ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. กันทรกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อกันทรกะ

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระโบกขรณีชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา๒
พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ครั้งนั้นแล บุตรของควาญช้างชื่อเปสสะและปริพาชก
ชื่อกันทรกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นายเปสสะบุตรของควาญช้าง
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๓ ส่วนกันทรกปริพาชกได้สนทนา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร แล้วเหลียวดู
ภิกษุสงฆ์ผู้นั่งนิ่งเงียบอยู่๑ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ ท่าน
พระโคดมก็ชื่อว่าแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้ว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ก็ทรงแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้ เหมือนท่านพระโคดมทรงแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอนาคตกาล ก็จักทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้
เหมือนท่านพระโคดมทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้”

มนุษย์มีปากกับใจไม่ตรงกัน

[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กันทรกะ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น กันทรกะ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล
ก็ทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้ เหมือนเราแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายในอนาคตกาล ก็จักทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึง
เพียงนี้ เหมือนเราแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

จริงอยู่ กันทรกะ ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุจำนวนมากผู้เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ทำกิจที่ควรทำ๒เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์
ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๓หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ อนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้
ยังมีภิกษุอีกจำนวนมากผู้ยังเป็นเสขบุคคล๔ มีปกติสงบ มีความเป็นอยู่สงบ มีปัญญา
มีความเป็นอยู่ด้วยปัญญา เธอเหล่านั้นมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) และโทมนัส(ความ
ทุกข์ใจ) ในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

[๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายเปสสะบุตรของควาญช้างได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ดีแล้วเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง
โสกะ(ความเศร้าโศก) และปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) เพื่อดับทุกข์(ความทุกข์กาย)
และโทมนัส(ความทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๑ เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่จริง แม้ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว
ก็มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้อยู่ได้ตามกาลที่สมควร ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ พระผู้มี
พระภาคก็ชื่อว่าทรงทราบประโยชน์ และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อ
คนรกโลก คนเดนคน คนเจ้าเล่ห์ยังมีอยู่อย่างนี้ เป็นความจริงที่คนสอนยาก
สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย เพราะข้าพระองค์สามารถให้ช้างที่ฝึกแล้วทำตามได้ เช่น ให้เดินไป
เดินมาในระหว่างกรุงจัมปาก็ได้ ให้ทำอาการต่าง ๆ คือ ยกชูขาหน้าทั้ง ๒ กลิ้ง
คู้เข่า ย่อตัวได้ทุกอย่าง แต่เหล่าชน คือ ทาสก็ดี คนรับใช้ก็ดี คนงานก็ดีของ
ข้าพระองค์ ทำอย่างหนึ่ง พูดอย่างหนึ่ง คิดอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคก็ชื่อว่าทรงทราบ
ประโยชน์และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อคนรกโลก คนเดนคน
คนเจ้าเล่ห์ยังมีอยู่อย่างนี้ เป็นความจริงที่คนสอนยาก สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

บุคคล ๔ ประเภท

[๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เปสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
เปสสะ คนสอนยาก สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย บุคคล ๔ ประเภท๑นี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่หิว๒ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
เปสสะ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนี้ ท่านชอบใจบุคคลประเภทไหนเล่า”
นายเปสสะบุตรของควาญช้างกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
ข้าพระองค์ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน ข้าพระองค์ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

เดือดร้อน ข้าพระองค์ชอบใจบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน (เพราะ)บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เปสสะ เพราะเหตุไรเล่า ท่านจึงไม่ชอบใจ
บุคคล ๓ ประเภทนี้”
นายเปสสะบุตรของควาญช้างกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
ผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำตนซึ่งรักสุข
เกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจบุคคลนี้
บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำ
ผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงไม่ชอบ
ใจบุคคลนี้ ส่วนบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่า
ทำตนและผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์
จึงไม่ชอบใจบุคคลนี้ บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน บุคคลนั้นชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์
จึงชอบใจบุคคลนี้ เอาเถิด บัดนี้ ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะ
ต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เปสสะ เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
จากนั้น นายเปสสะบุตรของควาญช้างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

[๖] ครั้งนั้น เมื่อนายเปสสะบุตรของควาญช้างจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาค
ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายเปสสะบุตรของควาญช้าง
เป็นคนเฉลียวฉลาด๑ มีปัญญามาก๒ ถ้านายเปสสะบุตรของควาญช้างจะพึงนั่งสักครู่
เพียงชั่วเวลาที่เราจำแนกบุคคล ๔ ประเภทนี้โดยพิสดาร ก็จักได้รับประโยชน์อัน
ใหญ่หลวง๓ แต่ถึงจะฟังโดยสังเขปเพียงเท่านี้ นายเปสสะบุตรของควาญช้างก็ยังได้
รับประโยชน์อันใหญ่หลวง”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลที่สมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกบุคคล
๔ ประเภทนี้โดยพิสดาร ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๗] “บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ
เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขา
แบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจาก
ปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหาร
คร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลังบริโภค
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับอาหาร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

ของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่เลี้ยงสุนัข
ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา
ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว
รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ รับอาหารในเรือน ๗ หลัง
ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วยอาหารใน
ถาดน้อย ๒ ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ วัน ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน ๗ วัน ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้ออยู่ ด้วยประการอย่างนี้
เขาเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน
นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือ
มีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้า
กัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า ถอนผมและหนวด
คือถือการถอนผมและหนวด ยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือถือการเดิน
กระโหย่ง(เหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) นอนบนหนาม คือถือการนอนบนหนาม อาบน้ำ
วันละ ๓ ครั้ง คือ ถือการลงอาบน้ำ๑ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่
ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน
[๘] บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฆ่านก ฆ่าเนื้อ(เลี้ยงชีพ) เป็นคนโหดเหี้ยม
เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนฆ่าโค เป็นคนคุมเรือนจำ หรือบาง
พวกเป็นผู้ทำการทารุณ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบใน
การทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
[๙] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑แล้วก็ดี
เป็นพราหมณมหาศาลก็ดี พระราชานั้นโปรดให้สร้างโรงบูชายัญหลังใหม่ ทางด้าน
ทิศตะวันออกแห่งพระนคร ปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ
ทรงทาพระวรกายด้วยเนยใสและน้ำมัน ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไป
ยังโรงบูชายัญหลังใหม่พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นหญ้า
เขียวขจี มิได้ลาดด้วยเครื่องปูลาด ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๑ แห่งโค
แม่ลูกอ่อนที่มีอยู่ตัวเดียว พระมเหสีดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๒ พราหมณ์
ปุโรหิตดำรงชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๓ ทรงบูชาไฟด้วยน้ำนมเต้าที่ ๔ ลูกโคมี
ชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชารับสั่งอย่างนี้ว่า ‘จงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้
บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวเมียประมาณเท่านี้
บูชายัญ จงฆ่าแพะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้บูชายัญ (จงฆ่าม้า
ประมาณเท่านี้บูชายัญ) จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้เพื่อทำเสาบูชายัญ จงเกี่ยวหญ้า
ประมาณเท่านี้เพื่อลาดพื้น’ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี
ของพระราชานั้น ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไป
ทำงานไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พระพุทธคุณ

[๑๐] บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ตถาคต๑อุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค๓ ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๑
ประกาศพรหมจรรย์๒พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี
บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรม
นั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็น
เรื่องอึดอัด๓ เป็นทางมาแห่งธุลี๔ การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๕ การที่ผู้ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

สิกขาและสาชีพของภิกษุ๑

[๑๑] เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๒ของภิกษุ
ทั้งหลาย คือ
๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ รับเอาแต่
ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
๓. ละ พฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์๓
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๔ อันเป็นกิจของชาวบ้าน
๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไป
บอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้วไม่มา
บอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่
ปรองดองกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำ
ที่สร้างสรรค์ความสามัคคี


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก
จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑ และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๓
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่
เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่ นาและที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การ
ปล้น และการขู่กรรโชก
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที นกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมเสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

การสำรวมอินทรีย์

[๑๒] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ...
ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวม
อริยอินทรียสังวรนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

การละนิวรณ์

[๑๓] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติ-
สัมปชัญญะนี้แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา
ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหาร
เสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา (ความ
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอภิชฌา ละพยาบาทและความมุ่งร้าย มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากพยาบาทและความมุ่งร้าย ละถีนมิทธะ (ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ) เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากวิจิกิจฉา

ฌาน ๔

ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

วิชชา ๓

[๑๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
[๑๕] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑ แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรม อย่างนี้แล
[๑๖] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ๒ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๓ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๔ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป๕’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ
ในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน จึงเป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กันทรกสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัฏฐกนาครสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่อัฏฐกนคร

[๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล
คหบดีชาวอัฏฐกนครชื่อทสมะ ได้เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตรด้วยกิจที่ต้องทำ
บางอย่าง ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครได้เข้าไปพบภิกษุรูปหนึ่งที่กุกกุฏาราม
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามภิกษุนั้นว่า “ท่านขอรับ บัดนี้ ท่านพระอานนท์
อยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าต้องการจะพบท่าน”
ภิกษุนั้นตอบว่า “คหบดี ท่านพระอานนท์นี้อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี”
ครั้งนั้น ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครทำกิจที่ควรทำในเมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว
ได้เข้าไปพบท่านพระอานนท์ถึงเวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า
[๑๘] “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่หนอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่
บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่”
ทสมคหบดีถามว่า “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุ
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว เป็นอย่างไร”

รูปฌาน ๔

[๑๙] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก
วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้น
ดำรงอยู่ในธรรม๑นั้นแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๒ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๓(สังโยชน์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว (๑)
[๒๐] คหบดี อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุ
ทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ทุติยฌานนี้แล
ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ’ (๒)
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุ
นั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ตติยฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และ
เป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๓)
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่
จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๔)

อัปปมัญญา ๔

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้เมตตา-
เจโตวิมุตตินี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๕)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีมุทิตาจิต ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้อุเบกขา-
เจโตวิมุตตินี้ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง
มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๖-๗-๘)

อรูปฌาน ๓

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้อากาสานัญจายตนฌาน
นี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไป
เป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๙)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ภิกษุนั้นย่อม
เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน
ธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัด
ดังนี้ว่า ‘แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูก
ปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม
นั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก
โลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว'' (๑๑)

ทสมคหบดีเลื่อมใสท่านพระอานนท์

[๒๑] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครจึง
กล่าวว่า
“ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียวได้รับประตู
อมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์
ขุมเดียว พึงพบแหล่งขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกัน ข้าพเจ้าจักสามารถทำตน
ให้ปลอดภัยได้โดยประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูนี้ประตูใดประตูหนึ่ง เปรียบเหมือน
บุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษนั้นสามารถทำตนให้ปลอดภัย
ได้โดยประตูใดประตูหนึ่ง
ท่านอานนท์ ธรรมดาอัญเดียรถีย์เหล่านี้ยังแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์ เพื่อ
อาจารย์ ส่วนข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านอานนท์ได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครนิมนต์ภิกษุสงฆ์ชาวเมืองปาตลีบุตร
และเชิญชาวเมืองเวสาลีให้ประชุมกัน แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์นั้นให้อิ่มหนำสำราญด้วย
ของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง นิมนต์ภิกษุให้ครองผ้ารูปละ ๑ คู่ นิมนต์
ท่านพระอานนท์ให้ครองไตรจีวร และได้ให้สร้างวิหาร ๕๐๐ หลังถวายท่านพระ
อานนท์ ดังนี้แล

อัฏฐกนาครสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสขปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของพระเสขะ

[๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ที่พวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงให้สร้างเสร็จได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์
เข้าพักอาศัย ต่อมา พวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท้องพระโรงหลังใหม่ที่พวกเจ้า
ศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ให้สร้างเสร็จได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือ
ใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์เข้าพักอาศัย ขอพระผู้มีพระภาคทรงใช้ท้องพระโรงนั้นเป็นปฐมฤกษ์
ด้วยเถิด พวกเจ้าศากยะกรุงกบิลพัสดุ์จะใช้ภายหลังที่พระผู้มีพระภาคทรงใช้เป็น
ปฐมฤกษ์แล้ว ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่พวกเจ้าศากยะผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์ตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะผู้
ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปสู่
ท้องพระโรงหลังใหม่ แล้วจึงรับสั่งให้ปูลาดท้องพระโรงด้วยเครื่องลาดทั่วทุกแห่ง
ให้ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดท้องพระโรงด้วยเครื่องลาด
ทั่วทุกแห่ง ให้ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
ยังท้องพระโรงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าไปสู่ท้องพระโรง
ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าเข้าไป
สู่ท้องพระโรงนั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค ส่วนพวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ล้างพระบาทแล้ว เสด็จ
เข้าไปสู่ท้องพระโรงประทับนั่งพิงฝาด้านตะวันออก ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก
ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกเจ้า
ศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรี๑ แล้วรับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
‘อานนท์ เธอจงชี้แจงเสขปฏิปทา๒ให้แจ่มแจ้ง แก่พวกเจ้าศากยะผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์เถิด เราเมื่อยหลังจะขอพักสักหน่อย”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ท่านพระอานนท์๑ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้
ปูผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา๒ โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาท
เหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ กำหนดพระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น
[๒๓] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญเจ้าศากยมหานามะมาแล้วกล่าวว่า
“เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๓ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยสัทธรรม๔ ๗ ประการ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อัน
เป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
[๒๔] พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๕อยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล (๑)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู...
ดมกลิ่นทางจมูก...
ลิ้มรสทางลิ้น...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
อย่างนี้แล (๒)
พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงกลืนกินอาหาร
ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่กลืนกินอาหาร
เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความ
เบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า
และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่
ผาสุก จักมีแก่เรา’
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างนี้แล (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเครื่อง
ขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็น
เครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจ
ราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจพร้อม
จะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเครื่อง
ขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
เป็นอย่างนี้แล (๔)

สัทธรรม ๗ ประการ

[๒๕] พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอาย
การประกอบบาปอกุศลธรรม
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวการประกอบบาปอกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมเหล่านี้
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร๒ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย
๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาที่ยิ่ง จำได้ ระลึกได้
อย่างแม่นยำถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดไว้แม้นานมาแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ
อันประเสริฐ ทำลายกิเลสให้ถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์โดยชอบ
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ เป็น
อย่างนี้แล (๕-๑๑)
[๒๖] พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่
ลำบาก เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ
ระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี
วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ ซึ่งเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
เป็นอย่างนี้แล (๑๒-๑๕)

อุปมาด้วยฟองไข่ที่แม่ไก่นอนกก

[๒๗] เจ้ามหานามะ เพราะพระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ เป็น
ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอย่างนี้
เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม
๗ ประการอย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากอย่างนี้ พระอริย-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

สาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็น
ดุจฟองไข่ไก่ที่ไม่เน่า เป็นผู้ควรแก่การทำลายกิเลสด้วยญาณ เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้
และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ฟองไข่ของแม่ไก่
๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองที่แม่ไก่นอนกกไว้อย่างดี ให้ความอบอุ่นอย่าง
สม่ำเสมอ ฟักแล้วอย่างดี แม้ว่าแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไรหนอ ขอลูกไก่เหล่านี้พึงใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปากเจาะทำลายเปลือก
ไข่ออกมาได้โดยสวัสดิภาพ’ ก็ตาม ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้องเจาะทำลาย
เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บหรือจะงอยปากออกมาโดยสวัสดิภาพได้ แม้ฉันใด พระอริย-
สาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ
อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากอย่างนี้
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ไก่ที่ไม่เน่า เป็นผู้ควรแก่การทำลายกิเลส
ด้วยญาณ เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม
[๒๘] เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้ นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๑ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือน
ลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๑)
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เธอรู้ชัด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๒ ของพระ
อริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๒)
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นการทำลายกิเลส
ด้วยญาณข้อที่ ๓ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้
ฉะนั้น (๓)

ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

[๒๙] เจ้ามหานามะ การที่พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแม้นี้ ก็เป็น
จรณะ๓ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแม้นี้ ก็เป็นจรณะ
ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคแม้นี้ ก็เป็นจรณะของ
พระอริยสาวกประการหนึ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องแม้นี้
ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการแม้นี้ ก็เป็นจรณะ
ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรม
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากแม้นี้
ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ๑ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
แม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เธอรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระ
อริยสาวกประการหนึ่ง
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย
วิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

คาถาของพรหมชื่อสนังกุมาร

[๓๐] เจ้ามหานามะ แม้พรหมชื่อสนังกุมาร ก็ได้กล่าวคาถานี้ว่า
‘ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์‘๑
เจ้ามหานามะ พรหมชื่อสนังกุมารกล่าวคาถานั้นไว้ชอบ ไม่ใช่ไม่ชอบ กล่าวไว้
ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคทรง
เห็นด้วยแล้ว”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้น แล้วตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “ดีละ
ดีละ อานนท์ ดีจริง อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์”
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาก็ทรงยินดี เจ้าศายกะ
ทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ก็ทรงมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์
ดังนี้แล

เสขปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

๔. โปตลิยสูตร
ว่าด้วยคหบดีชื่อโปตลิยะ

[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ
แคว้นอังคุตตราปะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม ทรงเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเข้าไปยังราวป่า
แห่งหนึ่งเพื่อพักผ่อนกลางวัน แล้วประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง
แม้โปตลิยคหบดีเองก็เช่นกัน นุ่งห่มเรียบร้อยกางร่มสวมรองเท้า เดินเที่ยวเล่นอยู่
ได้เข้าไปยังราวป่านั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี’ จึงทำเฉยเสีย
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสเรียกโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่
ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี’ จึงทำเฉยเสีย
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสเรียกโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่
ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดม ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี' แล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ท่านพระโคดม พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียกข้าพระองค์ด้วยคำว่า ‘คหบดี’ นั้น
ไม่เหมาะ ไม่ควรเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี กิริยาของท่าน ท่าทางของท่าน ลักษณะ
ของท่านเหล่านั้น บ่งว่าเป็นกิริยา ท่าทาง ลักษณะของคหบดีอยู่”
“ใช่แล้ว ท่านพระโคดม แต่ข้าพระองค์ละทิ้งการงานทุกอย่างแล้ว ตัดขาด
โวหารทุกอย่างแล้ว”
“คหบดี ท่านละทิ้งการงานทุกอย่าง ตัดขาดโวหารทุกอย่าง อย่างไรเล่า”
“ท่านพระโคดม ขอประทานวโรกาส ทรัพย์ก็ดี ธัญชาติก็ดี เงินก็ดี ทองก็ดี
ที่มีอยู่ทั้งหมด ข้าพระองค์มอบให้เป็นมรดกแก่บุตรทั้งหลาย ข้าพระองค์ไม่ต้อง
แนะนำ ไม่ต้องตักเตือนพวกเขาในสิ่งนั้น ๆ ข้าพระองค์มีเพียงอาหารและเครื่องนุ่งห่ม
ก็พอแล้ว ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ละทิ้งการงานทุกอย่าง ตัดขาดโวหารทุกอย่าง
อย่างนี้แล”
“คหบดี การตัดขาดโวหารที่ท่านพูดมา เป็นอย่างหนึ่ง แต่การตัดขาดโวหาร
ในอริยวินัย เป็นอีกอย่างหนึ่ง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม คือการตัดขาดโวหารใน
อริยวินัย แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

การตัดโวหาร ๘ ประการ

[๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ธรรม ๘ ประการนี้ เป็นไปเพื่อการ
ตัดขาดโวหาร๑ในอริยวินัย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
๒. บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้ เพราะอาศัยการไม่ลักทรัพย์
๓. บุคคลพึงละการพูดเท็จได้ เพราะอาศัยการพูดจริง
๔. บุคคลพึงละการพูดส่อเสียดได้ เพราะอาศัยการไม่พูดส่อเสียด
๕. บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัดยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ
คือความไม่กำหนัดยินดี
๖. บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทา
และการไม่ประทุษร้าย
๗. บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น
๘. บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่น
คหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อ มิได้จำแนกให้พิสดาร ย่อม
เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหารในอริยวินัย”
โปตลิยคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ มิได้จำแนกให้พิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหาร
ในอริยวินัย ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์จำแนกธรรม
๘ ประการนี้ให้พิสดารแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๓๓] “เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะ
อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนได้๑ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็น
อันหวังได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย’ การฆ่าสัตว์นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์๒
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว อาสวะและความเร่าร้อน
ที่ทำความคับแค้น๓ เหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้
เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๔] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้เพราะ
อาศัยการไม่ลักทรัพย์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลักทรัพย์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

อนึ่ง เราเป็นผู้ลักทรัพย์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการลักทรัพย์เป็น
ปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย หลังจากตาย
แล้วทุคติเป็นอันหวังได้เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย’ การลักทรัพย์นั่นเองเป็น
สังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การลักทรัพย์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการลักทรัพย์แล้ว อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
ลักทรัพย์ได้ เพราะอาศัยการไม่ลักทรัพย์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๕] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการพูดเท็จได้ เพราะอาศัย
การพูดจริง’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้พูดเท็จเพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้พูดเท็จ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติ
เป็นอันหวังได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย’ การพูดเท็จนั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การพูดเท็จเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการพูดเท็จแล้ว อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
พูดเท็จได้ เพราะอาศัยการพูดจริง’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๖] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการพูดส่อเสียดได้ เพราะ
อาศัยการไม่พูดส่อเสียด’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้พูดส่อเสียด
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

อนึ่ง เราเป็นผู้พูดส่อเสียด แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการพูดส่อเสียด
เป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย หลังจาก
ตายแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้เพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย’ การพูดส่อเสียด
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการพูดส่อเสียดแล้ว อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
พูดส่อเสียดได้ เพราะอาศัยการไม่พูดส่อเสียด’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๗] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัด
ยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภคือความไม่กำหนัดยินดี’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความโลภคือ
ความกำหนัดยินดีเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัด
สังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีความโลภคือความกำหนัดยินดี แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย’ ความโลภคือความกำหนัดยินดี
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากความโลภคือความ
กำหนัดยินดี อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรา
กล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัดยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ
คือความไม่กำหนัดยินดี’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

[๓๘] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษ-
ร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทาและการไม่ประทุษร้าย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีการนินทาและ
การประทุษร้ายเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์
เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีการนินทาและการประทุษร้าย แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้
เพราะการนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะ
การนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้เพราะ
การนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย’ การนินทาและการประทุษร้ายนั่นเองเป็น
สังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้น
เพราะการนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่มีการนินทาและการ
ประทุษร้าย อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรา
กล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทา
และการไม่ประทุษร้าย’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๙] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้
เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความ
โกรธแค้น เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์
เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีความโกรธแค้น แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะความโกรธ
แค้นเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะความโกรธแค้นเป็นปัจจัย หลังจาก
ตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโกรธแค้นเป็นปัจจัย’ ความโกรธแค้น
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความโกรธแค้นเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่มีความโกรธแค้น อาสวะและความเร่าร้อน
ที่ทำความโกรธแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้
เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๔๐] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะ
อาศัยความไม่ดูหมิ่น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ดูหมิ่นเพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้ดูหมิ่น แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติ
เป็นอันหวังได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย’ ความดูหมิ่นนั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็น
นิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความดูหมิ่นเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่น อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับ
แค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะอาศัย
ความไม่ดูหมิ่น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๔๑] คหบดี ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในอริยวินัย
เรากล่าวไว้โดยย่อ จำแนกไว้แล้วโดยพิสดาร แต่เพียงเท่านี้ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตัด
ขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัย”
โปตลิยคหบดีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างไรเล่า จึงจะชื่อว่า
เป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัย ขอประทาน
วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่จะตัดขาด
โวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัยด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

โทษแห่งกาม ๗ ประการ

[๔๒] “คหบดี เปรียบเหมือนสุนัขที่กำลังหิวโซ ยืนอยู่ใกล้เขียงของคนฆ่าโค
คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ โยนโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออก
หมดแล้ว แต่มีเลือดติดอยู่บ้างไปให้มัน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สุนัขตัวนั้น
เมื่อแทะโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออกหมดแล้ว แต่มีเลือดติดอยู่บ้างนั้น
จะบรรเทาความหิวได้บ้างไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออกหมดแล้วนั้น แม้จะมีเลือดติด
อยู่บ้าง สุนัขนั้นก็จะพึงมีความเหน็ดเหนื่อยและความหิวมากขึ้นอีก พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน ที่อิงอาศัยอารมณ์
ต่างกัน แล้วเจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว๑ ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว ซึ่งเป็นที่ดับไม่
เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง
[๔๓] คหบดี เปรียบเหมือนนกแร้ง นกตะกรุม หรือนกเหยี่ยว คาบชิ้นเนื้อ
บินไป ฝูงนกแร้งก็ดี ฝูงนกตะกรุมก็ดี ฝูงนกเหยี่ยวก็ดี พากันโผเข้าไปรุมจิกทึ้ง
ชิ้นเนื้อนั้น ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้านกแร้ง นกตะกรุม หรือนกเหยี่ยวนั้น
ไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย มันอาจถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย เพราะชิ้นเนื้อนั้น
เป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน ที่อิงอาศัยอารมณ์
ต่างกัน แล้วเจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว ซึ่งเป็นที่ดับ
ไม่เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง
[๔๔] คหบดี เปรียบเหมือนบุรุษถือคบหญ้าที่ไฟติดลุกโชนเดินทวนลมไป
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบหญ้า ที่มีไฟติดลุกโชน
นั้นเสีย คบหญ้าที่มีไฟติดลุกโชนนั้นก็จะพึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่
ส่วนใดส่วนหนึ่งของเขา เขาอาจถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้น
เป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๕] คหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงมีความลึกกว่า ๑ ชั่วบุรุษ เต็ม
ด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งเป็นคนรักชีวิต
ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึงเข้า มีชาย ๒ คนเป็นคนแข็งแรงช่วยกัน
จับแขนเขาข้างละคนฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คนผู้นั้นจะพึงน้อมกายเข้าไปอย่างนั้น ใช่ไหม”
“ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะบุรุษผู้นั้นรู้ว่า ‘ถ้าเราจักตกลงไปยังหลุมถ่านเพลิงนี้ อาจถึงตายหรือ
ได้รับทุกข์ปางตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ’ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๖] คหบดี คนฝันเห็นสวน ป่า สถานที่ สระโบกขรณี ที่น่ารื่นรมย์
เขาตื่นขึ้นมาก็ไม่เห็นอะไรเลย แม้ฉันใด อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์
ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยความฝัน มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๗] คหบดี เปรียบเหมือนคนยืมทรัพย์สมบัติคือแก้วมณีและกุณฑลอย่างดี
(ของบุคคลอื่น) นั่งยานพาหนะไป เขาสวมใส่ทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมาไว้รอบตัว
เดินไประหว่างร้านค้าในตลาด ประชาชนเห็นเขาแล้วก็ซุบซิบกันอย่างนี้ว่า ‘คนนี้
รวยจริง พวกคนรวยเขาใช้สอยสมบัติกันอย่างนี้เอง’ พวกเจ้าของพบเขา ณ ที่ใด
ที่หนึ่งเข้า ก็จะพึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้น ๆ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
สมควรไหมกับการที่คนผู้นั้นไม่แสดงอาการหวงแหนในทรัพย์สมบัติ”
“สมควร พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเจ้าของ(มีสิทธิ์) จะนำของของตนคืนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยของขอยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๘] คหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ไม่ไกลจากหมู่บ้านหรือนิคม ต้นไม้
ในราวป่านั้นมีผลดกดาษดื่น แต่ยังไม่หล่นลงมาเลยสักผลเดียว ชายคนหนึ่งผู้
ต้องการผลไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขามาถึงราวป่านั้น เห็นต้นไม้ที่มีผลดก
ดาษดื่นนั้น เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้นี้มีผลดกดาษดื่น แต่ไม่มีผลหล่นลงมาสัก
ผลเดียว แต่เรารู้วิธีปีนขึ้นต้นไม้ ทางที่ดี เราควรปีนขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และ
ใส่พกให้เต็ม’ เขาจึงปีนขึ้นต้นไม้นั้นแล้วกินพออิ่มและใส่พกให้เต็ม ต่อมา ชายคนที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

ต้องการผลไม้ถือขวานที่คมกริบเที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขามาถึงราวป่านั้น เห็น
ต้นไม้มีผลดกดาษดื่น เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้นี้มีผลดกดาษดื่น แต่ไม่มีผลหล่น
ลงมาสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้วิธีปีนขึ้นต้นไม้ ทางที่ดี เราควรจะตัดต้นไม้นี้ที่โคนต้น
แล้วกินพออิ่มและใส่พกให้เต็ม’ เขาจึงตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร ชายคนแรกโน้นที่ปีนขึ้นต้นไม้ก่อน ถ้าไม่รีบลงมา ต้นไม้ก็ล้มทับมือเท้า
หรืออวัยวะน้อยใหญ่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเขาหักได้ เขาอาจถึงตายหรือได้รับทุกข์
ปางตาย เพราะต้นไม้นั้นเป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์
ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตาม
ความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน
ที่อิงอาศัยอารมณ์ต่างกันแล้ว เจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว
ซึ่งเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง

วิชชา ๓

[๔๙] คหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ๑ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ฯลฯ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
คหบดี เพียงเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการ
ทั้งปวงในอริยวินัย

โปตลิยคหบดีประกาศตนเป็นอุบาสก

[๕๐] คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นการตัดขาด
โวหารเห็นปานนี้ในตน เหมือนการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวง
ในอริยวินัย กระนั้นหรือ”
โปตลิยคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นเช่นนั้น
กระไรได้ ซ้ำข้าพระองค์ยังกลับเป็นผู้ไกลจากการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วน โดย
ประการทั้งปวงในอริยวินัยเสียอีก เพราะเมื่อก่อนข้าพระองค์เข้าใจผิดพวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้รู้ทั่วถึง’ ได้คบหาพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง
ว่า ‘คบหาบุคคลผู้รู้ทั่วถึง’ ได้ยกย่องพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะ
แห่งบุคคลผู้รู้ทั่วถึง แต่กลับเข้าใจภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ได้คบหา
ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘คบหาบุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ได้ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ใน
ฐานะแห่งบุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง แต่บัดนี้ ข้าพระองค์รู้จักพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้
ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ คบหาพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงว่า ‘คบหา
บุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ตั้งพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งบุคคลผู้
ไม่รู้ทั่วถึง แต่รู้จักภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้รู้ทั่วถึง’ คบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้
ทั่วถึงว่า ‘คบหาบุคคลผู้รู้ทั่วถึง’ ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งบุคคลผู้รู้
ทั่วถึง พระผู้มีพระภาคทรงทำความรักสมณะให้เกิดในหมู่สมณะ ทรงทำความเลื่อมใส
สมณะให้เกิดในหมู่สมณะ ทรงทำความเคารพสมณะให้เกิดในหมู่สมณะ แก่ข้าพระองค์
แล้วหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

โปตลิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ชีวกสูตร
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจ

[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์
เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่
เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์เจาะจง
ถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่า
เจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง
สมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

เนื้อที่ควรฉันและไม่ควรฉัน

[๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลาย
ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยัง
เสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูด
ตรงตามที่เรากล่าวไว้ แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ที่ไม่มีอยู่
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เนื้อที่ตนเห็น๑
๒. เนื้อที่ตนได้ยิน
๓. เนื้อที่ตนสงสัย
รากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เนื้อที่ตนไม่เห็น
๒. เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน
๓. เนื้อที่ตนไม่สงสัย
ชีวก เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล

การแผ่เมตตา

[๕๓] ชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอ
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ด้วยประการ
อย่างนี้ คหบดีหรือบุตรคหบดีเข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

เมื่อภิกษุต้องการจึงรับนิมนต์ เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ในเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของคหบดีหรือบุตรคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นอังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต เธอไม่คิดอย่างนี้ว่า
‘ดีจริง คหบดีหรือบุตรคหบดีนี้พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีต’ ทั้งไม่คิด
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ คหบดีหรือบุตรคหบดีจึงจะอังคาสเราด้วยบิณฑบาต
อันประณีตเช่นนี้ตลอดไป’ เธอไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่รีบฉันบิณฑบาตนั้น มีปกติ
เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกจากทุกข์ ฉันอยู่
ชีวก เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง หรือเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้างหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในคราวนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษเลย ใช่หรือไม่”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาแล้วว่า
‘พรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา’ คำกล่าวที่เพียงได้ยินมานี้ข้าพระองค์เห็นว่าพระผู้มี
พระภาคทรงเป็นพยานได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา”
“ชีวก บุคคลจะพึงมีความพยาบาทเพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ
โมหะนั้นตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ชีวก หากเธอกล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะนี้ เราเห็นด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะ
นี้แล พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

การแผ่กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

[๕๔] “ชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่
เธอมีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ คหบดีหรือบุตรคหบดีเข้าไปหาเธอ
แล้วนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุต้องการจึงรับนิมนต์ เมื่อล่วงราตรี
นั้นไป ในเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของคหบดีหรือ
บุตรคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว คหบดีหรือบุตรคหบดีอังคาสเธอด้วย
บิณฑบาตอันประณีต เธอไม่คิดอย่างนี้ว่า ‘ดีจริง คหบดีหรือบุตรคหบดีนี้พึงอังคาส
เราด้วยบิณฑบาตอันประณีต’ ทั้งไม่คิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ คหบดีหรือบุตร
คหบดีจึงจะอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีต เช่นนี้ตลอดไป’ เธอไม่กำหนัด ไม่ยินดี
ไม่รีบฉันบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกจากทุกข์ ฉันอยู่
ชีวก เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในคราวนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษเลย ใช่หรือไม่”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาแล้วว่า
‘พรหมมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา’ คำกล่าวที่เพียงได้ยินมานี้ข้าพระองค์เห็นว่าพระผู้มี
พระภาคทรงเป็นพยานได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก บุคคลจะพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี
มีความกระทบกระทั่ง เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้นตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

ชีวก หากเธอกล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะนี้ เราเห็นด้วย”
หมอชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กล่าว
หมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะนี้แล พระพุทธเจ้าข้า”

ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ

[๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก เหตุให้ประสพ๑สิ่งที่ไม่เป็นบุญ ๕ ประการ
ของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายตถาคตหรือสาวกของตถาคต คือ
๑. การที่เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงไปนำสัตว์ชนิดโน้นมา’ นี้เป็น
เหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๑
๒. การที่สัตว์นั้นได้รับทุกข์โทมนัสขณะถูกผูกคอนำมา นี้เป็นเหตุให้
ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๒
๓. การที่เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงไปฆ่าสัตว์ชนิดนี้’ นี้เป็นเหตุ
ให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๓
๔. การที่สัตว์นั้นได้รับทุกข์โทมนัสขณะถูกฆ่า นี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่
ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๔
๕. การที่เขาทำให้ตถาคตหรือสาวกของตถาคตยินดีด้วยเนื้อที่ไม่สมควร๒
นี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๕
ชีวก เหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมาก ๕ ประการนี้แล ของบุคคล
ผู้ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายตถาคตหรือสาวกของตถาคต”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว หมอชีวกโกมารภัจจึงกราบทูลว่า
“น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายฉันเฉพาะภัตตาหาร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ที่สมควร ภิกษุทั้งหลายฉันเฉพาะอาหารที่ไม่มีโทษ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิต
ของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตาม
ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มี
พระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

ชีวกสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุปาลิวาทสูตร
ว่าด้วยวาทะของคหบดีชื่ออุบาลี

[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาลันทา
สมัยนั้นแล นิครนถ์ นาฏบุตรพร้อมกับบริษัทนิครนถ์เป็นจำนวนมาก อาศัยอยู่ที่
เมืองนาลันทา ต่อมา นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสี๑ ออกเที่ยวหาอาหารในเมืองนาลันทา
กลับจากเที่ยวหาอาหารภายหลังเวลาอาหารแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงปาวาริกัมพวัน ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีซึ่งยืนอยู่
ที่นั้นแลว่า “ตปัสสี ที่นั่งมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ ก็จงนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีจึงเลือกนั่ง ณ ที่
สมควร ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

เปรียบเทียบทัณฑะ ๓ กับกรรม ๓

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีว่า “ตปัสสี นิครนถ์ นาฏบุตร
บัญญัติกรรมในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่วไว้เท่าไร”
นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม นิครนถ์ นาฏบุตรมิได้บัญญัติ
เป็นอาจิณว่า ‘กรรม กรรม’ แต่บัญญัติเป็นอาจิณว่า ‘ทัณฑะ ทัณฑะ’
“ตปัสสี นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติทัณฑะในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติ
กรรมชั่วไว้เท่าไร”
“ท่านพระโคดม นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติทัณฑะในการทำกรรมชั่ว ในการ
ประพฤติกรรมชั่วไว้ ๓ ประการ คือ (๑) กายทัณฑะ (๒) วจีทัณฑะ (๓) มโนทัณฑะ”
“ตปัสสี กายทัณฑะอย่างหนึ่ง วจีทัณฑะอย่างหนึ่ง มโนทัณฑะอย่างหนึ่งหรือ”
“ท่านพระโคดม กายทัณฑะก็อย่างหนึ่ง วจีทัณฑะก็อย่างหนึ่ง มโนทัณฑะ
ก็อย่างหนึ่ง”
“ตปัสสี บรรดาทัณฑะทั้ง ๓ ประการนี้ที่จำแนกแยกเป็นอย่างนี้ คือ
(๑) กายทัณฑะ (๒) วจีทัณฑะ (๓) มโนทัณฑะ นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติทัณฑะ
ไหนว่ามีโทษมากกว่ากัน ในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่ว”
“ท่านพระโคดม บรรดาทัณฑะทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกแยกเป็นอย่างนี้
นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติกายทัณฑะว่ามีโทษมากกว่ากัน ในการทำกรรมชั่ว ในการ
ประพฤติกรรมชั่ว มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโนทัณฑะ”
“ตปัสสี ท่านตอบว่า ‘กายทัณฑะ’ หรือ”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘กายทัณฑะ”
“ตปัสสี ท่านตอบว่า ‘กายทัณฑะ’ หรือ”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘กายทัณฑะ”
“ตปัสสี ท่านตอบว่า ‘กายทัณฑะ’ หรือ”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘กายทัณฑะ”
พระผู้มีพระภาคทรงให้นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสียืนยันคำพูดนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการ
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

[๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีจึงได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พระองค์ทรงบัญญัติทัณฑะในการทำกรรมชั่ว
ในการประพฤติกรรมชั่วไว้เท่าไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ตปัสสี ตถาคตมิได้บัญญัติเป็นอาจิณว่า
‘ทัณฑะ ทัณฑะ’ แต่บัญญัติเป็นอาจิณว่า ‘กรรม กรรม”
“ท่านพระโคดม พระองค์ทรงบัญญัติกรรมในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติ
กรรมชั่วไว้เท่าไร”
“ตปัสสี เราบัญญัติกรรมในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่วไว้ ๓ ประการ
คือ (๑) กายกรรม (๒) วจีกรรม (๓) มโนกรรม๑”
“ท่านพระโคดม กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง
เท่านั้นหรือ”
“ตปัสสี กายกรรมก็อย่างหนึ่ง วจีกรรมก็อย่างหนึ่ง มโนกรรมก็อย่างหนึ่ง
เท่านั้น”
“ท่านพระโคดม บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการนี้ที่จำแนกแยกเป็นอย่างนี้ คือ
(๑) กายกรรม (๒) วจีกรรม (๓) มโนกรรม พระองค์ทรงบัญญัติกรรมไหนว่ามี
โทษมากกว่ากัน ในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่ว”
“ตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการที่จำแนกแยกเป็นอย่างนี้ เราบัญญัติ
มโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่ว มิใช่กายกรรม
หรือวจีกรรม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

“ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสตอบว่า ‘มโนกรรม’ หรือ”
“ใช่ เราตอบว่า ‘มโนกรรม”
“ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสตอบว่า ‘มโนกรรม’ หรือ”
“ใช่ เราตอบว่า ‘มโนกรรม”
“ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสตอบว่า ‘มโนกรรม’ หรือ”
“ใช่ เราตอบว่า ‘มโนกรรม”
นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยันในพระดำรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง
ด้วยประการอย่างนี้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่

อุบาลีอาสาโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า

[๕๘] สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรนั่งอยู่กับบริษัทคฤหัสถ์เป็นจำนวนมาก
ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านพาลกะ มีคหบดีชื่ออุบาลีเป็นหัวหน้า ได้เห็นนิครนถ์ชื่อทีฆ-
ตปัสสีเดินมาแต่ไกล จึงทักทายว่า “ตปัสสี เชิญทางนี้ ท่านมาจากไหนแต่วันเชียว”
ทีฆตปัสสีตอบว่า “ผมมาจากสำนักของพระสมณโคดมนี้เอง ขอรับ”
“ท่านได้สนทนาปราศรัยกับพระสมณโคดมบ้างหรือไม่”
“ก็ได้สนทนาปราศรัยบ้าง ขอรับ”
“สนทนาปราศรัยกันถึงเรื่องอะไรเล่า”
จากนั้น นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีได้เล่าเรื่องที่สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ให้นิครนถ์ นาฏบุตรฟังทั้งหมด เมื่อนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีเล่าจบ นิครนถ์ นาฏบุตร
จึงกล่าวว่า
“ดีละ ดีละ ตปัสสี การที่ท่านทีฆตปัสสีชี้แจงให้พระสมณโคดมฟังนั้น ตรง
ตามที่สาวกผู้ได้ศึกษาจนรู้ทั่วถึงคำสอนของศาสดาอย่างถูกต้องชี้แจงไว้ มโนทัณฑะ
อันต่ำทรามจะดีงามได้อย่างไร เมื่อเทียบกับกายทัณฑะที่สำคัญเช่นนี้ แท้จริงในการ
ทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ
หรือมโนทัณฑะเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

[๕๙] เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคหบดีได้กล่าวกับนิครนถ์
นาฏบุตรว่า “ดีละ ดีละ ท่านผู้เจริญ ท่านทีฆตปัสสีชี้แจงดีแล้ว ถูกต้องแล้ว
การที่ท่านทีฆตปัสสีชี้แจงให้พระสมณโคดมฟังนั้น ตรงตามที่สาวกผู้ได้ศึกษาจนรู้
ทั่วถึงคำสอนของศาสดาอย่างถูกต้องชี้แจงไว้ มโนทัณฑะอันต่ำทรามจะดีงามได้
อย่างไร เมื่อเทียบกับกายทัณฑะที่สำคัญเช่นนี้ แท้จริงในการทำกรรมชั่ว ในการ
ประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นย่อมมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโน-
ทัณฑะเลย
ท่านผู้เจริญ เอาเถิด ข้าพเจ้าจะไปโต้วาทะในเรื่องนี้กับพระสมณโคดมเอง
ถ้าพระสมณโคดมจักยืนยัน เหมือนอย่างที่ท่านตปัสสียืนยันไว้อย่างนั้น ข้าพเจ้าจัก
พูดตะล่อมวกไปวกมาหว่านล้อมให้งง เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงจับขนแกะที่มีขน
ยาวฉุดดึงไปดึงมาหมุนจนงง หรือเปรียบเหมือนชายฉกรรจ์ผู้เป็นกรรมกรในโรงงาน
สุรา ทิ้งกระสอบที่มีส่วนผสมสุราใบใหญ่ลงในบ่อหมักส่าที่ลึก แล้วจับที่มุมส่ายไป
ส่ายมาสลัดออก ข้าพเจ้าจักขจัด บด ขยี้ซึ่งวาทะของพระสมณโคดมด้วยวาทะ
เหมือนคนที่แข็งแรงเป็นนักเลงสุรา จับไหสุราคว่ำลง หงายขึ้น เขย่าจนน้ำสุรา
สะเด็ด หรือข้าพเจ้าจักเล่นกีฬาซักป่านกับพระสมณโคดม เหมือนช้างแก่อายุ ๖๐ ปี
ลงไปยังสระลึกเล่นกีฬาซักป่าน
ท่านผู้เจริญ เอาเถิด ข้าพเจ้าจะไป จักโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระ
สมณโคดมเอง”
“คหบดี ท่านจงไป จงโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระสมณโคดม แท้จริง
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรือท่านก็ได้ ควรโต้วาทะกับพระสมณโคดม”
[๖๐] เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีได้กล่าว
กับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ การที่อุบาลีคหบดีจะพึงโต้วาทะกับพระ
สมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย เพราะพระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา รู้มายา
เป็นเครื่องกลับใจพวกสาวกของอัญเดียรถีย์ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่อุบาลีคหบดีจะพึงเป็น
สาวกของพระสมณโคดม แต่เป็นไปได้๒ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของอุบาลี-
คหบดี
คหบดี ท่านจงไป จงโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระสมณโคดม แท้จริงเราก็ได้
ทีฆตปัสสีก็ได้ หรือท่านก็ได้ ควรโต้วาทะกับพระสมณโคดม”
แม้ครั้งที่ ๒ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้เตือนนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ
การที่อุบาลีคหบดีจะพึงโต้วาทะกับพระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย เพราะ
พระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา รู้มายาเป็นเครื่องกลับใจพวกสาวกของอัญเดียรถีย์ได้”
นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึง
เป็นสาวกของพระสมณโคดม แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี
คหบดี ท่านจงไป จงโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระสมณโคดม แท้จริง
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรือท่านก็ได้ ควรโต้วาทะกับพระสมณโคดม”
แม้ครั้งที่ ๓ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้กล่าวเตือนนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่าน
ผู้เจริญ การที่อุบาลีคหบดีจะพึงโต้วาทะกับพระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย
เพราะพระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา รู้มายาเป็นเครื่องกลับใจพวกสาวกของ
อัญเดียรถีย์ได้”
นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึง
เป็นสาวกของพระสมณโคดม แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี
คหบดี ท่านจงไป จงโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระสมณโคดม แท้จริง
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรือท่านก็ได้ ควรโต้วาทะกับพระสมณโคดม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

อุบาลีคหบดีรับคำนิครนถ์ นาฏบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง ไหว้นิครนถ์ นาฏบุตร
และกระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงปาวาริกัมพวัน ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ชื่อ
ทีฆตปัสสีได้มาที่นี้บ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “มา คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ท่านได้สนทนาปราศรัยกับนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีบ้างไหม”
“ได้สนทนาบ้าง คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ท่านได้สนทนาปราศรัยเรื่องอะไรกับนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีหรือ”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกเรื่องที่สนทนาปราศรัยกับนิครนถ์ชื่อ
ทีฆตปัสสีทั้งหมด แก่อุบาลีคหบดีทุกประการ
[๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุบาลีคหบดีได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ดีละ ดีละ ท่านผู้เจริญ ทีฆตปัสสีชี้แจงดีแล้ว ถูกต้องแล้ว การที่นิครนถ์
ชื่อทีฆตปัสสีชี้แจงให้พระผู้มีพระภาคฟังนั้น ตรงตามที่สาวกผู้ได้ศึกษาจนรู้ทั่วถึง
คำสอนของศาสดาอย่างถูกต้องชี้แจงไว้ มโนทัณฑะอันต่ำทรามจะดีงามได้อย่างไร
เมื่อเทียบกับกายทัณฑะที่สำคัญเช่นนี้ แท้จริงในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติ
กรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโนทัณฑะเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี หากท่านจะพึงยึดมั่นอยู่ในคำสัตย์แล้วสนทนากัน
เราจึงจะสนทนาในเรื่องนี้ด้วย”
อุบาลีคหบดีกราบทูลว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน
เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามปัญหา

[๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
นิครนถ์ในโลกนี้ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ถูกห้ามใช้น้ำเย็น ใช้แต่น้ำร้อน เมื่อเขา
ไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติว่านิครนถ์ผู้นี้จะไปเกิด ณ ที่ไหน”
อุบาลีคหบดีทูลตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เหล่าเทพที่ชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่ เขาย่อม
เกิดในหมู่เทพนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเป็นผู้มีใจผูกพันตายไป”
“คหบดี ท่านจงใส่ใจแล้วชี้แจงดูที ทำไมคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับ
คำหลัง ของท่านจึงไม่สัมพันธ์กันเล่า คหบดี ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”
“ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็ถูก ถึงกระนั้น ในการทำกรรมชั่ว
ในการประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือ
มโนทัณฑะเลย”
[๖๓] “คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้นิครนถ์ นาฏบุตร
พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวร ๔ อย่าง คือ
๑. เว้นน้ำดิบทุกอย่าง
๒. ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง
๓. ล้างบาปทุกอย่าง
๔. รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาป
แต่ขณะเธอก้าวไป ถอยกลับ ย่อมทำให้สัตว์เล็ก ๆ ตายไปเป็นอันมาก
คหบดี นิครนถ์ นาฏบุตรจะบัญญัติว่า นิครนถ์ผู้นี้มีวิบากอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรมที่ไม่จงใจว่ามีโทษมาก”
“ถ้าเป็นกรรมที่จงใจเล่า คหบดี”
“ก็เป็นกรรมมีโทษมาก ท่านผู้เจริญ”
“นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติความจงใจไว้ในส่วนไหนเล่า คหบดี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

“ในมโนทัณฑะ ท่านผู้เจริญ”
“คหบดี ท่านจงกำหนดใจแล้วชี้แจงดูที ทำไมคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อน
กับคำหลังของท่าน จึงไม่สัมพันธ์กันเล่า ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
จะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”
“ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็ถูก ถึงกระนั้น ในการทำกรรมชั่ว
ในการประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโน-
ทัณฑะเลย”
[๖๔] “คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บ้านนาลันทานี้มั่งคั่ง อุดม
สมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น มิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านผู้เจริญ บ้านนาลันทานี้มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีพลเมืองหนาแน่น”
“คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ชายคนหนึ่งในบ้านนาลันทานี้
เงื้อดาบขึ้นพร้อมกับพูดว่า ‘เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ให้เป็นลาน
เนื้อเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน ชั่วขณะพริบตาเดียว’ ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร เขาจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ให้เป็นลานเนื้อเดียวกัน
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน ชั่วขณะพริบตาเดียว ได้หรือไม่”
“ท่านผู้เจริญ ต่อให้ชาย ๑๐ คน ๒๐ คน ๓๐ คน ๔๐ คน ๕๐ คน
ก็ไม่สามารถจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ให้เป็นลานเนื้อเดียวกัน ให้เป็น
กองเนื้อเดียวกัน ชั่วขณะพริบตาเดียวได้ ชายผู้ต่ำทรามคนเดียวจะเก่งกาจอะไร
ปานนั้น”
“คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ผู้ถึงความ
เชี่ยวชาญทางจิตมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือพราหมณ์นั้นบอกอย่างนี้ว่า ‘เรา
จักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้าด้วยจิตคิดประทุษร้ายครั้งเดียว’ คหบดี ท่านเข้าใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ผู้ถึงความเชี่ยวชาญทางจิตนั้น
จะสามารถทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยจิตคิดประทุษร้ายครั้งเดียว ได้หรือไม่”
“ท่านผู้เจริญ บ้านนาลันทา ๑๐ หลัง ๒๐ หลัง ๓๐ หลัง ๔๐ หลัง ๕๐ หลัง
สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ผู้ถึงความเชี่ยวชาญทางจิตนั้น ยังสามารถทำให้เป็น
เถ้าได้ด้วยจิตคิดประทุษร้ายครั้งเดียว แล้วบ้านนาลันทาที่ทรุดโทรมหลังเดียวจะ
คณนาอะไรเล่า”
“คหบดี ท่านจงกำหนดใจแล้วชี้แจงดูที ทำไมคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อน
กับคำหลังของท่าน จึงไม่สัมพันธ์กันเล่า คหบดี ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”
“ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็ถูก ถึงกระนั้น ในการทำกรรมชั่ว
ในการประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโน-
ทัณฑะเลย”
[๖๕] “คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ
ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ ได้กลายเป็นป่าทึบ ท่านได้ฟังมาแล้วมิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว”
“คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ
ป่ามาตังคะ ได้กลายเป็นป่าทึบเพราะใคร”
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ
ป่ามาตังคะได้กลายเป็นป่าทึบเพราะจิตคิดประทุษร้ายของพวกฤาษี”
“คหบดี ท่านจงกำหนดใจแล้วชี้แจงดูที ทำไมคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อน
กับคำหลังของท่าน จึงไม่สัมพันธ์กันเล่า คหบดี ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

อุบาลีคหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก

[๖๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงอุปมาข้อแรกข้าพระองค์ก็มีใจยินดีชื่นชม
ต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว แต่ข้าพระองค์ปรารถนาจะฟังปฏิภาณการชี้แจงปัญหา
อันวิจิตรนี้ของพระผู้มีพระภาค ฉะนั้น ข้าพระองค์จึงได้แสร้งทำเป็นเหมือนอยู่
ต่างฝ่ายกับพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วย
ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
[๖๗] “คหบดี ท่านจงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำเถิด๑ การใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงทำ เป็นความดีสำหรับคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์
อย่างนี้ว่า ‘คหบดี ท่านจงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำเถิด การใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงทำ เป็นความดีสำหรับคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน’ ข้าพระองค์ยิ่งมีใจยินดีชื่นชม
ต่อพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น ด้วยว่า พวกอัญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว
ก็จะพึงเที่ยวประกาศไปทั่วหมู่บ้านนาลันทาว่า ‘อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพวกเรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ก็แล พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘คหบดี ท่านจงใคร่ครวญก่อน
แล้วจึงทำเถิด การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ เป็นความดีสำหรับคนที่มีชื่อเสียง
เช่นท่าน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ เป็นครั้งที่ ๒ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
[๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวก
นิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรเข้าใจว่า ควรให้บิณฑบาตแก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไป
หาต่อไปเถิด”
อุบาลีคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี
พระภาคตรัสกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์
มานานแล้ว ท่านควรเข้าใจว่า ควรให้บิณฑบาตแก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปหา
ต่อไปเถิด’ นี้ ข้าพระองค์ยิ่งมีใจยินดีชื่นชมต่อพระผู้มีพระภาคมากยิ่งขึ้น ข้าพระองค์
ได้ฟังคำนี้มาว่า ‘พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘บุคคลควรให้ทานแก่เราเท่านั้น
ไม่ควรให้แก่คนเหล่าอื่น บุคคลควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่พวก
สาวกของนักบวชเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นย่อมมีผลมาก ที่ให้แก่คนเหล่าอื่น
หามีผลมากไม่ ทานที่ให้แก่สาวกทั้งหลายของเราเท่านั้นย่อมมีผลมาก ที่ให้แก่
สาวกของนักบวชเหล่าอื่นหามีผลมากไม่’ แต่ความจริง พระผู้มีพระภาคทรงชักชวน
ให้ข้าพระองค์ให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์ ก็แล ข้าพระองค์จักทราบกาลอันสมควรใน
การให้ทานนี้ต่อไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ เป็นครั้งที่ ๓ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

อุบาลีคหบดีบรรลุธรรม

[๖๙] หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพีกถา๑ แก่อุบาลีคหบดี คือ
ทรงประกาศทานกถา๒(เรื่องทาน) สีลกถา๓(เรื่องศีล) สัคคกถา๔(เรื่องสวรรค์) กามา-
ทีนวกถา๕(เรื่องโทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)และเนกขัมมานิสังสกถา๖
(เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม) เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุบาลีคหบดี
มีจิตควรบรรลุธรรม มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส เมื่อนั้น
จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า(พระองค์ก่อนๆ) ทั้งหลาย ทรงยกขึ้น
แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ผ้าขาวสะอาดปราศจากสิ่ง
ปนเปื้อน จะพึงรับน้ำย้อมต่าง ๆ ได้อย่างดี แม้ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลีคหบดี ขณะที่นั่งอยู่นั่นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

จากนั้น อุบาลีคหบดีเห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม หมดความ
สงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกในหลักคำสอนของ
พระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอาเถิด บัดนี้
ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจมีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
[๗๐] จากนั้น อุบาลีคหบดีชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วกลับไปยังที่อยู่
ของตน เรียกนายประตูมาสั่งว่า
“นายประตูเพื่อนรัก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะปิดประตูกันพวกนิครนถ์ทั้งชาย
และหญิง แต่เราจะเปิดประตูไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ถ้านิครนถ์คนใดคนหนึ่งมา ท่านพึงบอก
อย่างนี้ว่า ‘หยุดก่อนท่าน อย่าเข้าไปเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคหบดีเป็น
สาวกของพระสมณโคดมแล้ว อุบาลีคหบดีปิดประตูกันพวกนิครนถ์ทั้งชายและหญิง
แต่เปิดประตูไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หากท่านต้องการอาหารก็จงรออยู่ที่นี่แหละ จะมีคน
นำมาให้ที่นี่เอง”
นายประตูรับคำอุบาลีคหบดีแล้ว
[๗๑] นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีได้ยินว่า “ข่าวว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของ
พระสมณโคดมแล้ว” ลำดับนั้น จึงเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่แล้วถามว่า
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยินว่า ‘ข่าวว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว”
นิครนถ์ นาฏบุตรตอบว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึงเป็น
สาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี”
แม้ครั้งที่ ๒ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้กล่าวกับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยินว่า ‘ข่าวว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

นิครนถ์ นาฏบุตรก็ยังพูดว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึง
เป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี”
แม้ครั้งที่ ๓ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้กล่าวกับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าได้ยินว่า ‘ข่าวว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว”
นิครนถ์ นาฏบุตรก็ยังพูดด้วยความมั่นใจว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดี
จะพึงเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวก
ของอุบาลีคหบดี”
นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ เอาเถิด ข้าพเจ้าจะไปดูให้รู้แน่ว่า
อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดม จริงหรือไม่”
นิครนถ์ นาฏบุตรจึงกล่าวว่า “ตปัสสี ท่านไปเถิด จะได้รู้ว่า อุบาลีคหบดีเป็น
สาวกของพระสมณโคดม จริงหรือไม่”

อุบาลีคหบดีไม่ต้อนรับนิครนถ์

[๗๒] ต่อมา นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีเข้าไปยังที่อยู่ของอุบาลีคหบดี นายประตู
เห็นเขาเดินมาแต่ไกลจึงบอกว่า
“หยุดก่อนท่าน อย่าเข้าไปเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคหบดีเป็นสาวก
ของพระสมณโคดมแล้ว อุบาลีคหบดีปิดประตูกันพวกนิครนถ์ทั้งชายและหญิง แต่
เปิดประตูไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ถ้าท่านต้องการอาหารก็จงรออยู่ที่นี่แหละ จะมีคนนำมาให้ที่นี่เอง”
นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีบอกว่า “ข้าพเจ้าไม่ต้องการอาหารหรอก” แล้วกลับจาก
ที่นั้น เข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ เป็นความจริงทีเดียวที่อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดม
ข้อนั้นข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับท่านดังได้กล่าวไว้แล้วว่า ‘การที่อุบาลีคหบดีจะโต้วาทะ
กับพระสมณโคดมนั้นข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย เพราะพระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

รู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญเดียรถีย์ได้ ท่านผู้เจริญ อุบาลีคหบดีของ
ท่านคงถูกพระสมณโคดมกลับใจด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้ว”
นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึง
เป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี”
แม้ครั้งที่ ๒ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้กล่าวกับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่าน
ผู้เจริญ เป็นความจริงทีเดียวที่อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดม ข้อนั้น
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับท่านดังได้กล่าวไว้แล้วว่า ‘การที่อุบาลีคหบดีจะโต้วาทะกับพระ
สมณโคดมนั้นข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย เพราะพระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา รู้มายา
เป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญเดียรถีย์ได้ ท่านผู้เจริญ อุบาลีคหบดีของท่านคง
ถูกพระสมณโคดมกลับใจด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้ว”
นิครนถ์ นาฏบุตร ก็ยังกล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดี
จะพึงเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวก
ของอุบาลีคหบดี เอาเถิด ตปัสสี เราจะไปดูให้รู้แน่ว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของ
พระสมณโคดม จริงหรือไม่”
ลำดับนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรพร้อมกับบริษัทนิครนถ์เป็นจำนวนมากได้เข้า
ไปยังที่อยู่ของอุบาลีคหบดี นายประตูเห็นนิครนถ์ นาฏบุตรเดินมาแต่ไกลจึงพูด
เตือนท่านว่า
“หยุดก่อนท่าน อย่าเข้าไปเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของ
พระสมณโคดมแล้ว อุบาลีคหบดีปิดประตูกันพวกนิครนถ์ทั้งชายและหญิง แต่เปิด
ประตูไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา ถ้าท่านต้องการอาหารก็จงรออยู่ที่นี่แหละ จะมีคนนำมาให้ที่นี่เอง”
นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “นายประตูเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเข้าไปหา
อุบาลีคหบดีแล้วบอกอย่างนี้ว่า ‘ท่านขอรับ นิครนถ์ นาฏบุตรพร้อมกับบริษัทนิครนถ์
เป็นจำนวนมากยืนรออยู่นอกซุ้มประตู เขาต้องการพบท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

นายประตูรับคำแล้วเข้าไปหาอุบาลีคหบดีเรียนว่า “ท่านขอรับ นิครนถ์ นาฏบุตร
พร้อมกับบริษัทนิครนถ์เป็นจำนวนมากยืนรออยู่นอกซุ้มประตู เขาต้องการพบท่าน”
อุบาลีคหบดีกล่าวว่า “นายประตูเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูอาสนะไว้ที่ศาลา
ประตูกลาง”
นายประตูรับคำแล้ว ปูอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลางเสร็จแล้ว เข้าไปหาอุบาลีคหบดี
เรียนว่า “ท่านขอรับ อาสนะปูไว้ที่ศาลาประตูกลางเสร็จแล้ว ขอท่านจงกำหนดเวลา
ที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
[๗๓] จากนั้น อุบาลีคหบดีเข้าไปยังศาลาประตูกลางนั่งบนอาสนะเลิศ ล้ำค่า
สูงส่ง และดียิ่งนั้นเสียเอง แล้วเรียกนายประตูมาสั่งว่า “นายประตูเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงไปหานิครนถ์ นาฏบุตร บอกกับเขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านครับ อุบาลีคหบดีสั่งมา
อย่างนี้ว่า ‘จงเข้าไปเถิดครับ ถ้าท่านประสงค์”
นายประตูรับคำแล้วเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตร เรียนว่า “ท่านขอรับ อุบาลี-
คหบดีสั่งมาอย่างนี้ว่า ‘จงเข้าไปเถิดขอรับ ถ้าท่านประสงค์”
ลำดับนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรพร้อมกับบริษัทนิครนถ์เป็นจำนวนมากจึงเข้าไปยัง
ศาลาประตูกลาง
ได้ยินว่า เมื่อก่อน อุบาลีคหบดีเห็นนิครนถ์ นาฏบุตรเดินมาจะไกลแค่ไหน
ก็ตาม ก็จะไปต้อนรับถึงที่นั้น เช็ดถูอาสนะเลิศ ล้ำค่า สูงส่ง และดียิ่งด้วยผ้าห่มแล้ว
เชื้อเชิญให้นั่ง บัดนี้ เขากลับนั่งบนอาสนะเลิศ ล้ำค่า สูงส่ง และดียิ่งนั้นเสียเอง
แล้วได้พูดกับนิครนถ์ นาฏบุตรอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์
ก็จงนั่งเถิด”
เมื่อคหบดีกล่าวอย่างนี้ นิครนถ์ นาฏบุตรก็พูดว่า “ท่านบ้าหรือโง่กันเล่า
คหบดี ท่านเองบอกกับเราว่า ‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม’
ครั้นไปแล้ว ท่านเองกลับถูกสวมปากด้วยตะกร้อคือวาทะใบใหญ่เสียนี่ ชายผู้มี
อัณฑะแต่ถูกควักอัณฑะออกเสียทั้ง ๒ ข้าง หรือคนมีดวงตาแต่ถูกควักดวงตาออก
ทั้ง ๒ ข้าง แม้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน บอกว่า ‘จะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม’
ครั้นไปแล้ว กลับถูกสวมปากด้วยตะกร้อคือวาทะใบใหญ่ พระสมณโคดมกลับใจ
ท่านด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

มายาเครื่องกลับใจ

[๗๔] อุบาลีคหบดีชี้แจงว่า “ท่านขอรับ มายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ดีจริง
มายาเป็นเครื่องกลับใจนี้งามจริง ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า หากกลับใจได้
ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ มายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าไปนานแสนนาน
กษัตริย์ทั้งปวง หากกลับใจได้ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ มายาเครื่อง
กลับใจนี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กษัตริย์ทั้งปวงไปนานแสนนาน
แม้พราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ
แพศย์ ฯลฯ
ศูทรทั้งปวง หากกลับใจได้ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ มายาเป็นเครื่องกลับใจ
นี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ศูทรทั้งปวงไปนานแสนนาน
แม้โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ หากกลับใจได้ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ มายาเป็นเครื่องกลับใจ
นี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
แก่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ไปนานแสนนาน
ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจะอุปมาให้ท่านฟัง เพราะวิญญูชนบางพวก
ในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ แม้ด้วยข้ออุปมา
[๗๕] ท่านขอรับ เรื่องเคยมีมาแล้ว สาววัยรุ่นภรรยาของพราหมณ์แก่เฒ่า
วัยชราคนหนึ่งมีครรภ์ใกล้คลอด ต่อมา ภรรยาสาวนั้นจึงพูดกับพราหมณ์นั้นว่า
‘พี่พราหมณ์ พี่จงไปซื้อลูกลิงจากตลาดมาสักตัวไว้เป็นเพื่อนเล่นของลูกฉัน’ เมื่อนาง
บอกอย่างนั้น พราหมณ์นั้นก็พูดว่า ‘น้องหญิง คอยจนคลอดเสียก่อนเถิด ถ้าเธอ
คลอดลูกเป็นชาย ฉันก็จักซื้อลูกลิงตัวผู้จากตลาดมาให้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายเธอ
แต่ถ้าเธอคลอดลูกเป็นหญิง ฉันก็จักซื้อลูกลิงตัวเมียจากตลาดมาให้เป็นเพื่อนเล่นของ
ลูกสาวเธอ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ ภรรยาสาวก็พูดกับพราหมณ์นั้นว่า ‘พี่พราหมณ์ พี่จงไปซื้อ
ลูกลิงจากตลาดมาสักตัวไว้เป็นเพื่อนเล่นของลูกฉัน’ แม้ครั้งที่ ๒ พราหมณ์ก็พูดว่า
‘น้องหญิง คอยจนคลอดเสียก่อนเถิด ถ้าเธอคลอดลูกเป็นชาย ฉันก็จักซื้อลูกลิงตัวผู้
จากตลาดมาให้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายเธอ แต่ถ้าเธอคลอดลูกเป็นหญิง ฉันก็จัก
ซื้อลูกลิงตัวเมียจากตลาดมาให้เป็นเพื่อนเล่นของลูกสาวเธอ’
แม้ครั้งที่ ๓ ภรรยาสาวนั้นก็พูดกับพราหมณ์นั้นว่า ‘พี่พราหมณ์ พี่จงไปซื้อ
ลูกลิงจากตลาดมาสักตัวไว้เป็นเพื่อนเล่นของลูกฉัน’ ก็แล พราหมณ์แก่นั้นหลงใหล
รักใคร่ภรรยาสาวจึงซื้อลูกลิงจากตลาดมาแล้วบอกเธอว่า ‘ฉันซื้อลูกลิงจากตลาดมา
ไว้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเธอแล้วนะ น้องหญิง’ เมื่อพราหมณ์บอกอย่างนี้แล้ว ภรรยา
สาวนั้นจึงพูดว่า ‘พี่พราหมณ์ พี่จงอุ้มลูกลิงตัวนี้ไปหาลูกช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อม
แล้วบอกเขาว่า ‘เพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากให้ท่านย้อมลูกลิงตัวนี้ให้สีจับ
อย่างสนิทดี ขัดแล้วขัดอีก ให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน’
พราหมณ์ผู้หลงใหลรักใคร่ภรรยาสาวนั้นอุ้มลูกลิงไปหาลูกนายช่างย้อมผู้ชำนาญ
การย้อมแล้วบอกว่า ‘เพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากให้ท่านย้อมลูกลิงตัวนี้ให้
สีจับอย่างสนิทดี ขัดแล้วขัดอีก ให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน’ เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้
แล้ว บุตรนายช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมได้บอกว่า ‘ท่านผู้เจริญ ลูกลิงของท่านนี้
ควรย้อมสีเท่านั้น ไม่ควรขัดแล้วขัดอีก’ แม้ฉันใด วาทะของนิครนถ์ผู้เขลาก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ควรเป็นที่ยินดีของคนเขลาด้วยกันเท่านั้น ไม่ควรเป็นที่ยินดี ไม่ควร
ซักถาม และไม่ควรพิจารณาของบัณฑิตทั้งหลาย
ท่านผู้เจริญ ต่อมา พราหมณ์นั้นถือผ้าใหม่คู่หนึ่งไปหาบุตรนายช่างย้อมผู้ชำนาญ
การย้อมแล้วบอกกับเขาว่า ‘เพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากให้ท่านย้อมผ้าใหม่
คู่นี้ให้สีจับอย่างสนิทดี ขัดแล้วขัดอีก ให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน’ เมื่อพราหมณ์บอก
อย่างนี้แล้ว บุตรนายช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมก็ได้บอกว่า ‘ท่านผู้เจริญ ผ้าใหม่
ของท่านคู่นี้ ควรย้อม ควรขัดแล้วขัดอีก’ แม้ฉันใด วาทะของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ควรเป็นที่ยินดีของบัณฑิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ทั้งหลายเท่านั้น ไม่ควรเป็นที่ยินดี ไม่ควรซักถาม และไม่ควรพิจารณา๑ของคนเขลา
ทั้งหลาย”
นิครนถ์ นาฏบุตรถามว่า “คหบดี บริษัทพร้อมทั้งพระราชาต่างก็รู้จักท่าน
อย่างนี้ว่า ‘อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร’ เราจะจำท่านว่า เป็นสาวก
ของใครเล่า”
เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคหบดีลุกจากอาสนะพาดสไบ
เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ พูดกับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า
“ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟังการกล่าวสรรเสริญพระคุณของพระผู้มีพระภาค
ของข้าพเจ้าผู้เป็นสาวก” แล้วกล่าวคาถาประพันธ์ดังต่อไปนี้ว่า

อุบาลีคหบดีประกาศตนเป็นพุทธสาวก

[๗๖] “ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นปราชญ์
ปราศจากโมหะ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงจิตได้
ทรงชำนะมาร ไม่มีทุกข์ มีจิตเสมอด้วยดี มีมารยาทเจริญ
มีพระปัญญาดี ทรงข้ามกิเลสอันปราศจากความเสมอ
(และ)ปราศจากมลทินได้
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีความสงสัย
มีพระทัยดี ทรงคายโลกามิสได้ ทรงบันเทิง
ทรงเจริญสมณธรรมสำเร็จแล้ว ทรงเกิดเป็นมนุษย์
มีพระสรีระเป็นชาติสุดท้าย ทรงเป็นนระไม่มีผู้เปรียบได้
ปราศจากกิเลสเพียงดังธุลี


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีความสงสัย
ทรงเฉียบแหลม ผู้ทรงแนะนำสัตว์ ผู้เป็นสารถีผู้ประเสริฐ
ผู้ยอดเยี่ยม ทรงมีธรรมงาม หมดความเคลือบแคลง
ทรงให้แสงสว่าง ทรงตัดมานะเสียได้ มีพระวิริยะ
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้องอาจ
ไม่มีใครประมาณได้ มีพระคุณลึกซึ้ง บรรลุถึงญาณ
ทรงทำความเกษม มีพระญาณ ดำรงอยู่ในธรรม
ทรงสำรวมพระองค์ดีแล้ว ล่วงกิเลสเครื่องข้อง หลุดพ้นแล้ว
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ
ผู้ทรงมีเสนาสนะอันสงัด สิ้นสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้ว
มีพระปัญญาโต้ตอบ มีพระปัญญาหยั่งรู้
ทรงลดธงคือมานะเสียได้ ปราศจากราคะ
เป็นผู้ฝึกแล้ว เป็นผู้ปราศจากธรรมเครื่องยึดหน่วง
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๗๑
ผู้ไม่ลวงโลก ทรงมีวิชชา ๓ เป็นผู้ประเสริฐ
ทรงชำระกิเลสแล้ว ประสมอักษรให้เป็นบทคาถา
ทรงสงบระงับ มีพระญาณแจ่มแจ้ง
ทรงให้ธรรมทานก่อนผู้อื่นทั้งหมด เป็นผู้สามารถ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นอริยะ
มีพระองค์อบรมแล้ว บรรลุคุณที่ควรบรรลุ
ทรงแสดงอรรถให้พิสดาร มีพระสติ
ทรงเห็นแจ้ง ไม่ยุบลง ไม่ฟูขึ้น
ไม่ทรงหวั่นไหว เป็นผู้มีความชำนาญ
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปดีแล้ว
ทรงมีฌาน ไม่ทรงปล่อยพระทัยไปตามกระแส
เป็นผู้หมดจด ไม่สะดุ้ง ปราศจากความกลัว
สงบอยู่ผู้เดียว ทรงบรรลุธรรมอันเลิศ
ทรงข้ามพ้นเอง ทรงยังสัตว์อื่นให้ข้ามพ้นด้วย
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้สงบแล้ว
มีพระปัญญากว้างใหญ่เสมอด้วยแผ่นดิน
มีพระปัญญาใหญ่หลวง ปราศจากความโลภ
ทรงดำเนินปฏิปทาเหมือนพระพุทธเจ้าในปางก่อน
เสด็จไปดี ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน
ทรงแกล้วกล้า เป็นผู้ละเอียด สุขุม
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
ผู้ตัดตัณหาได้เด็ดขาด ผู้ตื่น ปราศจากควัน
ผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิฉาบทา ผู้ควรบูชา
ผู้ทรงได้รับพระนามว่ายักขะ๑ เป็นบุคคลผู้สูงสุด
มีพระคุณชั่งไม่ได้ เป็นผู้ใหญ่ยิ่ง
บรรลุยศอย่างยอดเยี่ยม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

[๗๗] นิครนถ์ นาฏบุตรถามว่า “คหบดี ท่านประมวลถ้อยคำสำหรับพรรณนา
คุณของพระสมณโคดมไว้ตั้งแต่เมื่อไร”
อุบาลีคหบดีตอบว่า “ท่านขอรับ ช่างดอกไม้ หรือลูกมือช่างดอกไม้ผู้ชำนาญ
พึงร้อยดอกไม้ต่าง ๆ กองใหญ่ให้เป็นพวงมาลัยอันวิจิตรได้ แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงมีพระคุณควรพรรณนาเป็นอเนก ทรงมีพระคุณ
ควรพรรณนาได้หลายร้อย ใครเล่าจักพรรณนาไม่ได้ถึงพระคุณของพระองค์ผู้ควร
พรรณนา”
จากนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรทนดูสักการะของพระผู้มีพระภาคไม่ได้ จึงกระอัก
โลหิตอุ่นออกจากปาก ณ ที่นั้นเอง ดังนี้แล

อุปาลิวาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. กุกกุรวติกสูตร
ว่าด้วยการประพฤติวัตรเลียนแบบสุนัข

[๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะชื่อหลิททวสนะ
แคว้นโกลิยะ ครั้งนั้นแล บุตรของชาวโกลิยะชื่อปุณณะผู้ประพฤติโควัตร๑และ
ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร๒ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ส่วนชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ก็แสดงท่าตะกุยดุจสุนัขแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะ ผู้ประพฤติกุกกุรวัตรนี้ ทำสิ่งที่
ผู้อื่นทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่าง
สมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงเรื่องนี้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตรก็ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะนี้ ผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ทำสิ่งที่
ผู้อื่นทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรอย่าง
สมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงเรื่องนี้เลย”
แม้ครั้งที่ ๓ นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ทำสิ่งที่ผู้อื่น
ทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรอย่างสมบูรณ์
แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร”

คติของบุคคลผู้ประพฤติโควัตรและกุกกุรวัตร

[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปุณณะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า ‘อย่าเลย
ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงเรื่องนี้เลย’ แต่เราจักชี้แจงให้เธอฟัง
บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญกุกกุรวัตร บำเพ็ญตนตามปกติแบบสุนัข บำเพ็ญจิต
แบบสุนัข บำเพ็ญกิริยาอาการแบบสุนัขอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสาย ครั้นบำเพ็ญกุกกุรวัตร
บำเพ็ญตนตามปกติแบบสุนัข บำเพ็ญจิตแบบสุนัข บำเพ็ญกิริยาอาการแบบสุนัข
อย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสายแล้ว หลังจากตายไป เขาย่อมไปเกิดในหมู่สุนัข อนึ่ง ถ้าเขา
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นเทวดา หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

พรหมจรรย์นี้’ ทิฏฐิของเขานั้นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า คติของผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
มี ๒ อย่าง คือ (๑) นรก (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ปุณณะ กุกกุรวัตรเมื่อใครประพฤติสมบูรณ์ ย่อมนำไปเกิดในหมู่สุนัข เมื่อ
ประพฤติบกพร่อง ย่อมนำไปเกิดในนรก ด้วยประการอย่างนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร
ถึงกับร้องไห้น้ำตานองหน้า
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร
ว่า “ปุณณะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า ‘อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงเรื่องนี้เลย”
ชีเปลือยชื่อเสนิยะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้
ถึงเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์ แม้ข้าพระองค์จะสมาทานกุกกุรวัตรนี้
อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายปุณณะ โกลิยบุตร
ผู้ประพฤติโควัตร สมาทานโควัตรนั้นอย่างสมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็น
อย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเรา
ถึงเรื่องนี้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ชีเปลือยชื่อเสนิยะก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายปุณณะ โกลิยบุตร สมาทานโควัตรนั้น
อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็น
อย่างไร”
[๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เสนิยะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า ‘อย่าเลย
เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงเรื่องนี้เลย’ แต่เราจักชี้แจงให้เธอฟัง
บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญโควัตร บำเพ็ญตนตามปกติแบบโค บำเพ็ญจิตแบบโค
บำเพ็ญกิริยาอาการแบบโคอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสาย ครั้นบำเพ็ญโควัตร บำเพ็ญตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

ตามปกติแบบโค บำเพ็ญจิตแบบโค บำเพ็ญกิริยาอาการแบบโคอย่างสมบูรณ์ไม่ขาด
สายแล้ว หลังจากตายไป ย่อมไปเกิดในหมู่โค อนึ่ง ถ้าเขามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
เป็นเทวดาหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’ ทิฏฐิของ
เขานั้นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า คติของผู้มีมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑) นรก
(๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เสนิยะ โควัตรเมื่อใครประพฤติสมบูรณ์ ย่อมนำไปเกิดในหมู่โค เมื่อประพฤติ
บกพร่อง ย่อมนำไปเกิดในนรก ด้วยประการอย่างนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตร
ถึงกับร้องไห้น้ำตานองหน้า
จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรว่า
“เสนิยะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า ‘อย่าเลย เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงเรื่องนี้เลย”
นายปุณณะ โกลิยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้
ร้องไห้ถึงเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์ แม้ข้าพระองค์จะสมาทานโควัตร
นี้อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสใน
พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเท่านั้นทรงสามารถแสดงธรรมโดยวิธีที่
ข้าพระองค์จะพึงละโควัตรนี้ได้ และชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรจะพึงละ
กุกกุรวัตรนั้นได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

กรรม ๔ ประการ

[๘๑] “ปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กรรมดำมีวิบากดำ๑
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว๒
๓. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว๓
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว๔ เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม
กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่ง๕กายสังขาร๖ที่มีความเบียดเบียน๗ปรุงแต่ง
วจีสังขาร๘ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร๙ที่มีความเบียดเบียน เขา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อม
ถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียน
กระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือน
สัตว์นรกทั้งหลาย
ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ (๑)
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง
วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน เขา
ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ
เบียดเบียนกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว
เหมือนเทพทั้งหลายชั้นสุภกิณหะ
ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว (๒)
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้น
ปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้า
ถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือนมนุษย์
เทวดาบางพวก๑ และวินิปาติกะ๒บางพวก
ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อม
เกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาว มีวิบาก
ทั้งดำและขาว (๓)
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนา๓เพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละ
กรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาว ที่มีวิบากทั้งดำและขาว
ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้ง
ไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วจึง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม (๔)”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

นายปุณณะแสดงตนเป็นอุบาสกและเสนิยะชีเปลือยขอบวช

[๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติ
โควัตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ส่วนชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เสนิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา
อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว
เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคลด้วย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ
บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑ ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน
ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่
ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบท
เป็นภิกษุเถิด”
ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค เมื่อบวชแล้วไม่นาน จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์๒ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๓
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๔ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
จึงเป็นอันว่า ท่านพระเสนิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย ดังนี้แล

กุกกุรวติกสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

๘. อภยราชกุมารสูตร
ว่าด้วยพระราชกุมารพระนามว่าอภัย

[๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พระราชกุมารพระนามว่าอภัยเสด็จเข้าไปหานิครนถ์
นาฏบุตรถึงที่อยู่ ทรงไหว้นิครนถ์ นาฏบุตรแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์
นาฏบุตรได้ทูลอภัยราชกุมารว่า
“เสด็จไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จไปโต้วาทะกับพระสมณ-
โคดมเถิด เมื่อพระองค์ทรงโต้วาทะกับพระสมณโคดมอย่างนี้แล้ว กิตติศัพท์อันงาม
ของพระองค์จักระบือไปว่า ‘อภัยราชกุมารทรงโต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้”
อภัยราชกุมารตรัสถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะโต้วาทะกับพระสมณโคดม
ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้อย่างไร”
นิครนถ์ นาฏบุตรทูลตอบว่า “มาเถิดพระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้า
ไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วตรัสถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ มีบ้างไหมที่พระตถาคตตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ
คนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้วจะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร มีบ้างที่
ตถาคตกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’
พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชน๑ เพราะปุถุชนก็กล่าววาจา
อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

จะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร ตถาคตไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ
คนอื่น’
พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจักเกิดในอบาย
จักเกิดในนรก ดำรงอยู่สิ้น ๑ กัป เป็นผู้ที่ใคร ๆ เยียวยาไม่ได้ เพราะวาจาของ
พระองค์นั้น พระเทวทัตโกรธ เสียใจ’
พระราชกุมาร พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะทรง
กลืนไม่เข้า คายไม่ออก กระจับเหล็กติดอยู่ในลำคอของบุรุษ บุรุษนั้นไม่อาจกลืน
เข้าไป ไม่อาจคายออก แม้ฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกพระองค์
ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วก็จะทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก”
อภัยราชกุมารทรงรับคำนิครนถ์ นาฏบุตรแล้วเสด็จลุกจากที่ประทับทรงไหว้
นิครนถ์ นาฏบุตร กระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
[๘๔] อภัยราชกุมารประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วทรงแหงนดูดวงอาทิตย์
ทรงดำริว่า “วันนี้ไม่ใช่เวลาสมควรที่จะโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาค วันพรุ่งนี้เถิด
เราจะโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคในวังของเรา” จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคมีพระองค์เป็นที่ ๔๑ โปรดทรงรับภัตตาหารของ
ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรงทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว
จึงเสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทรงกระทำประทักษิณแล้ว
เสด็จจากไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

เมื่อล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังวังของอภัยราชกุมาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ต่อมา อภัยราชกุมารทรงอังคาสพระผู้มีพระภาคให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยว
ของฉันอันประณีตด้วยพระองค์เอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์แล้ว
อภัยราชกุมารจึงทรงเลือกประทับนั่ง ณ ที่สมควร ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า

ถ้อยคำอันไม่เป็นที่รัก

[๘๕] อภัยราชกุมารประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคต๑จะพึงตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ
ของคนอื่นบ้างหรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราชกุมาร ในปัญหาข้อนี้ จะวิสัชนาโดยส่วน
เดียวมิได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ฉิบหายแล้ว”
“ราชกุมาร เหตุไฉน พระองค์จึงตรัสอย่างนี้เล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้บอกว่า ‘เสด็จไปเถิดพระราชกุมาร
เชิญพระองค์เสด็จไปโต้วาทะกับพระสมณโคดมเถิด เมื่อพระองค์ทรงโต้วาทะกับพระ
สมณโคดมอย่างนี้ กิตติศัพท์อันงามของพระองค์จักระบือไปว่า ‘อภัยราชกุมารทรง
โต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้’
เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้ถามว่า ‘ท่านขอรับ ข้าพเจ้า
จะโต้วาทะกับท่านพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้อย่างไร’
นิครนถ์ นาฏบุตรตอบว่า ‘มาเถิดพระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสมณ-
โคดมถึงที่ประทับแล้วทูลถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้างไหมที่พระตถาคต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

ตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้
แล้วจะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร มีบ้างที่ตถาคตกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ
ของคนอื่น’
พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชน เพราะปุถุชนก็กล่าววาจาอัน
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามอย่างนี้
แล้วจะทรงตอบอย่างนี้ว่า ‘ราชกุมาร ตถาคตไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่ชอบใจของคนอื่น’
พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจักเกิดในอบาย
จักเกิดในนรก ดำรงอยู่สิ้น ๑ กัป เป็นผู้ที่ใคร ๆ เยียวยาไม่ได้’ เพราะวาจาของ
พระองค์นั้น พระเทวทัตโกรธ เสียใจ’
พระราชกุมาร พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะ
ทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก กระจับเหล็กติดอยู่ในลำคอของบุรุษ บุรุษนั้นไม่อาจ
กลืนเข้าไปได้ ไม่อาจคลายออก แม้ฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก”

เกณฑ์ในการตรัสวาจาของพระพุทธเจ้า

[๘๖] ขณะนั้นเอง กุมารน้อยยังนอนหงายอยู่บนพระเพลาของอภัยราชกุมาร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอภัยราชกุมารว่า “ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัย
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้ากุมารน้อยนี้อาศัยความประมาทของพระองค์หรือของหญิง
พี่เลี้ยง พึงนำไม้หรือก้อนกรวดมาใส่ปาก พระองค์จะพึงปฏิบัติกับกุมารน้อยนั้นอย่างไร”
อภัยราชกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะนำออกเสีย
ถ้าหม่อมฉันไม่อาจจะนำออกแต่ทีแรกได้ หม่อมฉันก็จะเอามือซ้ายประคองศีรษะ
แล้วงอนิ้วมือขวา ล้วงเอาไม้หรือก้อนกรวดพร้อมด้วยเลือดออกเสีย ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะหม่อมฉันมีความเอ็นดูในกุมารน้อย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

“ราชกุมาร ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน รู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าว
วาจานั้น
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น
เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ทั้งหลาย”

พุทธปฏิภาณ

[๘๗] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็น
บัณฑิตก็ดี คหบดีผู้เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ตั้งปัญหาแล้วเข้ามา
เฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหานั้น การตอบปัญหาของบัณฑิตเหล่านั้น พระผู้มี
พระภาคทรงตรึกด้วยพระหทัยก่อนว่า ‘บัณฑิตทั้งหลายจักเข้ามาหาเราแล้วทูลถาม
ปัญหาอย่างนี้ เราเมื่อบัณฑิตเหล่านั้นทูลถามอย่างนี้แล้ว จักตอบอย่างนี้’ หรือ
ว่าคำตอบนั้นปรากฏแก่พระตถาคตโดยทันที”
“ราชกุมาร ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้ ตถาคตจักถามพระองค์บ้าง ข้อนี้พระองค์
เห็นควรอย่างไร พระองค์พึงตอบอย่างนั้น พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น
ว่าอย่างไร พระองค์เป็นผู้ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

“ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ชนทั้งหลายเข้า
ไปเฝ้าพระองค์แล้วทูลถามอย่างนี้ว่า ‘องค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถคันนี้ชื่ออะไร’
การตอบปัญหาของชนเหล่านั้น พระองค์ตรึกด้วยพระทัยก่อนว่า ‘ชนทั้งหลายเข้า
มาหาเราแล้วจักถามอย่างนี้ เราเมื่อถูกชนเหล่านั้นถามอย่างนี้ จักตอบอย่างนี้’
หรือว่าคำตอบนั้นปรากฏแก่พระองค์โดยทันที”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหม่อมฉันเป็นผู้เชี่ยวชาญรู้จักรถเป็นอย่างดี
ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ องค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถทั้งหมด
หม่อมฉันทราบดีแล้ว ฉะนั้นการตอบปัญหานั้นปรากฏแก่หม่อมฉันโดยทันที”
“ราชกุมาร กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดี
ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ตั้งปัญหาแล้วจักเข้ามาหาตถาคต ถาม
ปัญหานั้น การตอบปัญหานั้นปรากฏแก่ตถาคตโดยทันทีเหมือนกัน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมธาตุ๑นั้น ตถาคตแทงตลอดดีแล้ว การตอบปัญหานั้นปรากฏ
แก่ตถาคตโดยทันที”

อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสก

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อภัยราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาค
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

อภยราชกุมารสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

๙. พหุเวทนิยสูตร
ว่าด้วยเวทนาหลายประเภท

[๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเข้าไปหาท่านพระอุทายี
ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร ขอรับ”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ช่างไม้ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ
(๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัส
เวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้กล่าวกับท่าน
พระอุทายีว่า “ท่านอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้
๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้
๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้
๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้
เพียง ๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
ท่านพระอุทายีไม่สามารถให้ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายียินยอมได้
[๘๙] ท่านพระอานนท์ได้ยินการสนทนาปราศรัยนี้ของท่านพระอุทายีกับ
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถึงการสนทนาปราศรัยของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อ
ปัญจกังคะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
“อานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่คล้อยตามบรรยาย๑ที่มีอยู่ของอุทายี ส่วน
อุทายีก็ไม่คล้อยตามบรรยายที่มีอยู่ของช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ

ประเภทแห่งเวทนา

อานนท์ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา
๓ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว
เวทนา ๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดย
บรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่รู้ ไม่สำคัญ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้ว
แก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักรู้ สำคัญ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้ว
แก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่

กามสุข

[๙๐] อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เราเรียกว่า กามสุข
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’
เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่า

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็
ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจา-
ยตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญา-
ยตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
อานนท์ ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบ
อย่างยิ่งนี้’ เราก็มิได้คล้อยตามคำของชนนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

[๙๑] อานนท์ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธ และ
บัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข’
อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงค้านว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนาเพียงอย่างเดียวแล้ว
บัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย แต่บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุข
ในฐานะใด ๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พหุเวทนิยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด
พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดชาวบ้านสาลา

[๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อสาลา พราหมณ์และคหบดีชาวบ้าน
สาลาได้สดับข่าวว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตร เสด็จ
ออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อสาลาโดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์
อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้ง
โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบ
พระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกทูลสนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่
สมควร

ตรัสอปัณณกธรรม

[๙๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาผู้นั่ง
เรียบร้อยแล้วว่า
“พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่ชอบใจของ
ท่านทั้งหลาย เป็นเหตุให้ได้ศรัทธาที่มีเหตุผล มีอยู่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศาสดา
องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ได้ศรัทธาที่
มีเหตุผล ยังไม่มีเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลาย
ยังไม่ได้ศาสดาเป็นที่ชอบใจ พึงสมาทานอปัณณกธรรม๑นี้แล้วประพฤติตามเถิด
เพราะว่า อปัณณกธรรมที่ท่านทั้งหลายสมาทานให้บริบูรณ์ จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน
อปัณณกธรรมนั้น เป็นอย่างไร

นัตถิกทิฏฐิกับอัตถิกทิฏฐิ

[๙๔] คือ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ
โอปปาติก๒สัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’
สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น
พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงก็มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ
โอปปาติกสัตว์มีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณ-
พราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด

[๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณ-
พราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้
ผู้อื่นรู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’ สมณพราหมณ์เหล่านั้น พึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศล-
ธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน
อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต
แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง โลกหน้ามี แต่เขากลับเห็นว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็น
มิจฉาทิฏฐิ โลกหน้ามี แต่เขาดำริว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็น
มิจฉาสังกัปปะ โลกหน้ามี แต่เขากล่าวว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ วาจานั้นของเขาจึงเป็น
มิจฉาวาจา โลกหน้ามี เขากล่าวว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อ
พระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า โลกหน้ามี เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ การที่
เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขา
ยังจะยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้น
เขาก็ละทิ้งความเป็นผู้มีศีลดีงามแล้วตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา
ความเป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน
การข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าโลกหน้าไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้หลังจาก
ตายแล้วจักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑ถ้าโลกหน้าไม่มีจริง คำของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อม
กูกวิญญูชน ติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
นัตถิกวาทะ’
ถ้าโลกหน้ามีจริง บุรุษบุคคลนี้จะได้รับโทษในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบัน
ถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว๒
ย่อมละเหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้

คุณแห่งการปฏิบัติชอบ

[๙๖] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ฯลฯ
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้ง มีอยู่ในโลก’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ
จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต
จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต
แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นเห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง
อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง โลกหน้ามี เขาเห็นว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ความเห็นนั้นของเขา จึงเป็น
สัมมาทิฏฐิ โลกหน้ามีจริง เขาดำริว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็น
สัมมาสังกัปปะ โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

สัมมาวาจา โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนเป็นข้าศึก
กับพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า โลกหน้ามี เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘โลกหน้ามีจริง’
การที่เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขา
ย่อมไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้น
เขาก็ละทิ้งความเป็นผู้ทุศีล แล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่
เป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่
ข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าโลกหน้ามี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ถ้าโลกหน้าไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อมได้รับคำสรรเสริญ
จากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นอัตถิกวาทะ’
ถ้าโลกหน้ามีจริง บุรุษบุคคลนี้ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบัน
วิญญูชนย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย๑
ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

อกิริยทิฏฐิกับกิริยทิฏฐิ

[๙๗] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก
ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทาง
เปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น) ก็ไม่จัดว่าทำบาป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมา
ถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรงกับสมณพราหมณ์
เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้
ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้
เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน
ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้
ผู้อื่นบูชา เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา ย่อมมีบุญที่เกิดจากการ
ให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’
ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกัน
โดยตรง มิใช่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด

[๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณ-
พราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น
เบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่น
ทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ
ผู้ทำ(เช่นนั้น) ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ฯลฯ ไม่มีบุญที่
เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์
ไม่มีบุญมาถึงเขา’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม
๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน
อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต
แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง การกระทำมีผล แต่เขากลับเห็นว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ ความเห็นนั้น
ของเขาจึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ การกระทำมีผล แต่เขาดำริว่า ‘การกระทำไม่มีผล’
ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ การกระทำมีผล แต่เขากล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

‘การกระทำไม่มีผล’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา การกระทำมีผล เขากล่าว
ว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ ผู้เป็นกิริยวาทะ
การกระทำมีผล เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ การที่เขาทำให้ผู้อื่น
เข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่น
ด้วยการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้
มีศีลดีงามแล้วตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็น
อเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับ
พระอริยะ การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำไม่มีผล เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้
หลังจากตายแล้วจักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้
บุรุษบุคคลนี้ หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ถ้าการกระทำ
ไม่มีผลจริง คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็น
เช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลผู้เจริญนี้จะได้รับ
โทษในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้ว
จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว
ย่อมละเหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

คุณแห่งการปฏิบัติชอบ

[๙๙] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้
ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้
ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้น
เรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่น
บูชา เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา ย่อมมีบุญที่เกิดจากการ
ให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’
สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่
(๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศล ๓ ประการนี้ ได้แก่
(๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง
อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

อนึ่ง การกระทำมีผล เขาเห็นว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความเห็นนั้นของเขา
จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ การกระทำมีผลจริง เขาดำริว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความ
ดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า ‘การกระทำ
มีผลจริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า
‘การกระทำมีผลจริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนเป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นกิริยวาทะ
การกระทำมีผลจริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ การที่เขาทำให้
ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง
ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม
เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก
กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้
หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้าการกระทำไม่มีผลจริง คำของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อม
ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ
เป็นกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลนี้ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ
(๑) ในปัจจุบันวิญญูชนย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรม ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้ว แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย
ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

เหตุกทิฏฐิกับอเหตุกทิฏฐิ

[๑๐๐] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความ
พยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ๑ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ๒ทั้ง ๖’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดย
ตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ
มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ไม่ใช่ไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง
ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง ไม่มี
กำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความพยายามของมนุษย์
สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไป
ตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะเฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและ
ทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม
๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน
อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต แล้ว
ประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง เหตุมีอยู่ แต่เขากลับเห็นว่า ‘เหตุไม่มี’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ เหตุมีอยู่ แต่เขาดำริว่า ‘เหตุไม่มี’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ
เหตุมีอยู่ แต่เขากล่าวว่า ‘เหตุไม่มี’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา ‘เหตุมีอยู่’
เขากล่าวว่า ‘เหตุไม่มี’ ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นเหตุกวาทะ
เหตุมีอยู่ เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘เหตุไม่มี’ การที่เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น
เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่นด้วยการทำให้
เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้มีศีลดีงามแล้ว
ตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้
คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้
ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการ
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าเหตุไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก
ตายแล้ว จักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าเหตุมีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษ
บุคคลนี้ หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ถ้ายอมรับว่า
เหตุไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็น
เช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอเหตุกวาทะ’ ถ้าเหตุมีอยู่จริง บุรุษบุคคลนี้จะได้รับโทษในโลก
ทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว ย่อมละ
เหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้

คุณแห่งการปฏิบัติชอบ

[๑๐๒] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจึงเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจึงบริสุทธิ์ มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ
มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะของตน ย่อมไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต
(๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต
(๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ข้อนั้น เพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง
อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง เหตุมีอยู่ เขาเห็นว่า เหตุมีอยู่จริง’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นสัมมาทิฏฐิ
เหตุมีอยู่จริง เขาดำริว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ
เหตุมีอยู่จริง เขากล่าวว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา เหตุมี
อยู่จริง เขากล่าวว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้
เป็นเหตุกวาทะ เหตุมีอยู่จริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ การที่เขาทำให้
ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง
ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม
เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก
กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าเหตุมีอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก
ตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้ายอมรับว่าเหตุไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อมได้รับคำสรรเสริญ
จากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล มีสัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุกวาทะ’
ถ้าเหตุมีอยู่จริง บุรุษบุคคลนี้ ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันวิญญูชน
ย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้วอย่างนี้ แพร่ดิ่งไปทั้ง
สองฝ่าย ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ความขัดแย้งกันเรื่องอรูปพรหม

[๑๐๓] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการทั้งปวง’ สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง
มีวาทะขัดแย้งโดยตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหม
มีอยู่โดยประการทั้งปวง’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์
เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์พวกนั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘การที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เราไม่เห็นด้วย แม้การที่สมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมมีอยู่โดยประการทั้งปวง’
เราก็ไม่รับรู้ด้วย ส่วนเราเอง เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น จะพึงถือเอาฝ่ายเดียว กล่าวว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ถ้าคำของสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการ
ทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักเกิดในเหล่าเทพผู้มีรูปสำเร็จด้วยใจ ซึ่งไม่
ถือว่าผิด ถ้าคำของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘อรูปพรหมมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักเกิดในเหล่าเทพ
ผู้ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญาซึ่งไม่ถือว่าผิด อนึ่ง การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘เจ้า เจ้า’ การพูดส่อเสียด
และการพูดเท็จซึ่งมีรูปเป็นเหตุย่อมปรากฏ แต่ข้อนี้ย่อมไม่มีในอรูปพรหมโดย
ประการทั้งปวง’ วิญญูชนนั้นครั้นพิจารณาดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับแห่งรูปอย่างเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ความขัดแย้งเรื่องภพ

[๑๐๔] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ๑ไม่มีโดยประการทั้งปวง’ สมณพราหมณ์
อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดยตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘การที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เราไม่เห็นด้วย แม้การที่
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ
มีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เราก็ไม่รับรู้ด้วย ส่วนเราเอง เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น จะถือเอา
ฝ่ายเดียวแล้วกล่าวว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควร
แก่เราเลย ถ้าคำของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ความดับสนิทแห่งภพไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เรา
จักเกิดในเหล่าเทพผู้ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญาซึ่งไม่ถือว่าผิด อนึ่ง ถ้าคำของสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดย
ประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักปรินิพพานในปัจจุบัน ความเห็น
ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ
ไม่มีโดยประการทั้งปวง’ นี้ใกล้ต่อธรรมที่ยังมีความกำหนัด ใกล้ต่อธรรมที่ยังมี
สังโยชน์ ใกล้ต่อธรรมที่ยังมีความเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมที่มีความจดจ่อ ใกล้ต่อ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ธรรมที่ยังมีความถือมั่น ส่วนความเห็นของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ นี้ใกล้ต่อธรรมที่
ไม่มีความกำหนัด ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีสังโยชน์ ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความเพลิดเพลิน
ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความจดจ่อ ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความถือมั่น วิญญูชนนั้น
ครั้นพิจารณาดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
แห่งภพอย่างเดียว

บุคคล ๔ ประเภท๑

[๑๐๕] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

[๑๐๖] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท
เลียมือ ฯลฯ๑ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฯลฯ๒ หรือบางพวกเป็นผู้ทำการ
ทารุณ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ดี
ฯลฯ๓ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น
ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไปทำงานไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่น
ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ
มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑
ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วบรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ อยู่

วิชชา ๓

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๒ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า
หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๑ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน
ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่น
ประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
จึงเป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”

ชาวบ้านสาลาแสดงตนเป็นอุบาสก

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาได้
กราบทูลว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตา
ดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

อปัณณกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๑ จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กันทรกสูตร ๒. อัฏฐกนาครสูตร
๓. เสขปฏิปทาสูตร ๔. โปตลิยสูตร
๕. ชีวกสูตร ๖. อุปาลิวาทสูตร
๗. กุกกุรวติกสูตร ๘. อภยราชกุมารสูตร
๙. พหุเวทนิยสูตร ๑๐. อปัณณกสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

๒. ภิกขุวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุ

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก

[๑๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลพักอยู่ ณ ปราสาทชื่ออัมพลัฏฐิกา
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้น๑ แล้วเสด็จเข้าไปหาท่าน
พระราหุลจนถึงปราสาทชื่ออัมพลัฏฐิกา ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จ
มาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและตั้งน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร๒
[๑๐๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลือน้ำหน่อยหนึ่งไว้ในภาชนะน้ำ
แล้วรับสั่งเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า “ราหุล เธอเห็นน้ำที่เหลืออยู่หน่อยหนึ่งใน
ภาชนะนี้ไหม”
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำที่เหลืออยู่หน่อยหนึ่งอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งทิ้ง แล้วตรัสกับท่าน
พระราหุลว่า “ราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเททิ้งไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำที่เททิ้งแล้วอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้ไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็เหมือนภาชนะน้ำที่คว่ำแล้วอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหงายภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกับท่านพระราหุล
ว่า “เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้ไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็เหมือนภาชนะน้ำที่ว่างเปล่าอย่างนี้ เปรียบเหมือนช้างต้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง
ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงาน
ด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกาย
ท่อนหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง
สงวนไว้แต่งวงเท่านั้น เพราะการที่ช้างสงวนงวงไว้นั้น ควาญช้างมีความเห็น
อย่างนี้ว่า ‘ช้างต้น เชือกนี้มีงางอนงาม เป็นช้างทรงที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่า
ศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกายท่อนหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง
ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง สงวนไว้แต่งวงเท่านั้น ชื่อว่า
ช้างต้นยังสละไม่ได้กระทั่งชีวิต’
เมื่อใด ช้างต้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรงที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงคราม
มาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลัง
ทั้ง ๒ บ้าง ฯลฯ ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง เพราะการที่ช้างทำการงานด้วยงวงนั้น
เมื่อนั้น ควาญช้างจึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ช้างต้นเชือกนี้ มีงางอนงาม เป็นช้างทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วย
เท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกายท่อน
หลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง
ชื่อว่าช้างต้นสละได้กระทั่งชีวิต’ บัดนี้ ‘ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะทำไม่ได้’ แม้ฉันใด
ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่กล่าวว่า ‘บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้อยู่ จะไม่ทำบาปกรรมอะไรเลย’
ราหุล เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่
กล่าวเท็จ แม้เพื่อให้หัวเราะกันเล่น’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ราหุล”

ทรงสอนให้พิจารณากายกรรม

[๑๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
กระจกมีประโยชน์อย่างไร”
ท่านพระราหุลทูลตอบว่า “มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน ราหุล บุคคลควรพิจารณาให้ดี
แล้วจึงทำกรรมทางกาย พิจารณาให้ดีแล้วจึงทำกรรมทางวาจา พิจารณาให้ดีแล้ว
จึงทำกรรมทางใจ
ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางกาย เธอพึงพิจารณากายกรรมนั้นเสีย
ก่อนว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์
เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทางกายเห็นปานนี้
เธออย่าทำเด็ดขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ กรรมทางกายเห็น
ปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางกาย ก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแลว่า
‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละกายกรรมเห็น
ปานนี้เสีย
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูน
กายกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางกายแล้ว ก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแลว่า
‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กายกรรมเห็นปานนี้
เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
แล้วสำรวมต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
กายกรรมนั้นแล

ทรงสอนให้พิจารณาวจีกรรม

[๑๑๐] ราหุล ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางวาจา เธอพึงพิจารณา
วจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็น
อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทาง
วาจาเห็นปานนี้ เธออย่าทำเด็ดขาด
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ กรรมทางวาจา
เห็นปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางวาจา ก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแลว่า
‘วจีกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า วจีกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละวจีกรรมเห็นปานนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูนวจีกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางวาจาแล้ว ก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแลว่า ‘วจีกรรม
ที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ วจีกรรม
เห็นปานนี้ เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารี
ผู้รู้ทั้งหลาย แล้วสำรวมต่อไป
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
วจีกรรมนั้นแล

ทรงสอนให้พิจารณามโนกรรม

[๑๑๑] ราหุล ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางใจ เธอพึงพิจารณามโนกรรม
นั้นเสียก่อนว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้
เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทางใจ
เห็นปานนี้ เธออย่าทำเด็ดขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ ไม่
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’
กรรมทางใจเห็นปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางใจ ก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแลว่า
‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละมโนกรรม
เห็นปานนี้
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูน
มโนกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางใจแล้ว ก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแลว่า ‘มโนกรรม
ที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มี
ทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงอึดอัด ระอา
รังเกียจมโนกรรมเห็นปานนี้ แล้วสำรวมต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
มโนกรรมนั้นแล
[๑๑๒] ราหุล สมณะหรือพราหมณ์๑ เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้ชำระ
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
พิจารณาดีแล้วจึงได้ชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจึงได้ชำระวจีกรรม พิจารณาดี
แล้วจึงได้ชำระมโนกรรม อย่างนี้แล
แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักชำระกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ก็พิจารณาดีแล้ว
จักชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระมโนกรรม
อย่างนี้แล
ถึงสมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลกำลัง ชำระกายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ก็พิจารณาดีแล้วจึงชำระกาย-
กรรม พิจารณาดีแล้วจึงชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจึงชำระมโนกรรม อย่างนี้แล
ราหุล เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราพิจารณาดี
แล้วจักชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระ
มโนกรรม’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬราหุโลวาทสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๒. มหาราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรใหญ่

[๑๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี แม้ท่านพระราหุลก็ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวร ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอพึงเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต อยู่ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ท่านพระราหุลทูลถามว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่
พระสุคต รูปเท่านั้นหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร
ทั้งวิญญาณ”
หลังจากนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า “วันนี้ ใครหนอที่พระผู้มีพระภาคจะทรง
ประทานโอวาทโปรดเฉพาะพระพักตร์ แล้วเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต” กลับจากที่นั้น
แล้วนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ท่านพระ
สารีบุตรได้เห็นท่านพระราหุลนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ
โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงกล่าวกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติภาวนาที่
บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]๒. มหาราหุโลวาทสูตร

ธาตุ ๕

[๑๑๔] ครั้นเวลาเย็น ท่านพระราหุลออกจากที่หลีกเร้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล รูปชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป๑
ที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ
ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๒ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูปที่เป็น
ภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่
เป็นภายใน
ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) ที่เป็นภายในและปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นปฐวีธาตุ
นั่งเอง บัณฑิตควรเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิต
ให้คลายกำหนัดในปฐวีธาตุได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

[๑๑๕] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุที่เป็นภายในก็มี อาโปธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของ
เฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นภายใน
อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) ที่เป็นภายในและอาโปธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นอาโปธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุและทำจิต
ให้คลายกำหนัดในอาโปธาตุได้
[๑๑๖] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุที่เป็นภายในก็มี เตโชธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความ
เร่าร้อน ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำ
ร่างกายให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็น
เครื่องย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่เป็นอุปาทินนกรูปซึ่งเป็นภายในเป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายใน
เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ที่เป็นภายในและเตโชธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นเตโชธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำ
จิตให้คลายกำหนัดในเตโชธาตุได้
[๑๑๗] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุที่เป็นภายในก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่
แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่ง
ซึ่งเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา นี้เรียกว่า
วาโยธาตุที่เป็นภายใน
วาโยธาตุ(ธาตุลม) ที่เป็นภายในและวาโยธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นวาโยธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิต
ให้คลายกำหนัดในวาโยธาตุได้
[๑๑๘] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อากาสธาตุที่เป็นภายในก็มี อากาสธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของว่างเปล่า มีความ
ว่างเปล่า คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว
ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส และช่องสำหรับ
ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส ไหลลงเบื้องต่ำ หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของว่างเปล่า มีความว่างเปล่า
เป็นช่องว่าง เป็นธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่า
อากาสธาตุที่เป็นภายใน
อากาสธาตุ(ธาตุคืออากาศ) ที่เป็นภายในและอากาสธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็น
อากาสธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็น
อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายใน
อากาสธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัดในอากาสธาตุได้๑

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕

[๑๑๙] ราหุล เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอ
เจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว
จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้ คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัด
ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็น
ที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ คนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง
น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง น้ำจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่
แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำ เพราะเมื่อเธอ
เจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว
จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ ไฟย่อมเผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยไฟ เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้
เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิต
ของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ ลมย่อมพัดของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยลม เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิต
ของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ อากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยอากาศ เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็น
ที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้

การเจริญภาวนา ๖ อย่าง

[๑๒๐] ราหุล
๑. เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
จักละพยาบาทได้
๒. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่
จักละการเบียดเบียนได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๓. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
จักละความริษยาได้
๔. เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่
จักละความหงุดหงิดได้
๕. เธอจงเจริญอสุภภาวนา๑เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละ
ราคะได้
๖. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา๒เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาอยู่
จักละความถือตัวได้

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

[๑๒๑] ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๓. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก’
๔. สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจออก’
๕. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก’
๖. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจออก’
๗. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก’
๘. สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจออก’
๙. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจออก’
๑๐. สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก’
๑๑. สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจออก’
๑๒. สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจออก’
๑๓. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก’
๑๔. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก’
๑๕. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

๑๖. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก’
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก๑
ราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ลมอัสสาสะ(หายใจเข้า) ลมปัสสาสะ(หายใจออก) ครั้งสุดท้ายที่ปรากฏชัด ย่อมดับไป
ที่ไม่ปรากฏชัด ยังไม่ดับไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาราหุโลวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. จูฬมาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรเล็ก
เหตุแห่งอัพยากตปัญหา ๑๐ ประการ

[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตร หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิด
ความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
“ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า
‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีก หลังจากตายแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ การที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงตอบ
ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา เราไม่ชอบใจ เราไม่พอใจ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก
จะทูลถามเนื้อความนั้น
ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคต่อไป
ถ้าพระผู้มีพระภาค จักไม่ตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด
โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลักจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’ เราก็จักลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์”
[๑๒๓] ครั้นเวลาเย็น ท่านพระมาลุงกยบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
[๑๒๔] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ใน
ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่
ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมี
ที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ การที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา เราไม่ชอบใจ
เราไม่พอใจ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก จะทูลถามเนื้อความนั้น
ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

ถ้าพระผู้มีพระภาคจักไม่ตรัสตอบแก่เราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมี
ที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกเที่ยง’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกเที่ยง’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกไม่เที่ยง’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘โลกเที่ยง หรือ โลกไม่เที่ยง, เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกมีที่สุด’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกมีที่สุด’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิด
ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘โลกมีที่สุด หรือ โลกไม่มีที่สุด’ เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ขอจงตรัส
ตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ขอจงตรัส
ตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า
‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ขอจง
ตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ ขอจง
ตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือ
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมา
ตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’
ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น”
[๑๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร เราได้พูดไว้อย่างนั้นกับเธอ
หรือว่า ‘เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักตอบเธอว่า ‘โลกเที่ยง
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ บ้างไหม”
ท่านพระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็หรือว่าเธอได้พูดไว้กับเราอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัก
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบข้าพระองค์
ว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ บ้างไหม”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุงกยบุตร ได้ยินว่า เรามิได้พูดไว้กับเธอดังนี้ว่า ‘เธอจงมาประพฤติ
พรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักตอบเธอว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ฯลฯ ได้ยินว่า แม้เธอก็มิได้พูด
กับเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบข้าพระองค์ว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
โมฆบุรุษ เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอเป็นใคร จะมาทวงอะไรกับใครเล่า

ทรงอุปมาด้วยบุคคลผู้ต้องศร

[๑๒๖] มาลุงกยบุตร บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มี
พระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่
อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต๑ของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์
ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรา
ยังไม่รู้จักคนที่ยิงเราเลยว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร ตราบนั้น เราก็
จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
เป็นคนสูง ต่ำ หรือปานกลาง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
เป็นคนผิวดำ ผิวคล้ำ หรือผิวสองสี ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครชื่อโน้น ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นชนิดมีแล่ง หรือชนิดเกาทัณฑ์ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักสายธนูที่เขาใช้
ยิงเราว่า เป็นสายที่ทำด้วยปอ ผิวไม้ไผ่ เอ็น ป่าน หรือเยื่อไม้ ตราบนั้น เราก็จัก
ไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นธนูที่ทำด้วยไม้เกิดเองหรือไม้คัดปลูก ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้
ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักหางเกาทัณฑ์ที่เขา
ใช้ยิงเราว่า เป็นหางที่เสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตระกรุม นกเหยี่ยว นกยูง หรือ
นกปากห่าง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักเกาทัณฑ์ที่เขา
ใช้ยิงเราว่า เป็นสิ่งที่เขาพันด้วยเอ็นวัว เอ็นควาย เอ็นค่าง หรือเอ็นลิง ตราบนั้น
เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัว
เขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ ต่อให้บุรุษนั้น
ตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบว่า ‘โลก
เที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค’ ต่อให้บุคคลนั้นตายไป ตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น
ฉันนั้นเหมือนกัน
[๑๒๗] มาลุงกยบุตร เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ
ก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง’ ชาติ(ความเกิด) ชรา
(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ก็ยังคง
มีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ
ก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กัน
หรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด’ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติการกำจัด
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็น
คนละอย่างกัน’ ชาติ ฯลฯ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัด ชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก’ ชาติ ฯลฯ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ จักได้มีการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
มาลุงกยบุตร แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่
เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึง
บัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาเชิงปรัชญา

[๑๒๘] มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่า
เป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่า เป็นปัญหาที่เราตอบเถิด
ปัญหาอะไรเล่าที่เราไม่ตอบ
คือ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราไม่ตอบ
เพราะเหตุไรเราจึงไม่ตอบ
เพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ
ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ
คือ ปัญหาว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เราตอบ
เพราะเหตุไรเราจึงตอบ
เพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อ
นิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ
มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่า เป็นปัญหาที่
เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่า เป็นปัญหาที่เราตอบเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬมาลุงกยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

๔. มหามาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรใหญ่
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

[๑๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์๑
(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการที่เราแสดงแล้ว ได้หรือไม่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
ที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วได้”
“เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างไร”
“ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือสักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัว
ของตน) ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือสีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต)
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือพยาบาท(ความคิดร้าย) ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
แล้วได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ที่เราแสดงไว้แล้ว
อย่างนี้แก่ใคร อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจักหักล้างด้วยการนำเรื่องเด็กอ่อน
มาเปรียบเทียบได้ มิใช่หรือ เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า
‘ตัวของตน’ สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร สักกายทิฏฐิของเด็กนั้น
ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ธรรมทั้งหลาย’ วิจิกิจฉา
ในธรรมทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร วิจิกิจฉาของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ศีลทั้งหลาย’ สีลัพพต-
ปรามาสในศีลทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร สีลัพพตปรามาสของเด็กนั้น
ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘กามทั้งหลาย’ กามฉันทะ
ในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร กามราคะของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘สัตว์ทั้งหลาย’ ความ
พยาบาทในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร พยาบาทของเด็กนั้น ก็ยัง
นอนเนื่องอยู่
อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจักหักล้างด้วยการนำเรื่องเด็กอ่อนมาเปรียบเทียบได้
มิใช่หรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาล
ที่สมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

อุบายเครื่องละสังโยชน์

[๑๓๐] “อานนท์ ปุถุชน๑ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตถูก
สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม ถูกสักกายทิฏฐิครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิ
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชน
บรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุม ถูกสีลัพพตปรามาสครอบงำอยู่
และไม่รู้อุบายเครื่องสลัดสีลัพพตปรามาสที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สีลัพพต-
ปรามาสนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิย-
สังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง กามราคะนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ปุถุชนมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
[๑๓๑] อานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตที่สักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้
ที่สักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละสักกายทิฏฐินั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่วิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ ที่วิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้อุบาย
เครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละวิจิกิจฉานั้น
พร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่สีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ ที่สีลัพพตปรามาสครอบงำ
ไม่ได้อยู่ และรู้อุบายเครื่องสลัดสีลัพพตปรามาสที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
อริยสาวกนั้นย่อมละสีลัพพตปรามาสนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่กามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ ที่กามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และ
รู้อุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละ
กามราคะนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่พยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ ที่พยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้
อุบายเครื่องสลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละ
พยาบาทนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ข้อปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์

[๑๓๒] อานนท์ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไป
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการได้ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่
ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัดแก่นเลยทีเดียว แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคล
ไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้
จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นได้ เป็นไปได้
ที่บุคคลถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัด
แก่นนั้นได้ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นได้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย
มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ
ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง น้อยนั้น
อานนท์ แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ บุรุษผู้มีกำลังมาก
มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ
ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่น หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

รูปฌาน ๔

[๑๓๓] มรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยอุปธิวิเวก๑ เพราะ
ระงับความเกียจคร้านทางกายได้โดยประการทั้งปวง จึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอย่อม
พิจารณาเห็น๒ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ใน
ปฐมฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้อง
แตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก๔
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุจึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

อรูปฌาน ๔

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน
เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า
เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่อ
อมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’
เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือเวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอย
ก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย
เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว
จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความสงบระงับสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ถ้ามรรคและปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้
บางพวกจึงเป็นเจโตวิมุต๑ บางพวกจึงเป็นปัญญาวิมุต๒ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวว่าภิกษุเหล่านั้น
มีอินทรีย์ต่างกัน๓”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหามาลุงกยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

๕. ภัททาลิสูตร
ว่าด้วยพระภัททาลิ
คุณแห่งการฉันอาหารมื้อเดียว

[๑๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารมื้อเดียว เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว๑ ย่อมรู้สึก
ว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด แม้เธอทั้งหลายก็จงฉันอาหารมื้อเดียวเถิด เธอทั้งหลาย
เมื่อฉันอาหารมื้อเดียว จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารมื้อเดียวได้ เพราะเมื่อ
ข้าพระองค์ฉันอาหารมื้อเดียว จะมีความกระวนกระวาย และมีความเดือดร้อน”
“ภัททาลิ ถ้าเช่นนั้น เธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่นั้นเสียส่วนหนึ่ง
แล้วนำอีกส่วนหนึ่งมาฉันก็ได้ เมื่อเธอฉันอาหารได้อย่างนี้ ก็จักดำรงชีวิตอยู่ได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น
เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันอย่างนั้น ก็จะมีความกระวนกระวาย และมีความเดือดร้อน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระภัททาลิได้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ตั้งแต่นั้นมา ท่าน
พระภัททาลิไม่กล้าเผชิญพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตลอด ๓ เดือนเต็ม เหมือนภิกษุ
ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขา๑ในศาสนาของพระศาสดาให้บริบูรณ์

พระภัททาลิสำนึกผิด

[๑๓๕] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากช่วยกันทำจีวรกรรม(เย็บจีวร) สำหรับ
พระผู้มีพระภาคด้วยตั้งใจว่า “พระผู้มีพระภาคจะทรงใช้จีวรที่ทำสำเร็จแล้ว เสด็จ
เที่ยวจาริกไปเป็นเวลา ๓ เดือน”
เวลานั้น ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าว
กับท่านพระภัททาลิว่า
“ท่านภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายช่วยกันทำจีวรกรรมนี้สำหรับพระผู้มีพระภาค
ด้วยตั้งใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจะทรงใช้จีวรที่ทำสำเร็จแล้วเสด็จเที่ยวจาริกไปเป็น
เวลา ๓ เดือน’ ท่านภัททาลิ เราขอเตือน ท่านจงใส่ใจความผิดนี้ไว้ให้ดีเถิด ทีหลัง
ท่านอย่าได้ก่อความยุ่งยากอีกเลย”
ท่านพระภัททาลิรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษ
ได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถ
ใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน
ศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อ
ความสำรวมระวังต่อไปเถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถิด ภัททาลิ โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็น
คนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้
(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงรู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็น
ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า ภิกษุจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้ภิกษุ
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า ภิกษุณีจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี
แม้ภิกษุณีเหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ
พระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า อุบาสกจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้อุบาสก
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า อุบาสิกาจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้อุบาสิกา
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
ภัททาลิ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า สมณพราหมณ์ต่างลัทธิจำนวนมากเข้า
จำพรรษาในกรุงสาวัตถี แม้สมณพราหมณ์ต่างลัทธิเหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อ
ภัททาลิ สาวกของพระสมณโคดม เป็นพระเถระรูปหนึ่ง ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา
ของพระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง
ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ
ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

“ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศ
ความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน
ศึกษาอยู่
[๑๓๖] ภัททาลิ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น
อุภโตภาควิมุต๑เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไป
ในหล่มด้วยกัน ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ”
“ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุต๒ เป็น
กายสักขี๓ เป็นทิฏฐิปัตตะ๔ เป็นสัทธาวิมุต๕ เป็นธัมมานุสารี๖ เป็นสัทธานุสารี๗
เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มด้วยกัน’
ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ”
“ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า”


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker