ต้ปุ้.    

  หน้าหลัก  
  สินค้า & บริการ  
  บริการหลังการขาย  
  เกี่ยวกับพวกเรา  



  เรื่องดีๆ มีไว้แบ่งปัน  
  ขำขัน & แปลก  
  จิตวิญญาณ  
  ห้องเรียน  
  บทเพลง  
  Link  
 
  ปิงปอง  
  ไม้ปิงปอง  
ลูกปิงปอง
  ยางปิงปอง  
  [ สุดยอดฝีมือ .... ]  
  ภาพถ่ายการแข่งขันปิงปอง 2547  

 


   
  ไทย  
   
 
ลูกปิงปอง

ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly ขนาด 40 mm สีขาว ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly ขนาด 40 mm สีส้ม

        ลูกปิงปอง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Table Tennis Ball ทำด้วย เซลลูลอยด์



ชนิดของลูกปิงปอง

บนลูกปิงปองจะมี ตัวเลขพิมพ์ไว้ เพื่อบ่งบอก "ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลาง" ของลูกปิงปอง
ลูกปิงปอง แบ่งตาม ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง ได้ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
( ขนาดของภาพลูกปิงปองในแต่ละภาพ ไม่เท่ากับ ขนาดของ ลูกปิงปองจริงๆ น่ะ.... )


  1)   38 mm
  2)   40 mm
  ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly ขนาด 40 mm สีขาว ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly ขนาด 40 mm สีส้ม
ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีขาว ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีส้ม
ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีส้ม
ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีขาว ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีส้ม
ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีขาว 1 ดาว

  3)   44 mm
  ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 44 mm สีส้ม
ใช้สำหรับทำอะไร.... แฮะ แฮะ แฮะ เราก็ไม่ทราบเหมือนกัน... คำอธิบายมันเป็นภาษาญี่ปุ่น.... เราอ่านไม่ออก.... เดาว่า น่าจะใช้สำหรับการแข่งขันของเด็กๆ มั้ง

( ภาพ & ข้อมูลมาจาก Web Site :   Nittaku . com   )

 
  สงสัยไหมว่า ทำไมมีลูกปิงปองตั้งหลายขนาด....

        ในสมัยก่อน การแข่งขันปิงปองจะใช้ลูกปิงปองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 38 มม. ( หนัก 2.5 กรัม ) ในการแข่งขัน.... วันเวลาผ่านไปมีการปรับปรุงกติกาใหม่ เพื่อให้การแข่งขันมีความสนุกสนานยิ่งขึ้น

        เนื่องจากกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่มีความเร็วสูงมาก การเคลื่อนที่ของลูกปิงปองจากอีกฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่งใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ประเทศต่างๆ จึงได้ทำการประชุมและเปลี่ยนแปลงกติกาเกี่ยวกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกปิงปอง โดยเปลี่ยนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลูกปิงปอง จาก 38 มม. ( หนัก 2.5 กรัม ) มาเป็น 40 มม. ( หนัก 2.8 กรัม ผิวหนา 0.4 มม.) ซึ่งก็ช่วยให้เกมส์ปิงปองมีความช้าลง...

        การเพิ่มขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกปิงปอง มีผลให้ เมื่อเราออกแรงตีเท่าเดิม
การหมุน   ( Spin )   ลดลง   23%
ความเร็ว   ( Speed )   ลดลง   13%
การควบคุม   ( Control )   เพิ่มขึ้น   36%
 
 



ลูกปิงปอง ที่นิยมเล่นกัน แบ่งตาม สี ได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ

  1)   สีขาว
  ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly ขนาด 40 mm สีขาว
  2)   สีส้ม
  ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly ขนาด 40 mm สีส้ม
โลกใบนี้ ไม่ได้มีแค่ลูกปิงปองที่มีสีขาว กะ สีส้ม เท่านั้นน่ะ สีอื่นๆ ก็มี.... แต่ไม่เป็นที่นิยมเล่นกัน....
( ความรู้สึกส่วนตัว เราชอบ ลูกปิงปองสีส้ม.... มองเห็นชัดกว่าสีขาว )

 
  ลูกเดียวมี 2 สี....

        เราบังเอิญแวะเข้าไปอ่าน   Bi-Colored Table Tennis Ball   เราคิดว่าดีน่ะ ถ้าลูกปิงปองแต่ละลูกมี 2 สี ครึ่งหนึ่งสีขาว อีกครึ่งหนึ่งสีส้ม.... ผู้เล่นและผู้ชม จะได้สังเกตุการ Spin ของลูกปิงปองได้ง่ายขึ้น.... เกมส์น่าจะสนุกขึ้น....
 
 



ลูกปิงปอง แบ่งตาม คุณภาพ ได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ

  1)   สำหรับฝึกซ้อม   ( Training Ball ) ( ไม่มีดาว, 1 ดาว, 2 ดาว )
  ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีขาว 1 ดาว
  ข้อดี   :   ราคาถูก ( กว่า 3 ดาว )
  ข้อเสีย   :   คุณภาพไม่ดี ( เมื่อเทียบกับ 3 ดาว )

เหมาะสำหรับใช้กับ เครื่องยิงลูกปิงปอง เพราะมันต้องใช้ลูกปิงปองจำนวนเยอะ....


  2)   สำหรับการแข่งขัน ( 3 ดาว )
  ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีส้ม 3 ดาว ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Nittaku ขนาด 40 mm สีขาว 3 ดาว
  ข้อดี   :   คุณภาพดี ( กว่า 1 ดาว )
  ข้อเสีย   :   ราคาแพง ( กว่า 1 ดาว )


ตัวอย่าง ( ข้อมูลจาก   ButterflyOnline.com   เมื่อ วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ 2547 )

        ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 mm. สีส้ม คุณภาพ 2 ดาว จำนวน 144 ลูก ราคา 52.95$ US Dollar

        ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 mm. สีส้ม คุณภาพ 3 ดาว จำนวน 144 ลูก ราคา 179.99$ US Dollar

นั้นคือ ถ้า ลูกปิงปอง 1 ดาว ราคา 1 บาท ............. ลูกปิงปอง 3 ดาวจะราคา 3.44 บาท


 
        1 Dozen     =     12 หน่วย    
    1 Gross     =     12 Dozen     =     144 หน่วย    
 


ตัวอย่าง
        เครื่องยิงลูกปิงปองรุ่น Robo - Pong 1040 ของ บริษัท   Newgy.com   บรรจุลูกปิงปอง 40 mm ได้ 200 ลูก

        ถ้าซื้อลูกปิงปอง คุณภาพ 3 ดาว จำนวน 144 ลูก มาใช้.... ต้องจ่ายตังค์   179.99$ US Dollar   x   40 บาท/US Dollar เท่ากับ 7199.60 บาท เป็นค่าลูกปิงปอง.... ( เฉลี่ยลูกละ 50 บาท )

        แต่ถ้าซื้อลูกปิงปอง คุณภาพ 2 ดาว จำนวน 144 ลูก มาใช้.... ต้องจ่ายตังค์   52.95$ US Dollar   x   40 บาท/US Dollar เท่ากับ 2118.00 บาท เป็นค่าลูกปิงปอง.... ( เฉลี่ยลูกละ 14 บาท )

หมายเหตุ   ผมซื้อ ลูกปิงปอง ยี่ห้อ Butterfly สีส้ม ( Training Ball ไม่มีดาว ) 3 ลูก ราคา 55 บาท.... เฉลี่ยลูกละ 18 บาท.... ( ซื้อที่ร้านศึกษาภัณฑ์ ใกล้ๆ สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อ วัน จันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ 2547 )

 
  สงสัยไหมว่า ทำไมมีหลายคุณภาพ....

        ถ้าเราหยิบลูกปิงปองขึ้นมาดูซัก 1 ลูก.... เราจะพบว่า มันจะมีร่องรอยของเส้นลากผ่านไปตามผิว ( ด้านใน ) รอบลูกปิงปองตามแนว เส้นรอบวง.... ซึ่งมันเกิดจากการขบวนการผลิตลูกปิงปอง....

        การผลิตลูกปิงปอง นั้น โรงงานจะ หล่อ ลูกปิงปองขึ้นมา ครึ่งลูก แล้วจึง คัดแยกลูกปิงปองครึ่งลูก เป็นกลุ่มๆ ตามน้ำหนักของมัน หลังจากนั้นจึงจะ นำลูกปิงปองครึ่งลูก 2 ชิ้นที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน มาเชื่อมติดกัน จากนั้นจึงใช้ขบวนท่าแบบไหนไม่รู้.... ทำให้รอยเชื่อมต่อที่อยู่ด้านนอก กลับเข้าไปอยู่ด้านใน แล้วจึง นำไปขัดผิวให้เรียบ และให้มีน้ำหนักตามมาตราฐาน สรุปว่า ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนกว่าจะมาซึ่ง ลูกปิงปองกลมๆ 1 ลูก....

        ลูกปิงปองในอุดมคติ ( Ideal ) ควรจะมี ความสม่ำเสมอของการกระจายตัวของมวลของลูกปิงปอง.... เท่ากันหมดทั่วทั้งลูก.... หรือพูดง่ายๆ ว่า มีจุด Center of Mass อยู่ที่ จุดศูนย์กลางของลูกปิงปอง... มีความกลม 100%.... ( ซึ่งลูกปิงปองที่มีขายอยู่ในท้องตลาดไม่ได้ สมบูรณ์แบบขนาดนั้น.... )

        หลังจากทำการผลิตลูกปิงปองขึ้นมาได้แล้ว.... ขั้นต่อมาคือ ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ โดยจะนำ ลูกปิงปอง มาทดสอบการหมุน โดยทำให้ลูกหมุนไปในมุม 6 องศา.... ถ้าลูกหมุนไปยังตำแหน่งที่กำหนด จะได้ตรา 3 ดาว ไปติดอยู่บนลูกปิงปอง.... ถ้าคลาดเคลื่อนเล็กน้อยได้ 2 ดาว.... ถ้าคลาดเคลื่อนมากขึ้นอีกนิดได้ 1 ดาว.... ถ้าคลาดเคลื่อนมากๆ ก็โยนทิ้งไปเลย.... แฮะ แฮะ แฮะ....
 
 



ตำแหน่งที่สำคัญบนลูกปิงปอง




ตำแหน่งที่สำคัญบนลูกปิงปองแบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่ง ดังนี้
  1)   ตำแหน่ง หัวลูก  
  2)   ตำแหน่ง กลางลูก  
  3)   ตำแหน่ง ใต้ลูก  



การหมุนของลูกปิงปอง
        การหมุนของลูกปิงปองแบ่งตาม ทิศทางการหมุนของลูก ออกได้เป็น 5 ลักษณะ ดังนี้....
  1)   ไม่หมุน ( หรือ หมุนน้อยมาก )   No Spin  
 



  2)   ลูกหมุนไปข้างหน้า   ( เคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดย หมุนไปด้านหน้า )   Top Spin  
 

  การสร้าง : สำหรับการจะตีลูก Top Spin นี้ หน้าไม้จะต้องลากขึ้นจากล่างขึ้นบน หากจะให้ลูกมีการหมุนที่มีประสิทธิภาพต้องออกแรงตีให้สัมพันธ์กับการสัมผัสลูกรวมถึงตำแหน่งต่างๆ บนลูกปิงปองอีกด้วย ยิ่งหากต้องการให้ลูกมีการหมุนมากที่สุด หน้าไม้จะต้องกระทบ ตำแหน่งของลูกในส่วนที่ใต้ลูกที่สุด

  การตั้งรับ : หากลูกปิงปองที่หมุนแบบ Top Spin มากระทบหน้าไม้เรา จะมีความรู้สึกว่าลูกที่เราตีกลับไปจะ สูงกว่าปกติ การบังคับหน้าไม้สำหรับรับลูกปิงปองที่หมุนแบบ Top Spin เราจะต้อง ปิดหน้าไม้

  ประโยชน์ ของการตีลูก Top Spin :
  (1)   เพื่อเปิดเกมส์บุกกลับไปหาคู่ต่อสู้
  (2)   เพื่อแก้การตีลูก Back Spin ( ลูกตัด ) ที่คู่ต่อสู้ตีมาหาเรา




  3)   ลูกหมุนไปด้านหลัง   ( เคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดย หมุนไปด้านหลัง )   Back Spin  
 

  การสร้าง : สำหรับการจะตีลูก Back Spin หรือ ลูกตัด ให้มีประสิทธิภาพนั้น ตำแหน่งที่จะตีบนลูก ควรจะตี ตำแหน่งใต้ลูกมากที่สุด โดยจะต้องออกแรงในจังหวะที่ลูกมากระทบหน้าไม้ มุมของหน้าไม้ที่จะกระทบลูกต้องตีลักษณะเสียดสีและเร็วให้มากที่สุด

  การตั้งรับ : หากลูกปิงปองที่หมุนแบบ Back Spin มากระทบหน้าไม้เรา จะมีความรู้สึกว่าลูกที่เราตีกลับไปจะ ต่ำกว่าปกติ หรือ ติดเน็ท การบังคับหน้าไม้สำหรับรับลูกปิงปองที่หมุนแบบ Back Spin เราจะต้อง เปิดหน้าไม้



  4)   ลูกหมุนด้านข้าง   ( เคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดย หมุนไปด้านข้าง )   Side Spin  
    หรือ  

  การตั้งรับ : หากลูกปิงปองที่หมุนแบบ Side Spin มากระทบหน้าไม้เรา จะมีความรู้สึกว่าลูกที่เราตีกลับไปจะ กระเด้งออกไปด้านซ้าย ( หรือ ขวา ) การบังคับหน้าไม้สำหรับรับลูกปิงปองที่หมุนแบบ Side Spin เราจะต้อง ต้องตีตรงข้ามกับทิศทางที่ลูกหมุนมาจึงจะทำให้ตีได้ง่ายขึ้น หรือ แต่หากเป็นมือระดับสูงแล้ว สามารถใช้เทคนิค ตีลูกตามทิศที่ลูกปิงปองหมุนมา ก็ได้เช่นกัน



  5)   การหมุนแบบผสม   ( เคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดย หมุนเอียงๆ )   Mix Spin  
 






ลักษณะการเคลื่อนที่ของลูกปิงปอง




  ตำแหน่ง A   คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปอง กำลังลอยขึ้น
  ตำแหน่ง B   คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปอง ลอยขึ้นสูงที่สุด
  ตำแหน่ง C   คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปอง กำลังลอยลง
  ตำแหน่ง D   คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปอง กำลังลอยลงต่ำกว่าโต๊ะปิงปอง

สำหรับการเลือกตำแหน่งในการตีลูกปิงปองนั้น ผู้เล่นมือใหม่ ควรเลือกตำแหน่งที่จะตีลูกปิงปองดังนี้....
  - ลูก Fore Hand และ Back Hand  
  - ควรตีที่ตำแหน่ง A - C

  - ลูก Top Spin ( ทั้ง Fore Hand Top Spin และ Back Hand Top Spin )  
  - ควรตีที่ตำแหน่ง หลังจากตำแหน่ง B ลงไป

  - ลูก Back Spin ( ทั้ง Fore Hand Back Spin และ Back Hand Back Spin )  
  - ควรตีที่ตำแหน่ง C

  - ลูก Block ( ทั้ง Fore Hand และ Back Hand )  
  - ควรตีที่ตำแหน่ง A - B

และเมื่อเกิดความชำนาญแล้ว จุดตีในแต่ละลูกควรจะเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการตีให้เร็วยิ่งขึ้น เช่น เคยตีลูก Fore Hand Top Spin ในตำแหน่ง D ให้เปลี่ยนไปตีตำแหน่ง C และ B ตามลำดับ....



แหล่งข้อมูล
    -   Andro  
    -   Butterfly World   และ   Butterfly Online  
    -   Donic  
    -   Double - Fish  
    -   Double Happiness Sport ( DHS )   ลูกปิงปอง ยี่ห้อนี้แหละ ที่ใช้ใน โอลิมปิก 2004
    -   Joola  
    -   Nittaku  
    -   Stiga  
    -   Tibhar  
    -   Yasaka  
 
    -   ร้าน Ping Pong Inter .com  
    -   ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซี่ยงไฮ้สปอร์ต   Web Board ยอดเยี่ยม
 
    -   ITTF  
    -   Table Tennis About . com  
    -   David 's Table Tennis   มีบทความดีๆ ให้อ่าน เยอะแยะเลย ....
    -   Table Tennis Balls . com   Web นี้ขาย ลูกปิงปองสีประหลาดๆ ....
 
    -   Newgy . com   Web นี้ขาย เครื่องยิงลูกปิงปอง ....
    -   TTmatic . com   Web นี้ขาย เครื่องยิงลูกปิงปอง ....



จำนวนผู้เยี่ยมชม   :   Counter ดูรายละเอียดของผู้เยี่ยมชม
ปรับปรุงครั้งล่าสุด   :   วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ 2547
ถือกำเนิด   :   วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ 2547

Powered By Ton & Poon
Hosted by www.Geocities.ws

1