; [ Next ] back to telephone signal

       

2G

        ยุค 2G เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัสโดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอล จะช่วยในด้านความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น และช่วยเรื่องสัญญาณเสียงมีความคมชัดมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึง ช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะ เชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชัดเจน ทำให้สามารถแบ่งยุค 2G ออกได้อีก 2 ช่วง คือ 2.5G และ 2.75G

       2.5G ในยุคนี้ได้ถือกำเนิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS พัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุด ถึง 115 kbps (แต่ใช้งานได้จำกัดแค่ 40 Kbps) โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชั่นการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS หน้าจ้อโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าถูกพัฒนาปเยเสียงแบบ polyphonic และเข้าสู้ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3 ที่ใช้กันอยู่ทุกวัน

       2.75G เป็นยุคที่จะก้าวเข้าสู่ 3G แล้ว ยุคนี้เป็นยุคของ EDGE ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS และปัจจุบันเรายังได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ได้พัฒนาในเรื่องความเร็วการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายนั้นเอง

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2G

  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง sms

  • การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.5G
  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง sms
  • ส่ง mms
  • เสียงเรียกเข้าแบบ Polyphonic
  • เล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 115 KBps

  • การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.75G
  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง sms
  • ส่ง mms
  • รองรับเสียงเรียกเข้าแบบไฟล์ MP3
  • เล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 70-180 Kbps
  •        

    3G

           ยุค 3G ยุคนี้ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่พอสมควร เรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงวิถีประจำวันของผู้ใช้งานไปด้วยก็ว่าได้ สิ่งที่ 3G ต่างกับ 2G ก็คือ ความสามารถในการออนไลน์ตลอดเวลา (Always On) ซึ่งก็จะเท่ากับโทรศัพท์ของคุณจะเหมือนมี High Speed Internet แบบบ้านอยู่บนมือถือของคุณอยู่ตลอดเวลา
    ข้อดีของระบบ Always On คือ จะมีการเตือน (Alert) ขึ้นมาทันที หากมีอีเมล์เข้ามา หรือมีการส่งข้อความต่างๆ จากโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตของเรา นอกจากนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแต่ละครั้งก็จะเร็วกว่ามาก (Initial Connection) เพราะไม่ต้องมีการ Log-On เข้ากับระบบอีกต่อไป (การ Log-On เข้าระบบให้นึกถึงตอนสมัยที่เราใช้ Modem แบบ Dial Up ร่วมกับสายโทรศัพท์) เราจะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แล้วคิดค่าบริการตามการรับส่งข้อมูลของเราแทน
    ผลจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้เราสามารถที่จะทำอะไรบนมือถือได้มากขึ้นจากแต่ก่อน เช่น

  • โทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Voice Over IP)
  • คุยแบบเห็นหน้า (Video Call)
  • ประชุมทางไกล (Video Conference)
  • ดูทีวีและดูวีดีโอออนไลน์ (Streaming)
  • เล่นเกมออนไลน์ (Online Gaming)
  • ดาวน์โหลดเพลงหรือโปรแกรมต่างๆ ได้เร็วกว่าในยุค 2G มาก
  • คุณสมบัติในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (Always On)

  •        

    4G

           4G นี้เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบไร้สายในอดีตทั้งหมด ทั้ง 1G, 2G และ 3G มารวมกันเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพขึ้น อย่างเช่น การพัฒนาในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ทำได้เร็วขึ้นถึง 100 Mpbs เลยทีเดียว สำหรับความเร็วขนาดนี้นั้น ทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ของคุณได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูไฟล์วีดิโอออนไลน์ด้วยความคมชัด และไม่มีการกระตุก, การสื่อสารข้ามประเทศ อย่างโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันแบบโต้ตอบทันที (Video Call) หรือจะเป็นการประชุมผ่านโทรศัพท์ (Mobile teleconferencing)
           สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในยุค 4G นี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ WiMAX (Worldwide Interoperability of Microwave Access) และ LTE (Long Term Evolution) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่มาช่วยในเรื่องของการรับส่งข้อมูลให้เร็วขึ้นกว่าในยุคก่อนๆ โดยในส่วนของ WiMax นั้นนิยมใช้แค่ในบางประเทศเช่น ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, บังคลาเทศ ซึ่ง LTE นั้นเป็นที่นิยมใช้มากกว่ารวมถึงบ้านเราด้วยเช่นกัน

           

    คลื่นความถี่มีประโยชน์อย่างไร

            สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) ได้กำหนดชื่อของย่านความถี่ (Band Name) ในแต่ละย่าน เพื่อประยุกต์ใช้งานสำหรับกิจการต่างๆที่หลากหลาย และสอดคล้องกับคุณสมบัติและเทคโนโลยีของคลื่นความถี่แต่ละย่าน
    1.กิจการประจำที่ (Fixed Service) หมายถึงการส่งคลื่นความถี่ระหว่างสถานีภาคส่งประจำที่กับสถานีภาครัฐประจำที่ เช่น เชื่อมโยงข้อมูลผ่านไมโครเวฟ (Microwave link) หรือสัญญาณใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) และการส่งสัญญาณดาวเทียมจากภาคพื้นดิน 2.กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) หมายถึง การส่งคลื่นความถี่ระหว่างสถานีภาคส่งเคลื่อนที่และสถานีภาครับเคลื่อนที่ หรือสถานีภาคส่งเคลื่อนที่กับสถานีภาครับประจำที่ หรือสถานีภาคส่งประจำที่กับสถานีภาครับเคลื่อนที่ เช่น คลื่นมือถือ 800/900 MHz ย่าน 1800 MHz 2100 MHz รวมทั้ง 3G 4G ทั้งยังมีคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล กิจการการบิน และกิจการเคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม 3.กิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุและโทรทัศน์ (Broadcast Service) หมายถึง การส่งคลื่นความถี่ไปยังผู้รับที่เป็นบุคคลทั่วไปโดยตรง สามารถรับพร้อมๆกันได้หลายคน (ในลักษณะ 1 to Many) เป็นการส่งเสียง ส่งภาพและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งมีทั้งวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน และผ่านดาวเทียม 4.กิจการวิทยุตรวจการณ์และตรวจค้นหา (Radio Determination Service) หมายถึง คลื่นความถี่ใช้พิจารณาตำแหน่ง ความเร็ว ใช้ประโยชน์ในกิจการวิทยุนำทาง วิทยุหาตำแหน่ง 5.กิจการอุตุนิยมวิทยาและสำรวจพิภพ (Meterological Service) เป็นคลื่นความถี่สำหรับช่วยสังเกตการณ์ สำรวจด้านอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยา ช่วยในการวิเคราะห์และพยากรณ์อากาศ สำหรับที่เรียกขานว่าสำรวจพิภพผ่านดาวเทียมคือ การเชื่อมโยงระหว่างสถานีภาคอวการ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะภูมิประเทศและปรากฏการณ์ต่างๆของโลก เมืองไทยมีดาวเทียม THEOS หรือดาวเทียมไทยโซต ใช้สำรวจและตรวจการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมด้วย 6.กิจการวิทยุสมัครเล่น (Amateur Service) ถือเป็นคลื่นความถี่ ใช้ในกิจการวิทยุคมนาคม วัตถุประสงค์เพื่อฝึกฝนตนเองในการสื่อสารกับผู้อื่น ถือเป็นกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ใดๆด้านการเงิน มีทั้งวิทยุสมัครเล่นภาคพื้นดินและภาคดาวเทียม 7.กิจการอื่นๆ (Other Service) เป็นหมวดคลื่นความถี่ใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น กิจการสัญญาณเวลาและความถี่มาตรฐาน กิจการความถี่มาตรฐานและสัญญาณผ่านดาวเที่ยม กิจการปฏิบัติการอวกาศ กิจการวิทยุดาราศาสตร์ กิจการพิ เศษ เพื่อภารกิจเฉพาะ (ไม่มีนิยามไว้ในข้อบังคับและไม่เป็นภารกิจเพื่อสาธารณะ)
    อ้างอิงรูป อ้างอิงรูป อ้างอิงรูป อ้างอิงรูป