; [ Telephone signal ] profile



Telephone signal หรือ คลื่นสัญญาณโทรศัพท์



  • คลื่น
  • “คลื่น” คือการเปลี่ยน แปลงกลับไปกลับมาหรือการกระเพื่อมในลักษณะที่มีการแผ่กระจายหรือเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิด โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    1.คลื่นกล เป็นคลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ คลื่นประเภทนี้ก็คือ คลื่นผิวน้ำ ซึ่งเป็นการกระเพื่อมของผิวน้ำและแผ่กระจายออกไปเมื่อเราโยนก้อนหินลงไปในน้ำ
    จุดที่ก้อนหินกระทบผิวน้ำก็คือแหล่งกำเนิดคลื่นและตัวกลางในการเคลื่อนที่ก็คือ น้ำ และคลื่นกลอีกชนิดหนึ่งก็คือคลื่นเสียงซึ่งใช้อากาศเป็นตัวกลาง22:43 15/1/2564


    2.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กสามารถเคลื่อนที่ได้ในสุญญากาศโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง
    คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสง (ประมาณ 300,000,000 เมตรต่อวินาที เทียบเท่ากับการเคลื่อนที่รอบโลกประมาณ 7 รอบในเวลา 1 วินาที)
    ตัวอย่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เราคุ้นเคยก็คือ คลื่นวิทยุ คลื่นแสงและรังสีเอ็กซ์ (X-Ray) โดยคำว่าคลื่นและรังสี หมายถึงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนกัน
    แต่เรามักใช้คำว่ารังสีกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงมาก เช่น รังสีเอ็กซ์ และรังสีแกมม่า (Gamma-Ray) เช่น แหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์คือเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์ในโรงพยาบาล
    ส่วนรังสีแกมม่ามาจากนอกโลกเป็นส่วนใหญ่หรือจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


  • คลื่อความถี่ คืออะไร
  • "คลื่อความถี่ "จะมีลักษณะขึ้นและลง มีตั้งแต่ความถี่ต่ำสุดจนถึงคลื่นความถี่สูงสุด โดยที่คลื่นความที่โดนนำมาใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร วิธีการก็คือจะมีตัวส่งคลื่นความถี่และมีตัวรับคลื่นความถี่เพื่อแปลงข้อมูลในอีกที
    ลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำ เช่น คลื่นย่าน 3-30Hz จะเป็นคลื่นความทถี่ที่ต่ำมาก สามารถไหลไปในพื้นดินหรือร่างกายได้
    ลักษณะของคลื่นความถี่สูง เช่น คลื่นย่าน 300-3000Hz เป็นคลื่นที่สามารถเดินทางทะลุทะลวงในอาคารได้ดี และสามารถส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งคลื่นย่านนี้เป็นคลื่นที่นำมาใช้กิจการสัญญาณมือถือ

  • คลื่นความถี่มือถือ
  • สำหรับคลื่นความถี่ที่ใช้ในสัญญษรมือถือ จะอยู่ในย่าน 800/900 MHz และ1800/2100 MHz
    โดยที่คลื่นความถี่ต่ำ 800/900 MHz จะกระจายสัญญาณได้ดีคตรอบคลุมแลกว้างกว่า
    และสาวนคลื่นความถี่สูง 1800/2100 MHz จะผ่านตึกหรือบ้านได้ทะลุทะลวงกว่า ส่งข้อมูลได้มากกว่า
    ข้อเสีย คือ กระจายสัญญาณได้แคบกว่า จึงทำให้ต้องสร้างเสาสัญญาณหลายเสา เพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
    นอกจากเรื่องคลื่นความถี่แล้ว จะมีเรื่องความกว้างของคลื่นความถี่ หรือ bandwidth ถ้าปริมาณ bandwidth เยอะปริมาณการรับส่งข้อมูลกคล่องแคล่วว่องไวกว่า
    ถ้า bandwidth น้อยก็จะต้องแย่งกันใช้ การรับส่งสัญญาณก็จะอืด หรือช้าลงนั้นเอง

  • G คืออะไร?
  • คำว่า G ย่อมาจาก Genetration ที่แปลว่า ยุค , สมัย , รุ่น ซึ่งเมื่อรวมกับตัวเลขในภาษาอังกฤษจะออกเสียงว่า First Generation,Second Generation,Third Generation เป็นต้น
    และถูกย่อเป็นคำว่า 1G,2G,3G ซึ่งเป็นชื่อเรียกในแต่ละยุคของเทคโนโลยี การสื่อสารทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Telecommunications Technology)

    1G

      ในยุค 1G ขับเคลื่อนด้วยระบบ Analog นี้ ทำให้โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก การใช้งานหลักของมัน
    คือการใช้งานของเสียง (Voice) เท่านั้น คือรองรับแค่การโทรเข้า และรับสาย ยังไม่รองรับ data ใดๆ หรือข้อความ sms ก็ยังไม่สามารถส่งได้
    การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 1G
  • โทรออก/รับสาย
  • ไม่รองรับผู้ใช้งานในจำนวนมาก
  • เกิดการดักฟังโทรศัพท์ได้ง่ายและไม่ปลอดภัย
  • next