ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

“เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เวลานั้น เธอเป็นอุภโตภาควิมุต เป็น
ปัญญาวิมุต เป็นกายสักขี เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นสัทธาวิมุต เป็นธัมมานุสารี หรือ
เป็นสัทธานุสารีบ้างไหม”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เวลานั้น เธอเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิด ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง
ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ
ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์
สมาทานศึกษาอยู่ แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม
เราจึงรับรู้โทษของเธอนั้น การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตาม
ธรรมจะสำรวมระวังต่อไปนี้ เป็นความเจริญในอริยวินัย

ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์

[๑๓๗] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา
ของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ เสนาสนะ
เงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด
บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์๒’ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกไปอยู่อย่างนั้น ศาสดาก็ติเตียนได้
เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้ เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเอง
ก็ติเตียนตนเองได้ เธอถูกศาสดาติเตียนบ้าง ถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง
ถูกเทวดาติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนเองบ้าง ก็ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์

ผู้บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์

[๑๓๘] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บำเพ็ญสิกขาใน
ศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ
เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์’ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกไปอยู่อย่างนั้น แม้ศาสดาก็ติเตียนไม่ได้
แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนไม่ได้ แม้เทวดาก็ติเตียนไม่ได้
แม้ตนเองก็ติเตียนตนเองไม่ได้ เธออันศาสดาไม่ติเตียน เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
ใคร่ครวญแล้วก็ไม่ติเตียน เทวดาไม่ติเตียน ตนเองติเตียนตนเองไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้ง
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภิกษุนั้นสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
[๑๓๙] อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์

วิชชา ๓

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ๒
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต ฯลฯ จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต ฯลฯ๑ จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็น
หมู่สัตว์ ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๓’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์

เหตุที่ทำให้ถูกข่มขี่และไม่ถูกข่มขี่

[๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุ
ทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่ให้ภิกษุทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรม-
วินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติ
อยู่เนือง ๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติ
นอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง
และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก
ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น
ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็น
ผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่
อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบที่ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจะ
พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์๑นี้ระงับ
ไปโดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๑] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มี
อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้า
จะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลาย
จึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก
เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำ
ภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตาม
ความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของ
ภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๒] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มี
อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าว
ว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่
นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง
และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอน
ตนออก ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบที่ท่านผู้
มีอายุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๓] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้า
จะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจง
พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๔] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุนี้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลาย
จักข่มขี่ภิกษุนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) ด้วยตั้งใจว่า ‘ศรัทธาพอประมาณ
ความรักพอประมาณของเธอนั้นอย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย’
บุคคลผู้เป็นมิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว พึงรักษา
นัยน์ตาข้างเดียวนั้นไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘นัยน์ตาข้างเดียวของเขานั้น อย่าได้เสื่อมไปจาก
เขาเลย’ แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำเนินชีวิตด้วย
ศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ดำเนินชีวิต
ด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูด
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรัก
พอประมาณ ถ้าเราทั้งหลายจักข่มขี่ภิกษุนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) ศรัทธา
พอประมาณ ความรักพอประมาณของเธอ อย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย’
ภัททาลิ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุทั้งหลายข่มขี่ภิกษุบางรูปในธรรม-
วินัยนี้ แล้วทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุทั้งหลาย
ข่มขี่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ แล้วทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์)”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

อาสวัฏฐานิยธรรม

[๑๔๕] ท่านพระภัททาลิทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยที่เมื่อก่อนสิกขาบทมีเพียงเล็กน้อย แต่ภิกษุจำนวนมากดำรงอยู่ในอรหัตตผล
อนึ่ง อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่บัดนี้สิกขาบทมีเป็นอันมาก แต่ภิกษุจำนวนน้อย
ดำรงอยู่ในอรหัตตผล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
กำลังจะเสื่อม เมื่อสัทธรรม๑กำลังจะอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่เป็นอันมาก แต่ภิกษุ
จำนวนน้อยดำรงอยู่ในอรหัตตผล ศาสดาจะยังไม่บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย
ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม๒บางอย่างในสงฆ์ เมื่อเกิดอาสวัฏฐานิยธรรม
บางอย่างในสงฆ์ ศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิย-
ธรรมเหล่านั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นหมู่ใหญ่
เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นผู้เลิศ
ด้วยลาภ ... ยังไม่เป็นผู้เลิศด้วยยศ ... ยังไม่เป็นพหูสูต๓ ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นรัตตัญญู
เมื่อสงฆ์เป็นรัตตัญญู๑ อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
[๑๔๖] ภัททาลิ สมัยใด เราแสดงธรรมบรรยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่ม
แก่เธอทั้งหลาย สมัยนั้น เธอทั้งหลายยังมีจำนวนน้อย ภัททาลิ เธอยังระลึกถึงธรรม
บรรยายนั้น ได้อยู่หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยเหตุอะไรเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์มิได้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ
พระศาสดาให้บริบูรณ์เป็นเวลานานมาแล้วแน่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททาลิ ความเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์นี้ จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ก็หามิได้ แต่เรากำหนดรู้ด้วยจิตจึงรู้จักเธอมานานแล้วว่า ‘เมื่อเราแสดงธรรมอยู่
โมฆบุรุษนี้ไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ ไม่เอาใจจดจ่อ ไม่เงี่ยโสตสดับธรรม’ แต่เราก็จักแสดง
ธรรมบรรยายเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธออีก เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ท่านพระภัททาลิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

องค์คุณของภิกษุผู้เป็นเนื้อนาบุญ

[๑๔๗] “ภัททาลิ เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ชำนาญ ได้ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีแล้ว
ครั้งแรกทีเดียวฝึกให้มันรู้เรื่องในการสวมบังเหียน เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการ
สวมบังเหียน มันก็พยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคย
ฝึก ม้านั้นหมดพยศได้เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดย
ลำดับ เมื่อม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้ เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก เช่น ฝึก
เทียมแอก เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการเทียมแอก มันก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน
อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึก
บ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้
เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะ
ฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก คือ

๑. การเหยาะย่าง ๒. การวิ่งเป็นวงกลม
๓. การจรดกีบ ๔. การวิ่ง
๕. การใช้เสียงร้องให้เป็นประโยชน์ ๖. คุณสมบัติได้เป็นราชนิยม
๗. ความเป็นวงศ์พญาม้า ๘. ความว่องไวชั้นเยี่ยม
๙. การเป็นม้าชั้นเยี่ยม ๑๐. การเป็นม้าที่ควรแก่การชมเชย
อย่างยิ่ง

เมื่อคนฝึกม้าฝึกให้มันรู้เรื่องในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม
ในการเป็นม้าควรแก่การชมเชยอย่างยิ่ง ม้านั้นก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใด
อย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึกอยู่
บ่อยๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ในการขี่ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีซึ่งหมด
พยศลงนั้น คนฝึกม้าก็จะเพิ่มการฝึกให้มีคุณภาพ ให้มีกำลังขึ้น ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้แล จึงเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่า
เป็นราชพาหนะโดยแท้ แม้ฉันใด
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก

ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาอันเป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะอันเป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะอันเป็นอเสขะ
๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติอันเป็นอเสขะ
๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นอเสขะ
๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะอันเป็นอเสขะ
๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติอันเป็นอเสขะ๑
ภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ภัททาลิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยนางนกมูลไถ

[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ
แคว้นอังคุตตราปะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม ทรงเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเข้าไปยังราวป่า
แห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อนกลางวัน ได้ประทับนั่งพักกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

ในเวลาเช้า แม้ท่านพระอุทายีก็ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยัง
อาปณนิคม เที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังราวป่าเพื่อพักผ่อนกลางวัน ได้นั่งพักกลางวันที่โคนไม้
แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลาย
ออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มี
พระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”
ครั้นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

มูลเหตุที่ทรงห้ามฉันในเวลาวิกาล

[๑๔๙] ท่านพระอุทายีนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์
เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุข
เป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของ
เราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย’
ก็เมื่อก่อนข้าพระองค์เคยฉันได้ทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน(หลังเที่ยง)
ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราขอเตือน เธอทั้งหลายจงเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวันเสียเถิด’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ มีความเสียใจว่า ‘คหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธาจะ
ถวายของควรเคี้ยว ของควรฉันอันประณีตแม้ใดแก่เราทั้งหลายในเวลาวิกาลกลางวัน
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตรับสั่งให้เราทั้งหลายเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวันแม้นั้น
เสียแล้ว’
ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นเมื่อพิจารณาเห็นความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงยอมเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวัน
นั้นเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นจึงฉันในเวลาเย็นและเวลาเช้า
ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราขอเตือน เธอทั้งหลายจงเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางคืนเสียเถิด’
ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ มีความเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคผู้สุคตรับสั่ง
ให้เราเลิกฉันโภชนะที่นับว่าประณีตกว่าบรรดาโภชนะทั้งสองนี้เสีย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษคนหนึ่งได้ของที่ควรจะแกงมา
ในเวลากลางวัน จึงบอกภรรยาอย่างนี้ว่า ‘เอาเถิด เธอจงเก็บสิ่งนี้ไว้ เราทั้งหมด
จักบริโภคพร้อมกันในเวลาเย็น อะไร ๆ ทั้งหมดที่จะปรุงกินย่อมมีรสอร่อยในเวลา
กลางคืน เวลากลางวันมีรสไม่อร่อย’
ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงยอมเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางคืน
นั้นเสีย
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตไปในเวลามืดค่ำ ย่อมเข้าไป
ใกล้บ่อน้ำครำบ้าง ตกลงในหลุมโสโครกบ้าง บุกเข้าไปยังป่าหนามบ้าง เหยียบแม่โค
ที่กำลังหลับบ้าง พบกับโจรผู้ทำโจรกรรมบ้าง ผู้ยังไม่ได้ทำโจรกรรมบ้าง ถูกมาตุคาม
ชักชวนให้เสพสมบ้าง
เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตไปในเวลามืดค่ำ หญิงคนหนึ่ง
กำลังล้างภาชนะอยู่ ได้เห็นข้าพระองค์โดยแสงฟ้าแลบแล้วตกใจกลัวร้องเสียงหลงว่า
‘ว้าย ! ผีหลอก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

เมื่อหญิงนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงพูดกับเธอว่า ‘ไม่ใช่ผีหรอก
น้องหญิง เราเป็นภิกษุยืนบิณฑบาตอยู่’
หญิงนั้นกล่าวว่า ‘พ่อแม่ของภิกษุคงตายแล้วกระนั้นหรือ ภิกษุ ท่านเอา
มีดคม ๆ สำหรับเชือดโคมาเชือดท้องของดิฉันเสียยังดีกว่า การที่ท่านมาเที่ยว
บิณฑบาตในเวลามืดค่ำอย่างนี้เพราะเห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่ดีเลย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงเรื่องนั้นอยู่ จึงคิดอย่างนี้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลาย
ออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มี
พระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”

อุปมาด้วยนางนกมูลไถ

[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี อย่างนั้นเหมือนกัน โมฆบุรุษ
บางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวว่า ‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึง
ไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรงในเราอยู่ อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของ
ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ย่อมเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย
เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ เปรียบเหมือนนางนกมูลไถถูกผูกด้วยเถาหัวด้วน ย่อมรอ
เวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด หรือความตายในที่นั้นเอง ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘เครื่องดักคือเถาหัวด้วนที่เขาใช้ผูกนางนกมูลไถซึ่งรอเวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด
หรือความตายในที่นั้น เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่น’ ผู้นั้น
เมื่อกล่าวอย่างนี้ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เครื่องดักคือเถาหัวด้วนที่เขา
ใช้ผูกนางนกมูลไถ ซึ่งรอเวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด หรือความตายในที่นั้นแล
เป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ พระ-
พุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

“อุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร
พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึงไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรง
ในเราอยู่ อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ย่อมเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่

อุปมาด้วยช้างต้น

[๑๕๑] อุทายี ส่วนกุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวว่า ‘จงละ
ความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้จะสำคัญ
อะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้เรา
ทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว ดำรง
ชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
ย่อมเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร เปรียบเหมือนช้างต้น
มีงางอนงาม เป็นช้างทรง ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้าง
ล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมันสบัดกายเท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดแล้วหนีไป
ตามใจปรารถนา ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ช้างต้นนั้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง
ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้างล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมัน
สบัดกายเท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดหนีไปตามใจปรารถนา โซ่นั้นจัดเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่’ ผู้นั้นเมื่อ
กล่าวอย่างนี้ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะช้างต้นนั้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง ที่มีชาติ
กำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้างล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมันสบัดกาย
เท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดแล้วหนีไปตามใจปรารถนา เครื่องผูกช้างต้นนั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง ฯลฯ ไม่มีแก่นสาร พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

“อุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้จะ
สำคัญอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้
เราทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว
ดำรงชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร

อุปมาด้วยคนจน

[๑๕๒] อุทายี เปรียบเหมือนคนยากไร้ ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็นของตน
จัดเป็นคนจน ไม่ใช่คนมั่งคั่งเลย เขามีเรือนเล็ก ๆ หลังหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องมุงและ
เครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน มีแคร่อันหนึ่ง
ก็ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ มีข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่
พันธุ์ดี มีภรรยาคนหนึ่งก็ไม่สวย เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอารามมีมือและเท้าล้างสะอาด
สะอ้าน ฉันโภชนะล้วนน่าอร่อย นั่งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย เจริญธรรมฝึก
สมาธิ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ความเป็นสมณะน่าสุขสบายหนอ ความเป็น
สมณะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหนอ เราควรจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง’
แต่เขาไม่อาจสละเรือนหลังเล็กนั้นซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง
หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่
เป็นแคร่ ไม่อาจละข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี
ไม่อาจละภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีรูปไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
อุทายี ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เครื่องผูกที่ผูกบุรุษนั้น ผู้ไม่อาจละเรือนหลังเล็ก ๆ
หลังหนึ่งซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา
ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ ไม่อาจละข้าวเปลือกและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

เมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี ไม่อาจละภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีรูป
ไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร’ ผู้นั้นเมื่อ
กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะเครื่องผูกที่ผูกบุรุษนั้น ผู้ไม่อาจละได้แม้แต่เรือน
หลังเล็ก ๆ หลังนั้น ซึ่งมีเครื่องมุงและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ที่ต้อง
คอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ ไม่อาจละ
ข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี ไม่อาจละภรรยา
คนหนึ่งซึ่งมีรูปไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตได้ จัดเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็น
เหมือนท่อนไม้ใหญ่”
“อุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร
พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึงไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรง
ในเรา อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่

อุปมาด้วยคนมั่งมี

[๑๕๓] อุทายี เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีสมบัติมาก สะสมทองไว้หลายร้อยแท่ง สะสมข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา
ทาสชาย ทาสหญิง ไว้เป็นอันมาก เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอารามมีมือและเท้าล้าง
สะอาดสะอ้าน ฉันโภชนะล้วนน่าอร่อย นั่งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย เจริญธรรม
ฝึกสมาธิ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ความเป็นสมณะน่าสุขสบายหนอ ความเป็น
สมณะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหนอ เราควรจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

เขาอาจจะละทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย
ทาสหญิง เป็นอันมากแล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เครื่องผูกที่ผูกคหบดีหรือบุตรคหบดี
ผู้อาจละทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย ทาสหญิง
เป็นอันมาก แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต จัดเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อน
ไม่ใหญ่’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะเครื่องผูกที่ผูกคหบดีหรือบุตรคหบดี ผู้อาจละทอง
หลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย ทาสหญิง เป็นอันมากแล้ว
โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จัดเป็น
เครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้
จะสำคัญอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้
เราทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาจึงละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว
ดำรงชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร

บุคคล ๔ จำพวก

[๑๕๔] อุทายี บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ๑เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

ทิ้งอุปธินั้นอยู่ ผู้นั้นยังรับความดำรินั้นไว้ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้
สิ้นสุด และไม่ทำให้หมดไป เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส ไม่ใช่
ผู้คลายกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด
ทิ้งอุปธินั้นอยู่ ผู้นั้นไม่รับความดำริเหล่านั้นไว้ ละได้ บรรเทาได้
ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไป เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส
ไม่ใช่ผู้คลายกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๓. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด
ทิ้งอุปธินั้นอยู่ เพราะความหลงลืมสติในบางครั้งบางคราว สติเกิด
ช้าไป ที่จริงเขาละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไป
ได้ฉับพลัน คนหยดน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดลงในกะทะเหล็ก
ที่ร้อนอยู่ตลอดวัน หยดน้ำที่หยดลงอย่างช้า ๆ ก็จะเหือดแห้งไป
ฉับพลัน แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอันประกอบ
ด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ
นั้นอยู่ เพราะความหลงลืมสติในบางครั้งบางคราว สติเกิดช้าไป
ที่จริงเขาละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไปได้โดย
ฉับพลัน เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส ไม่ใช่ผู้คลายกิเลส’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๔. รู้ว่า ‘อุปธิ๑ เป็นเหตุแห่งทุกข์’ แล้วเป็นผู้ไม่มีอุปธิ น้อมจิตไปใน
ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ๒ เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้คลายกิเลสได้แล้ว มิใช่
ผู้มีกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

กามคุณ ๕ ประการ

[๑๕๕] อุทายี กามคุณมี ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี ๕ ประการนี้แล
อุทายี สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า ความสุข
ที่เกิดจากกาม ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่ความสุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรเสพ๑ ไม่ควรให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้๒’

รูปฌาน ๔

[๑๕๖] อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ๓ อยู่ ฌานทั้ง ๔ นี้เราเรียกว่า ความสุขเกิดจากการออกจากกาม
ความสุขเกิดจากความสงัด ความสุขเกิดจากความสงบ ความสุขเกิดจากการตรัสรู้
เรากล่าวว่า ‘ควรเสพ ควรให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในปฐมฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่วิตกวิจารในปฐมฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในทุติยฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่ปีติและสุขในทุติยฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในทุติยฌานนั้น
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในตติยฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่อุเบกขาและสุขในตติยฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในตติยฌานนั้น
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่า ไม่หวั่นไหว

อรูปฌาน ๔

อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลาย
จงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น
คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น
คือ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น
แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น
แม้จตุตถฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น
คือ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการ
ทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น แม้อากาสานัญจายตน-
ฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า
‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานนั้น แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตน
ฌานนั้น แม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย
เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัย
นี้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั้น เรากล่าวการละแม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ด้วยประการอย่างนี้
“อุทายี สังโยชน์ที่ละเอียดหรือหยาบนั้น ซึ่งเรายังมิได้กล่าวถึงการละ เธอเห็น
หรือไม่”
ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอุทายีมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ลฏุกิโกปมสูตรที่ ๖ จบ

๗. จาตุมสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านจาตุมา
เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง

[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อามลกีวัน หมู่บ้านจาตุมา สมัยนั้นแล
ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็น
หัวหน้า เดินทางมาถึงบ้านจาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านั้นสนทนาปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียง
ดังอื้ออึง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์
ผู้ที่ส่งเสียงดังอื้ออึงเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน เป็นภิกษุพวกไหน”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า เดินทางมาถึงบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

จาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นสนทนาปราศรัยกับภิกษุ
เจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียงดังอื้ออึง พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า
‘พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่พัก
ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า “พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพากันส่งเสียงดังอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลา
กันหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า เดินทางมาถึงบ้าน
จาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น
จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียงดังอื้ออึง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไป เราขอขับไล่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
ไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค กระทำประทักษิณแล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจากไป
[๑๕๘] สมัยนั้น เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมา มาประชุมกันอยู่ที่หอประชุม
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น
ถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า “พระคุณท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะพากัน
ไปไหนเล่า”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์ถูกพระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่แล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

“พระคุณท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงนั่งอยู่ที่นี่สักครู่หนึ่ง
บางทีพวกข้าพเจ้าอาจจะให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยได้”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมาเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่ง
กับภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์๑ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนอย่าง
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็น
นวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ก็มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
พืชที่ยังอ่อนเมื่อขาดน้ำก็จะเหี่ยวเฉาแปรเปลี่ยนสภาพไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
ลูกโคอ่อนเมื่อไม่เห็นแม่ก็จะร้องหาเที่ยวซมซานไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่ง
กับภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนอย่าง
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

พรหมอาราธนาพระพุทธเจ้า

[๑๕๙] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบความรำพึงในพระทัยของพระ
ผู้มีพระภาคด้วยใจของตนแล้ว ได้อันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏในที่เฉพาะพระ
พักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ได้กราบทูลว่า
“ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่งกับภิกษุสงฆ์เถิด ขอ
พระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยทรงอนุเคราะห์
ในกาลก่อนด้วยเถิด ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน
เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ก็มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึง
มีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
พืชที่ยังอ่อนเมื่อขาดน้ำก็จะเหี่ยวเฉาแปรเปลี่ยนสภาพไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ
มีความแปรผันไป
ลูกโคอ่อนเมื่อไม่เห็นแม่ก็จะร้องหาเที่ยวซมซานไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ
มีความแปรผันไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่งกับ
ภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับ
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด๑ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

[๑๖๐] เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหม สามารถทูลขอให้
พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยพืชที่ยังอ่อน และด้วยคำ
วิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงลุกขึ้น จงถือบาตรและจีวรเถิด เจ้าศากยะชาวเมือง
จาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยแล้ว
ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยพืชที่ยังอ่อน และด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถือบาตรและจีวรเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร เมื่อเราขับไล่ภิกษุสงฆ์ เธอได้มี
ความคิดอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่
ภิกษุสงฆ์แล้ว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย เจริญธรรมเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน๑อยู่ แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย เจริญธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่เช่นกัน”
“สารีบุตร เธอจงรอก่อน เธอจงรอก่อน ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
จงพักไว้ก่อน เธอไม่ควรให้ความคิดเห็นปานนี้เกิดขึ้นอีก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า
“โมคคัลลานะ เมื่อเราขับไล่ภิกษุสงฆ์ เธอได้มีความคิดอย่างไร”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มี
พระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์แล้ว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

เจริญธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่ ข้าพระองค์และท่านสารีบุตรจักช่วยกัน
บริหารภิกษุสงฆ์”
“ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ความจริง เรา สารีบุตรหรือโมคคัลลานะเท่านั้น
ควรบริหารภิกษุสงฆ์”

ภัยของภิกษุผู้บวชใหม่ ๔ ประการ

[๑๖๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อูมิภัย (ภัยจากคลื่น)
๒. กุมภีลภัย (ภัยจากจระเข้)
๓. อาวัฏฏภัย (ภัยจากน้ำวน)
๔. สุสุกาภัย (ภัยจากปลาร้าย)

ภัย ๔ ประการนี้แล ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงประสบ
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อูมิภัย ๒. กุมภีลภัย
๓. อาวัฏฏภัย ๔. สุสุกาภัย
[๑๖๒] อูมิภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

(ความคับแค้นใจ) ครอบงำ ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การ
ทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึงปรากฏ’ เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอน
เธอผู้บวชแล้วนั้นว่า ‘เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ พึงแลดูอย่างนี้
พึงเหลียวดูอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงครองสังฆาฏิ บาตร
และจีวรอย่างนี้’ เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็นคฤหัสถ์มีแต่ตักเตือน
พร่ำสอนผู้อื่น ก็ภิกษุเหล่านี้ มีอายุคราวลูกคราวหลานของเรา ยังจะมาตักเตือน
พร่ำสอนเรา’ เธอจึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอูมิภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า อูมิภัย นี้
เป็นชื่อเรียกความโกรธและความคับแค้นใจ
[๑๖๓] กุมภีลภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่
ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ’ เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอนเธอผู้บวชแล้วนั้นว่า ‘สิ่งนี้เธอ
ควรฉัน สิ่งนี้เธอไม่ควรฉัน สิ่งนี้เธอควรบริโภค สิ่งนี้เธอไม่ควรบริโภค สิ่งนี้เธอ
ควรลิ้ม สิ่งนี้เธอไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้เธอควรดื่ม สิ่งนี้เธอไม่ควรดื่ม สิ่งที่เป็นกัปปิยะ๑
เธอควรฉัน สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ๒เธอไม่ควรฉัน สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรบริโภค สิ่งที่
เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรบริโภค สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรลิ้ม สิ่งที่เป็นอกัปปิยะเธอ
ไม่ควรลิ้ม สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรดื่ม สิ่งที่เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรดื่ม สิ่งนี้เธอควร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

ฉันในกาล๑ สิ่งนี้เธอไม่ควรฉันในเวลาวิกาล๒ สิ่งนี้เธอควรบริโภคในกาล สิ่งนี้เธอ
ไม่ควรบริโภคในเวลาวิกาล สิ่งนี้เธอควรลิ้มในกาล สิ่งนี้เธอไม่ควรลิ้มในเวลาวิกาล
สิ่งนี้เธอควรดื่มในกาล สิ่งนี้เธอไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล’ เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน
เราเป็นคฤหัสถ์เคี้ยวกินสิ่งที่เราต้องการ ไม่เคี้ยวกินสิ่งที่เราไม่ต้องการ บริโภคสิ่ง
ที่เราต้องการ ไม่บริโภคสิ่งที่เราไม่ต้องการ ลิ้มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ลิ้มสิ่งที่เราไม่
ต้องการ ดื่มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ดื่มสิ่งที่เราไม่ต้องการ เคี้ยวกินทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะ
และสิ่งเป็นอกัปปิยะ บริโภคทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ลิ้มทั้งสิ่งเป็น
กัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ดื่มทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ เคี้ยวกินทั้ง
ในกาลและในเวลาวิกาล บริโภคทั้งในกาลและในเวลาวิกาล ลิ้มทั้งในกาลและในเวลา
วิกาล ดื่มทั้งในกาลและในเวลาวิกาล สิ่งใดที่ประณีตไม่ว่าจะเป็นของเคี้ยวหรือของ
บริโภค ที่คหบดีผู้มีศรัทธาถวายแก่เราทั้งในกาลและในเวลาวิกาล ภิกษุเหล่านี้
ทำเหมือนปิดปากแม้ในสิ่งของเหล่านั้น’ เธอจึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวกุมภีลภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
กุมภีลภัย นี้ เป็นชื่อเรียกความเป็นคนเห็นแก่ปากท้อง
[๑๖๔] อาวัฏฏภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึง
ปรากฏ’ เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นคหบดีหรือบุตรคหบดีในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ผู้เอิบอิ่ม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

พรั่งพร้อม บำเรอตนด้วยกามคุณ ๕ ประการ คิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็น
คฤหัสถ์ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนด้วยกามคุณ ๕ ประการ โภคทรัพย์ใน
ตระกูลของเราก็มีอยู่พร้อม เราสามารถที่จะใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้' เธอจึง
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอาวัฏฏภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
อาวัฏฏภัย นี้ เป็นชื่อเรียกกามคุณ ๕ ประการ
[๑๖๕] สุสุกาภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึง
ปรากฏ’ เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคาม(สตรี)ในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น นุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย ราคะรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตฟุ้งซ่านเพราะราคะ จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวสุสุกาภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
สุสุกาภัย นี้ เป็นชื่อเรียกมาตุคาม
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย นี้พึงประสบ๑”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จาตุมสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

๘. นฬกปานสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านนฬกปานะ
กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงออกบวช

[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าไม้ทองกวาว หมู่บ้านนฬกปานะ
แคว้นโกศล สมัยนั้นแล กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก คือ ท่านพระอนุรุทธะ
ท่านพระภัททิยะ ท่านพระกิมพิละ ท่านพระภัคคุ ท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระ
เรวตะ ท่านพระอานนท์ และกุลบุตรที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ มีศรัทธาออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาค
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้วประทับนั่งอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศ
เรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตอุทิศเรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตอุทิศเรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

[๑๖๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “ทางที่ดี เราควรถามกุลบุตร
เหล่านั้นดู” แล้วได้รับสั่งเรียกท่านพระอนุรุทธะมาตรัสว่า “อนุรุทธะ๑เธอทั้งหลาย
ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ การที่เธอทั้งหลายยินดีในพรหมจรรย์นี้แล เป็นการ
สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะ
เธอทั้งหลาย กำลังหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท เจริญอยู่ในปฐมวัยสมควรบริโภคกาม
ยังออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้ เธอทั้งหลายนั้นมิใช่ผู้ทำความผิดต่อพระราชา
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ผู้ถูกตามจับว่าเป็นโจรจึงออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต มิใช่ถูกหนี้สินบีบคั้นจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่เดือดร้อน
เพราะภัยจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ถูกอาชีพบีบคั้นจึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ความจริง เธอทั้งหลายมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส ครอบงำแล้ว ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำ
กองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุดจะพึงปรากฏ’ มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้ควรทำกิจอะไรบ้าง
คือ กุลบุตร ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อภิชฌาก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้พยาบาท
ก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ถีนมิทธะก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

แม้อุทธัจจกุกกุจจะก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้วิจิกิจฉาก็ยังครอบงำจิต
ของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ความริษยาก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ความเป็น
ผู้เกียจคร้านก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ กุลบุตรนั้น ยังไม่บรรลุปีติและสุข
หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อนุรุทธะ กุลบุตรบรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อภิชฌาก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้พยาบาท
ก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ถีนมิทธะก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่
ไม่ได้ แม้อุทธัจจกุกกุจจะก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้วิจิกิจฉาก็ครอบงำ
จิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ความริษยาก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ความ
เป็นผู้เกียจคร้านก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ กุลบุตรนั้น บรรลุปีติและสุข
หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายได้

พระตถาคตกับอาสวะ

[๑๖๘] อนุรุทธะ เธอทั้งหลายจะคิดอย่างไรในเราว่า “ตถาคตยังละอาสวะ
อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของ
อย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่งบ้างไหม”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้คิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
‘พระตถาคตยังทรงละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน
กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงทรงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของ
อย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่ง’
แต่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้คิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระตถาคตทรง
ละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบาก
เป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

แล้วจึงทรงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของ
อย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ตถาคตละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้วไม่อาจงอกขึ้นอีกได้ แม้ฉันใด ตถาคตก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน
กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง
เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่ง
เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ตถาคตพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
จึงพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิด
ในภพชื่อโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพชื่อโน้น”
“ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงโปรดอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคำ
อธิบายของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุรุทธะ ตถาคตจะพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลาย
ว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คนเกิดความ
พิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความ
สรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’ ก็หามิได้
อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่
กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
ข้อนั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุ

[๑๖๙] อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุนั้นได้เห็น
เองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีธรรม๑อย่างนี้
ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้น
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๒
๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุนั้น
ได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น
ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ
ฉะนี้แล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์๓ ๓ ประการสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูป
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อม
มีแก่ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์
จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ภิกษุนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น
ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ
ฉะนี้แล

การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุณี

[๑๗๐] อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว
ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุณี
นั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรม
อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น
การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุณีนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้
น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่
อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล

การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสก

[๑๗๑] อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’
อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้
ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มี
พระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ
ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์
จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสกนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็น
ผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’
อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะ
น้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการ
ฉะนี้แล

การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสิกา

[๑๗๒] อนุรุทธะ อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’
อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้น
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และ
เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้’ อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล
อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสิกานั้นได้เห็น
เองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้
น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล
ตามที่กล่าวมานี้แล ตถาคตพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่
เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คน
เกิดความพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะ
และความสรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’
ก็หามิได้
อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่
กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นฬกปานสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

๙. โคลิสสานิสูตร
ว่าด้วยภิกษุชื่อโคลิสสานิ
คุณธรรมของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

[๑๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุชื่อโคลิสสานิ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร มีมารยาท
ทรามนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร
ปรารภภิกษุชื่อโคลิสสานิ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายแล้ว จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่า
แต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่มีความเคารพยำเกรงใน
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย (๑)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเข้าใจลำดับแห่ง
อาสนะว่า ‘เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เป็นเถระ และจักไม่กันอาสนะภิกษุผู้เป็นนวกะ’
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เข้าใจลำดับแห่งอาสนะ
จะมีผู้ติเตียนภิกษุรูปนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่เข้าใจลำดับแห่งอาสนะ’ จะมีผู้ติเตียน
ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
ควรเข้าใจลำดับแห่งอาสนะ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้อภิสมาจาริก-
ธรรม๑ ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่รู้อภิสมาจาริก-
ธรรม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้อภิสมาจาริกธรรม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุ
นั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้
อภิสมาจาริกธรรม (๓)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก
ไม่ควรกลับมาสายนัก ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ
การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ ที่เข้าบ้านเช้านัก
กลับมาสายนัก’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก ไม่ควรกลับมาสายนัก (๔)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเที่ยวไปใน
ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร ถ้าภิกษุผู้ถือ
การอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายในเวลาก่อน
ฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการเที่ยวไปในเวลาวิกาลไว้มากแน่
อนึ่ง เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปในสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยว
ไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร (๕)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย
คะนองวาจา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้
คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการคะนองกาย คะนองวาจาไว้มากแน่ อนึ่ง
เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปกับสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควร
คะนองกาย คะนองวาจา (๖)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า
ไม่ควรเป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
เป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์
อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้แต่เป็น
ผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้
มีวาจาจัดจ้าน (๗)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย
เป็นกัลยาณมิตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็น
ผู้ว่ายาก เป็นบาปมิตร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัคร
ใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ว่ายาก เป็น
บาปมิตร’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อ
ไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย เป็นกัลยาณมิตร (๘)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ
ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียน
ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ
ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร’ จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณ
ในการบริโภคอาหาร (๑๐)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง’
จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็น
ผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง (๑๑)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ปรารภความเพียร๑ ถ้าภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตรเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไร
กับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้
เกียจคร้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้ปรารภความเพียร (๑๒)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ
สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีสติ
ฟั่นเฟือน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น (๑๓)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ
สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีจิต
ไม่ตั้งมั่น’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น (๑๔)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ
การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มี
ปัญญาทราม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีปัญญา (๑๕)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย
เพราะเมื่อมีผู้ถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยกับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว ตอบ
ไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว
ตอบไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย (๑๖)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในสันตวิโมกข์๑ซึ่งไม่มีรูปเพราะ
ล่วงรูปฌาน เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
กับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหา
ในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบ
ไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควร
ทำความเพียรในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน (๑๗)
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรใน
อุตตริมนุสสธรรม๑ เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมกับภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว
ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่า
แต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคุณวิเศษที่
กุลบุตรผู้ออกบวชแล้วต้องการ’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม (๑๘)”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่าน
พระสารีบุตรว่า
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่านี้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรเท่านั้นหรือที่ควร
สมาทาน ประพฤติ หรือธรรมเหล่านี้แม้ภิกษุผู้อยู่ในอารามใกล้บ้านก็ควรสมาทาน
ประพฤติด้วย”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโมคคัลลานะ ธรรมเหล่านี้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรควรสมาทานประพฤติ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงภิกษุผู้อยู่ในอารามใกล้บ้านเลย”
ดังนี้แล

โคลิสสานิสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

๑๐. กีฏาคิริสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในกีฏาคีรีนิคม
คุณของการฉันอาหารน้อย

[๑๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นกาสี พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ฉันโภชนะในราตรีเลย เราเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี
ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย เธอทั้งหลาย
เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จากนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไป
ในแคว้นกาสีโดยลำดับ จนถึงนิคมของชาวกาสีชื่อกีฏาคีรี ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกาสีชื่อกีฏาคีรี

พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะฉันอาหารในเวลาวิกาล

[๑๗๕] สมัยนั้น ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ๑ เป็นผู้อยู่ประจำ
ในนิคมชื่อกีฏาคีรี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อ
ปุนัพพสุกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี
พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ท่านทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี
ก็จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะได้
กล่าวว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา
วิกาลกลางวัน เราทั้งหลายนั้นเมื่อฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาล
กลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็นอนาคตกาล
ทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน”
เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะให้ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ยินยอมได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหา
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี เมื่อพระผู้มีพระภาคและภิกษุ
สงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ท่านทั้งหลาย
ก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรีก็จะรู้สึกว่า
สุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’
เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า
และเวลาวิกาลกลางวัน เมื่อเราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

วิกาลกลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็น
อนาคตกาลทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน’
เพราะเหตุที่ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะให้ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ยินยอมได้ จึงมากราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
[๑๗๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษรูปหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด
ภิกษุ เธอจงไปเรียกภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะตามคำของเราว่า ‘พระศาสดา
ตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า “พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะรับคำของภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปหาเธอทั้งสองแล้วกล่าวว่า
‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี พระผู้มี
พระภาคและภิกษุสงฆ์เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ท่านทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะใน
ราตรีก็จะรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ’
ได้ยินว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เธอทั้งสองได้กล่าวกับภิกษุ
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลา
เช้า และเวลาวิกาลกลางวัน เราทั้งหลายเมื่อฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

วิกาลกลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็นอนาคตกาล
ทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน’ จริงหรือ”
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ กราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

กุศลธรรมและอกุศลธรรมกับเวทนา ๓

[๑๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึง
ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา (อุเบกขา) อกุศลธรรมของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ใช่ไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคล
บางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อม
เสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม
เสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวย
ทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคล
บางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรม
ย่อมเสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศล-
ธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
[๑๗๘] “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำ
ให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า ‘เธอ
ทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม
เจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็น
ปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า
‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศล
ธรรมย่อมเจริญ” เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนา
เห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง
ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงละทุกขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้เป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละทุกข-
เวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง
ไม่สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็น
ปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึง
กล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้เป็นการสมควรแก่
เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละอทุกขม-
สุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัส
ด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควร
แก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็น
ปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

[๑๘๑] ภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหมดจะต้องทำกิจที่ควรทำ
ด้วยความไม่ประมาท’ ทั้งมิได้กล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหมดไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วย
ความไม่ประมาท’ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้น
แล้วเพราะรู้โดยชอบ เราย่อมกล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้นไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วย
ความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่สำเร็จเป็นอรหันต์ ยังปรารถนาธรรม
ที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้น ต้องทำกิจ
ที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านเหล่านี้ เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร๑ คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้นต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

บุคคล ๗ จำพวก

[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ ๑มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๗ จำพวก ไหนบ้าง คือ

๑. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต ๒. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต
๓. ท่านผู้เป็นกายสักขี ๔. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
๕. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต ๖. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี
๗. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี๒

ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สัมผัสสันตวิโมกข์๓ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกาย๔อยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นอุภโตภาควิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุนั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป (๑)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นปัญญาวิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุนั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป (๒)
ท่านผู้เป็นกายสักขี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นกายสักขี เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่
ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี ถ้าท่าน
ผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอจะพึง
ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ จึงกล่าว
ว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๓)
ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมที่ผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้ว
บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี ถ้าท่าน
ผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ จะพึง
ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๔)
ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง
ความเชื่อในตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นคงแล้ว บุคคลนี้เราเรียกว่า
เป็นสัทธาวิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม
ทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้วควรเพื่อพินิจโดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์(อินทรีย์คือศรัทธา) วิริยินทรีย์
(อินทรีย์คือวิริยะ) สตินทรีย์(อินทรีย์คือสติ) สมาธินทรีย์(อินทรีย์คือสมาธิ)
ปัญญินทรีย์(อินทรีย์คือปัญญา) ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นธัมมานุสารี
เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๖)
ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมี
แต่เพียงความเชื่อ ความรักในตถาคต
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นสัทธานุสารี เรากล่าวว่า
‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๗)

การดำรงอยู่ในอรหัตตผล

[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น
แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขา๑โดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญ
กิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ
การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการ
บำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในศาสนานี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อม
นั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ เงี่ยโสตลงสดับแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟัง
ธรรมแล้วย่อมทรงจำไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณา
เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ เมื่อมีการเพ่งพินิจธรรมอยู่ ฉันทะ
ย่อมเกิด กุลบุตรนั้นเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมอุทิศกายและใจ เมื่ออุทิศกายและใจแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
สัจจะอันยอดเยี่ยม๒ด้วยนามกาย และเห็นแจ่มแจ้งสัจจะอันยอดเยี่ยมนั้นด้วย
ปัญญา๓


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศรัทธาไม่มี การเข้าไปหา การนั่งใกล้ การเงี่ยโสตลงสดับ
การฟังธรรม การทรงจำธรรม การพิจารณาเนื้อความ ความเพ่งพินิจธรรม ฉันทะ
อุตสาหะ การไตร่ตรอง และการอุทิศกายและใจก็ไม่มี เธอทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
เป็นผู้ปฏิบัติผิด โมฆบุรุษเหล่านี้ได้ก้าวออกไปจากธรรมวินัยนี้ไกลเท่าไร
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบาย
ดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า เราจักแสดง
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักเข้าใจถึงเนื้อความได้”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคน
เช่นไร และผู้เข้าใจถึงธรรมได้ เป็นคนเช่นไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับแต่
อามิสอยู่ ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นก็ยังไม่ต่อรองเลยว่า ‘เมื่อสิ่งเช่นนี้พึง
มีแก่เรา เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น’ ตถาคต
ไม่ข้องอยู่ด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงจะสมควรกับการต่อรองหรือ สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา
เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคทรงรู้ เราไม่รู้’
คำสอนของศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอน
ของศาสดา
สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า
‘หนัง เอ็น และกระดูกจงเหือดแห้งไปเถิด เนื้อและเลือดในสรีระของเรา จงเหือดแห้ง
ไปก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของ
บุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรนั้น๑’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา จะพึงหวังได้
ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ (๑) อรหัตตผลในปัจจุบัน (๒) เมื่อมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จะเป็นอนาคามี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
กีฏาคิริสูตรที่ ๑๐ จบ
ภิกขุวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
๓. จูฬมาลุงกยสูตร ๔. มหามาลุงกยสูตร
๕. ภัททาลิสูตร ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
๗. จาตุมสูตร ๘. นฬกปานสูตร
๙. โคลิสสานิสูตร ๑๐. กีฏาคิริสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

๓. ปริพพาชกวรรค
หมวดว่าด้วยปริพาชก

๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อวัจฉโคตร สูตรเล็ก

[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรอาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “ยังเช้าเกินไปที่จะ
เที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลี ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาวัจฉโคตรปริพาชก จนถึงอาราม
ของปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาวัจฉโคตรปริพาชก ถึงอารามของ
ปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก วัจฉโคตรปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล
ได้กราบทูลว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้ามาเถิด ขอต้อนรับเสด็จ นาน ๆ
พระผู้มีพระภาคจะมีเวลาเสด็จมาถึงที่นี้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด อาสนะ
นี้ปูลาดไว้แล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว แม้วัจฉโคตรปริพาชก
ก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควร๑ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู
มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะ๑ อย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเรา
เดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’
ท่านผู้เจริญ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรม
ทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่
หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เป็นผู้กล่าวตาม
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง
และชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลละหรือ อนึ่ง ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นสัพพัญญู’ มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า
‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’
ยังกล่าวไม่ตรงกับคำที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่เป็นจริง ไม่มีจริง”

วิชชา ๓

[๑๘๖] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะอธิบายอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จและชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลละหรือ อนึ่ง ไม่มี
บ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ บุคคลผู้อธิบายว่า ‘พระสมณโคดมเป็น
ผู้มีวิชชา๒ ๓’ ชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล อนึ่ง ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
เมื่อไรก็ตามที่เราต้องการจะรู้ เราย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้
เราเพียงต้องการจะรู้เท่านั้น เราก็เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้น
ต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ฯลฯ๒ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๓ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
วัจฉะ บุคคลผู้อธิบายว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้มีวิชชา ๓’ ชื่อว่าเป็นผู้พูดตรง
ตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ และชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุ
สมผล อนึ่ง ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูก
ตำหนิได้”

ลัทธิเดียรถีย์ว่างจากคุณความดี

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม คฤหัสถ์บางคน ผู้ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์๔
ไม่ได้ หลังจากตายแล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีอยู่หรือ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้
หลังจากตายแล้วย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีเลย”
“คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้วไปเกิดใน
สวรรค์มีอยู่หรือ ท่านพระโคดม”
“คฤหัสถ์ผู้ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสวรรค์นั้น
มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน หรือ ๕๐๐ คนเท่านั้น
ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“อาชีวกบางคนหลังจากตายแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์๑ได้ มีอยู่หรือ ท่าน
พระโคดม”
“อาชีวกบางคน หลังจากตายแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีเลย”
“อาชีวกบางคนหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสวรรค์ มีอยู่หรือ ท่านพระโคดม”
“จากภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัปที่เราระลึกได้ เราไม่รู้จักอาชีวกคนอื่นผู้ไปเกิดใน
สวรรค์ นอกจากอาชีวกเพียงคนเดียวผู้เป็นกรรมวาที๒ เป็นกิริยวาที๓”
“ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้ ลัทธิเดียรถีย์ก็เป็นลัทธิที่ว่างเปล่าจาก
คุณความดี โดยที่สุดแม้แต่คุณความดีที่จะให้ไปเกิดในสวรรค์”
“อย่างนั้น วัจฉะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ลัทธิเดียรถีย์นั้นเป็นลัทธิที่ว่างเปล่าจาก
คุณความดี โดยที่สุดแม้แต่คุณความดีที่จะให้ไปเกิดในสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬวัจฉโคตตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเรื่องไฟแก่ปริพาชกชื่อวัจฉโคตร
ทิฏฐิ ๑๐ ประการ

[๑๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า '‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่าน
พระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง''
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคต๑เกิดอีก นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่
เกิดอีก๒ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่๓ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

“วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
[๑๘๘] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่เที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า
‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกมีที่สุด
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า
‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่มี
ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิ
อย่างนั้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็
ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมี
ทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิ
อย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ท่านพระโคดมทรงเห็นโทษอะไรหรือ จึงไม่ทรงยอมรับ
ทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวง เช่นนี้”
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง’ นั้น เป็น
รกชัฏคือทิฏฐิ เป็นกันดารคือทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เป็นความดิ้นรนคือทิฏฐิ
เป็นสังโยชน์คือทิฏฐิ ก่อให้เกิดความทุกข์๑ ความลำบาก ความคับแค้น และความ
เร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน ทิฏฐิว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ฯลฯ ‘โลกมีที่สุด’ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

‘โลกไม่มีที่สุด’ ฯลฯ ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ฯลฯ ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละ
อย่างกัน’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ฯลฯ ทิฏฐิว่า
‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นั้น เป็นรกชัฏ
คือทิฏฐิ เป็นกันดารคือทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เป็นความดิ้นรนคือทิฏฐิ เป็น
สังโยชน์คือทิฏฐิ ก่อให้เกิดความทุกข์ ความลำบาก ความคับแค้น และความ
เร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
วัจฉะ เราเห็นโทษนี้จึงไม่ยอมรับทิฏฐิเหล่านั้นโดยประการทั้งปวง อย่างนี้”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิบางอย่างหรือไม่”
“วัจฉะ คำว่า ‘ทิฏฐิ’ นั้น ตถาคตกำจัดได้แล้ว ตถาคตเห็นแล้วว่า ‘รูปเป็น
ดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิด
แห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดแห่ง
สัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งสังขาร
เป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ
เป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้’ เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘ตถาคต
หลุดพ้นแล้วด้วยความไม่ถือมั่น เพราะความสิ้นไป เพราะความคลายไป เพราะ
ความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน เพราะความไม่ถือมั่น อหังการ
มมังการ และมานานุสัย๑ทั้งปวง ที่เข้าใจแล้ว ย่ำยีได้แล้วทั้งหมด”

ปัญหาเรื่องความหลุดพ้น

[๑๙๐] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ จะเกิด ณ ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะไม่เกิดหรือ ท่านพระโคดม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

“คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นเกิดและไม่เกิดหรือ ท่านพระโคดม”
“คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ ท่าน
พระโคดม”
“คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นำมาใช้ไม่ได้”
“เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้ จะเกิด ณ ที่ไหน’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะไม่เกิดหรือ ท่านพระ-
โคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นเกิดและไม่เกิดหรือ ท่าน
พระโคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ ท่านพระโคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘จะว่าเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นำมาใช้ไม่ได้’
ข้าแต่ท่านพระโคดม ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่รู้แล้ว ในข้อนี้ ข้าพระองค์หลง
ไปแล้ว ความเลื่อมใสซึ่งมีอยู่บ้างจากการสนทนาปราศรัยกับท่านพระโคดมใน
ตอนแรก บัดนี้ได้หมดสิ้นไปแล้ว”
“วัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้๑ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วยความตรึก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

ละเอียด เฉพาะบัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของ
อาจารย์อื่น รู้ได้ยาก
[๑๙๑] วัจฉะ เอาเถิด เราจะย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
ก็พึงตอบอย่างนั้น ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน
ท่านรู้ได้ไหมว่า ‘ไฟนี้กำลังลุกโพลงต่อหน้าเรา”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็รู้ได้ว่า
‘ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าข้าพระองค์”
“ถ้าใคร ๆ จะพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง’ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงตอบอย่างไร”
“ถ้าใคร ๆ ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว ก็จะตอบอย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่
ต่อหน้าข้าพระองค์นี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกโพลง ท่านพระโคดม”
“ถ้าไฟนั้นจะพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านรู้ได้ไหมว่า ‘ไฟนี้ดับไปต่อหน้าท่านแล้ว”
“ถ้าไฟนั้นจะพึงดับไปต่อหน้าข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็รู้ได้ว่า ‘ไฟนี้ดับไปต่อหน้า
ข้าพระองค์แล้ว ท่านพระโคดม”
“วัจฉะ ถ้าใคร ๆ จะพึงถามท่านว่า ‘ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ดับจาก
ทิศนี้แล้วไปยังทิศไหน คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือ ทิศเหนือ’
ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงตอบอย่างไร”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ไม่ควรถามเช่นนั้น เพราะไฟอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึง
ลุกโพลง แต่เพราะเชื้อนั้นถูกไฟเผามอดไหม้และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึง
นับได้ว่าไม่มีเชื้อ ดับสนิทแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

[๑๙๒] “วัจฉะ อย่างนั้นเหมือนกัน บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต๑ พึงบัญญัติ
ด้วยรูปใด รูปนั้นตถาคต๒ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการ
เรียกว่ารูป มีคุณอันลึกล้ำ อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือน
มหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิด
และไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมา
ใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด เวทนานั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าเวทนา มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้
ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด สัญญานั้น ตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าสัญญา มีคุณอัน
ลึกล้ำอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า
‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้
ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสังขารใด สังขารนั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าสังขาร มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้
คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าวิญญาณ มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้
คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้”

วัจฉโคตรปริพาชกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ต้นสาละใหญ่ ในที่ใกล้บ้านหรือนิคม กิ่ง ใบ เปลือก
สะเก็ด และกระพี้ ของต้นสาละใหญ่นั้น จะหลุด ร่วง กระเทาะไป เพราะเป็นของ
ไม่เที่ยง สมัยต่อมา ต้นสาละใหญ่นั้น ก็ไร้กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงอยู่
แต่แก่นล้วน ๆ แม้ฉันใด ปาพจน์๑ของท่านพระโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปราศจาก
กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงอยู่แต่คำอันเป็นแก่น๒ล้วน ๆ
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

อัคคิวัจฉโคตตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อวัจฉโคตร สูตรใหญ่
เรื่องกุศลธรรมและอกุศลธรรม

[๑๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าพระองค์เคยสนทนากับท่านพระโคดมเป็นเวลานานมาแล้ว ขอประทาน
วโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ข้าพระองค์
โดยย่อเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล
แก่ท่านโดยย่อก็ได้ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยพิสดาร
ก็ได้ แต่เราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยย่อ ท่านจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
วัจฉโคตรปริพาชก ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๙๔] “วัจฉะ โลภะเป็นอกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็น
กุศล โมหะเป็นอกุศล อโมหะเป็นกุศล รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี ๓ ประการ
ธรรมที่เป็นกุศลมี ๓ ประการ
ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เป็นอกุศล ปาณาติปาตา เวรมณี(การงดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์) เป็นกุศล
อทินนาทาน(การลักทรัพย์) เป็นอกุศล อทินนาทานา เวรมณี(การงดเว้นจาก
การลักทรัพย์) เป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เป็นอกุศล กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
(การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) เป็นกุศล
มุสาวาท(การพูดเท็จ) เป็นอกุศล มุสาวาทา เวรมณี(การงดเว้นจากการ
พูดเท็จ) เป็นกุศล
ปิสุณาวาจา(การพูดส่อเสียด) เป็นอกุศล ปิสุณาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดส่อเสียด) เป็นกุศล
ผรุสวาจา(การพูดคำหยาบ) เป็นอกุศล ผรุสาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดคำหยาบ) เป็นกุศล
สัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ) เป็นอกุศล สัมผัปปลาปา เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดเพ้อเจ้อ) เป็นกุศล
อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอกุศล อนภิชฌา(ความไม่
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นกุศล
พยาบาท(ความคิดร้าย) เป็นอกุศล อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นกุศล
มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) เป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) เป็นกุศล
รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี ๑๐ ประการ ธรรมที่เป็นกุศลมี ๑๐ ประการ
วัจฉะ เพราะภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ จึงเป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๒ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

พุทธบริษัทผู้ทำให้แจ้งวิมุตติ

[๑๙๕] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ยกเว้นท่านพระโคดม ภิกษุแม้รูป
หนึ่งผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๑ อันไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มิใช่มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป
ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณีแม้รูปหนึ่งผู้เป็นสาวิกาของท่าน
พระโคดม ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หรือ”
“ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มิใช่
มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป ความจริงแล้วมีอยู่
จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย อุบาสก
แม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มีอยู่หรือ”
“อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน
๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี อุบาสกแม้คนหนึ่ง
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท
หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลัก
คำสอนของพระศาสดา มีอยู่หรือ”
“อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม
ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความ
แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดา มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน
๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ยกเว้นอุบาสก
ทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม อุบาสิกาแม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวิกา
ของท่านพระโคดม ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี เป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น
ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มีอยู่หรือ”
“อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็น
เพื่อนพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน
๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ยกเว้นอุบาสก
ทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ยกเว้นพวกอุบาสิกาผู้เป็น
คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี อุบาสิกาแม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวิกา
ของท่านพระโคดมผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้อง
เชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดาของตน มีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

“วัจฉะ อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถาม
ใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดา มิใช่มีเพียง
๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมาก
ทีเดียว”

การบำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์

[๑๙๖] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถาม(ต่อไป)ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าท่าน
พระโคดมเท่านั้นได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ แต่พวกภิกษุจักไม่ได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดม
ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ แต่พวกภิกษุณีไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะ
ไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุ
ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
และทั้งพวกภิกษุณีก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจารี ไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์
เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจารี ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้
เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว
ห่มขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่
บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็น
คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะ
ไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ
ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น
พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์
เช่นนี้
แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

ห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น
พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้

วัจฉโคตรปริพาชกขอบรรพชา

[๑๙๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม แม่น้ำคงคามีแต่จะไหลหลั่งล้นไปสู่มหาสมุทร
รวมกันอยู่ในมหาสมุทร แม้ฉันใด บริษัทของท่านพระโคดมซึ่งมีทั้งคฤหัสถ์และ
บรรพชิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีแต่มุ่งไป ก้าวไป และดำเนินไปสู่นิพพาน บรรลุ
นิพพานอยู่ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา
อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑ ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว
เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคำนึง
ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เมื่อภิกษุทั้งหลายพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส
๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายพอใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบท
เป็นภิกษุเถิด”
วัจฉโคตรปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว

สมถวิปัสสนา

ท่านพระวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คืออุปสมบทได้กึ่งเดือน ก็ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผล ๓ เบื้องต่ำมีประมาณเท่าใดซึ่งบุคคลจะพึงบรรลุด้วย
ญาณของพระเสขะ และด้วยวิชชาของพระเสขะ๑ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว
ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรม ๒ ประการ คือ
(๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ธรรม ๒ ประการ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
นี้ซึ่งเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อรู้แจ้งธรรมธาตุหลายประการ

อภิญญา ๖

[๑๙๘] วัจฉะ เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรบรรลุอิทธิวิธญาณแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน
ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำ
ไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้
ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เมื่อมีเหตุ๑อยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้สามารถในอิทธิวิธญาณแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่างนั้นได้แน่ (๑)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียง
มนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในทิพพโสตธาตุได้แน่ (๒)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์ และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่ก็รู้ว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ๒(จิตถึงความเป็นใหญ่)ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่
เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า
‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้สามารถในเจโตปริยญาณนั้นได้แน่ (๓)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัป๑เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และ
มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในปุพเพนิวาสานุสสติญาณนั้น
ได้แน่ (๔)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด
พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒ แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์’ เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมอย่างนี้แล’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในจุตูปปาตญาณนั้นได้แน่ (๕)
วัจฉะ เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้นได้แน่” (๖)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

[๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระวัจฉโคตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกออกไปอยู่
คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑’
ท่านพระวัจฉโคตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
[๒๐๐] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระ
วัจฉโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึง
ที่อยู่ แล้วถามว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านกำลังจะไปไหนกัน”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พวกเราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค”
ท่านพระวัจฉโคตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจง
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูลอย่างนี้
ตามคำของกระผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อวัจฉโคตรขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าพระ
องค์ได้ปรนนิบัติ๒พระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติพระสุคตแล้ว”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวัจฉโคตร
ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอให้กราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติ
พระสุคตแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของภิกษุชื่อวัจฉ-
โคตรด้วยจิตของเราก่อนแล้วว่า ‘ภิกษุชื่อวัจฉโคตรเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก’ แม้เทวดาทั้งหลายก็บอกเนื้อความนี้แก่เราแล้วว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุชื่อวัจฉโคตรเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาวัจฉโคตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทีฆนขสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อทีฆนขะ

[๒๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสูกรขาตา ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อทีฆนขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง ข้าพระองค์มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ แม้ทิฏฐิของท่านที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น ก็ไม่น่าเป็นที่พอใจแก่ท่านด้วย”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ก็ยังพอใจทิฏฐินั้นว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็น
เช่นนั้น แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น”
“อัคคิเวสสนะ คนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น
แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น’ ในโลกนี้ คนเหล่านั้นละทิฏฐินั้นไม่ได้ และยังยึด
ถือทิฏฐิอื่นอยู่ คนเหล่านั้นมีจำนวนมากกว่าคนที่ละได้
คนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แม้คำกล่าวนั้น
ก็จะพึงเป็นเช่นนั้น’ ในโลกนี้ คนเหล่านั้นละทิฏฐินั้นได้ และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น คนเหล่านั้น
มีจำนวนน้อยกว่าคนที่ละไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่
พอใจแก่เรา’
มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’
มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่
พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา‘นั้น อยู่ใกล้ความกำหนัด ใกล้กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้
ใกล้กิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้กิเลสเป็นเหตุเกาะติด ใกล้กิเลสเป็นเหตุยึดมั่น
อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น อยู่ใกล้ความไม่กำหนัด ใกล้ธรรม
เป็นเครื่องเปลื้องสัตว์ ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
เกาะติด ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุยึดมั่น”
[๒๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดมยกย่องทิฏฐิของข้าพระองค์หรือ ท่านพระโคดม
ยกย่องทิฏฐิของข้าพระองค์หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณ-
พราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็น
ที่พอใจแก่เรา’ นั้น ส่วนที่เห็นว่าเป็นที่พอใจ อยู่ใกล้ความกำหนัด ใกล้กิเลสเป็น
เครื่องผูกสัตว์ไว้ ใกล้กิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้กิเลสเป็นเหตุเกาะติด ใกล้กิเลส
เป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่เป็นที่พอใจ อยู่ใกล้ความไม่กำหนัด ใกล้ธรรม
เป็นเครื่องเปลื้องสัตว์ ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
เกาะติด ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุยึดมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ถ้าเราจะ
ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยันอย่าง
แข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
ไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมี
การทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และการ
เบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้งทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๓] อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยัน
อย่างแข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมีการ
ทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

เบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้งทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๔] อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น
วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยันอย่างแข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมีการ
ทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และ
การเบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้ง
ทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๕] อัคคิเวสสนะ รูปกายนี้เกิดจากมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส มีความไม่เที่ยง มีการไล้ทาบีบนวด แตก
สลาย และกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่ง
เบียดเบียน เป็นดุจผู้อื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็น
ดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน เป็นดุจผู้อื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย
เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย
และความยอมตามกายได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

เวทนา ๓

เวทนา ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา

เมื่อใดบุคคลได้เสวยสุขเวทนา เมื่อนั้นเขาไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย
อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น เมื่อใดบุคคลเสวยทุกขเวทนา เมื่อนั้น
เขาไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น
เมื่อใดบุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อนั้น เขาย่อมไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวย
ทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น
สุขเวทนาไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็น
ธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็นธรรมดา
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายสุขเวทนา ทุกข-
เวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ย่อมไม่ทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกับใคร ๆ
โวหารใดที่ชาวโลกนิยมพูดกันก็ไม่ยึดมั่นกล่าวไปตามโวหารนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

[๒๐๖] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรยืนถวายงานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค ได้คิดว่า “ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้ยิ่งแล้ว ตรัสการละธรรม
เหล่านั้น ๆ แก่เราทั้งหลาย พระสุคตทรงรู้ยิ่งแล้ว ตรัสการสลัดทิ้งธรรมเหล่านั้น ๆ
แก่เราทั้งหลาย” เมื่อท่านพระสารีบุตรพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี และปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่ทีฆนข-
ปริพาชกว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ
ดับไปเป็นธรรมดา๑”

ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกเห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกในหลัก
คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด
ชีวิต” ดังนี้แล

ทีฆนขสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

๕. มาคัณฑิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะ

[๒๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเครื่องปูลาดซึ่งทำด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟ
ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ครั้นเวลาเช้า
พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังนิคมชื่อ
กัมมาสธัมมะ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จเข้าไปยังราวป่าแห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อน
กลางวัน ได้ประทับนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น ปริพาชกชื่อ
มาคัณฑิยะเดินเที่ยวเล่นอยู่ เข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้เห็น
เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้าในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร จึงถามว่า
“สหาย เครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าซึ่งปูลาดไว้ในโรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้
เป็นของใคร ดูเหมือนจะเป็นที่นอนของสมณะกระมัง”
ภารทวาชโคตรพราหมณ์ตอบว่า “ใช่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมผู้
เป็นศากยบุตรออกผนวชจากศากยะตระกูล ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงาม
ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ที่นอนนี้ปูลาดไว้สำหรับท่านพระโคดมนั้น”
“ท่านภารทวาชะ พวกเราผู้ที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้ทำลายความ
เจริญนั้น นับว่าได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคล”
“ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษา
วาจานี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดีผู้
เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี มีจำนวนมาก พากันเลื่อมใสท่านพระสมณ-
โคดมพระองค์นั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านพระสมณโคดมทรงแนะนำแต่ธรรมที่ทำให้
คนฉลาด รอบรู้ และเป็นอริยะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

“ท่านภารทวาชะ ถ้าเราเผชิญหน้ากับท่านพระโคดมนั้น เราก็กล้าพูดต่อหน้า
ท่านพระโคดมว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคำพูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของเรา”
“ท่านมาคัณฑิยะ ถ้าการกล่าวคำนั้น ไม่เป็นการหนักใจแก่ท่านมาคัณฑิยะละก็
ข้าพเจ้าจักกราบทูลพระสมณโคดมพระองค์นั้นให้ทรงทราบ”
“ท่านภารทวาชะ อย่ากังวลเลย เราได้พูดไว้แล้ว เชิญท่านพูดกับพระสมณ-
โคดมนั้นเถิด”
[๒๐๘] พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
กับมาคัณฑิยปริพาชกด้วยทิพพโสตอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มี
พระภาค ทรงออกจากที่หลีกเร้น๑ เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
ประทับนั่งบนเครื่องปูลาดซึ่งทำด้วยหญ้าที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น พราหมณ์ภาร-
ทวาชโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับพราหมณ์
ภารทวาชโคตรนั้นว่า “ภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องปูลาด
ซึ่งทำด้วยหญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภารทวาชโคตรพราหมณ์ถึงกับตะลึง
ขนลุก ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ปรารถนาที่จะกราบทูลเรื่องนี้แก่
ท่านพระโคดมอยู่แล้ว แต่ท่านพระโคดมได้ตรัสถามก่อนที่ข้าพระองค์จะได้กราบทูล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรสนทนากันค้างอยู่นั้น
มาคัณฑิยปริพาชกผู้กำลังเดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่โรงบูชาไฟ
ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับมาคัณฑิยปริพาชกว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

ตรัสถามมาคัณฑิยปริพาชกเรื่องการสำรวมอินทรีย์

[๒๐๙] “มาคัณฑิยะ ตามีรูปเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในรูป อันรูปให้บันเทิงแล้ว
ตานั้นตถาคตฝึกดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สำรวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคต
ย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น
มาคันฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ‘’ นั้น
ท่านคงจะหมายถึงความข้อนี้กระมัง”
มาคัณฑิยปริพาชกกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม คำที่ข้าพระองค์กล่าวว่า
‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำที่พูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของข้าพระองค์”
“มาคัณฑิยะ หูมีเสียงเป็นที่ยินดี ฯลฯ จมูกมีกลิ่นเป็นที่ยินดี ฯลฯ ลิ้นมีรส
เป็นที่ยินดี ฯลฯ กายมีการสัมผัสเป็นที่ยินดี ฯลฯ ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี
ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ให้บันเทิงแล้ว ใจนั้นตถาคตฝึกดีแล้ว
คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สำรวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อ
สำรวมใจนั้น
มาคัณฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ นั้น
ท่านคงจะหมายถึงความข้อนี้กระมัง”
“ท่านพระโคดม คำที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลาย
ความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำ
ที่พูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของข้าพระองค์”
[๒๑๐] “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้
เป็นผู้เคยได้รับการบำเรอด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในรูปได้ บรรเทา
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะรูปได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้เล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว”
“มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้เคยได้รับ
การบำเรอด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ
โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดโผฏฐัพพะให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหา
ในโผฏฐัพพะได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะโผฏฐัพพะได้ เป็นผู้ปราศจากความ
กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้เล่า”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว”
[๒๑๑] “มาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิ่บอิ่ม
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง
ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ
๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ปราสาทของเรานั้นมีอยู่ถึง ๓ หลัง คือ
๑. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน
๒. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว
๓. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน
เรานั้นไม่มีบุรุษเจือปน มีแต่สตรีคอยบำเรอขับกล่อมดนตรี อยู่ในปราสาทเป็นที่
อยู่ในฤดูฝนตลอด ๔ เดือน ไม่ได้ลงจากปราสาทเลย
สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เราเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่
ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราก็ไม่กระหยิ่มต่อสัตว์
เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย๑ อัน
เข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ๒และไม่ยินดีในความสุข
ขั้นต่ำนั้น

เปรียบเทียบกามของมนุษย์กับกามทิพย์

[๒๑๒] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่
ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ คหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่
ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตาย
แล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะพึงไปเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้น
มีหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณที่เป็นทิพย์
บำเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลกนั้น เทพบุตรนั้นได้เห็นคหบดีหรือบุตรของคหบดีผู้
อิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสร
แวดล้อม อยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอ
ตนอยู่ จะพึงกระหยิ่มต่อคหบดีหรือบุตรของคหบดีโน้น หรือต่อกามคุณ ๕ ประการ
ของมนุษย์ หรือจะเวียนกลับมาหากามของมนุษย์ไหม”
“ไม่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามที่เป็นทิพย์เป็นสิ่งที่น่าใคร่
ยิ่งกว่าและประณีตยิ่งกว่ากามของมนุษย์”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่
กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีในความ
สุขขั้นต่ำนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน

[๒๑๓] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว
พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น
พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย
มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ บุรุษนั้นเห็น
บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย
ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงกระหยิ่มต่อบุรุษ
ผู้เป็นโรคเรื้อนคนโน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกล้ำกลืนฝืนใช้ยา ใช่หรือไม่”
“ไม่ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่เกี่ยวกับ
การใช้ยาก็ต้องมี เมื่อหายโรค กิจที่เกี่ยวกับยาก็หมดไป”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง
ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ
บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่
กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีใน
ความสุขขั้นต่ำนั้น
[๒๑๔] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว
พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น
พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย
มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ ทีนั้น คนที่
แข็งแรง ๒ คนช่วยกันจับเขาที่แขนคนละข้าง ฉุดเขาให้เข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นต้องดิ้นรนไปมาข้างนี้
และข้างโน้น ใช่ไหม”
“ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความ
ร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก”
“มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นหรือ หรือว่าแม้
เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความเร่าร้อนมาก
เหมือนกัน”
“ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อน
มากทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความ
เร่าร้อนมากเหมือนกัน แต่บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง ถูกเชื้อโรค
คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ถูกโรคเรื้อนเบียดเบียนร่างกาย กลับเข้าใจ
ไฟซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นความสุข”
“มาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตก็มีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก ในอนาคต กามทั้งหลายก็มีสัมผัส
เป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบัน กามทั้งหลายก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

สัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิด
เพราะกามแผดเผาอยู่ มีอินทรีย์๑ถูกกามกำจัดแล้ว กลับเข้าใจกามซึ่งมีสัมผัสเป็น
ทุกข์ว่าเป็นความสุขไป
[๒๑๕] มาคัณฑิยะ บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรค
คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน บุรุษผู้เป็น
โรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกา
ปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อนด้วยประการใด ๆ ปากแผลเหล่านั้นของบุรุษผู้
เป็นโรคเรื้อนนั้นก็เป็นของไม่สะอาดมากขึ้น มีกลิ่นเหม็นมากขึ้น และเน่ามากขึ้น
ด้วยประการนั้น ๆ แต่เขาจะมีเพียงความยินดี และความพอใจอยู่บ้าง ก็เพราะการ
เกาปากแผลเท่านั้น แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกาม
แผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม
ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่
ด้วยประการใด ๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูก
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วยประการนั้น ๆ และเขาเหล่านั้นจะมี
ความยินดี และความพอใจอยู่บ้างก็เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนั่นเอง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้าง
ไหมว่า ‘พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
“ไม่ ท่านพระโคดม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

“ดีละ มาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราก็ไม่ได้เห็นมา ไม่ได้ฟังมาว่า ‘พระราชาหรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอ
ตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็น
ผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่’
มาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นผู้ปราศจาก
ความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่ เพราะสมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละกามตัณหาได้ บรรเทา
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
“ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม
ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม”
[๒๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระ
โคดมตรัสไว้ดีแล้วว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ข้าพระองค์ก็ได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลายในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็น
ปาจารย์ผู้กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ความข้อนั้นจึงสมกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

“มาคันทิยะ ข้อที่เธอได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลาย ในกาลก่อน ผู้เป็น
อาจารย์และเป็นปาจารย์ผู้กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ความไม่มีโรคนั้น เป็นอย่างไร
นิพพานนั้น เป็นอย่างไร”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือ
ลูบตัวเองแล้วกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้น
คืออันนี้ บัดนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข โรคอะไร ๆ มิได้เบียดเบียน
ข้าพระองค์”

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด

[๒๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอด
มาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปสีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด
ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ เขาได้ฟังจากคนมีตาดีผู้กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก
ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’
เขาจึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษผู้หนึ่งเอาผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันมาลวงคนตาบอด
มาแต่กำเนิดนั้นว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด
สะอ้าน เป็นของท่าน’
เขารับเอาผ้านั้นมาห่ม พูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงาม
ยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้านจริง ๆ’
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่
เห็นอยู่ จึงรับเอาผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันนั้นมาห่ม พลางพูดออกมาด้วยความดีใจ
ว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ หรือว่าเปล่งวาจา
แสดงความดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยปริพาชกทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้น
ไม่รู้ ไม่เห็นรับเอาผ้าเนื้อหยาบที่เปื้อนน้ำมันมาห่มพลางพูดออกมาด้วยความดีใจว่า
‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ เปล่งวาจาแสดงความ
ดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี”
“มาคัณฑิยะ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นคน
ตาบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าว
คาถานี้ได้ว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม
ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม’
[๒๑๘] บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ มาคัณฑิยะ กายนี้
เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน ท่านนั้น
กล่าวกายนี้ซึ่งเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่ง
เบียดเบียนว่า ‘ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ท่านไม่
มีอริยจักขุ๑ที่เป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค ที่เป็นเครื่องเห็นนิพพานได้”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรคและเห็นพระนิพพานได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เปรียบการแสดงธรรมกับการรักษาคนตาบอด

[๒๑๙] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป
สีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและ
ไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตของเขา ได้เชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้ชำนาญนั้น
ได้ประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยานั้นแต่ก็เห็นไม่ได้ ทำตาให้ใสไม่ได้ ท่านเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร แพทย์ผู้นั้นต้องมีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นมิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านพระโคดม”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า
‘ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้’ ท่านนั้นยังไม่รู้ความไม่มีโรค ยังไม่
เห็นนิพพาน มีแต่ทำให้เราเหน็ดเหนื่อยเปล่า ลำบากเปล่า”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรค และเห็นพระนิพพานได้”
[๒๒๐] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป
สีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและ
ไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แต่เขาได้ฟังจากคน
ตาดีผู้กล่าวว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’
คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้นเที่ยวแสวงหาผ้าขาว ชายคนหนึ่งเอาผ้าเนื้อหยาบ
เปื้อนน้ำมันมาลวงเขาว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด
สะอ้าน เป็นของท่าน’
เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญ
การผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้ชำนาญนั้นทำยาถอนให้ ทำยาถ่าย ยาหยอด ยาป้าย
และยานัตถุ์ให้ เขาอาศัยยานั้นจึงเห็นได้ ทำตาให้ใสได้ พร้อมกับมีตาดีขึ้น เขาย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

ละความพอใจและความยินดีในผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันผืนโน้น เขาจะพึงเบียดเบียน
บุรุษที่ลวงตนนั้น โดยความเป็นศัตรูเป็นข้าศึก และจะพึงสำคัญว่าควรปลงชีวิตบุรุษ
ที่ลวงตนนั้นด้วยความแค้นว่า ‘เราถูกบุรุษผู้นี้ล่อลวงให้หลงผิดด้วยผ้าเนื้อหยาบ
เปื้อนน้ำมันว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน
เป็นของท่าน’ แม้ฉันใด
มาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ‘ความ
ไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคือนี้’ ท่านนั้นจะพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็น
นิพพานได้ ท่านก็จะละความพอใจและความยินดีในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
พร้อมกับเกิดดวงตาคือปัญญาขึ้น อนึ่ง ท่านจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงผิดมานานแล้ว เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นเฉพาะรูป เฉพาะ
เวทนา เฉพาะสัญญา เฉพาะสังขาร และเฉพาะวิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะไม่เป็นคนตาบอดลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้”
[๒๒๑] “มาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบ
สัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อใดท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
เมื่อนั้นท่านก็จักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อใดท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อนั้นท่านก็จักรู้เอง เห็นเองว่า ‘โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับ
ไปได้โดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยะได้บรรพชาอุปสมบท

[๒๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ
ที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็น
รูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาคัณฑิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ
บรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน
ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ แต่เรา
ทราบความแตกต่างของบุคคลในเรื่องนี้”
มาคัณฑิยปริพาชก ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็น
อัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส
๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชา
อุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว
เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุเถิด”
มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ดังนี้แล

มาคัณฑิยสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

๖. สันทกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสันทกะ

[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้นแล
ปริพาชกชื่อสันทกะกับหมู่ปริพาชกประมาณ ๕๐๐ คน พร้อมด้วยปริพาชกบริษัท
หมู่ใหญ่อาศัยอยู่ ณ ถ้ำปิลักขะ(ถ้ำไม้มะเดื่อ) ครั้นเวลาเย็น ท่านพระอานนท์
ออกจากที่หลีกเร้น๑แล้วเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เราทั้งหลายจะเข้าไปยังบ่อน้ำฝนเซาะเพื่อจะดูถ้ำ”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก
ได้เข้าไปยังบ่อน้ำฝนเซาะ

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น สันทกปริพาชกกำลังนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลังสนทนา
ถึงดิรัจฉานกถา๒ต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่อง
มหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่อง
ที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี (เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความ
เจริญและความเสื่อมอย่างนั้น ๆ สันทกปริพาชกได้เห็นท่านพระอานนท์กำลังเดิน
มาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

“ท่านทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือสาวกของพระ
สมณโคดมชื่อว่าอานนท์กำลังเดินมา ท่านเป็นสาวกรูปหนึ่งบรรดาสาวกของพระ
สมณโคดมผู้อาศัยอยู่ ณ กรุงโกสัมพี ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา แนะนำให้พูดกัน
เบา ๆ กล่าวสรรเสริญเสียงเบา บางทีท่านอานนท์ทราบว่าบริษัทเสียงเบา ท่าน
อาจจะเข้ามาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง

พระอานนท์กล่าวธรรมีกถา

[๒๒๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาสันทกปริพาชกถึงที่อยู่ สันทก-
ปริพาชกจึงกล่าวเชื้อเชิญว่า “ท่านพระอานนท์ ขอเชิญท่านพระอานนท์เข้ามาเถิด
ขอต้อนรับ นาน ๆ ท่านพระอานนท์จะมีเวลามาที่นี้ ขอเชิญท่านพระอานนท์จง
นั่งเถิด อาสนะนี้ที่ปูลาดไว้แล้ว ขอรับ”
ท่านพระอานนท์จึงนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว แม้สันทกปริพาชกก็เลือกนั่ง
ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ท่านพระอานนท์ได้ถามสันทกปริพาชกว่า
“สันทกะ บัดนี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไรที่ท่าน
ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
“ท่านพระอานนท์ เรื่องที่ข้าพเจ้าทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในเวลานี้ขอ
งดไว้ก่อนเถิด เรื่องนั้นท่านพระอานนท์จักฟังได้ในภายหลังโดยไม่ยาก ดีละ ขอท่าน
พระอานนท์จงแสดงธรรมีกถาในลัทธิอาจารย์ของตนให้แจ่มแจ้งเถิด”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สันทกปริพาชกรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า “สันทกะ ลัทธิอัน
ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ลัทธินี้ และพรหมจรรย์ที่ไม่น่าไว้วางใจ ๔ ประการ
ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสไว้แล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ ลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติ
พรหมจรรย์ ๔ ลัทธิ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรม
ที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วนั้น เป็นอย่างไร”

ลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์

[๒๒๕] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ผู้มี
วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การ
เซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติ
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็
ไม่มีในโลก มนุษย์คือที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ เมื่อสิ้นชีวิต ธาตุดินไปตาม
ธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม
อินทรีย์ทั้งหลายย่อมแปรผันไปเป็นอากาสธาตุ มนุษย์มีเตียงนอนเป็นที่ ๕ นำศพไป๑
ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวง
สิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้น
ว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาดย่อมขาดสูญไม่เกิดอีก’
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า
ไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติ
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งก็
ไม่มีในโลก มนุษย์คือที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ เมื่อสิ้นชีวิต ธาตุดินไปตาม
ธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

อินทรีย์ทั้งหลายย่อมผันแปรไปเป็นอากาสธาตุ มนุษย์มีเตียงนอนเป็นที่ ๕ นำศพไป
ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวง
สิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้น
ว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาด ย่อมขาดสูญไม่
เกิดอีก’
ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็น
ผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง
ถอนผมและหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับ
บุตรภรรยา ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่อง
ลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ จึงเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ เรานั้น
รู้อะไร เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า
‘ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๒๖] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียด
เบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้
ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ใน
ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้
ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจาก
การให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม และจากการพูดคำสัตย์ ไม่มี
บุญมาถึงเขา’
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้
ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้
เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน
ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม และจากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็น
ผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับบุตรภรรยา
ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่ จึงเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร
เห็นอะไรอยู่จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้ไม่
ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๒๗] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความ
พยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง๑ ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖๒
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

มนุษย์ ไม่มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’
ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้
ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับบุตรภรรยา
ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่ จักเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร
เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้
ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ ๓ ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๒๘] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มี
ผู้ให้เนรมิต ยั่งยืนมั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร
ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ ๗ กอง อะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน ๒. กองแห่งธาตุน้ำ
๓. กองแห่งธาตุไฟ ๔. กองแห่งธาตุลม
๕. กองสุข ๖. กองทุกข์
๗. กองชีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน
มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ในสภาวะ ๗ กองนั้น
ไม่มีผู้ฆ่า ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่มีผู้ฟัง ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฟัง ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้ทำ
ให้คนอื่นรู้ ใครก็ตามแม้จะเอาศัสตราอันคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าปลงชีวิตใครได้
เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรกผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิด
ที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง๑
ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ๒ ๖ ปุริสภูมิ๓ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก
๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ๔ ๓๖
สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์๕ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗
สระ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ (ตาไม้ไผ่ ๗๐๐) เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗
สุบิน ๗๐๐ และมหากัป๖ ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยว
เวียนว่ายไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความสมหวังในความปรารถนาว่า ‘เรา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

จักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือสัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้
หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’ ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้
(จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน สังสารวัฏที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย
ด้วยอาการอย่างนี้’ ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นสูงหรือเลื่อน
ลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปได้เอง ฉะนั้น๑
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดาผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต
ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืนมั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร
ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ ๗ กอง อะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน ๒. กองแห่งธาตุน้ำ
๓. กองแห่งธาตุไฟ ๔. กองแห่งธาตุลม
๕. กองสุข ๖. กองทุกข์
๗. กองชีวะ

สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน
มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ในสภาวะ ๗ กองนั้น
ไม่มีผู้ฆ่า ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่มีผู้ฟัง ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฟัง ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้ทำให้
คนอื่นรู้ ใครก็ตามแม้จะเอาศัสตราอันคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าปลงชีวิตใครได้
เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรกผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิด
ที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง
ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖
สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗
สระ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ (ตาไม้ไผ่ ๗๐๐) เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗
สุบิน ๗๐๐ มหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียน
ว่ายไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความสมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจัก
อบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือสัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมด
สิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’ ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้
(จำนวนเท่านั้นเท่านี้)เหมือนตวงด้วยทะนาน สังสารวัฏที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลยด้วย
อาการอย่างนี้ ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นสูงหรือเลื่อนลงต่ำ
พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปได้เอง ฉะนั้น’
ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้
ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับบุตรภรรยา
ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่ จึงเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร
เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้’ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้
ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

สันทกะ ลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ๔ ลัทธินี้แล ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว”
“ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสลัทธิอันไม่ใช่การ
ประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ลัทธิ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศล
ธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ว่า เป็นลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์
ท่านพระอานนท์ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ ๔ ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่
ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วนั้น
เป็นอย่างไร”

พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ

[๒๒๙] “สันทกะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ตั้งตนเป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรม
ทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่
และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะย่อมปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ ศาสดานั้นเข้าไปยังเรือน
ว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง ถูกสุนัขกัดบ้าง พบช้างดุบ้าง พบม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง
ถามถึงชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ถามถึงชื่อและหนทางแห่งบ้านบ้าง
แห่งนิคมบ้าง เมื่อถูกถามว่า ‘นี่อะไร’ ก็ตอบว่า ‘เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เรา
จำเป็นต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุที่เราไม่ควรได้ เรายังเป็นผู้ถูกสุนัขกัด
ด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบช้างดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตุที่ควรพบ
เราพบโคดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้าง
ด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อและหนทางแห่งบ้านบ้าง แห่งนิคมบ้างด้วยเหตุ
ที่ควรถาม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดานี้
ซึ่งตั้งตนเป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า
‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะย่อมปรากฏต่อเนื่อง
ตลอดไป’ ศาสดานั้นเข้าไปยังเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง ถูกสุนัขกัดบ้าง พบ
ช้างดุบ้าง พบม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง ถามถึงชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้าง
ถามถึงชื่อและหนทางแห่งบ้านบ้าง แห่งนิคมบ้าง ศาสดานั้นเมื่อถูกถามว่า ‘นี่อะไร’
ก็ตอบว่า ‘เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจำต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุ
ที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบช้างดุด้วยเหตุ
ที่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบโคดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึง
ชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้างด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อและ
หนทางแห่งบ้านบ้าง แห่งนิคมบ้างด้วยเหตุที่ควรถาม’ วิญญูชนรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้
เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๓๐] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เชื่อถือการ
ฟังตามกันมา เป็นผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟังตามกันมา ศาสดานั้นจึงแสดงธรรม
ด้วยการฟังตามกันมา ด้วยการถือสืบ ๆ กันมาว่าอย่างนั้น ๆ และด้วยการอ้าง
ตำราหรือคัมภีร์ ศาสดาผู้เชื่อถือด้วยการฟังตามกันมา ผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟัง
ตามกันมา ย่อมมีการฟังถูกบ้าง ฟังผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง
ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดานี้
เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกันมา เป็นผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟังตามกันมา ท่านศาสดานั้น
จึงแสดงธรรมด้วยการฟังตามกันมา ด้วยการถือสืบ ๆ กันมาว่าอย่างนั้น ๆ และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกันมา เชื่อว่าจริง
ด้วยการฟังตามกันมา ย่อมมีการฟังถูกบ้าง การฟังผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง
เป็นอย่างอื่นบ้าง’ วิญญูชนนั้น รู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ไม่น่า
วางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๓๑] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นนักตรรกะ๑
เป็นนักอภิปรัชญา๒ ศาสดานั้นจึงแสดงธรรมตามปฏิภาณของตน ตามหลักเหตุผล
และการคาดคะเนความจริง ศาสดาผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา ก็ย่อม
มีการใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง
ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ศาสดานี้
เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา ศาสดานั้นย่อมแสดงธรรมตามปฏิภาณของตน
ตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริง ศาสดาผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนัก
อภิปรัชญา ก็ย่อมมีการใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง
เป็นอย่างอื่นบ้าง’ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ไม่น่า
วางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๓ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๓๒] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นคนเขลา งมงาย
เพราะเป็นคนเขลา งมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูกถามปัญหาอย่างนั้น ๆ ย่อมพูดแบ่งรับ
แบ่งสู้ คือตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ‘ความเห็นของเราว่าอย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่
อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ก็ไม่ใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็ไม่ใช่’
ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดานี้
เป็นคนเขลา งมงาย’ เพราะเป็นคนเขลางมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูกถามปัญหา
อย่างนั้น ๆ ย่อมพูดแบ่งรับแบ่งสู้ คือตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ‘ความเห็นของเรา
ว่าอย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ก็ไม่ใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็ไม่ใช่’
วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ’ ย่อมเบื่อหน่าย
หลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรม
ที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ๔ ประการนี้แลที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว”
สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ ๔ ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่อ
อยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ว่า ‘เป็นพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ’
ท่านพระอานนท์ ศาสดานั้นมักกล่าวกันอย่างไร บอกกันอย่างไร ในพรหมจรรย์
ที่วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

พรหมจรรย์ที่ควรประพฤติ

[๒๓๓] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมา
ในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ เป็นเครื่องทอนกำลัง
ปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุผู้มีอุเบกขา บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ
บ้าง ฯลฯ๑ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้
สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการอย่างนี้ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้
อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป’
สันทกะ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชน
พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูก
ต้องให้สำเร็จได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

พระอรหันตขีณาสพไม่ละเมิดฐานะ ๕

[๒๓๔] สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้น จะยังบริโภคกามอยู่อีกหรือ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้
ไม่สามารถละเมิดฐานะ ๕ ประการ คือ
๑. เป็นผู้ไม่สามารถแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
๒. เป็นผู้ไม่สามารถถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ อันเป็นส่วนแห่ง
ความเป็นขโมย
๓. เป็นผู้ไม่สามารถเสพเมถุนธรรม
๔. เป็นผู้ไม่สามารถกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
๕. เป็นผู้ไม่สั่งสมบริโภคกามทั้งหลายเหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน
สันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ไม่สามารถละเมิดฐานะ ๕ ประการนี้”

ญาณทัสสนะของพระอรหันตขีณาสพ

[๒๓๕] “ท่านพระอานนท์ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเดินไปอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่
และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะว่า ‘อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว’ จะปรากฏต่อเนื่อง
ตลอดไปไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

“สันทกะ ถ้าเช่นนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ย่อมรู้ทั่ว
ถึงเนื้อความแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนคนที่มีมือและเท้าขาดไป เมื่อคน
นั้นเดินไปอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ก็รู้เสมอต่อเนื่องว่า ‘มือและเท้าของเรา
ขาดแล้ว’ หรือเมื่อเขาพิจารณาเหตุนั้นอยู่ก็รู้ว่า ‘มือและเท้าของเราขาดแล้ว’ หรือ”
“ท่านพระอานนท์ คนนั้นย่อมไม่รู้เสมอต่อเนื่องว่า ‘มือและเท้าของเรา
ขาดแล้ว’ แต่เขาพิจารณาเหตุนั้นแล้วจึงรู้ว่า ‘มือและเท้าของเราขาดแล้ว”
“สันทกะ ภิกษุนั้นก็อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เมื่อเธอเดินไปอยู่
หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะว่า ‘อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว’
ก็ไม่ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป แต่เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเหตุนั้นอยู่จึงรู้ว่า ‘อาสวะทั้งหลาย
ของเราสิ้นไปแล้ว”
[๒๓๖] สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ ในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุ
กำจัดกิเลสและกองทุกข์ให้ออกไปได้มีจำนวนมากเพียงไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ ในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้กำจัดกิเลสและ
กองทุกข์ให้ออกไปได้ มิใช่มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป
ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
สันทกปริพาชกกล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ในพระธรรมวินัยนี้ไม่ได้มีการยกย่องธรรมของตน และไม่มีการติเตียนธรรมของ
ผู้อื่น มีแต่การแสดงธรรมตามเหตุผลเท่านั้น แต่ก็ปรากฏว่ามีผู้กำจัดกิเลสและ
กองทุกข์ได้มากมายถึงเพียงนั้น ส่วนอาชีวกเหล่านี้ชื่อว่าเป็นบุตรของมารดาผู้มีบุตร
ตายแล้ว ยกย่องแต่ตนและติเตียนคนอื่นเท่านั้น กลับปรากฏว่ามีผู้กำจัดกิเลสและ
กองทุกข์ได้เพียง ๓ คน คือ (๑) นันทะ วัจฉะ (๒) กิสะ สังกิจจะ (๓) มักขลิ โคสาล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ลำดับนั้น สันทกปริพาชกเรียกบริษัทของตนมากล่าวว่า “พ่อผู้เจริญทั้งหลาย
จงประพฤติพรหมจรรย์กันเถิด การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมย่อม
มีผล แต่บัดนี้ เราทั้งหลายจะสละลาภสักการะและความสรรเสริญนั้นไม่ใช่เป็นของ
ทำได้ง่าย”
สันทกปริพาชกได้ส่งบริษัทของตนไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาค
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล

สันทกสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหาสกุลุทายิสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสกุลุทายี สูตรใหญ่

[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก คือ ปริพาชกชื่อ
อันนภาระ ปริพาชกชื่อวรตระ ปริพาชกชื่อสกุลุทายี และปริพาชกเหล่าอื่นล้วนมี
ชื่อเสียง อาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ครั้นเวลาเช้า
พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุง
ราชคฤห์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า
“ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในเขตกรุงราชคฤห์ ทางที่ดี เราควรเข้าไป
หาสกุลุทายีปริพาชก จนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปยังอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อ
แก่นกยูง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น สกุลุทายีปริพาชกกำลังนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลัง
สนทนาถึงดิรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่อง
นิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี (เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่อง
ตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่อง
ความเจริญและความเสื่อมอย่างนั้น ๆ สกุลุทายีปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง พระสมณโคดม
กำลังเสด็จมา พระองค์โปรดเสียงเบา ทรงแนะนำให้พูดกันเบา ๆ ตรัสสรรเสริญคุณ
ของคนที่พูดเสียงเบา บางทีพระองค์ทรงทราบว่า บริษัทเสียงเบา พระองค์อาจจะ
เสด็จเข้ามาหาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จ
เข้าไปหาสกุลุทายีปริพาชกถึงที่อยู่ สกุลุทายีปริพาชกทูลเชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้ามาเถิด ขอต้อนรับ
เสด็จ นาน ๆ พระองค์จะมีเวลาเสด็จมาที่นี้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด
อาสนะนี้ปูลาดไว้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว แม้สกุลุทายีปริพาชก
ก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามสกุลุทายี-
ปริพาชกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เรื่องการทำความเคารพ

[๒๓๘] “อุทายี บัดนี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
เรื่องอะไรที่ท่านทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
สกุลุทายีปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่ข้าพระองค์
ทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในเวลานี้ ของดไว้ก่อนเถิด เรื่องนี้พระผู้มีพระภาค
จะทรงสดับได้ในภายหลังโดยไม่ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อน ๆ พวกสมณ-
พราหมณ์ผู้มีลัทธิต่างกันได้มาชุมนุมกันที่ศาลาถกแถลง๑ ได้สนทนากันถึงเรื่องนี้ว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภ๒ของชาวอังคะและชาวมคธหนอ ชาวอังคะและ
ชาวมคธได้ดีแล้วหนอ ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้
มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี
เข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์แล้ว คือ ปูรณะ กัสสปะ๓ ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ
เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกัน
ว่าเป็นคนดี เข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์แล้ว มักขลิ โคสาล๔ ... อชิตะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เกสกัมพล๑ ... ปกุธะ กัจจายนะ๒ ... สัญชัย เวลัฏฐบุตร๓ ... นิครนถ์ นาฏบุตร๔
ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ
คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี รวมทั้งพระสมณโคดมแม้นี้ ผู้เป็นเจ้าหมู่
เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมาก
ยกย่องกันว่าเป็นคนดี พระองค์ก็เสด็จเข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์เหมือนกัน
บรรดาท่านสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง
มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดีนี้ ใครเล่าหนอที่
สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว
อาศัยใครเล่าอยู่’

เรื่องศิษย์ไม่เคารพครูทั้ง ๖

[๒๓๙] ในที่ประชุมนั้น สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ครูปูรณะ
กัสสปะนี้ถึงจะเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ
เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี แต่สาวกทั้งหลายก็ไม่ยอม
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัย
ครูปูรณะ กัสสปะอยู่
เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณะ กัสสปะแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกคนหนึ่งของครูปูรณะ กัสสปะได้ส่งเสียงขึ้นว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถาม
เนื้อความนี้กับครูปูรณะ กัสสปะเลย ครูปูรณะ กัสสปะนี้ไม่รู้เนื้อความนี้ พวกเราสิ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

จึงจะรู้เนื้อความนี้ พวกท่านจงถามเนื้อความนี้กับพวกเราเถิด พวกเราจักอธิบายให้
ท่านฟัง’ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณะ กัสสปะยกมือทั้งสองขึ้น แล้วกล่าวขอร้องว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงไปเลย ท่านพวกนี้จะถาม
พวกท่านไม่ได้ แต่ถามเราได้ เราจักอธิบายให้ท่านพวกนี้ฟัง’ ก็ห้ามไม่ได้
อนึ่ง สาวกของครูปูรณะ กัสสปะเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ‘ท่านไม่รู้ทั่ว
ถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด
แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่
ควรพูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่
ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว
ถ้าท่านมีความสามารถก็จงหาทางแก้ไขคำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด’ แล้วพา
กันหลีกไป พวกสาวกไม่ยอมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาครูปูรณะ กัสสปะด้วย
อาการอย่างนี้ และสาวกทั้งหลาย ไม่สักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูปูรณะ
กัสสปะอยู่ ครูปูรณะ กัสสปะก็ไม่โกรธ เพราะเป็นการตำหนิที่ชอบธรรม’
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ครูมักขลิ โคสาลนี้...ครูอชิตะ
เกสกัมพล... ครูปกุธะ กัจจายนะ... ครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร... ครูนิครนถ์ นาฏบุตร
ถึงจะเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นคนมีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้า
ลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี แต่สาวกทั้งหลายไม่ยอมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูนิครนถ์
นาฏบุตรอยู่
เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกคนหนึ่งของครูนิครนถ์ นาฏบุตรได้ส่งเสียงขึ้นว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถาม
เนื้อความนี้กับครูนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ครูนิครนถ์ นาฏบุตรนี้ไม่รู้เนื้อความนี้
พวกเราสิจึงจะรู้เนื้อความนี้ พวกท่านจงถามเนื้อความนี้กับเราเถิด เราจะอธิบาย
เนื้อความนี้ให้ท่านฟัง’ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์ นาฏบุตรยกมือทั้งสองขึ้น
แล้วกล่าวขอร้องว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงไปเลย
ท่านพวกนี้จะถามพวกท่านไม่ได้ แต่ถามเราได้ เราจักอธิบายให้ท่านพวกนี้ฟัง’
ก็ห้ามไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อนึ่ง สาวกของครูนิครนถ์ นาฏบุตรเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ‘ท่านไม่รู้
ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด
แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควร
พูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่ท่าน
เคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่าน
มีความสามารถก็จงหาทางแก้ไขคำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด’ แล้วพากัน
หลีกไป พวกสาวกไม่ยอมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาครูนิครนถ์ นาฏบุตร
ด้วยอาการอย่างนี้ และสาวกทั้งหลาย ไม่สักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูนิครนถ์
นาฏบุตรอยู่ ครูนิครนถ์ นาฏบุตรก็ไม่โกรธ เพราะเป็นการตำหนิที่ชอบธรรม’

ความเคารพในพระพุทธเจ้า

[๒๔๐] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมพระองค์นี้
ทรงเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ทรงเป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ
คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
พระองค์ นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระองค์อยู่
เรื่องเคยมีมาแล้ว พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกของพระสมณโคดมรูปหนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งใช้เข่าสะกิดเตือน
ให้รู้ว่า ‘ท่านจงเงียบเสียง อย่าส่งเสียงดังไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของเรา
ทั้งหลายกำลังแสดงธรรม’ ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย
จะไม่มีเสียงจาม หรือเสียงไอของสาวกของพระสมณโคดมเลย หมู่มหาชนมุ่งหวัง
ที่จะฟังธรรมนั้นว่า ‘เราทั้งหลายจักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พวกเรา’ บุรุษ
บีบรังผึ้งซึ่งปราศจากตัวอ่อน ที่สี่แยกทางหลวง หมู่มหาชนก็มุ่งหวังที่จะได้น้ำผึ้งนั้น
แม้ฉันใด ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จะไม่มีเสียงจาม หรือเสียงไอของสาวกของพระสมณโคดมเลย หมู่มหาชน
มุ่งหวังที่จะฟังธรรมนั้นว่า ‘เราทั้งหลายจักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคจักตรัสแก่พวกเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

แม้สาวกของพระสมณโคดมผู้บาดหมางกับเพื่อนพรหมจารีแล้วลาสิกขาออกไป
เป็นคฤหัสถ์ ก็ยังกล่าวสรรเสริญพระศาสดา กล่าวสรรเสริญพระธรรม และกล่าว
สรรเสริญพระสงฆ์ ไม่ติเตียนผู้อื่น ติเตียนเฉพาะตนเองว่า ‘ถึงพวกเราจักได้มาบวช
ในพระธรรมวินัยนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ แต่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตได้ เป็นคนไม่มีบุญ มีบุญน้อยเสียแล้ว’
สาวกของพระสมณโคดมเหล่านั้นจะเป็นอารามิกชนก็ดี เป็นอุบาสกก็ดี ก็ยัง
สมาทานประพฤติสิกขาบท ๕ ประการ สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ
บูชาพระสมณโคดมด้วยอาการอย่างนี้ นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
พระสมณโคดมอยู่”

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพ ๕ ประการ

[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี เธอพิจารณาเห็นธรรมกี่ประการ
ที่มีอยู่ในเรา ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่”
สกุลุทายีปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณา
เห็นธรรม ๕ ประการในพระผู้มีพระภาค ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
พระผู้มีพระภาคอยู่

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญ
ความเป็นผู้มีอาหารน้อย ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มี
พระภาคเป็นประการที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพ
แล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๒. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษ๑ด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ข้าพระองค์พิจารณา
เห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวก
ทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่
๓. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรง
กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ข้าพระองค์
พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ
ให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค
นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่
๔. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรง
กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ข้าพระองค์
พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๔ ซึ่งเป็นเหตุ
ให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค
นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่
๕. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้สงัด๒และทรงกล่าวสรรเสริญความสงัด
ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มี
พระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรม ๕ ประการนี้แล ที่มีอยู่
ในพระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่”
[๒๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจ
ดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญความเป็น
ผู้มีอาหารน้อย’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราฉันอาหารเพียง ๑ โกสะ๑ก็มี เพียงครึ่ง
โกสะก็มี เพียงเท่าผลมะตูมก็มี เพียงครึ่งผลมะตูมก็มี ส่วนเราสิบางครั้งฉันอาหาร
เสมอขอบปากบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า
‘พระสมณโคดมเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มี
อาหารน้อย’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ฉันอาหารเพียง ๑ โกสะบ้าง เพียงครึ่ง
โกสะบ้าง เพียงเท่าผลมะตูมบ้าง เพียงครึ่งผลมะตูมบ้าง ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๑)
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ
เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวร
ตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้’ อนึ่ง
สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ทั้งครองจีวรเศร้าหมองด้วย
เธอเหล่านั้นเลือกเก็บผ้าที่ไม่มีชายจากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากร้าน
ตลาดบ้าง นำมาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ก็มี ส่วนเราสิบางคราวก็ใช้คหบดีจีวรเนื้อแน่น
เย็บด้วยเส้นด้ายเหนียว เส้นด้ายละเอียดเช่นกับขนน้ำเต้า ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็อาศัยเราอยู่ด้วยเข้า
ใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง เลือกเก็บผ้าที่ไม่มีชายจากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง
จากร้านตลาดบ้าง มาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ
บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๒)
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ
เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วย
บิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี
ตามได้’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาต
ตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในวัตรคือการรับภัตตาหารทั้งดีทั้งเลว เธอเหล่านั้น
เมื่อเข้าไปถึงละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ส่วนเราสิ
บางครั้งก็ฉันในที่นิมนต์ แต่ล้วนเป็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เขานำกากออกแล้ว มีแกง
และกับหลายอย่าง ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา
นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดม
ทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วย
บิณฑบาตตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการเที่ยว
บิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในวัตรคือการรับภัตตาหารทั้งดีทั้งเลว
เมื่อเข้าไปยังละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ก็คงจะไม่สักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๓)
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ
เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วย
เสนาสนะตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้’
อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
เธอเหล่านั้นไม่เข้าไปที่มุงตลอด ๘ เดือน ส่วนเราสิบางครั้งอยู่ในเรือนยอดที่ฉาบทา
ทั้งข้างในและข้างนอก ลมเข้าไม่ได้ มีลิ่มชิดสนิทดี มีหน้าต่างเปิดปิดได้ ถ้าสาวก
ทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงยินดีด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ที่ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตรไม่เข้าไปที่มุงตลอด
๘ เดือน ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๔)
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ
เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรง
กล่าวสรรเสริญความสงัด’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ถือเสนาสนะอันสงัดคือป่าชัฏอยู่ เธอเหล่านั้นย่อมมาประชุมท่ามกลางสงฆ์เฉพาะ
เวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ส่วนเราสิบางคราวก็มากไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพ
แล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรงกล่าว
สรรเสริญความสงัด’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะ
อันสงัดคือป่าชัฏอยู่ ย่อมมาประชุมท่ามกลางสงฆ์เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน
ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๕)
อุทายี สาวกทั้งหลายย่อมไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราแล้วอาศัยเราอยู่
โดยธรรม ๕ ประการนี้ ด้วยอาการอย่างนี้

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพประการอื่น ๆ

[๒๔๓] อุทายี มีธรรม ๕ ประการอื่นอีกซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้
๑. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา) ในอธิศีล๑ว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยสีลขันธ์อย่างยิ่ง’ การที่สาวกทั้งหลายของ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เราสรรเสริญ(เรา) ในอธิศีลว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบ
ด้วยสีลขันธ์อย่างยิ่ง’ นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้
สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
[๒๔๔] ๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา) ในญาณทัสสนะ๑อันยอด
เยี่ยมว่า ‘พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า ‘เรารู้’ เมื่อทรงเห็น
เองก็ตรัสว่า ‘เราเห็น’ ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดง
เพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ
ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์’ การที่
สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญ(เรา)ในญาณทัสสนะอันยอดเยี่ยม
ว่า ‘พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า ‘เรารู้’ เมื่อทรงเห็นเองก็
ตรัสว่า ‘เราเห็น’ ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อ
ความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ
ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์’ นี้แล
เป็นธรรมประการที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
เราอยู่
[๒๔๕] ๓. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญา๒ว่า ‘พระสมณ-
โคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง
เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณโคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง
หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการ
ถูกต้อง มีเหตุผลดี’ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มีบ้างไหม
ที่สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จะพึงพูดสอดขึ้นมา”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

“อุทายี เราไม่หวังการพร่ำสอนจากสาวกทั้งหลาย ที่แท้สาวกทั้งหลาย
ย่อมหวังการพร่ำสอนจากเราเท่านั้น การที่สาวกทั้งหลายของเรา
ย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญาว่า ‘พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา
ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณ-
โคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้
เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการถูกต้อง มีเหตุผลดี’ นี้แล
เป็นธรรมประการที่ ๓ ซึ่ง เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
[๒๔๖] ๔. สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว
เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจนั้น
เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่า
นั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเรา
แล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดี
แช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา การที่สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์
ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้วเพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้า
มาหาเราแล้ว ถามถึงทุกขอริยสัจนั้น เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึง
ทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการ
ตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ
ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้วก็ตอบได้
เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา นี้แล
เป็นธรรมประการที่ ๔ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
เราอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

[๒๔๗] ๕. เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติ
ตามย่อมเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี๑อยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ๒ พยายาม ปรารภความเพียร๓ ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม๔ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑(สมาธิที่เกิดจาก
ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด
จากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
เพราะเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญพละ(ธรรมอันเป็นกำลัง) ๕ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
๒. เจริญวิริยพละ ฯลฯ
๓. เจริญสติพละ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละ ที่จะให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
เพราะเจริญพละ ๕ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด
แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญโพชฌงค์(องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๓. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
เพราะเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ๒. เจริญสัมมาสังกัปปะ
๓. เจริญสัมมาวาจา ๔. เจริญสัมมากัมมันตะ
๕. เจริญสัมมาอาชีวะ ๖. เจริญสัมมาวายามะ
๗. เจริญสัมมาสติ ๘. เจริญสัมมาสมาธิ

เพราะเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
[๒๔๘] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญวิโมกข์(ธรรมเครื่องหลุดพ้น) ๘ ประการ๑ คือ
๑. สาวกผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑
๒. สาวกผู้มีอรูปสัญญาภายในเห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๒
๓. สาวกน้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓
๔. สาวกบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๕. สาวกล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕
๖. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๖
๗. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗
๘. สาวกล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘
เพราะเจริญวิโมกข์ ๘ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด
แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
[๒๔๙] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญอภิภายตนะ๑ ๘ ประการ คือ
๑. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒ เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑
๒. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๓. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑ เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓
๔. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔
๕. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว
มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ดอกผักตบที่เขียว มีสี
เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอัน
มีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว
มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วย
ของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕
๖. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ดอกกรรณิการ์ที่
เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม หรือผ้า
เมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมี
อรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่
เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำ
รูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะ
ประการที่ ๖


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๗. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสี
แดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ดอกชบาที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง และมีสีแดงเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ
ละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม
แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป
ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม
ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะประการที่ ๗
๘. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกสีขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ดาวประกายพรึกที่ขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว และมีสีขาวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสี
อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว
มีสีขาวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย
ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘
เพราะเจริญอภิภายตนะ ๘ ประการนั้นแล๑ สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี๒อยู่
[๒๕๐] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก
ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามเจริญกสิณายตนะ๓ (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์)
๑๐ ประการ คือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๑. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน) เบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
๒. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ(กสิณคือน้ำ) ฯลฯ
๓. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ(กสิณคือไฟ) ฯลฯ
๔. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ(กสิณคือลม) ฯลฯ
๕. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ(กสิณคือสีเขียว) ฯลฯ
๖. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ(กสิณคือสีเหลือง) ฯลฯ
๗. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ(กสิณคือสีแดง) ฯลฯ
๘. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ(กสิณคือสีขาว) ฯลฯ
๙. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ(กสิณคือที่ว่างเปล่า) ฯลฯ
๑๐. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณ(กสิณคือวิญญาณ) เบื้องบน
เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
เพราะเจริญกสิณายตนะ ๑๐ ประการนั้นเแล๑ สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

ฌาน ๔

[๒๕๑] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญฌาน ๔ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของ
ร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง พนักงานสรงสนาน
หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ชำนาญ เทผงถูตัวลงในภาชนะสัมฤทธิ์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

แล้วเอาน้ำประพรมให้ติดเป็นก้อน พอตกเย็นก้อนถูตัวที่ยางซึมไปจับ
ก็ติดกันหมด ไม่กระจายออก แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึก
ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
จะไม่ถูกต้อง
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอ
ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิรู้สึก
ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
จะไม่ถูกต้อง ห้วงน้ำลึก เป็นวังวน ไม่มีทางที่กระแสน้ำจะไหล
เข้าได้ ทั้งด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และด้านใต้
ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล แต่กระแสน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้วทำ
ห้วงน้ำนั้นให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ เนืองนองไปด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหน
ของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจาก
สมาธิรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิด
จากสมาธิจะไม่ถูกต้อง
๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกายบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ
ด้วยสุขอันไม่มีปีติรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุข
อันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง ในกอบัวเขียว(อุบล) กอบัวหลวง(ปทุม)
หรือกอบัวขาว(บุณฑริก) ดอกบัวเขียว ดอกบัวหลวงหรือดอกบัว
ขาวบางเหล่าที่เกิด เจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำ
หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้ง
แต่ยอดถึงเหง้า ไม่มีส่วนไหนของดอกบัวเขียวดอกบัวหลวง หรือ
ดอกบัวขาวทั่วทุกดอก ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยสุขอันไม่มีปีติรู้สึก
ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่งแผ่ไป
ทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
ถูกต้อง บุรุษนั่งใช้ผ้าขาวคลุมตัวตลอดศีรษะ ไม่มีส่วนไหนของร่าง
กายที่ผ้าขาวจะไม่ปกคลุม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกาย
ที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเจริญฌาน ๔ ประการนั้นแล สาวก
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

วิชชา ๘ ประการ
๑. วิปัสสนาญาณ

[๒๕๒] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่างประกอบขึ้นจาก
มหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้
ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเรา
อาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’ แก้วไพฑูรย์อันงดงาม ตามธรรมชาติมีแปดเหลี่ยม
ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน คนตาถึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า
‘แก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใส เป็น
ประกายได้สัดส่วนมีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’
ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอก
ข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตก
กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้ชัดอย่างนี้นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๒. มโนมยิทธิญาณ

[๒๕๓] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะครบถ้วน
มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนคนชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาเห็นอย่างนี้ว่า
‘นี้คือหญ้าปล้อง นี้คือไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ไส้ถูก
ชักออกมาจากหญ้าปล้องนั่นเอง’
คนชักดาบออกจากฝัก เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คือดาบ นี้คือฝัก ดาบเป็น
อย่างหนึ่ง ฝักก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ดาบถูกชักออกมาจากฝักนั่นเอง’
หรือคนดึงงูออกจากคราบ เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คืองู นี้คือคราบ งูเป็นอย่างหนึ่ง
คราบก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่งูถูกดึงออกจากคราบนั่นเอง’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม
ข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ได้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเนรมิตกายนั้นแล สาวกทั้งหลายของ
เราเป็นอันมากจึงบรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๓. อิทธิวิธญาณ

[๒๕๔] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง
(และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือน
ไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะ
ไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์
มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือน
ช่างหม้อหรือลูกมือช่างหม้อผู้ชำนาญ เมื่อนวดดินเหนียวดีแล้วพึงทำภาชนะที่ต้องการ
ให้สำเร็จได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ช่างงาหรือลูกมือช่างงาผู้ชำนาญ เมื่อแต่งงาดีแล้ว พึงทำเครื่องงาชนิดที่
ต้องการให้สำเร็จได้
ช่างทองหรือลูกมือช่างทองผู้ชำนาญ เมื่อหลอมทองดีแล้ว พึงทำทอง
รูปพรรณชนิดที่ต้องการให้สำเร็จได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อ
ปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้ว
ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง
เป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไป
ได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ
เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพ
มากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วแสดงฤทธิ์นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงบรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๔. ทิพพโสตธาตุญาณ

[๒๕๕] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ คนเป่าสังข์ที่แข็งแรง จะพึงยังคน
ให้รู้ตลอดทิศทั้ง ๔ โดยไม่ยาก แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติ
แก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วได้ยินเสียง ๒ ชนิดนั้นแล สาวกทั้งหลาย
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๕. เจโตปริยญาณ

[๒๕๖] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่ก็รู้ว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ่งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ๑ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่
เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า
‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
ชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกใสสะอาด
หรือในภาชนะน้ำใส หน้ามีไฝฝ้าก็รู้ว่า มีไฝฝ้า หรือไม่มีไฝฝ้าก็รู้ว่า ไม่มีไฝฝ้า
แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์ และคนอื่นด้วย
จิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะ ... หรือจิตปราศจากโมหะ ...
จิตหดหู่ ... หรือจิตฟุ้งซ่าน ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

จิตเป็นมหัคคตะ ... หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ...
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ...
จิตเป็นสมาธิ ... หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ...
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้จิตผู้อื่นนั้นแล สาวกของเราเป็นอัน
มากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

[๒๕๗] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัป๑เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี
อายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ คนจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจาก
บ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก เขาจากบ้านนั้นกลับมายังบ้านเดิมของตนระลึกได้อย่างนี้ว่า
‘เราได้จากบ้านตนไปบ้านอื่น ในบ้านนั้น เราได้ยืน นั่ง พูด นิ่งเฉยอย่างนั้น ๆ
เราได้จากแม้บ้านนั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืน นั่ง พูด นิ่งเฉย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อย่างนั้น ๆ แล้วกลับจากบ้านนั้นมายังบ้านเดิมของตน’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม
ข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ
บ้าง ฯลฯ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วระลึกชาติได้นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๗. ทิพพจักขุญาณ

[๒๕๘] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้
เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา
หลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมอย่างนี้แล เรือน ๒ หลังที่ใช้ประตูร่วมกัน คนตาดียืนอยู่ระหว่าง
เรือน ๒ หลังนั้น เห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง ออกจากเรือนบ้าง เดินรอบ ๆ บ้าง
แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ๑
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเห็นสัตว์กำลังจุติ กำลังเกิดนั้นแล สาวก
ทั้งหลายของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๘. อาสวักขยญาณ

[๒๕๙] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก
ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน สระน้ำใสสะอาดไม่ขุ่น
มัวบนยอดภูเขา คนมีตาดียืนที่ขอบสระนั้น เห็นหอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวด
และก้อนหิน หรือฝูงปลา กำลังแหวกว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้น ก็คิด
อย่างนี้ว่า ‘สระน้ำนี้ ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวดและก้อนหิน
หรือฝูงปลา เหล่านี้กำลังแหวกว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มี ในสระนั้น’ แม้ฉันใด๒ เราก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติ
ตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้แจ้งวิมุตตินั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
อุทายี ธรรม ๕ ประการนี้เแล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาสกุลุทายีสูตรที่ ๗ จบ


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker