร
คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า อุปายาส
การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ หมู่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ เราทั้งหลายจึงจักไม่มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดไม่พึงมาถึง
เราทั้งหลาย แต่ความปรารถนานี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา
นี้เรียกว่าการไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์
หมู่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ....
หมู่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ...
หมู่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ...
หมู่สัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
เราทั้งหลายจึงจักไม่มีความเศร้าโศรก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
และความคับแค้นเป็นธรรมดา ขอความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ และความคับแค้นไม่พึงมาถึงเราทั้งหลาย’ แต่ความปรารถนานี้ไม่
พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา
นี้เรียกว่าการไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
เหล่านี้เรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
[๓๗๔] ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา๑
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความสละคืน
ความพ้น ความไม่ติดอยู่
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

อริยมรรคมีองค์ ๘

[๓๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ทุกข์) เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ๑

สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์(ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์)
ความรู้ในทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์)
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ยัง
ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศล
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

ระงับไป ภิกษุนั้นจึงบรรลุทุติยฌาน ที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน
... บรรลุจตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ๑
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระตถาคตผู้เป็นอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประกาศไว้แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้
หมุนกลับไม่ได้๒ คือ ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงกำหนด ทรงเปิดเผย
ทรงจำแนก ทรงทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล

สัจจวิภังคสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกทักษิณาทาน

[๓๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงถือผ้าใหม่คู่หนึ่ง เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉัน
กรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรง
อาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่นั้นของหม่อมฉันเถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
แม้ครั้งที่ ๒ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ
ถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่
นี้ของหม่อมฉันเถิด”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ
ถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่นี้
ของหม่อมฉันเถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
[๓๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของพระนาง
มหาปชาบดีโคตมีเถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงมีอุปการะมาก เป็นพระ
มาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค ทรงทะนุถนอมเลี้ยงดูให้พระผู้มีพระภาคเสวย
น้ำนม ในเมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่
พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
แล้ว จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

การฆ่าสัตว์ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท๑ ทรงอาศัยพระผู้มี
พระภาคแล้ว จึงทรงมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสแน่ว
แน่ในพระธรรม มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะยินดี ทรง
อาศัยพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนาง
มหาปชาบดีโคตมี”
[๓๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น อานนท์
เพราะว่า บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระ
ธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้
การลุกรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับ
บุคคลนี้
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี
การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า มี
ความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรม มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ มีศีลที่พระ
อริยะยินดี เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี
การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ได้ เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี การ
ทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้

การถวายทานเจาะจงบุคคล ๑๔ ประการ

[๓๗๙] อานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก (การถวายทานเจาะจงบุคคล)นี้
มี ๑๔ ประการ
ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลย่อมถวายทานในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑
๒. บุคคลย่อมถวายทานในพระปัจเจกพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๒
๓. บุคคลย่อมถวายทานในพระสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
๔. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
๕. บุคคลย่อมถวายทานในพระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

๖. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖
๗. บุคคลย่อมถวายทานในพระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๗
๘. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘
๙. บุคคลย่อมถวายทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๙
๑๐. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐
๑๑. บุคคลย่อมถวายทานในบุคคลภายนอกศาสนาผู้ปราศจากความ
กำหนัดในกามทั้งหลายแล้ว นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๑๑
๑๒. บุคคลย่อมให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล๑ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๒
๑๓. บุคคลย่อมให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๓
๑๔. บุคคลย่อมให้ทานในสัตว์ดิรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๔
อานนท์ ในทักษิณาปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์
ดิรัจฉานแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐ อัตภาพ ให้ทานในปุถุชนผู้
ทุศีลแล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑,๐๐๐ อัตภาพ ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

แล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐,๐๐๐ อัตภาพ ถวายทานในบุคคล
ภายนอกศาสนาผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลายแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมี
อานิสงส์แสนโกฏิอัตภาพ ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลแล้ว
พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการ
ถวายทานในพระโสดาบัน ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระสกทาคามี ไม่
จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ไม่
จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระอนาคามี ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวาย
ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทาน
ในพระสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทาน
ในพระปัจเจกสัมพุทธะ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย

การถวายทานในสงฆ์ ๗ ประการ

[๓๘๐] อานนท์ ก็ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ ๗ ประการนี้
ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลย่อมถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้
เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการที่ ๑
๒. เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้วบุคคลย่อมถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการที่ ๒
๓. บุคคลย่อมถวายทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์
ประการที่ ๓
๔. บุคคลย่อมถวายทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์
ประการที่ ๔
๕. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้
แก่ข้าพเจ้าเจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวาย
ในสงฆ์ประการที่ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

๖. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า
เจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการ
ที่ ๖
๗. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุณีจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า
เจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการ
ที่ ๗
อานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าโคตรภูภิกษุ มีผ้ากาสาวะพันคอ
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ชนทั้งหลายจักถวายทานเจาะจงพระสงฆ์ได้ในภิกษุ
ผู้ทุศีลเหล่านั้น แม้ในเวลานั้น เราก็ยังกล่าวทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ว่า มีอานิสงส์
นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่า
ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย
[๓๘๑] อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา(ของทำบุญ) ๔ ประการนี้
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ)
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม และปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้”๑
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า
[๓๘๒] “ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้ทุศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก
ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้มีศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้ทุศีล
เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์
ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้มีศีล
เรากล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร
จึงให้ทานในท่านผู้ปราศจากราคะ
เรากล่าวทานของผู้นั้นนั่นแลว่า
“เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย” ดังนี้แล

ทักขิณาวิภังคสูตรที่ ๑๒ จบ
วิภังควรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรในวรรคนี้ คือ

๑ ภัทเทกรัตตสูตร ๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร ๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร ๖. มหากัมมวิภังคสูตร
๗. สฬายตนวิภังคสูตร ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
๙. อรณวิภังคสูตร ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
๑๑. สัจจวิภังคสูตร ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

๕. สฬายตนวรรค
หมวดว่าด้วยอายตนะ ๖ ประการ
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถบิณฑิกคหบดี

[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า
“มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้ว
กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’
และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า
ตามคำของเรา จงเรียนอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า’ และ
จงเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์ เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถ
บิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายบังคมพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า” และเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่าน
พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและฝากมาเรียนว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์
เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๓๘๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่าน
พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี ท่านยังสบายดี
หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาของท่านทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๑
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่
ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมคมทิ่มแทงศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ ขอรับ
เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง
แม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผม
ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย
อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คน จับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้
ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน
ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผม
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ”๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๓๘๕] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียก
ในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นจักขุ(ตา) และวิญญาณที่อาศัยจักขุของเราก็จัก
ไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นโสตะ(หู)
และวิญญาณที่อาศัยโสตะของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ
(จมูก) และวิญญาณที่อาศัยฆานะของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา(ลิ้น)
และวิญญาณที่อาศัยชิวหาของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นกาย
(ร่างกาย) และวิญญาณที่อาศัยกายของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นมโน(ใจ)
และวิญญาณที่อาศัยมโนของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๑)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรูป
และวิญญาณที่อาศัยรูปของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเสียง ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โผฏฐัพพะ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์
และวิญญาณที่อาศัยธรรมารมณ์ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๒)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
จักขุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักขุวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โสตวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ฆานวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ชิวหาวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
กายวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
มโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๓)
คหบดี เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ไม่ยึดมั่นจักขุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักขุสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึง
สำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โสตสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ฆานสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ชิวหาสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
กายสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
มโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสของเรา
ก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากโสตสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากฆานสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากชิวหาสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากกายสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสของเราก็จักไม่มี’
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๕)
[๓๘๖] คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อาโปธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วาโยธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากาสธาตุ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วิญญาณธาตุ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณธาตุของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๖)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรูป
และวิญญาณที่อาศัยรูปของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๗)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานของเราก็จัก
ไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วิญญาณัญจายตนฌาน ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากิญจัญญายตนฌาน ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๘)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า
และวิญญาณที่อาศัยโลกหน้าของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘อารมณ์ใดที่
เราเห็น ฟัง ทราบ รู้แจ้ง แสวงหา ได้พิจารณาแล้วด้วยใจ เราจักไม่ยึดมั่น
อารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้” (๙)
[๓๘๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีได้ร้องไห้
น้ำตาไหล ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี
ท่านยังยึดติดอยู่หรือ”
อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้ยึดติด แต่
กระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมานานแล้ว กระผมไม่เคยได้
สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้เลย”
“คหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ ไม่แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว แต่
แจ่มแจ้งแก่บรรพชิตทั้งหลาย”
“ท่านพระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จงแจ่มแจ้ง
แก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวบ้างเถิด เพราะกุลบุตรผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย๑ก็มีอยู่
เพราะไม่ได้ฟังธรรม พวกเขาจึงเสื่อมและเป็นผู้ไม่รู้ธรรม”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ได้โอวาทอนาถบิณฑิกคหบดี
ด้วยโอวาทนี้ ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป
เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์จากไปแล้วไม่นาน อนาถบิณฑิก
คหบดี ก็ได้ทำกาลกิริยาแล้วไปเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกเทพบุตร
มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อราตรีผ่านพ้นไป ทำพระเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

“ก็พระเชตวันนี้ มีหมู่ฤาษีพำนักอยู่๑
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด๒ ๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรมนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ”
อนาถบเณฑิกเทพบุตรได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
อนาถบิณฑิกเทพบุตรรู้ว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัย” จึงถวายอภิวาท กระทำ
ประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๓๘๘] ครั้งนั้น เมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทพบุตรองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อ
ราตรีผ่านพ้นไป ทำพระเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ไหว้เราแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราด้วยคาถาเหล่านี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

“ก็พระเชตวันนี้ มีหมู่ฤาษีพำนักอยู่
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรมนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ”
ภิกษุทั้งหลาย เทพบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอ
พระทัยเรา’ จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง”๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทพบุตรนั้น จักเป็นอนาถบิณฑิก
เทพบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคหบดีเลื่อมใสแล้วในท่านพระสารีบุตร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ อานนท์ เรื่องที่เธอคาดคะเนนั้น เธอลำดับ
เรื่องถูกแล้ว เทพบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทพบุตร มิใช่ใครอื่น”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อนาถปิณฑิโกวาทสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

๒. ฉันโนวาทสูตร๑
ว่าด้วยการให้โอวาทแก่พระฉันนะ

[๓๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่าน
พระฉันนะ๒อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้น ท่านพระฉันนะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้
หนัก ครั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๓แล้วเข้าไปหาท่านพระ
มหาจุนทะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า “มาเถิดท่านจุนทะ
พวกเราเข้าไปถามอาการอาพาธของท่านพระฉันนะกันเถิด” ท่านพระมหาจุนทะรับ
คำแล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะเข้าไปหาท่านพระฉันนะ
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาของท่านทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ
อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๔
ท่านพระฉันนะตอบว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมคมทิ่มแทงศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่
ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง
แม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คน จับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้
ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของ
กระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
ท่านสารีบุตร กระผม จักนำศัสตรา๑มา กระผมไม่อยากมีชีวิตอยู่”
[๓๙๐] “ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามา ท่านจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวก
เราต้องการให้ท่านรักษาตัวอยู่ต่อไป ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะที่เป็นสัปปายะ ผม
จักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชที่เป็นสัปปายะ ผมก็จักแสวงหามาให้
ถ้าท่านฉันนะไม่มีพวกอุปัฏฐากผู้เหมาะสม ผมจักอุปัฏฐากเอง ท่านฉันนะอย่า
นำศัสตรามาเลย ขอท่านฉันนะจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวกเราต้องการให้ท่าน
ฉันนะรักษาตัวอยู่ต่อไป”
“ท่านสารีบุตร โภชนะที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี เภสัชที่เป็น
สัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมไม่ใช่ไม่มี อีก
ประการหนึ่ง กระผมก็ปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความเต็มใจมาตลอดทีเดียว ไม่ใช่
ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ ขอท่านสารีบุตรโปรดจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า
‘ข้อที่พระสาวกปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ
นี้เป็นการสมควรแก่พระสาวก ฉันนภิกษุจักนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

“พวกเราขอถามปัญหาบางข้อกับท่านฉันนะ ถ้าท่านฉันนะจะให้โอกาสตอบ
ปัญหา”
“ท่านสารีบุตร นิมนต์ถามมาเถิด ผมฟังแลัวจักตอบให้รู้”
[๓๙๑] “ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้
แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา๑ เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะ โสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะ โสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา๒ เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
[๓๙๒] “ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในจักขุ ในจักขุวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และ
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในโสตะ ในโสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในกาย ในกายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทาง
มโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในจักขุ ใน
จักขุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักขุ
จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในโสตะ ในโสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในกาย ในกายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึง
รู้แจ้งทางมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
[๓๙๓] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกับ
ท่านพระฉันนะดังนี้ว่า
“ท่านฉันนะ เพราะเหตุนี้แล แม้การเห็นนี้ ก็เป็นคำสอนของพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงใส่ใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ บุคคลผู้มีตัณหา มานะ
และทิฏฐิอาศัยอยู่ ย่อมมีความหวั่นไหว บุคคลผู้ไม่มีตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันนวาทสูตร

ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ๑ เมื่อมีความสงบ
ก็ไม่มีความน้อมไป๒ เมื่อไม่มีความน้อมไป การมาและการไป๓ก็ไม่มี เมื่อไม่มีการ
มาและการไป ความตายและความเกิดก็ไม่มี เมื่อไม่มีความตายและความเกิด
โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์”
ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว
ก็ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะจากไป
ไม่นาน ท่านพระฉันนะก็ได้นำศัสตรามา๔
[๓๙๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านฉันนะได้นำศัสตรามา ท่านมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพ
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร ฉันนภิกษุได้บอกว่าจะไม่ถูกติเตียน
ไว้ต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหมู่บ้านชาววัชชีชื่อปุพพชิระ ในหมู่บ้านนั้น
ตระกูลที่เป็นมิตร ตระกูลที่เป็นสหาย เป็นตระกูลที่ท่านฉันนะเข้าไปอาศัยก็มีอยู่”
“สารีบุตร ตระกูลที่เป็นมิตรตระกูลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็นตระกูลที่
ฉันนภิกษุเข้าไปอาศัยมีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ‘ฉันนภิกษุมีตระกูลที่ตนพึงเข้าไป
อาศัยด้วยเหตุเพียงเท่านี้’ เธอจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘เรากล่าวถึงภิกษุที่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

ละกายนี้เข้าถือกายอื่น ว่ามีตระกูลที่ตนพึงเข้าไปอาศัย’ ตระกูลนั้นไม่มีสำหรับ
ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ฉันโนวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปุณโณวาทสูตร๑
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ

[๓๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเย็น ท่านพระปุณณะออกจากที่
หลีกเร้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
โอวาทข้าพระองค์ด้วยพระโอวาทโดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออก
ไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านพระปุณณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า
‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
ความเพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
ปุณณะ เราโอวาทเธอด้วยโอวาทโดยย่อนี้ เธอจักอยู่ในชนบทไหน”
ท่านพระปุณณะกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค
โอวาทข้าพระองค์ด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว ข้าพระองค์จักอยู่ในชนบทชื่อ
สุนาปรันตะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

[๓๙๖] “ปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนดุร้ายนัก พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนหยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทจักด่า บริภาษเธอ ในเรื่องนี้ เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า บริภาษ
ข้าพระองค์ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท
เหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเราด้วย
ฝ่ามือ’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยฝ่ามือ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยก้อนดิน’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยก้อนดิน ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนา-
ปรันตชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่
ประหารเราด้วยท่อนไม้’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยท่อนไม้ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยศัสตรา’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยศัสตรา ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยศัสตรา ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ปลงชีวิต
เราด้วยศัสตราที่คม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิตเธอด้วยศัสตราที่คม
ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิต
ข้าพระองค์ด้วยศัสตราที่คม ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสาวก
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นอึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยร่างกายและ
ชีวิต แสวงหาศัสตราเครื่องปลงชีวิตก็มีอยู่ เราได้ศัสตราเครื่องปลงชีวิตที่ไม่ได้
แสวงหาเลย’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ปุณณะ เธอประกอบด้วยความข่มใจและความสงบใจ๑นี้
จักสามารถอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ ปุณณะ เธอรู้เวลาอันสมควรในบัดนี้เถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

[๓๙๗] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ เก็บงำเสนาสนะเรียบร้อย
แล้วถือบาตรและจีวร หลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับ
ก็ถึงสุนาปรันตชนบท
ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ที่สุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น ระหว่างพรรษา
นั้นท่านให้ชาวสุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน แสดงตน
เป็นอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ระหว่างพรรษานั้นเหมือนกัน ท่านปุณณะได้
บรรลุวิชชา๑ ๓ ลำดับนั้น โดยสมัยต่อมา ก็ได้ปรินิพพาน
ครั้งนั้นแล ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุณณะที่พระองค์ทรงโอวาทด้วยพระโอวาทโดยย่อนั้นมรณภาพ
แล้ว เขามีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อปุณณะเป็นบัณฑิต
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรชื่อปุณณะปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ปุณโณวาทสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

๔. นันทโกวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ

[๓๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุณีมหาปชาบดีโคตมี พร้อม
ด้วยภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระโอวาทสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย โปรดแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุณีทั้งหลายเถิด”
สมัยนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ย่อมโอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป
แต่ท่านพระนันทกะ ไม่ปรารถนาจะโอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ วันนี้ วาระ
ให้โอวาทภิกษุณีเวียนมาถึงใครหนอ”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วาระให้โอวาทภิกษุณี
ทั้งหลาย ภิกษุทุกรูปกระทำแล้วโดยเวียนกันไป แต่ท่านพระนันทกะรูปนี้ ไม่
ปรารถนาจะให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระนันทกะมาตรัสว่า “นันทกะ
เธอจงโอวาทสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย พราหมณ์ เธอจงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุณี
ทั้งหลายเถิด”
ท่านพระนันทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ในเวลาเช้าจึงครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้เดียวเข้าไปยังราชการาม๑
ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงช่วยกันปูลาดอาสนะและตั้ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

น้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ล้างเท้า แม้ภิกษุณี
เหล่านั้นก็พากันกราบท่านพระนันทกะแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้นว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การถาม
ตอบกันจักมีขึ้น ในการถามตอบกันนั้น น้องหญิงทั้งหลายเมื่อรู้ พึงตอบว่า
‘ดิฉันทั้งหลายรู้’ เมื่อไม่รู้พึงตอบว่า ‘ดิฉันทั้งหลายไม่รู้’ หรือน้องหญิงรูปใดมี
ความเคลือบแคลง หรือความสงสัย น้องหญิงรูปนั้นพึงถามอาตมภาพในเรื่องนั้น
ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรื่องนี้เป็นอย่างไร เรื่องนี้มีเนื้อความอย่างไร”
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันทั้งหลายมีใจยินดีชื่นชม
พระคุณเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระคุณเจ้านันทกะปวารณาแก่ดิฉันทั้งหลายเช่นนี้”
[๓๙๙] ท่านพระนันทกะถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”๑
“ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบ๑ว่า ‘อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้”
[๔๐๐] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ เสียง
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล”
[๔๐๑] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๐๒] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี
ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี แสงสว่างก็ดี ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี
ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปน้ำมันนั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงแสงสว่างของประทีปน้ำ
มันนั้นซึ่งไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายใน ๖ ของเรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายใน ๖ แล้ว ย่อมเสวย
เวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจากอายตนะ
ภายในนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนา
ที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

[๔๐๓] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น
มีราก ลำต้น กิ่งและใบ และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบ
และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นเที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบล้วนไม่เที่ยง
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเงาของต้นไม้นั้นซึ่งไม่เที่ยง มี
ความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอก ๖ แล้ว ย่อม
เสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้นเที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจาก
อายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ
ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงดับ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๐๔] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโค
ผู้ชำนาญ ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน
แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่เนื้อที่คมตัดชำแหละเฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะ
ส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้นนั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนังผืนนี้เท่านั้น’ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคนั้น
เมื่อกล่าว ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือไม่
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญโน้น ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วน
เนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมตัดชำแหละเฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง
เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน

โพชฌงค์ ๗ ประการ

[๔๐๕] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก(ความสงัด) อาศัยวิราคะ
(ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ(ความดับ) น้อมไปใน
โวสสัคคะ(ความสละคืน)
๒. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
๓. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
๔. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
๕. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
๖. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
๗. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ๑
เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
[๔๐๖] ครั้งนั้น ท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว
จึงส่งไปด้วยคำว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว”
ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระนันทกะ แล้วลุก
ขึ้นจากอาสนะ กราบท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด สมควร
แก่เวลาแล้ว”
ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นจากไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่
มีความเคลือบแคลงหรือความสงสัยเลยว่า ‘ดวงจันทร์ไม่เต็มดวงหรือเต็มดวงหนอ’
แต่ที่แท้ ดวงจันทร์ก็ยังไม่เต็มดวงนั่นเอง แม้ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีต่อธรรมเทศนาของนันทกะ ทั้งที่ยังมีความดำริไม่
บริบูรณ์”
[๔๐๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระนันทกะมาตรัสว่า
“นันทกะ ถ้าเช่นนั้น วันพรุ่งนี้ เธอพึงโอวาทภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนั้น
นั่นแหละ” ท่านพระนันทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ครั้นเวลาเช้า ท่านพระนันทกะครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้เดียวเข้าไปยังราชการาม
ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงช่วยกันปูลาดอาสนะและตั้ง
น้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วล้างเท้า แม้ภิกษุณี
เหล่านั้นกราบท่านพระนันทกะแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับ
ภิกษุณีเหล่านั้นว่า
“น้องหญิงทั้งหลาย การถามตอบกันจักมีขึ้น ในการถามตอบกันนั้น น้อง
หญิงทั้งหลายเมื่อรู้ พึงตอบว่า ‘ดิฉันทั้งหลายรู้’ เมื่อไม่รู้พึงตอบว่า ‘ดิฉัน
ทั้งหลายไม่รู้’ หรือน้องหญิงรูปใดมีความเคลือบแคลง หรือความสงสัย น้องหญิง
รูปนั้นพึงถามอาตมภาพในเรื่องนั้นว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรื่องนี้เป็นอย่างไร เรื่องนี้
มีเนื้อความอย่างไร”
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันทั้งหลายมีใจยินดีชื่นชม
พระคุณเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระคุณเจ้านันทกะปวารณาแก่ดิฉันทั้งหลายเช่นนี้”
[๔๐๘] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

[๔๐๙] น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูป
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ เสียง
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลายพระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๐] น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า
‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๑] น้องหญิงทั้งหลาย เมื่อประทีปน้ำมันถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี
เปลวไฟก็ดี แสงสว่างก็ดี ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปน้ำมันนั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงแสงสว่างของประทีป
น้ำมันนั้นซึ่งไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายใน ๖ ของเรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายใน ๖ แล้ว ย่อมเสวย
เวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจากอายตนะ
ภายในนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนา
ที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๒] น้องหญิงทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น
กิ่งและใบ และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘รากก็ดี ลำต้นก็ดี กิ่งและใบก็ดี เงาก็ดี ของต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้น มีแก่น
ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นเที่ยง ยั่งยืน
เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบ
หรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบ ล้วนไม่เที่ยง
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเงาของต้นไม้นั้นซึ่งไม่เที่ยง มี
ความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของ
เรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอก ๖ แล้ว ย่อมเสวยเวทนาใด เป็น
สุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้นเที่ยง ยั่งยืน
เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบ
หรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจาก
อายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ
ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๓] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ
ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วน
หนังไว้ข้างนอก ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็น
เล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนัง
ไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้นนั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้
เราประกอบไว้ด้วยหนังผืนนี้เท่านั้น’ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคนั้นเมื่อกล่าว
ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญโน้น ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วน
เนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

แล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน

โพชฌงค์ ๗ ประการ

[๔๑๔] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
๓. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
๔. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
๕. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
๖. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

๗. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
[๔๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระนันทกะโอวาทภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว
จึงส่งไปด้วยคำว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว”
ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระนันทกะ แล้ว
ลุกขึ้นจากอาสนะ กราบท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด สมควร
แก่เวลาแล้ว”
ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป
เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นจากไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่
มีความเคลือบแคลงหรือความสงสัยเลยว่า ‘ดวงจันทร์ไม่เต็มดวงหรือเต็มดวง
หนอ’ แต่ที่แท้ ดวงจันทร์ก็เต็มดวงแล้ว ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีต่อธรรมเทศนาของพระนันทกะและมีความดำริบริบูรณ์แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณี ๕๐๐ รูปนั้น รูปที่ได้คุณธรรมชั้นต่ำที่สุดเป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นันทโกวาทสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร๑
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก

[๔๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่
ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า “ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ๒ของราหุล
แก่กล้าแล้ว ทางที่ดี เราพึงแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว เสด็จกลับ
จากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระราหุลมา
ตรัสว่า “ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะ(ผ้าสำหรับปูนั่งของสมณะ) เราจักเข้าไปยัง
ป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวัน”
ท่านพระราหุลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มี
พระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์
สมัยนั้น เทวดาหลายพันองค์ก็ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า “วันนี้
พระผู้มีพระภาค จักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปู
ลาดไว้แล้วที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราหุลดังนี้ว่า
[๔๑๗] “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
[๔๑๘] “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
[๔๑๙] “ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่าน
พระราหุลก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น และธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทินได้เกิดแก่เทวดาหลายพันองค์ว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับเป็นธรรมดา”
ดังนี้แล

จูฬราหุโลวาทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ฉฉักกสูตร
ว่าด้วยธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด

[๔๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม มีความงามในเบื้องต้น๑ มีความงามใน
ท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คือธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรม ๖ ประการ ๖ หมวดนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖ พึงทราบอายตนะภายนอก ๖
พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ พึงทราบหมวดเวทนา ๖
พึงทราบหมวดตัณหา๓ ๖

อายตนะ ๑๒ ประการ

[๔๒๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. จักขวายตนะ ๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ ๔. ชิวหายตนะ
๕. กายายตนะ ๖. มนายตนะ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๑ (๑)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ

๑. รูปายตนะ ๒. สัททายตนะ
๓. คันธายตนะ ๔. รสายตนะ
๕. โผฏฐัพพายตนะ ๖. ธัมมายตนะ๑

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๒ (๒)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๓ (๓)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๔ (๔)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดเวทนา ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด๑
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดเวทนา ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๕ (๕)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดตัณหา ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา๑จึงเกิด
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดตัณหา ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๖ (๖)
[๔๒๒] ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘จักขุเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘รูปเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง รูปย่อมปรากฏทั้ง
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘รูปเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุวิญญาณ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็น
อนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุสัมผัส
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุ
เป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง เวทนาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ตัณหาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
ตัณหาเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

[๔๒๓] ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘โสตะเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ฆานะเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชิวหาเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘กายเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนย่อมปรากฏ
ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดและความเสื่อมไป
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา ด้วยอาการ
อย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ธรรมารมณ์เป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ธรรมารมณ์
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ธรรมารมณ์เป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโน
เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนวิญญาณ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนสัมผัสเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนสัมผัส
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนสัมผัสเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง เวทนาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา
ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนา
เป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ตัณหาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา
ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนา
เป็นอนัตตา ตัณหาเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
[๔๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทานี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงสักกายสมุทัย(ความ
เกิดขึ้นแห่งสักกายะ)
คือ บุคคลพิจารณาเห็น๑จักขุว่า ‘นั่นของเรา๒ เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะว่า ‘นั่นของเรา ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

พิจารณาเห็นฆานะว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นกายว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นธรรมารมณ์ว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นมโนวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนปฏิปทานี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงสักกายนิโรธ๑(ความดับสักกายะ)
คือ บุคคลพิจารณาเห็น๒จักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา๓ เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

พิจารณาเห็นโสตะว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นฆานะว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นกายว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นธรรมารมณ์ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
[๔๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ที่สัตว์เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
บุคคลนั้นมีราคานุสัย(กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือราคะ) นอนเนื่องอยู่ อัน
ทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความ
ลุ่มหลง๑ เขามีปฏิฆานุสัย(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ) นอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป
คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความเป็นจริง เขามี
อวิชชานุสัย(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) นอนเนื่องอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลนั้นยังละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้ ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ยังละอวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดไม่ได้ จักเป็นผู้กระทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์
เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดติด
บุคคลนั้นมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก
ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขามีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป
คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความเป็นจริง เขามี
อวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลนั้นยังละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้ ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ยังละอวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดไม่ได้ จักเป็นผู้กระทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน
[๔๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ที่สัตว์เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติด บุคคลนั้นไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง๑ บุคคลนั้น
ไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ชัดถึงความ
เกิดขึ้น ความเสื่อมไป คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น
ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาได้ บรรเทาปฏิฆานุสัย
เพราะทุกขเวทนาได้ ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาได้ ละอวิชชาแล้วทำ
วิชชา๒ ให้เกิดขึ้นได้แล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์
เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
บุคคลนั้นไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง บุคคลนั้นไม่มี
ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ชัดถึงความเกิดขึ้น
ความเสื่อมไป คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความ
เป็นจริง บุคคลนั้นไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาได้ บรรเทา
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาได้ ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาได้ ละ
อวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๔๒๗] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ดังนี้แล

ฉฉักกสูตรที่ ๖ จบ

๗. สฬายตนวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ

[๔๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ ที่สำคัญแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๔๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อไม่
รู้ไม่เห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อ
ไม่รู้ไม่เห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่
สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักใน
จักขุ ย่อมยินดีนักในรูป ย่อมยินดีนักในจักขุวิญญาณ ย่อมยินดีนักในจักขุสัมผัส
ย่อมยินดีนักในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่ อุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อันสหรคต
ด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น
ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ
เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่
เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง
เสวยทุกข์ทางใจบ้าง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหาตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นกายตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัสตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักในมโน ย่อมยินดีนักใน
ธรรมารมณ์ ย่อมยินดีนักในมโนวิญญาณ ย่อมยินดีนักในมโนสัมผัส ย่อมยินดีนัก
ในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อัน
สหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น
ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ
เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่
เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง
เสวยทุกข์ทางใจบ้าง
[๔๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่
สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีใน
จักขุ ย่อมไม่ยินดีในรูป ย่อมไม่ยินดีในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในจักขุสัมผัส
ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่หลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ
ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้
เขาย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อน
ที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้
จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๔๓๑] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น๑ ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริ
ของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี
ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น
สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม
วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่
เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี
สัมมัปปธาน ๔ ก็ดี อิทธิบาท ๔ ก็ดี อินทรีย์ ๕ ก็ดี พละ ๕ ก็ดี โพชฌงค์
๗ ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งธรรมที่
ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
[๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นโสตะตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นฆานะตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นชิวหาตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นกายตามความเป็นจริง ...
บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นธรรมารมณ์ตาม
ความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็น
มโนสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวย
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีในมโน ย่อม
ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ ย่อมไม่ยินดีในมโนวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในมโนสัมผัส
ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ
ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้
ย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อนที่
เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้
จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๔๓๓] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของ
บุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี
ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น
สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม
วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยมรรค
มีองค์ ๘ นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่
เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี
สัมมัปปธาน ๔ ก็ดี อิทธิบาท ๔ ก็ดี อินทรีย์ ๕ ก็ดี พละ ๕ ก็ดี
โพชฌงค์ ๗ ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละ
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์
๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์
๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ๑
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. นครวินเทยยสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ

[๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวแคว้นโกศลชื่อนครวินทะ พราหมณ์
และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ ได้ทราบข่าวว่า
“ท่านพระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตร เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล
เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงนครวินทะ
โดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้น มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพรียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค‘๑ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่าง
แท้จริง”๒
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกทูลสนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประกาศชื่อและโคตร ในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดี
ชาวบ้านนครวินทะว่า

สมณพราหมณ์ผู้ไม่ควรสักการะ

[๔๓๕] “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร อัน
ท่านทั้งหลายไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา’ ท่าน
ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ(ความกำหนัด) ยังไม่ปราศจาก
โทสะ(ความขัดเคือง) ยังไม่ปราศจากโมหะ(ความลุ่มหลง)ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ
สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติไม่
สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความ
ประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ
ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยัง
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็น
แม้ความประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ
ไม่ควรบูชา’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

สมณพราหมณ์ผู้ควรสักการะ

[๔๓๖] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร อันท่าน
ทั้งหลายควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’ ท่านทั้งหลายถูกถาม
อย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์
เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
มีจิตสงบในภายใน ประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ
สมณพราหมณ์เช่นนี้ควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยัง
ไม่ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายเห็นแม้ความ
ประพฤติสม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจึงควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะในรส
ที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตสงบในภายใน ประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ทาง
วาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ
ควรบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าแม้เราทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยัง
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายเห็นแม้
ความประพฤติสม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจึงควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด

ปฏิปทาของผู้ไม่มีราคะ

[๔๓๗] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ก็ท่าทางและการปฏิบัติของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเป็นอย่างไร
จึงเป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายกล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ
หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่แท้’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่าง
นี้ว่า ‘จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดง
อันเป็นที่ไม่มีรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ซึ่ง
คนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ซึ่งคนทั้งหลายดมแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ซึ่ง
คนทั้งหลายลิ้มแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย
ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้ว ๆ จะพึงยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

ท่าทางและการปฏิบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย
กล่าวถึงท่านผู้มีอายุได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ
หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็น
ผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่แท้’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปใน
ที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นครวินเทยยสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
ว่าด้วยการทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์

[๔๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสถามว่า
“สารีบุตร เธอมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง เธออยู่ด้วยวิหาร
ธรรมอะไรเป็นส่วนมากในบัดนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าพระองค์อยู่ด้วยสุญญตา๑วิหารธรรมเป็น
ส่วนมากในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ได้ยินว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรม
ของมหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้ เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษ๒นี้ก็คือสุญญตา
เพราะฉะนั้น ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมเป็นส่วนมาก’
ภิกษุนั้นพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้เที่ยว
บิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ(ความพอใจ) ราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความขัดเคือง) โมหะ
(ความลุ่มหลง) หรือปฏิฆะ(ความกระทบ) แห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาบ้างไหม’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้
เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาอยู่’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด
เราได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด
ในที่นั้น เราไม่มีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา’
สารีบุตร ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นแล
[๔๓๙] สารีบุตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเข้า
บ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับ
จากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น ๆ เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะใน
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูบ้างไหม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะหรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจบ้างไหม’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้
เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะหรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมนั้น
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เรา
ได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ใน
ที่นั้น เราไม่มีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจ’
สารีบุตร ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราละกามคุณ ๕
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังละกามคุณ ๕ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละกามคุณ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราละกามคุณ ๕ ได้แล้ว‘ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราละนิวรณ์ ๕ ได้
แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังละนิวรณ์ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุ
นั้นพึงพยายามเพื่อละนิวรณ์ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้นพึง
ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์
นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[๔๔๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรากำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังกำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๓] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสติปัฏฐาน ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๔] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสัมมัปปธาน ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ ได้แล้ว’ ภิกษุ
นั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๕] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอิทธิบาท ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอิทธิบาท ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอิทธิบาท ๔
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอิทธิบาท ๔ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[๔๔๖] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอินทรีย์ ๕
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอินทรีย์ ๕ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอินทรีย์ ๕
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอินทรีย์ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญพละ ๕ ได้
แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญพละ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุ
นั้นพึงพยายามเพื่อเจริญพละ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญพละ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญโพชฌงค์ ๗
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญโพชฌงค์ ๗
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญโพชฌงค์ ๗ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๙] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[๔๕๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสมถะและ
วิปัสสนาได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสมถะและ
วิปัสสนาไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสมถะและวิปัสสนา
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสมถะและวิปัสสนาได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๕๑] สารีบุตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราทำ
วิชชาและวิมุตติให้แจ้งได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังทำ
วิชชาและวิมุตติให้แจ้งไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้ง
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๕๒] สารีบุตร ก็ในอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ทำ
บิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้พิจารณาแล้ว ๆ
อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งจักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็
จักพิจารณาแล้ว ๆ อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ในบัดนี้ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดย่อมพิจารณาแล้ว ๆ อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราพิจารณาแล้ว ๆ จักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์’
สารีบุตร เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญอินทรีย์

[๔๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน๑ กัชชังคลานิคม ครั้งนั้นแล
อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ว่า
“อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือไม่”
อุตตรมาณพกราบทูลว่า “แสดง ขอรับ”
“แสดงอย่างไร”
“พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์
แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘สาวกของเราอย่าดูรูปทางตา อย่าฟังเสียงทางหู’
ดังนี้เป็นต้น ขอรับ”
“อุตตระ เมื่อเป็นเช่นนั้น สาวกผู้เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์
ก็จักเป็นคนตาบอด เป็นคนหูหนวกแน่นอน เพราะคนตาบอดย่อมไม่เห็นรูปทางตา
คนหูหนวกย่อมไม่ได้ยินเสียงทางหู”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุตตรมาณพศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์
ก็นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นว่า อุตตรมาณพศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์
นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งเรียกท่านพระ
อานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์แก่
สาวกทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง แต่การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัยเป็น
อย่างหนึ่ง”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควรแล้ว
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคพึงแสดงการเจริญ
อินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จัก
ทรงจำไว้”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรื่องนี้ว่า
[๔๕๔] “การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจนี้
แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีตาดีกระพริบตา แม้ฉันใด ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อม
ดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๕] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุได้ยินเสียงทางหูแล้วจึงเกิดความ
ชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจ
และความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังดีดนิ้วมือได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วแก่
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก
อย่างนี้
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๖] อีกประการหนึ่ง ภิกษุดมกลิ่นทางจมูกแล้วจึงเกิดความชอบใจ เกิด
ความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจทั้งความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่
ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัวที่เอียงนิดหน่อย ย่อมไม่ติดอยู่
แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิด
ขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดย
ไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกอันยอด
เยี่ยมในอริยวินัย
[๔๕๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วจึงเกิดความชอบใจ เกิด
ความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่
ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น แล้วถ่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

ไปโดยไม่ยาก แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่
ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็ว
พลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วจึงเกิดความ
ชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจ
และความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป
อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า แม้
ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิดขึ้น
แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก
อย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย
อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย
[๔๕๙] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วจึงเกิด
ความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิด
ทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นของหยาบ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่
ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาหยดน้ำ ๒
หยด หรือ ๓ หยดใส่ลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน น้ำที่หยดลงยังช้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

ที่แท้หยดน้ำนั้นจะระเหยแห้งไปเร็วพลันทันที แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อม
ดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจอัน
ยอดเยี่ยมในอริยวินัย
อานนท์ การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๐] พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ เพราะความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ภิกษุนั้นจึงอึดอัด
เบื่อหน่าย รังเกียจ
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และ
เกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ เพราะความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความ
ชอบใจและความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ภิกษุนั้นจึงอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจ
อานนท์ พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๑] พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ถ้าเธอหวังว่า ‘เราพึงมี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่‘๑ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูล
นั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่๑
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูล
อยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่๒
[๔๖๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ภิกษุดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ
และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ถ้าเธอยังหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้
ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่
ปฏิกูลอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่ง
ที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูล
อยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
อานนท์ พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๓] อานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัยไว้แล้ว
แสดงพระเสขะผู้กำลังปฏิบัติไว้แล้ว แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์ไว้แล้ว ด้วย
ประการอย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ
อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลายได้ เราก็ได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อินทริยภาวนาสูตรที่ ๑๐ จบ
สฬายตนวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ๒. ฉันโนวาทสูตร
๓. ปุณโณวาทสูตร ๔. นันทโกวาทสูตร
๕. จูฬราหุโลวาทสูตร ๖. ฉฉักกสูตร
๗. สฬายตนวิภังคสูตร ๘. นครวินเทยยสูตร
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

อุปริปัณณาสก์ จบ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ จบ





eXTReMe Tracker